ข้ามไปเนื้อหา

ชะมด

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ชะมัด

ภาษาไทย

[แก้ไข]
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ชะ-มด
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchá-mót
ราชบัณฑิตยสภาcha-mot
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰa˦˥.mot̚˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

เป็นไปได้ว่ามาจากอาหรับ زَبَاد (ซะบาด)[1] (ซึ่งร่วมเชื้อสายห่าง ๆ กับอังกฤษ civet)

คำนาม

[แก้ไข]

ชะมด (คำลักษณนาม ตัว)

  1. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือน้ำตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [Viverricula malaccensis (Gmelin)] เป็นชนิดที่ใช้น้ำมันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ (V. megaspila Blyth)
คำสืบทอด
[แก้ไข]
  • ลาว: ຊະມົດ (ซะม็ด)

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

ชะมด (คำลักษณนาม ตัว)

  1. (กวาง~) ชื่อกวางในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย ( Moschus moschiferus Linn.) กวางชะมดเขาสูง [M. chrysogaster (Hodgson)] กวางชะมดดำ (M. Fuscus Li) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii Flerov)

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

ชะมด

  1. ชื่อมะกรูดพันธุ์หนึ่ง

รากศัพท์ 4

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

ชะมด

  1. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้วทอดน้ำมัน

อ้างอิง

[แก้ไข]
  1. หน้า 3, ของหอม. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21260: วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559: ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก