ข้ามไปเนื้อหา

ขวัญ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

เทียบจีนยุคกลาง (MC hwon, “วิญญาณ”); ร่วมเชื้อสายกับลาว ຂວັນ (ขวัน), คำเมือง ᨡ᩠ᩅᩢᩁ (ขวัร), เขิน ᨠ᩠ᩅᩢ᩠ᨶ (กวัน) หรือ ᨡ᩠ᩅᩢ᩠ᨶ (ขวัน), ไทลื้อ ᦧᧃ (ฃฺวัน), ไทดำ ꪄꪺꪙ (ฃัวน) หรือ ꪄꪫꪽ (ฃวัน), ไทขาว ꪄꪫꪽ หรือ ꪄꪮꪙ, ไทใหญ่ ၶႂၼ် (ขฺวัน) หรือ ၶွၼ် (ขอ̂น), อาหม 𑜁𑜨𑜃𑜫 (ขอ̂น์), จ้วง hoenz, จ้วงแบบจั่วเจียง kvaen; การสะกดคำปนเปื้อน

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ขฺวัน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkwǎn
ราชบัณฑิตยสภาkhwan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰwan˩˩˦/(สัมผัส)

คำนาม

[แก้ไข]

ขวัญ

  1. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย
  2. มิ่งมงคล, สิริ, ความดี
  3. สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน
  4. (ในเชิงเปรียบเทียบ) ยอดกำลังใจ
    ขวัญเมือง
    สร้างขวัญให้ใจฮึกเหิม
  5. กำลังใจดี
  6. (โบราณ) วิญญาณ, ผี

ลูกคำ

[แก้ไข]