อุ่น

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʔunᴮ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC 'won); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ອຸ່ນ (อุ่น), ภาษาไทลื้อ ᦀᦳᧃᧈ (อุ่น), ภาษาไทดำ ꪮꪴ꪿ꪙ (อุ่น), ภาษาไทใหญ่ ဢုၼ်ႇ (อุ่น), ภาษาอาหม 𑜒𑜤𑜃𑜫 (อุน์), ภาษาจ้วง unq (อุ่น, หุง, ต้ม), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง unq (อุ่น, หุง, ต้ม)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์อุ่น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงùn
ราชบัณฑิตยสภาun
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔun˨˩/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

อุ่น (คำอาการนาม การอุ่น)

  1. ทำให้ยังคงร้อนอยู่
    อุ่นข้าวไว้รอ
  2. ทำให้ร้อนใหม่หลังจากเย็นแล้ว
    อุ่นแกงเมื่อวาน

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

อุ่น (คำอาการนาม ความอุ่น)

  1. ค่อนข้างร้อน
    ตัวอุ่น
  2. ไม่ร้อนนักไม่หนาวนัก
    อากาศอุ่น