ก้อน
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ກ້ອນ (ก้อน), ภาษาคำเมือง ᨠᩬ᩶ᩁ (กอ้ร), ภาษาเขิน ᨠᩬ᩶ᩁ (กอ้ร), ภาษาไทลื้อ ᦂᦸᧃᧉ (ก้อ̂น), ภาษาไทดำ ꪀ꫁ꪮꪙ (ก้อน), ภาษาไทใหญ่ ၵွၼ်ႈ (ก้อ̂น), ภาษาอาหม 𑜀𑜨𑜃𑜫 (กอ̂น์), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง konj-ข้อน, ภาษาจ้วง gonj-ก้อน
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ก้อน | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | gɔ̂ɔn |
ราชบัณฑิตยสภา | kon | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kɔːn˥˩/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]ก้อน
- คำบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กำหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม
- ข้าวเกาะกันเป็นก้อน
- เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กำหนดรูปแน่นอน
- แถวนี้มีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่กระจัดกระจาย
- สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กำหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม
- ก้อนอิฐ
- ก้อนหิน
- โดยปริยายหมายถึง จำนวนรวม
- ได้เป็นเงินก้อน
คำลักษณนาม
[แก้ไข]ก้อน
- เรียกของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น
- แม่นำหินสองก้อนมาประดับสวน
- ข้าวสองก้อนตกลงบนพื้น
ภาษาปักษ์ใต้
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]ก้อน