ช้าง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ชาง และ ช่าง

ภาษาไทย[แก้ไข]

ช้าง

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ช้าง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงcháang
ราชบัณฑิตยสภาchang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰaːŋ˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ɟaːŋꟲ², จากภาษาไทดั้งเดิม *ɟaːŋꟲ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC zjangX); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ (ช้าง), ภาษาอีสาน ซ่าง, ภาษาลาว ຊ້າງ (ซ้าง), ภาษาไทลื้อ ᦋᦱᧂᧉ (ช้าง), ภาษาไทดำ ꪋ꫁ꪱꪉ (จ้̱าง), ภาษาไทใหญ่ ၸၢင်ႉ (จ๎าง), ภาษาไทใต้คง ᥓᥣᥒᥳ (จ๎าง), ภาษาอาหม 𑜋𑜂𑜫 (ฉง์), ภาษาจ้วง ciengh, ภาษาแสก ซาง, ภาษาจ้วงใต้ changj

คำนาม[แก้ไข]

ช้าง (คำลักษณนาม ตัว หรือ เชือก)

  1. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Elephantidae ผิวหนังหนา สีดำหรือดำอมเทา รับสัมผัสได้ไว ขนสีดำ จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ปลายงวงมีจะงอยสำหรับจับสิ่งของ ขมับทั้ง 2 ข้างมีรูเปิดของต่อมน้ำมัน จะมีน้ำมันไหลออกมาเมื่อถึงวัย ขาใหญ่เป็นลำ กินพืช มี 2 ชนิด คือ ช้างเอเชียและช้างแอฟริกา
การใช้[แก้ไข]

ช้างตัวผู้ หรือเรียกว่า ช้างพลาย มีชื่อเรียกกันต่าง ๆ ตามลักษณะ เช่น ช้างสีดอ หรือช้างงวง หรือช้างนรการ (ช้างที่ไม่มีงา หรือมีงาสั้น)

ส่วนช้างตัวเมีย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ช้างพัง ส่วนช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลงจะเรียกว่า ช้างแม่แปรก หรือคำสุภาพเรียกว่า ช้างแม่หนัก

ลักษณนามใช้แก่ช้างแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ถ้าเป็นช้างป่าหรือช้างไพร (ยังไม่ได้ฝึกหัด) ลักษณนามเรียกเป็น "ตัว" แต่ถ้าช้างนั้นขึ้นเพนียดแล้ว รวมทั้งช้างเผือกด้วยก็เรียกเป็น เชือก

ส่วนสมุหนามของช้างใช้อย่างเดียวกันทั้งหมดว่า โขลง

คำพ้องความ[แก้ไข]
ดูที่ อรรถาภิธาน:ช้าง
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]
คำประสม[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

ช้าง

  1. (อกรรม, ร้อยกรอง) เสียใจมาก
    ปรารมภ์ใจอ้างว้าง กรกอดอกไห้ช้าง เพื่อชู้นานถึง (ลิลิตพระลอ)

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ช้าง (คำลักษณนาม ตัว)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ (ช้าง)