สื่อ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ส.อ., สอ, สือ, ส่อ, และ ส้อ

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับ ภาษาจ้วง sawq (ใส่-สื่อ)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สื่อ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsʉ̀ʉ
ราชบัณฑิตยสภาsue
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sɯː˨˩/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

สื่อ

  1. ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน กุหลาบแดงเป็นสื่อของความรัก, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ
  2. (ศิลปะ) วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม

คำกริยา[แก้ไข]

สื่อ (คำอาการนาม การสื่อ)

  1. ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย
  2. ชักนำให้รู้จักกัน

ภาษาปักษ์ใต้[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

สื่อ (คำอาการนาม ก่านสื่อ)

  1. ซื้อ

อ้างอิง[แก้ไข]

  • สื่อ” ใน Central Southern Thai Dictionary (Kaewkhao, Uthai และ Kiatboonyarit, Tawan: ประเทศไทย: US Peace Corps 1986), หน้าที่ 10