กัมประโด
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]ยืมโดยกึ่งเรียนรู้จากโปรตุเกส comprador (กงปฺราโดรฺ, “ผู้ซื้อ”)[1][2]
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | กำ-ปฺระ-โด | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | gam-bprà-doo |
ราชบัณฑิตยสภา | kam-pra-do | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kam˧.pra˨˩.doː˧/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]กัมประโด
- นายหน้าหรือตัวแทนรับติดต่อให้แก่บริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ด้วยเหตุที่บริษัทเหล่านี้ขาดพนักงานที่สามารถติดต่อกับบริษัทหรือคนพื้นเมืองได้โดยตรงเพราะอุปสรรคทางด้านภาษาและธรรมเนียมปฏิบัติ[3]
- ผู้ทำหน้าที่หาลูกค้าให้บริษัทหรือธนาคาร มักเป็นนักธุรกิจหรือพ่อค้าที่มีฐานะมั่นคงและเป็นที่ยอมรับในถิ่นนั้น ๆ [4]
- นายหน้าซื้อขาย[2]
อ้างอิง
[แก้ไข]- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒.
- ↑ 2.0 2.1 พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร.
- ↑ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. สำนักนโยบายการออมและการลงทุน. ส่วนนโยบายการออมและการลงทุนในภาพรวม. "ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fpo.go.th/s-I/Source/word/Word.php?Language=Thai&BeginRec=419&NumRecShow=8&sort=1&search= 2553. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2556.
- ↑ อานนท์ ตรังตรีชาติ. "เมื่อแรกมีธนาคารในสยาม." ความรู้คือประทีป 52, 3 (2554) : 3-7.