กระสา
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก นกกระสา)
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | กฺระ-สา | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | grà-sǎa |
ราชบัณฑิตยสภา | kra-sa | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kra˨˩.saː˩˩˦/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
[แก้ไข]ยืมโดยกึ่งเรียนรู้จากภาษาโปรตุเกส garça; ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร ក្រសារ (กฺรสาร)
คำนาม
[แก้ไข]กระสา (คำลักษณนาม ตัว)
- ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแบนข้าง ยาว ปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอเหยียดตรง ทำรังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาคอขาว [Ciconia episcopus (Boddaert)] กระสาคอดำ [Ephippiorhynchus asiaticus (Latham)]
- ชื่อนกยางขนาดใหญ่ในวงศ์ Ardeidae ปากยาว ปลายแหลม ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้มีขนยาวบริเวณท้ายทอย 2 เส้น คอยาว เวลาบินคอโค้งงอ ขายาว เล็บของนิ้วกลางที่หันไปข้างหน้าหยักคล้ายซี่หวี ทำรังด้วยกิ่งไม้บนยอดไม้สูงปานกลาง กินปลาและสัตว์น้ำ ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ กระสานวล (Ardea cinerea Linn.) กระสาแดง (A. purpurea Linn.) และกระสาใหญ่ (A. sumatrana Raffles)
คำสืบทอด
[แก้ไข]- → ลาว: ກະສາ (กะสา)
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]นก
ดูเพิ่ม
[แก้ไข]รากศัพท์ 2
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]กระสา (คำลักษณนาม ตัว)
- ชื่องูชนิดหนึ่ง
- งูไซงูกระสา (ไตรภูมิพระร่วง)
รากศัพท์ 3
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]กระสา (คำลักษณนาม ต้น)
- ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะตามริมแม่น้ำลำคลอง ใบเท่าฝ่ามือหรือใหญ่กว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น 3 แฉก มีขนทั้ง 2 ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ (เรียก กระดาษสา) ภาษาไทยถิ่นเหนือเรียก สา
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]ปอสา
|
หมวดหมู่:
- สัมผัส:ภาษาไทย/aː
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 2 พยางค์
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาโปรตุเกส
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมโดยกึ่งเรียนรู้จากภาษาโปรตุเกส
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาโปรตุเกส
- คำหลักภาษาไทย
- คำนามภาษาไทย
- คำนามภาษาไทยที่ใช้คำลักษณนาม ตัว
- รายการที่มีกล่องคำแปล
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้
- คำนามภาษาไทยที่ใช้คำลักษณนาม ต้น