ตอแหล

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ไม่ทราบแน่ชัด เป็นไปได้ว่ามาจากภาษาปักษ์ใต้ ต่อแล่ (ร้องเพลงแหล่, พูดความจริงผสมความเท็จ)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ตอ-แหฺล
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdtɔɔ-lɛ̌ɛ
ราชบัณฑิตยสภาto-lae
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tɔː˧.lɛː˩˩˦/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

ตอแหล (คำอาการนาม การตอแหล)

  1. (ภาษาปาก, สแลง, หยาบคาย, ดูหมิ่น, ล่วงเกิน) พูดเท็จ, พูดปั้นเรื่อง, พูดโกหก (มักใช้เป็นคำด่า)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ตอแหล (คำอาการนาม ความตอแหล)

  1. (ภาษาปาก, สแลง, หยาบคาย, ดูหมิ่น, ล่วงเกิน) ที่ชอบพูดเท็จ, ที่ชอบพูดปั้นเรื่อง
  2. (ภาษาปาก, endearing, พบได้ยาก) ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด)
  3. (ภาษาปาก) เรียกต้นไม้ที่ให้ผลเร็วผิดปกติ
    มะเขือตอแหล

ดูเพิ่ม[แก้ไข]