จ้าง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: จาง, จ่าง, และ จ๊าง

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์จ้าง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjâang
ราชบัณฑิตยสภาchang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕaːŋ˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาฮกเกี้ยน (chàng)[1]

คำนาม[แก้ไข]

จ้าง

  1. (ขนม~) ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้างให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก
ดูเพิ่ม[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຈ້າງ (จ้าง), ภาษาไทดำ ꪊ꫁ꪱꪉ (จ้าง), ภาษาไทใหญ่ ၸၢင်ႈ (จ้าง), ภาษาไทใต้คง ᥓᥣᥒᥲ (จ้าง)

คำกริยา[แก้ไข]

จ้าง (คำอาการนาม การจ้าง)

  1. (สกรรม) ให้ทำงานหรือทำของโดยให้ค่าตอบแทน
การใช้[แก้ไข]

ผู้ให้ทำงานเรียก นายจ้าง หรือ ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำงานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทำของเรียก ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำของเรียก ผู้รับจ้าง

อ้างอิง[แก้ไข]

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

จ้าง

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨩ᩵ᩣ᩠ᨦ (ช่าง)

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

จ้าง (คำอาการนาม กำจ้าง หรือ ความจ้าง)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨩ᩵ᩣ᩠ᨦ (ช่าง)

คำกริยา[แก้ไข]

จ้าง (คำอาการนาม ก๋ารจ้าง หรือ ก๋านจ้าง)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨧ᩶ᩣ᩠ᨦ (จ้าง)