แกล้ง
หน้าตา
ดูเพิ่ม: แกลง
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ແກ້ງ (แก้ง), ภาษาเขิน ᨠᩯ᩠᩶ᨦ (แก้ง, “ทำให้เสียชื่อเสียงลับหลัง”), ภาษาไทใหญ่ ၵႅင်ႈ (แก้ง, “แสร้ง”) หรือ ၵဵင်ႈ (เก้ง), ภาษาไทใต้คง ᥐᥦᥒᥴ (แก๋ง, “เยาะเย้ย”), ภาษาอาหม 𑜀𑜢𑜂𑜫 (กิง์, “แสร้ง”)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | แกฺล้ง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | glɛ̂ɛng |
ราชบัณฑิตยสภา | klaeng | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /klɛːŋ˥˩/(สัมผัส) |
คำกริยา
[แก้ไข]แกล้ง (คำอาการนาม การแกล้ง)
- (สกรรม) ทำให้เดือดร้อนรำคาญ
- เขามักแกล้งฉันในเวลาเรียน
- (อกรรม) แสร้ง
- เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน
- (อกรรม) จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น
- (โบราณ, อกรรม) ตั้งใจ, จงใจ
- แกล้งประกาศแก่สงฆ์.— มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ วนปเวสน์กัณฑ์