กราบ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์กฺราบ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgràap
ราชบัณฑิตยสภาkrap
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kraːp̚˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

กราบ

  1. ไม้เสริมแคมเรือให้สูงขึ้น, ส่วนของเรือตอนที่มีไม้เสริม, ไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตามแนวนอนสำหรับเดิน, เรียกส่วนด้านข้างของเรือรบเรือสินค้าเป็นต้น

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

กราบ (คำอาการนาม การกราบ)

  1. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบโดยให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผาก จดลงกับพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด
  2. โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ
    กราบทูล
    กราบเรียน

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

กราบ (คำอาการนาม การกราบ)

  1. (โบราณ) นอน
    เถ้าก็กราบกรนอึงอยู่นั้น
    (ม. คำหลวง กุมาร)

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำสันธาน[แก้ไข]

กราบ

  1. (โบราณ) ตราบ
    กราบเท่ากัลปาวสาน
    (พงศ. อยุธยา)