วิกิพจนานุกรม:เกี่ยวกับภาษาแสก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาแสก เขียนด้วยอักษรไทย ตามที่กำหนดโดย โครงการวิจัย "แนวทางการจัดทำพจนานุกรมภาษาแสกฉบับชาวบ้านเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาแสกบ้านบะหว้า ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม" โดยนายปรีชา ชัยปัญหา และหนังสืออื่น ๆ ที่เผยแพร่หลังจากนั้น

ภาษาแสกสะกดด้วยเสียงอ่านคล้ายกับภาษาไทย เว้นแต่มีพยัญชนะและวรรณยุกต์กำกับเพิ่มเติมเพื่อให้ออกเสียงถูกต้อง

  • พยัญชนะมีเพิ่มเติม 1 ตัวคือ กฺ /ɣ/ และที่ออกเสียงต่างจากไทยคือ ญ /ɲ/, ว /v/
  • พยัญชนะสะกดสามารถมีเสียง -ล /-l/ (จากนิพนธ์ Proto-Tai ของ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์) แต่ในโครงการวิจัยฯ ใช้ -น ทั้งหมด ให้ถือว่า -ล เป็นรูปแบบอื่น
  • วรรณยุกต์มีเสียงตามตาราง
เสียงวรรณยุกต์ 1 2 3 4 5 6
สัทอักษรสากล /˧/ 33 /˧˦/ 34 /˩/ 11 /˧˩ˀ/ 31. /˦˥˦/ 454 /˥˨/ 52 /˧˨ˀ/ 32.
รูปวรรณยุกต์ (ว่าง)
คำตาย+ไม้แถรก
อักษรสูง+สามัญ
อักษรกลาง/ต่ำ+ไม้จัตวา
ไม้เอก ไม้ซับ ไม้ตรี ไม้โท (ว่าง), ไม้เอก
  • ไม้แถรก หรือไม้แสก คือรูปดังนี้ ◌̄ เป็นขีดนอน วางด้านบน ใช้กับคำตายที่ต้องการให้ออกเสียง 33 (แถร̄ก แปลว่า แสก)
  • ไม้ซับ คือรูปดังนี้ ◌̂ เหมือนตัววีคว่ำ หรือ circumflex
  • ตำแหน่งของวรรณยุกต์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ วางไว้ที่เดียวกับวรรณยุกต์ปกติ

ดูเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับภาษาแสกได้ที่ [1]