วิกิพจนานุกรม:เกี่ยวกับภาษามือไทย
หน้าตา
ภาษามือไทย เป็นภาษามือที่ใช้สื่อสารเฉพาะประเทศไทย จะไม่สามารถเข้าใจได้กับของประเทศอื่น เนื่องจากภาษามือและท่าทาง ไม่ได้เป็นภาษาสากลที่ทุกชาติจะเข้าใจเหมือนกัน
วิกิพจนานุกรมมีนโยบายที่จะรวบรวมคำนิยามของทุกภาษา ไม่เว้นแม้แต่ภาษามือ ดังนั้นเราจึงต้องแปลงภาษามือเป็นภาษาเขียน เพื่อให้สามารถบันทึกได้ในวิกิพจนานุกรม โดยมีอยู่ 2 วิธี คือ
- ตั้งชื่อหน้าโดยบรรยายวิธีทำมือและท่าทาง ตัวอย่างที่วิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษทำคือ ตั้งชื่อหน้าด้วยคำสำคัญกับสัญลักษณ์บางตัว (ดูตัวอย่างที่ภาษาอังกฤษ) แต่ก็อ่านเข้าใจยาก ส่วนวิกิพจนานุกรมไทยหากจะบรรยายด้วยภาษาไทย คำแปลอาจจะยาวมากกว่านั้น จนไม่สามารถตั้งได้ วิธีนี้จึงไม่ควรใช้
- ตั้งชื่อหน้าโดยใช้สัญลักษณ์ Sutton SignWriting ซึ่งมีในยูนิโคด ฟอนต์ที่ใช้เป็นหลักคือ Noto Sans SignWriting ข้อดีคือทำให้ชื่อหน้าสั้น และสามารถบรรยายวิธีทำมือและแสดงรูปภาพ/วิดีโอในเนื้อความได้ แต่ข้อเสียคือคนทั่วไปอาจไม่มีฟอนต์นี้ และระบบนี้เขียนในแนวตั้ง เพื่ออธิบายท่าทางของมือทั้งสองข้าง ทำให้วิธีเขียนซับซ้อน หรือบางกรณีไม่สามารถเขียนให้เหมือนได้เลย จำเป็นต้องมีรูปภาพประกอบ (ถ้าบางคำไม่ซับซ้อนนักอาจทำได้)
ในภาษามือไทย คำทั่วไปแต่ละคำมีท่าทางของตัวเอง ใช้การแสดงสีหน้า และใช้อวัยวะอื่นนอกจากมือในการอธิบายความหมายอีกด้วย ไม่ได้สะกดตามตัวอักษร การสะกดตัวอักษรใช้เฉพาะกับวิสามานยนามที่ออกท่าทางไม่ได้ สามารถกระทำได้ตามภาพ โดยดัดแปลงมาจากภาษามืออเมริกัน (ASL) ด้านล่างนี้เป็นสัญลักษณ์สำหรับผู้ส่งสาร ไม่ใช่ผู้รับสาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการหันหน้ามือออก
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างคำบางส่วน (บางคำสามารถทำท่าได้มากกว่าหนึ่งแบบ)
อ่านเพิ่ม
[แก้ไข]- SignWriting in Thailand : Writing Thai Sign Language (ThSL)
- ฐานข้อมูลภาษามือไทย, สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย