ข้ามไปเนื้อหา

ค่ะ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: คะ

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

กร่อนมาจาก ข้า ในคำว่า พระเจ้าข้า หรือ เจ้าข้า ซึ่งใช้เป็นคำรับเช่นกัน; เปรียบกับภาษาไทอื่นซึ่งใช้สรรพนามที่แสดงการถ่อมตัวเป็นคำลงท้ายหรือคำรับได้ เช่น ภาษาลาว ຂ້ານ້ອຍ (ข้าน้อย), ภาษาไทลื้อ ᦃᦾᧉ (ฃ้อ̂ย), ภาษาเขิน ᨡ᩶ᩣ (ข้า), ภาษาไทใหญ่ ၶႃႈ (ข้า); เทียบภาษาคำเมือง ᨧᩮᩢ᩶ᩣ (เจั้า) ซึ่งเป็นสรรพนามที่แสดงการยกย่องผู้พูดด้วยขึ้นและมีความหมายตรงข้ามกับ ข้า แต่ใช้เป็นคำลงท้ายหรือคำรับได้

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ค่ะขะ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิง
ราชบัณฑิตยสภาkhakha
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰaʔ˥˩/(สัมผัส)/kʰaʔ˨˩/(สัมผัส)

คำอนุภาค

[แก้ไข]

ค่ะ

  1. คำรับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอกให้ทราบอย่างสุภาพ
    ไปค่ะ
    ไม่มีอะไรค่ะ

คำเกี่ยวข้อง

[แก้ไข]