แม่แบบ:th-pron/documentation

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

แม่แบบนี้ใช้สำหรับแสดงการออกเสียงเฉพาะภาษาไทย โดยแสดงแยกพยางค์ พร้อมกับแสดงสัทอักษรสากล และคำพ้องเสียง

การใช้[แก้ไข]

ใส่แม่แบบนี้ภายใต้หัวข้อ "การออกเสียง" ของภาษาไทย ดังนี้

{{th-pron}}

สำหรับคำพยางค์เดียวที่เขียนเหมือนกับพยางค์พื้นฐาน เช่น กด ลาก บาง

{{th-pron|พยางค์-พยางค์-...}}

สำหรับคำหลายพยางค์ หรือคำพยางค์เดียวที่เขียนไม่เหมือนพยางค์พื้นฐาน

{{th-pron|พยางค์-พยางค์-...|...|...}}

สำหรับคำที่สามารถอ่านได้หลายอย่าง

หลักการป้อนพยางค์[แก้ไข]

เพื่อให้การเขียนเป็นไปในทางเดียวกัน และให้แม่แบบทำงานได้ถูกต้อง มีหลักการป้อนพยางค์ดังต่อไปนี้

  1. สะกดด้วยพยางค์พื้นฐาน แต่ละพยางค์คั่นด้วยขีดกลาง (-)
  2. พยัญชนะควบกล้ำ ให้เติมพินทุที่พยัญชนะตัวแรก เช่น กฺร กฺล กฺว พฺร ปฺร ปฺล ฯลฯ, พยัญชนะ ห นำ ให้เติมพินทุที่ ห เช่น หฺน หฺม หฺง ฯลฯ
  3. พยัญชนะอักษรสูง-อักษรต่ำที่สามารถเขียนได้มากกว่าหนึ่งแบบ ให้สะกดด้วยอักษรต่ำ เช่น ข้าว ให้ใช้ ค่าว, ขี้ ให้ใช้ คี่, หน้า ให้ใช้ น่า ฯลฯ
  4. สระ อัม ให้ใช้ อำ, สระ อัย ใอ ไอย ให้ใช้ ไอ
  5. สระ อำ ไอ เอา ใช้แสดงสระเสียงสั้นเท่านั้น
  6. สระเสียงสั้นแต่ไม่มีรูปคู่กับสระเสียงยาว ให้เติมไม้ไต่คู้
  7. เติมขีดกลาง (-) หลังจากพยางค์สุดท้าย ในกรณีที่เป็นเสียงอ่านของคำสมาส เช่น จัน-ทฺระ- ในคำ จันทร (คำหลักไม่ต้องเติมขีด)