เม่น
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເໝັ້ນ (เหมั้น), ภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾᩮ᩶ᩁ (หเม้ร), ภาษาเขิน ᩉ᩠ᨾᩮ᩶ᩁ (หเม้ร), ภาษาไทลื้อ ᦖᦲᧃᧉ (หฺมี้น), ภาษาไทใหญ่ မဵၼ်ႈ (เม้น), ภาษาอาหม 𑜉𑜢𑜐𑜫 (มิญ์)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ {ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น} | เม็่น | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | mên |
ราชบัณฑิตยสภา | men | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /men˥˩/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]เม่น (คำลักษณนาม ตัว)
- ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hystricidae มีฟันแทะขนาดใหญ่ ลำตัวมีขนแหลมแข็ง ขนครึ่งท้ายลำตัวยาวกว่าด้านหน้า ขาสั้น ขาหน้ามีเล็บแข็งแรงใช้ขุดดิน กินพืช ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyuraLinn.) เม่นใหญ่แผงคอสั้น [H. hodgsoni (Gray)] และเม่นหางพวง [Atherurus macrourus (Linn.)]