ภาคผนวก:อภิธานศัพท์
หน้าตา
หน้านี้คือศัพท์ที่ใช้อธิบายเนื้อหาของพจนานุกรมแห่งนี้
ก
[แก้ไข]- กริยา, คำ–
- คำที่ใช้แสดงกิริยาอาการที่ประธานกระทำหรือถูกกระทำ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
- กริยาวิเศษณ์, คำ–
- คำที่ใช้แสดงลักษณะหรือสมบัติเพิ่มเติมของคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์อื่น เช่น เร็ว ช้า แรง เบา (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
- กลาง, เพศ–
- คำที่ไม่ได้เป็นทั้งเพศชายและเพศหญิง หรือนปุงสกลิงค์ตามไวยากรณ์ (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
- กำกับนาม, คำ–
- คำบ่งชี้ที่ใช้วางหน้าคำนาม โดยมากจะหมายถึงชี้เฉพาะ คือกล่าวถึงแล้วหรือเป็นที่รู้จัก หรือไม่ชี้เฉพาะ คือทั่วไปไม่เจาะจง เช่น a, an, the ในภาษาอังกฤษ (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
ข
[แก้ไข]- ขั้นกว่า
- คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ในรูปที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบว่ามีลักษณะหรือสมบัติเหนือกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ดีกว่า มากกว่า สูงกว่า (=comparative)
- ขั้นสุด
- คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ในรูปที่ใช้สำหรับบ่งชี้ว่ามีลักษณะหรือสมบัติเหนือกว่าสิ่งอื่น ๆ เป็นที่สุด เช่น ดีสุด มากสุด สูงสุด (=superlative)
- ข้ามภาษา
- ใช้รวมกันหลาย ๆ ภาษา หรือไม่ระบุว่าเป็นของภาษาใดโดยเฉพาะ ใช้รหัสภาษาแยกคือ mul (=translingual)
- เข้าคู่เสียง-ความหมาย
- รับมาจากภาษาอื่น โดยใช้คำที่มีอยู่ในภาษาตนเองประกอบขึ้น ซึ่งมีการออกเสียงและความหมายคล้ายกับคำต้นแบบ (=phono-semantic matching)
ค
[แก้ไข]- คุณศัพท์, คำ–
- คำที่ใช้แสดงลักษณะหรือสมบัติเพิ่มเติมของคำนาม เช่น ใหญ่ เล็ก ดำ ขาว สูง ต่ำ (=adjective)
ช
[แก้ไข]- ชาย, เพศ–
- คำที่เป็นเพศชายหรือปุลลิงค์ตามไวยากรณ์ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชายหรือสัตว์ตัวผู้ (=masculine)
ต
[แก้ไข]- ตัดทอน, คำ–
คำที่ถูกตัดให้สั้นลงโดยความหมายหรือชนิดของคำไม่เปลี่ยน อย่าสับสนกับการผันรูปย้อนกลับ (back-formation) ที่ความหมายของคำเปลี่ยน, การละ (ellipsis) ที่คำถูกตัดให้สั้นลงโดยการละเว้นไม่ใช้คำทั้งหมด, การย่อคำ (abbreviation) ที่มักใช้ในการย่อคำหรือวลีในภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
- ไตรพจน์
- คำที่ใช้กับวัตถุที่มีสามสิ่งหรือสามบุคคล (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
ท
[แก้ไข]- ทวิพจน์
- คำที่ใช้กับวัตถุที่มีสองสิ่งหรือสองบุคคล (=dual)
น
[แก้ไข]- นับได้
- คำนามที่ถูกจัดว่านับได้ สามารถแจกแจงเป็นชิ้นเป็นอันได้ (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
- นับไม่ได้
- คำนามที่ถูกจัดว่านับไม่ได้ หรืออยู่เป็นกลุ่มก้อน ไม่สามารถแจงเป็นชิ้นเป็นอันได้โดยปกติ ต้องมีภาชนะหรือหน่วยสำหรับแจกแจง คำนามนับไม่ได้จะไม่มีรูปพหูพจน์ (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
- นาม, คำ–
- คำที่ใช้แทนวัตถุทั่วไป เช่น คน สัตว์ พืช สิ่งของ (เรียกว่า สามานยนาม) หรือใช้แทนมโนทัศน์ เช่น ความสุข ความรัก การนั่ง การนอน (เรียกว่า อาการนาม) (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
บ
[แก้ไข]- บ่งชี้, คำ–
- คำที่ใช้บ่งชี้ ระบุ ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใด มีเท่าใด อยู่ที่ใด ของใคร เช่น a/an the some many this that my your (=determiner)
- บุพบท, คำ–
- คำที่ใช้บ่งชี้ตำแหน่ง สถานที่ หรือสภาพของวัตถุหรือกิริยาอาการ โดยเขียนไว้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยา เช่น บน ใน ใต้ ข้าง ที่ ด้วย โดย เพื่อ (=preposition)
- บุรุษที่สอง
- คำที่ใช้กับตัวผู้ฟังหรือผู้อ่านประโยค (=second person)
- บุรุษที่สาม
- คำที่ใช้กับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ทั้งผู้พูด/ผู้เขียน และผู้ฟัง/ผู้อ่านประโยค คำนามทั้งหมดโดยทั่วไปถือว่าเป็นบุรุษที่สาม (=third person)
- บุรุษที่หนึ่ง
- คำที่ใช้กับตัวผู้พูดหรือผู้เขียนประโยค (=first person)
- โบราณ
- คำหรือความหมายที่ไม่ได้ใช้ทั่วไป แต่ยังคงพบได้ในข้อความร่วมสมัยที่ตั้งใจเขียนแบบโบราณ อย่างเช่นวรรณกรรมเชิงประวัติศาสตร์ คำโบราณนี้มีสภาพอ่อนกว่าคำที่เลิกใช้แล้ว (=archaic)
ป
[แก้ไข]- ปัจจัย
- หน่วยคำที่ใช้เติมหลังคำอื่นเพื่อผันรูปหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ (=suffix)
- ปัจฉบท, คำ–
- คำที่ใช้บ่งชี้ตำแหน่ง สถานที่ หรือสภาพของวัตถุหรือกิริยาอาการ เหมือนคำบุพบทแต่เขียนไว้หลังคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยา (=postposition)
- เปรียบเทียบได้
- คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ที่สามารถเปรียบเทียบระดับของลักษณะหรือสมบัตินั้นกับสิ่งอื่นได้ (=comparable)
- เปรียบเทียบไม่ได้
- คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ที่ไม่สามารถเปรียบเทียบระดับของลักษณะหรือสมบัตินั้นกับสิ่งอื่นได้ (=uncomparable)
- แปลตรงตัว
- แปลมาจากภาษาอื่นมาโดยตรงคำต่อคำ โดยเฉพาะคำประสม (=calque)
- แปลตรงตัวบางส่วน
- แปลมาจากภาษาอื่นมาโดยตรงคำต่อคำ แต่มีบางส่วนที่ดัดแปลงหรือใช้คำอื่นแทน (=partial calque; loanblend)
ผ
[แก้ไข]- ผันรูปไม่ได้
- ศัพท์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปเมื่อไวยากรณ์เปลี่ยนไป (=indeclinable)
พ
[แก้ไข]- พหูพจน์
- คำที่ใช้กับวัตถุที่มีหลายสิ่งหรือหลายบุคคล (=plural)
- พหูพจน์เท่านั้น
- คำที่ใช้กับวัตถุที่มีหลายสิ่งหรือหลายบุคคลเท่านั้น ไม่มีเอกพจน์และพจน์อื่น (=plurale/pluralia tantum)
ย
[แก้ไข]- ยืม(มา)
- รับมาจากภาษาอื่นซึ่งไม่ใช่ภาษาบรรพบุรุษ หรือจากคนละตระกูล-กลุ่มภาษา (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่; loan; loanword)
- ยืมโดยกึ่งเรียนรู้
- ยืมโดยผ่านการติดต่อทางภาษาและวัฒนธรรม (เช่นเดินทางเข้ามาเผยแพร่หรือค้าขาย) ซึ่งการสะกดและการออกเสียงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มักจะเป็นคำที่ยืมมานานแล้ว (=semi-learned borrowing)
- ยืมโดยไม่ดัดแปลง
- ยืมโดยไม่มีการดัดแปลงให้สอดคล้องกับกฎทางวากยสัมพันธ์สัณฐาน (morphosyntax) ระบบเสียง (phonology) และ/หรือลำดับเสียง (phonotactics) ของภาษาปลายทาง เช่น cubiculum ในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมโดยไม่ดัดแปลงจากภาษาละติน cubiculum ในขณะที่คำว่า cubicle ในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมปกติที่มาจากคำเดียวกันในภาษาละติน คำยืมโดยไม่ดัดแปลงมักเป็นคำยืมโดยเรียนรู้ (=unadapted borrowing)
- ยืมโดยเรียนรู้
- ยืมโดยผ่านการเรียนรู้ โดยที่ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรง ซึ่งการสะกดและการออกเสียงไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันมักจะเป็นการทับศัพท์ (=learned borrowing)
- ยืมเทียม
- เสมือนยืมจากภาษาอื่น แต่ที่จริงแล้วศัพท์ในภาษานั้นไม่มี หรือมีแต่ไม่ได้ใช้อย่างนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ วะเซเอโงะ (和製英語) ของภาษาญี่ปุ่น (=pseudo-loan)
- ยืมสองครั้ง
- ศัพท์ภาษา ก ที่ยืมมาจากภาษา ข ซึ่งศัพท์นั้นในภาษา ข เคยยืมมาจากภาษา ก มาก่อน แต่การสะกดและ/หรือความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมกลายเป็นคำใหม่ (=twice-borrowed)
- ยืมอักขรวิธี
- ยืมรูปเขียนและเปลี่ยนการออกเสียงให้เข้ากับธรรมเนียมของภาษาปลายทาง พบในภาษาเอเชียตะวันออกที่ใช้อักษรจีน เช่น ชื่อในภาษาจีน 毛泽东/毛泽东 (Máo Zédōng) ภาษาญี่ปุ่นยืมเชิงอักขรวิธีมาเป็น 毛沢東 (Mō Takutō) สังเกตว่าการสะกดคงเดิมแต่การออกเสียงเปลี่ยนไปตามที่อักษรแต่ละตัวจะออกเสียงในภาษาญี่ปุ่น ทำให้มีการออกเสียงที่ต่างไปจากเดิมได้มาก บางครั้งการออกเสียงคำเดียวกันของภาษาต้นทางกับปลายทางไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงศัพทมูลวิทยา เช่น 엽서 (葉書, yeopseo, “ไปรษณียบัตร”) ในภาษาเกาหลีเป็นคำยืมเชิงอักขรวิธีจากภาษาญี่ปุ่น 葉書 (hagaki, “ไปรษณียบัตร”) (=orthographic borrowing)
ร
[แก้ไข]- รวม, เพศ–
- คำที่สามารถเป็นเพศชายหรือเพศหญิงหรือเพศกลางก็ได้ตามไวยากรณ์ (=common)
- รับ(มา)
- นำเอามาจากภาษาอื่น ซึ่งอาจเป็นประเภทใดก็ได้ (=derived)
ล
[แก้ไข]- ลักษณนาม, คำ–
- คำนามที่ใช้เป็นหน่วยนับของวัตถุอื่น เช่น อัน เล่ม แท่ง แผ่น ใบ (=counter; classifier)
- ล้าสมัย
- คำหรือความหมายที่ล้าสมัย คือมีการใช้อยู่บ้างในอดีตไม่นานมานี้ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เพราะมีคำอื่นใช้แทนเป็นต้น (=dated)
- เลิกใช้
- คำหรือความหมายที่เลิกใช้แล้ว คือไม่มีการใช้อีกต่อไปในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากการประกาศให้เลิกใช้ หรือมีการสะกดหรือความหมายใหม่มาแทนที่ (=obsolete)
ว
[แก้ไข]- วลี
- กลุ่มคำที่ประสมขึ้นและมีความหมายพิเศษ กล่าวในอีกทางหนึ่งคือ หากเปลี่ยนคำในวลีนั้นเป็นคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน ความหมายของวลีก็จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง (=phrase)
- วิสามานยนาม, คำ–
- คำที่ใช้แทนวัตถุจำเพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเช่น วิกิพจนานุกรม นาซ่า ยูเนสโก อย่างไรก็ดี คำวิสามานยนามอาจถูกใช้เป็นคำสามานยนามด้วยก็ได้ (=proper noun)
ศ
[แก้ไข]- ศูนย์กลางของคำแปล
- หน่วยข้อมูลที่ประกอบด้วยหลายคำในภาษาไทยซึ่งไม่ได้เป็นสำนวน (จำนวนรวมของหลายส่วน, sum of parts) มีไว้เพียงแค่เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมคำแปลต่าง ๆ และเพื่ออำนวยความสะดวกในการไปจากหน่วยข้อมูลหนึ่งที่ไม่ใช่ภาษาไทยสู่อีกหน่วยข้อมูลหนึ่งที่ไม่ใช่ภาษาไทยเหมือนกัน ตัวอย่างคือ มีวิวัฒนาการ (=translation hub)
ส
[แก้ไข]- สกรรมกริยา, คำ–
- คำกริยาที่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับการกระทำ เช่น กิน ถือ ให้ รับ (=transitive verb)
- สรรพนาม, คำ–
- คำที่ใช้แทนตัวผู้พูด ผู้ฟัง และผู้อื่นหรือวัตถุอื่นที่ได้กล่าวถึงแล้ว เช่น ผม ฉัน คุณ ท่าน เขา เธอ มัน นี้ นั้น (=pronoun)
- สแลง
- ถ้อยคำหรือสำนวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง (=slang)
- สันธาน, คำ–
- คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ หรือประโยคกับประโยค โดยมีความหมายสอดคล้อง ขัดแย้ง หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น กับ และ แต่ ดังนั้น จึง (=conjunction)
- สำนวน
- วลีที่ไม่ได้มีความหมายโดยตรงตามคำที่ประสมขึ้น สามารถพบได้บ่อย เช่น ขวานผ่าซาก กินปูนร้อนท้อง ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (=idiom)
- สำนวนแปลง
- สำนวนที่เปลี่ยนถ้อยคำบางส่วนจากสำนวนดั้งเดิมไปตามสถานการณ์ได้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้อย่างกว้างขวาง เช่น X is the new Y (X กับ Y เป็นตัวแปร) (=snowclone)
- สืบทอด
- พัฒนามาจากภาษาที่เป็นบรรพบุรุษ เช่น ภาษาเขมร สืบทอดจากภาษาเขมรกลาง และเขมรเก่า ตามลำดับ (=inherited)
ห
[แก้ไข]- หญิง, เพศ–
- คำที่เป็นเพศหญิงหรืออิตถีลิงค์ตามไวยากรณ์ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิงหรือสัตว์ตัวเมีย (=feminine)
อ
[แก้ไข]- อกรรมกริยา, คำ–
- คำกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับการกระทำ เช่น เดิน วิ่ง นอน พูด (=intransitive verb)
- อนุภาค, คำ–
- คำไม่ถูกจัดว่าเป็นวจีวิภาคประเภทใด แต่นำไปใช้แต่งเติมคำหรือประโยคเพื่อแสดงน้ำเสียง (=particle)
- อาคม
- หน่วยคำที่ใช้เติมกลางคำอื่นเพื่อผันรูปหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ (=infix)
- อุทาน, คำ–
- คำที่ใช้แสดงการอุทาน เช่น อุ๊ย เอ๋ โอ ส่วนมากไม่มีความหมาย แต่แสดงถึงอารมณ์ของผู้พูด (=interjection)
- อุปสรรค
- หน่วยคำที่ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อผันรูปหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ (=prefix)
- เอกพจน์
- คำที่ใช้กับวัตถุที่มีสิ่งเดียวหรือบุคคลเดียว (=singular)
- เอกพจน์เท่านั้น
- คำที่ใช้กับวัตถุที่มีสิ่งเดียวหรือบุคคลเดียวเท่านั้น ไม่มีพหูพจน์และพจน์อื่น (=singulare/singularia tantum)