เหี้ย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เหีย และ เห่ย

ภาษาไทย[แก้ไข]

เหี้ย

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ไม่ทราบรากศัพท์; มีเรื่องเล่าว่าชื่อของสัตว์เลื้อยคลานมาจากการอุทานของคนที่พบมันครั้งแรก

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เฮี่ย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhîia
ราชบัณฑิตยสภาhia
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/hia̯˥˩/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

เหี้ย

  1. (ภาษาปาก, หยาบคาย) ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิด Varanus salvator ในวงศ์ Varanidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับตะกวด โตเต็มวัยยาวได้ถึง 2.5 เมตร ตัวอ้วนใหญ่สีดำ มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยและหากินบริเวณใกล้น้ำ
  2. (ภาษาปาก, หยาบคาย, สแลง) คนพาล, คนเลว

คำพ้องความ[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เหี้ย (คำอาการนาม ความเหี้ย)

  1. (ภาษาปาก, หยาบคาย, สแลง) มีนิสัยไม่ดี, เลว

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เหี้ย

  1. (ภาษาปาก, หยาบคาย, สแลง) มาก, อย่างยิ่ง

คำอุทาน[แก้ไข]

เหี้ย

  1. (ภาษาปาก, หยาบคาย, สแลง) คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือสบถ

ภาษาญ้อ[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

เหี้ย

  1. หาย