สระ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาบาลี สร (แอ่งน้ำ); เทียบภาษาสันสกฤต सरस् (สรสฺ, แอ่งน้ำ)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สะ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิง
ราชบัณฑิตยสภาsa
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/saʔ˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงสะ

คำนาม[แก้ไข]

สระ (คำลักษณนาม สระ)

  1. แอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาบาลี สร (เสียงสระ); เทียบภาษาสันสกฤต स्वर (สฺวร, เสียงสระ)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สะ-หฺระ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-rà
ราชบัณฑิตยสภาsa-ra
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.raʔ˨˩/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

สระ (คำลักษณนาม เสียง หรือ รูป หรือ ตัว)

  1. (สัทศาสตร์) เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะหรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก
  2. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่นะ า, รูปสระ ก็เรียก

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาบาลี สร (เสียง); เทียบภาษาสันสกฤต स्वर (สฺวร, เสียง)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สะ-ระ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-rá
ราชบัณฑิตยสภาsa-ra
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.raʔ˦˥/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

สระ

  1. เสียง

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

เทียบภาษาลาว ສະ (สะ), ภาษาไทลื้อ ()

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สะ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิง
ราชบัณฑิตยสภาsa
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/saʔ˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงสะ

คำกริยา[แก้ไข]

สระ (คำอาการนาม การสระ)

  1. ฟอกให้สะอาดหมดจด
    สระหัว
    สระผม
  2. ชำระล้างให้สะอาด
    สระหวี