จารึก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า *ចារិក (*จาริก), แผลงมาจากចារ៑ (จารฺ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร ចារឹក (จารึก), ภาษาลาว ຈາຣຶກ (จารึก)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์จา-รึก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjaa-rʉ́k
ราชบัณฑิตยสภาcha-ruek
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕaː˧.rɯk̚˦˥/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

จารึก (คำอาการนาม การจารึก)

  1. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
    จารึกไว้ในดวงใจ

คำนาม[แก้ไข]

จารึก

  1. (ศิลา~) เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้น
    จารึกอโศก
    จารึกสุโขทัย