กลอน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: กล่อน และ กล้อน

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์กฺลอน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงglɔɔn
ราชบัณฑิตยสภาklon
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/klɔːn˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *klɔːnᴬ²; เทียบภาษาจีนเก่า (OC *kroːn); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨠᩖᩬᩁ (กลอร), ภาษาลาว ກອນ (กอน), ภาษาไทลื้อ ᦂᦸᧃ (กอ̂น), ภาษาไทใหญ่ ၵွၼ် (กอ̂น, ไม้พาดหลังคา), ภาษาพ่าเก ကွꩫ် (กอ̂น์, ไม้พาดหลังคา), ภาษาอาหม 𑜀𑜨𑜃𑜫 (กอ̂น์, ไม้พาดหลังคา), ภาษาจ้วง gyon, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง gyon

คำนาม[แก้ไข]

กลอน (คำลักษณนาม ตัว or อัน)

  1. ไม้ขัดประตูหน้าต่าง, ดาล, เครื่องสลักประตูหน้าต่าง
  2. ไม้ที่พาดบนแปสำหรับวางเครื่องมุงหลังคาจาก
คำประสม[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨠᩖᩬᩁ (กลอร), ภาษาลาว ກອນ (กอน), ภาษาไทลื้อ ᦂᦸᧃ (กอ̂น)

คำนาม[แก้ไข]

กลอน (คำลักษณนาม บท)

  1. คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง ไม่รวมกับประเภทโคลง กาพย์ ฉันท์
  2. เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม
    ชุมนุมตำรากลอน
คำประสม[แก้ไข]

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

รากศัพท์นี้ขาดหายหรือไม่สมบูรณ์ กรุณาช่วยเพิ่มเติม หรืออภิปรายที่หน้าพูดคุย

คำนาม[แก้ไข]

กลอน (คำลักษณนาม ลูก)

  1. (โบราณ) ลูกตุ้ม, ขลุบ
    แกว่งกลอนยรรยงยุทธ์ (อนิรุทธ์)
คำประสม[แก้ไข]