แก่

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: แก, แก้, และ แก๋

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์แก่
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgɛ̀ɛ
ราชบัณฑิตยสภาkae
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kɛː˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *keːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨠᩯ᩵ (แก่), ภาษาปักษ์ใต้ แก๋, ภาษาลาว ແກ່ (แก่), ภาษาอีสาน แก หรือ แก่, ภาษาไทลื้อ ᦶᦂᧈ (แก่), ภาษาไทขาว ꪵꪀꫀ, ภาษาไทใหญ่ ၵႄႇ (แก่), ภาษาไทใต้คง ᥐᥥᥱ (เก่), ภาษาพ่าเก ကေ (เก), ภาษาอาหม *𑜀𑜦𑜧 (*เก), ภาษาจ้วง geq, ภาษาแสก เก

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

แก่ (คำอาการนาม ความแก่)

  1. มีอายุมาก
    แก่ไปทุกวัน
    ไม้แก่
    เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น
  2. อยู่ในวัยชรา
    คนแก่
  3. จัด
    เหลืองแก่
    แก่เปรี้ยว
    แก่หวาน
  4. โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น
    แก่สังคม
    แก่วิชา
    แก่เหล้า
    แก่เล่น
    แก่ไฟ
คำพ้องความ[แก้ไข]
ดูที่ อรรถาภิธาน:แก่
คำประสม[แก้ไข]
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ແກ່ (แก่)

คำบุพบท[แก้ไข]

แก่

  1. ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ
    องค์กรการกุศลมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ແກ່ (แก่)

คำกริยา[แก้ไข]

แก่ (คำอาการนาม การแก่)

  1. ลาก, เข็น
    แก่เกวียน
    ลากเกวียน