คุยกับผู้ใช้:Octahedron80

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
กรุ
กรุ: หน้าปัจจุบัน
1, 2

สร้างหน้าตามชนิดคำ[แก้ไข]

จากความเชื่อของผมที่ว่าจะต้องมีคนที่อยากเขียนแต่ไม่ทราบวิธีการเขียน พอเปิดไปดูวิกิพจนานุกรม:คู่มือในการเขียนก็ได้เจอกับความล้าสมัยของข้อมูล ผมจึงลองจัดการทำแม่แบบสร้างหน้าตามชนิดคำขึ้นมาครับ ซึ่งตัวอย่างเป็นดังนี้

คำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์
(วิเศษณ์ขยายคำนาม)



ผมไม่รู้ว่าการใช้วิธีนี้จะดีมั้ย และถ้าดีแต่ใส่ในวิกิพจนานุกรม:ศาลาประชาคมจะดีมั้ยครับ ซึ่งผมไม่รู้ว่าควรจะทำต่อหรือทิ้งดีครับ --ZilentFyld (คุย) 21:05, 3 กันยายน 2561 (ICT)

ถ้าคิดว่ามันจะช่วยให้วิกิพจนานุกรมพัฒนาก็ทำไปครับ ปัญหาไม่น่ามีนอกจากการก่อกวน --Octahedron80 (คุย) 10:05, 6 กันยายน 2561 (ICT)

ช่วยเพิ่ม div preload ลงมีเดียวิกิ:Newarticletextหน่อยครับ[แก้ไข]

ตามชื่อเรื่องครับ ผมทดลองทำแล้วโดยอยู่ที่ ผู้ใช้:ZilentFyld/testde.js ซึ่งมันยากต่อการทดสอบครับ --ZilentFyld (คุย) 12:12, 25 กันยายน 2561 (ICT)

คุณก็ใช้ไอดี Newarticletext-extension สิครับ เปลี่ยนแค่ชื่อเท่านั้นเอง ไม่จำเป็นต้องเพิ่มใหม่อีก $("#Newarticletext-extension").html(wikicode); คุณอยากได้อิลิเมนต์เพิ่มก็เขียนสคริปต์เพิ่มเอา --Octahedron80 (คุย) 12:21, 25 กันยายน 2561 (ICT)
ขอบคุณครับ :) --ZilentFyld (คุย) 12:26, 25 กันยายน 2561 (ICT)

ขอสอบถามเพิ่มเติมครับ หน้าที่เป็ร "ปัจจุบันไม่มีข้อความในหน้านี้" คือหน้าอะไรและใช้ไอดีอะไรครับ --ZilentFyld (คุย) 00:25, 29 กันยายน 2561 (ICT)

ผมเห็น มีเดียวิกิ:Noarticletext กับ มีเดียวิกิ:Noarticletext-nopermission --Octahedron80 (คุย) 07:52, 29 กันยายน 2561 (ICT)
ช่วยใส่ div Noarticletext-extension ได้มั้ยครับ
ผมใส่แค่หน้าแรกนะครับ --Octahedron80 (คุย) 10:15, 2 ตุลาคม 2561 (ICT)
ครับ --ZilentFyld (คุย) 10:17, 2 ตุลาคม 2561 (ICT)
ผมเห็นคุณเขียน jQuery เต็มตัวแล้ว (จากเดิมที่เขียนปนกับ DOM) พยายามต่อไปครับ --Octahedron80 (คุย) 10:29, 2 ตุลาคม 2561 (ICT)

เกี่ยวกับ autocreat.js[แก้ไข]

หลังจากที่ผมลองสร้าง autocreat.js (จากความรู้อันน้อยนิดแล้วกอป catcat มา) ซึ่งสามารถสร้างคำผันภาษาสวีเดนได้จากการกดปุ่มเดียว ผมมีปัญหาตรงที่มันขึ้นปุ่มในทุกรูปผันครับ แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถกดแล้วสร้างได้เหมือนกัน ช่วยหน่อยได้มั้ยครับ (autocreat.js)

อีกอย่างนึงคือถ้าใช้วิธีนี้ การสร้างหน้าคำผันภาษาฟินแลนด์ก็เป็นไปได้ ถึงแม้การผันจะมั่ว แต่ขอให้แก้ปัญหานี้ได้ก่อนครับ (ผมใช้หลักการตรวจสอบ class ครับ) --ZilentFyld (คุย) 09:56, 4 ตุลาคม 2561 (ICT)

คุณอาจจะใส่คลาสหรือไอดีเพิ่มในแม่แบบ ให้สามารถกรองอิลิเมนต์ที่ต้องการหรือไม่ต้องการก็ได้ครับ (ระวัง:ไอดีสามารถใช้ได้ครั้งเดียวบนเพจ) หัวใจสำคัญของ jQuery คือการเลือกอิลิเมนต์ ด้วยสัญกรณ์แบบ css --Octahedron80 (คุย) 14:30, 4 ตุลาคม 2561 (ICT)

การใช้แม่แบบเป็นหัวข้อ[แก้ไข]

เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องตามภาษาอังกฤษคนอื่นเค้าทุกเรื่อง ผมเลยอยากได้ความคิดเห็นเรื่องการใช้แม่แบบภาษานิดหน่อยครับ
ผมเห็นหลายภาษาใช้หัวข้อเป็นรูปแบบโค้ดภาษาพร้อมกับ - คลุม (เช่น -en- สำหรับหัวข้อภาษาอังกฤษ) ผมเลยเกิดความคิดหนึ่งขึ้นมาครับ แทนที่เราจะเริ่มหัวข้อภาษาไทยเป็น (== ภาษาไทย ==) เปลี่ยนรูปแบบการเขียนเป็น == {{lang|th}} == ซึ่ง lang เป็นชื่อตัวอย่างเพราะมีการใช้อยู่แล้ว แทนจะดีกว่ามั้ย ข้อดีของมันคือถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อภาษา (อย่างเช่นแปล) ก็เปลี่ยนเลยที่เดียวและทั้งหมดจะเปลี่ยนตาม และในบางภาษาที่รู้โค้ดแต่ไม่รู้ชื่อภาษาก็จะไม่จำเป็นต้องหาชื่อจากที่อื่นครับ แต่ข้อเสียน่าจะเป็นการเปลืองทรัพยากรเซิฟเวอร์
ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับความคิดนี้ก็เลยลองถามดูครับและที่แน่นอนถ้าเปลี่ยนผมเปลี่ยนคนเดียวไม่ได้อยู่แล้ว --ZilentFyld (คุย) 14:56, 16 ตุลาคม 2561 (ICT)
เราเคยใช้อยู่ในสมัยแรกๆ ตั้งแต่กว่า 10 ปีก่อน เช่นพวก {{th}} {{en}} {{fr}} ฯลฯ ซึ่งแทนด้วย ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ และหลายวิกิเก่าๆที่ไม่ค่อยอัพเดทด้านเทคนิคก็ทำแบบนี้กัน มันสะดวกก็จริงแต่ข้อเสียของการใช้แม่แบบคือใช้เวลาประมวลผล + กินแรมมาก (ในขณะที่มอดูลกินน้อยกว่าเพราะต่อกับ lua และ php ซึ่งเป็นไบนารี) บอตภายนอกไม่สามารถเอาไปประมวลผลได้ คนภายในไม่รู้จักรหัสภาษา และถ้าแม่แบบถูกแก้ก็คือพังทุกหน้า แม่แบบชื่อภาษาส่วนหนึ่งมีชื่อเหมือนกับแม่แบบที่ทำฟังก์ชั่นอื่นเช่น der bor inh cog ฯลฯ ปัจจุบันแม่แบบชื่อภาษาจึงยกเลิกหมด ใช้ข้อความธรรมดาดีกว่าเรียกแม่แบบ ผมคิดว่าเราไม่ควรที่จะถอยหลังลงคลอง เพราะฐานข้อมูลเราใหญ่ขึ้นทุกวันไม่เหมือน 10 ปีที่แล้ว อีกอย่างแม่แบบ lang ไม่ได้ใช้เอาไว้ทำแบบนั้นครับ มีไว้แค่เปลี่ยนฟอนต์เท่านั้น --Octahedron80 (คุย) 19:44, 16 ตุลาคม 2561 (ICT)
ก็ใช้ lua สิครับ ตาม template:langname แต่แค่เติมคำว่าภาษาเข้าไปข้างหน้า ผมไม่คิดจะทำแยกอยู่แล้ว เพราะผมรู้ว่าถ้าทำเป็นแม่แบบแยกจะเกิดอะไรขึ้น และการทำแม่แบบแยกภาษาที่ยังไม่ได้แปลมันก็จะสร้างไม่ได้อยู่ดีครับ อีกอย่าง lang เป็นชื่อทดลองครับเพราะผมก็เช็คมาแล้วว่ามันเป็นอะไร (สถานที่ที่ผมได้ความคิดมาได้แก่ fr, de, es, el ซึ่งก็ไม่ใช่วิกิที่คนมาดูน้อยเลย แต่อย่างไรก็ตามในสิบอันดับวิกิพจนานุกรมที่มีคนเปิดดูมากที่สุดก็มีแค่สี่อันนี้แหละครับ และอีก 4 ru, pl, nl, ja ใช้แบบเก่า จะเหลือแค่ en กับ cz นั่นแหละครับ แต่อย่างไรก็ตามผมก็ไม่ได้คิดไว้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด แค่ต้องการควาคิดเห็นเฉย ๆ นั่นแหละครับ)--ZilentFyld (คุย) 20:17, 16 ตุลาคม 2561 (ICT)
แม่แบบ langname ก็ไม่ได้สร้างมาให้ใช้โดยตรงครับ ถ้าคุณอยากใช้ควรทำเป็น subst:langname แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อความนิ่งที่ไม่ต้องผูกกับแม่แบบ อีกอย่างคือเรื่องจำนวนคนดูกับนักเทคนิคมันคนละเรื่องกันครับ คนดูเยอะแต่นักเทคนิคมีนิดเดียว ล่าสุดนี่เจอกับ ja ที่ลอกมอดูลไปแล้วแต่ยังใช้อะไรไม่ได้สักอย่าง --Octahedron80 (คุย) 20:21, 16 ตุลาคม 2561 (ICT)

ภาษาจีน (ต่อ แต่คนละเรื่อง)[แก้ไข]

ผมเริ่มเห็นในภาษาอังกฤษเริ่มลบตรงความหมายในหมวดข้ามภาษาแล้วทั้งหมด ไปแยกอยู่ในแต่ละภาษาแทน ผมไม่รู้ว่าควรลบตามดีมั้ย --ZilentFyld (คุย) 16:47, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)

จะลบก็ได้ครับ เพราะถึงยังไง "ภาษา" ก็สามารถอธิบายความหมายได้ดีกว่าข้ามภาษา แต่ก่อนลบ ให้แน่ใจว่าเราแปลได้ แปลถูก และถูกภาษา ถ้าแปลไม่ได้ก็ปล่อยทิ้งไว้งั้นก่อน เนื่องจากมีแม่แบบติดตามอยู่ --Octahedron80 (คุย) 16:55, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)

ภาษาอาหรับ[แก้ไข]

จะเป็นไปได้มั้ยครับที่จะลบคำภาษาอารบิกทั้งหมดที่ Alif-bot เขียน เนื่องจากคำหลายคำมันไม่ใช่รูปที่ยำมาทำใส่พจนานุกรม และก็ไม่ใช่จำนวนน้อยด้วยครับ ถ้าลองดูหน้าหมวดหมู่คำนามภาษาอาหรับ จะเห็นคำจำนวนมากขึ้นต้นด้วย ا (หรือจะเรียกว่าลงท้ายก็ได้ เพราะมันต่อท้านถ้าอ่านตามแบบเรา) ซึ่งหน้าส่วนใหญ่ในนั้นจะเป็นรูปเจาะจง (Definite) ซึ่งมันจะลิงค์เข้าภาษาอื่นไม่ได้ครับ --ZilentFyld (คุย) 18:40, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)

ติดป้ายแจ้งลบไว้ครับ เพราะผมก็ไม่ทราบว่าควรจะลบอันไหนบ้าง บางหน้าก็อาจพัฒนาไปแล้ว --Octahedron80 (คุย) 18:43, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)

ถ้ามาจาก bot ผม ก็ต้องขออภัยด้วยครับ ตอนนั้น ซึ่งผ่านมาหลายปีมากแล้ว มีความถนัดน้อยยิ่งกว่าตอนนี้ --A.S. (คุย) 20:41, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)

คำวิสามานยนาม ไทเขิน[แก้ไข]

สวัสดีครับ ตามผมเข้าใจ ไทเขิน ไม่ใช่ชื่อประเทศ ชื่อคนเฉพาะ หรือชื่อสถานที่เฉพาะ (เช่น เมือง) ตาม Wiktionary ภาษาอังกฤษ ชื่อกลุ่มจัดว่าเป็น noun (เช่น https://en.wiktionary.org/wiki/Han_Chinese) ถ้านับเป็นชื่อภาษา Wiktionary ดังกล่าวก็จัดเป็น noun เหมือนกัน (เช่น https://en.wiktionary.org/wiki/Chinese#Noun) กรุณาอธิบายได้ไหมครับว่า ชื่อกลุ่มชนชาติเป็น proper noun ได้อย่างไร ตามมุมมองทฤษฎีไหนครับ ขอบคุณครับ
--A.S. (คุย) 20:39, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)

ผมไม่แน่ใจครับ ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์หมายถึงคนกลุ่มนั้นกลุ่มเดียวไม่ได้หมายถึงกลุ่มอื่น ก็น่าจะสามารถเป็นวิสามานยนามได้ นอกจากนั้นเขินสามารถเป็นชื่อภาษาได้ด้วย ชื่อภาษามักจะเอาชื่อประเทศหรือชื่อกลุ่มชาติพันธุ์มาตั้ง ก็ต้องเป็นวิสามานยนามครับ --Octahedron80 (คุย) 20:42, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)
ผมลองศึกษาใหม่ครับ ตามที่ผมเข้าใจจากบทความนี้และข้อมูลอื่นในอินเตอร์เน็ต กลุ่มชาติพันธุ์ต้องเป็นคำนามครับ เพราะหมายถึงกลุ่ม หรือ class ซึ่งมีสมาชิกอยู่ในนั้นรวมกันอยู่ กลุ่มคนเขินมีคนเขินหลายคน จึงเป็นคำนามครับ ส่วนเรื่องภาษาเขินนั้น น่าจะหมายความว่า ภาษาของชาวเขิน ซึ่งหมายถึงภาษาใดภาษาหนึ่ง ถ้าผมเอาคำว่า คน ในประโยค กลุ่มคนเขินมีคนเขินหลายคน เปลี่ยนเป็น ภาษา มันก็จะเข้าใจได้ยากครับ คือ กลุ่มภาษาเขินมีภาษาเขินหลายภาษา เพราะว่ากลุ่มภาษาเขินไม่ได้มีภาษาเขินหลายภาษา (มีแต่หลายสำเนียงหรือภาษาท้องถิ่น) ดังนั้นคำว่า เขิน เป็นคำนามเมื่อหมายถึง คน แต่เป็นคำวิสามานยนามเมื่อเป็นภาษาครับ
ตามข้อมูลนี้ (แต่ในบริบทภาษาอังกฤษ) เราพูดว่า คนเขินคนนั้น ได้ แต่เวลาพูดว่า ภาษาเขินภาษานั้น มันฟังดูแปลก ๆ ครับ
อนึ่ง ไหน ๆ ดูเหมือนว่าเราจะทำตามมาตรฐานสากลอยู่แล้ว เช่น การแบ่งคำวิเศษณ์ออกเป็นคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ ผมว่ามันไม่เสียหายอะไรที่จะแบ่งคำที่เป็นได้ทั้งชื่อชนชาติและภาษา (และประเทศ เช่นคำว่า ไทย) ตามมาตรฐานสากล ผมจะแก้ไขตามข้อมูลนี้นะครับ --A.S. (คุย) 00:56, 16 สิงหาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ຊາກ = ຫຼອນ ?[แก้ไข]

สวัสดีครับ ผมเอาคำว่า หลอน มาจากพจนานุกรม ลาว-ลาว ครับ (มะหาสิลา วีระวง พ.ศ. 2503) จึงใส่ไว้ในคำพ้องความ แต่ผมคงใส่ไม่ถูกที่ --A.S. (คุย) 07:02, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)

แต่ว่าเอาออกไป ผมว่าดีแล้วครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 07:11, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)
ผมดูจาก sealang แล้วไม่น่าจะมีความหมายที่เข้ากับอะไรได้นะครับ ความหมาย บางครั้งบางโอกาส กับ เกิดขึ้นโดยไม่บอก ไม่น่าจะเหมือนกันครับ --Octahedron80 (คุย) 07:13, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)

นอร์เวย์[แก้ไข]

เนื่องจากมันแบบเขียนอยู่สองแบบ (หรือห้าถ้านับ Samnorsk ที่เลิกใช้ Høgnorsk, Riksmål ที่ไม่ทางการ จึงไม่มีในวิกิพจนานุกรม) คือ Bokmål กับ Nynorskซึ่งในวิกิพจนานุกรมภาษาไทยชื่อภาษานี้เป็นบุ๊กมอลกับนือนอชก์ ผมคิดว่ามันอาจจะทำให้คนเข้าใจผิดว่ามันไม่ใช่ภาษานอร์เวย์ครับ ถ้าจะเปลี่ยนชื่อเป็น นอร์เวย์(แบบ)บุ๊กมอล ตาม Norwegian Bokmål ในภาษาอังกฤษจะได้มั้ยครับ ผมไม่กล้าเปลี่ยนเอง --ZilentFyld (คุย) 10:23, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)

ผมก็พยายามเลี่ยงการเก็บกวาดภาษานี้มาตลอดครับ รอให้คนมาออกความเห็นเพราะจะได้ทำทีเดียว ผมดูที่ en:Wiktionary:About_Norwegian ก็แยกภาษากันมาตั้งแต่ 2011 เรื่องชื่อนั้นถ้ามีคำว่านอร์เวย์ด้วยน่าจะดีครับ แต่จะไม่แปลจากหลังไปหน้าแบบอังกฤษเพราะจะทำให้งง ควรใช้ว่า นอร์เวย์แบบบุ๊กมอล (nb) (แปลว่าตัวเขียนในหนังสือ) กับ นอร์เวย์แบบนือนอสก์ (nn) (แปลว่านอร์เวย์ใหม่) ส่วนภาษานอร์เวย์ธรรมดา เอาไว้ใช้กับรากศัพท์เท่านั้น ไม่ควรจะมีคำใดอยู่ --Octahedron80 (คุย) 11:37, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)

Module:Unicode data/images/009[แก้ไข]

Can you please update Module:Unicode data/images/009? I was unable to modify the module page here. Just like en:Module:Unicode data/images/009. I changed them to better-quality images. --Username8192 (คุย) 15:33, 13 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

No problem. Do you have more updates? --Octahedron80 (คุย) 15:35, 13 พฤศจิกายน 2561 (ICT)
No. Thank you very much! --Username8192 (คุย) 15:37, 13 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

Module:category tree[แก้ไข]

Also, what happened to Module:category tree, so that language categories like หมวดหมู่:ภาษานีวเว aren't displayed properly? --Lo Ximiendo (คุย) 14:13, 27 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

@Lo Ximiendo It is fixed now. I recently renamed derivcatboiler to derived cat but I forgot to modify few pages. --Octahedron80 (คุย) 20:12, 29 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

ตัวกรองการเปลี่ยนชื่อในวิกิพีเดีย[แก้ไข]

สวัสดีครับ ที่หน้าพูดคุยของผมในวิกิพีเดีย มีคนมาขอให้ช่วยอัปเดตตัวกรองการย้ายหน้าผู้ใช้ (เข้าใจว่าเป็นตัวกรองนี้) แต่ไม่ทราบว่าควรแก้โค้ดอย่างใด จึงรบกวนสอบถามมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ --B20180 (คุย) 16:56, 9 มกราคม 2562 (ICT)

@B20180 ตรวจระดับของผู้ใช้ที่ user_groups น่าจะเหมาะกว่าตรวจที่คำอธิบายครับ เพราะว่าคำอธิบายอาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้แล้วเราก็จะตรวจจับไม่เจอ ระดับของผู้ใช้ที่ควรได้รับการยกเว้นเพิ่มเติม (นอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว) ก็คือ checkuser, steward, global-sysop, และ global-renamer ถึงจะมีสิทธิเหนือกว่าแต่ก็ติดตัวกรองเหมือนกัน --Octahedron80 (คุย) 07:16, 11 มกราคม 2562 (ICT)

Hello. Could you tell me why this edit was "Disallow", if you possible? Thanks. --Garam (คุย) 01:29, 3 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)

@Garam First, we have the filter to prevent new users editing category, template and module pages because they potentially become vandalism. Second, the category คำวิเศษณ์ภาษาไทย is obsolete and it is in the process of cleanup. No one should edit the category. --Octahedron80 (คุย) 07:42, 3 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)

ชื่อพายุภาษากวางตุ้ง[แก้ไข]

สวัสดีครับ รบกวนถอดเสียง 鴛鴦 เป็นภาษากวางตุ้งให้หน่อยครับ เป็นชื่อพายุใหม่ มีผู้ใช้อีกคนถามมา --Potapt (คุย) 19:27, 2 มีนาคม 2562 (ICT)

en:鴛鴦 (เป็ดแมนดาริน) อ่านได้สองแบบ jyun1 joeng1, jin1 joeng1 ถ้าถอดตามหลักที่ผมใช้ก็จะเป็น ยฺวื้นเยิ้ง กับ ยี้นเยิ้ง (ถอดด้วยระบบ Jyutping) --Octahedron80 (คุย) 21:01, 2 มีนาคม 2562 (ICT)

อีกเรื่องคือ ผมจะสร้างหน้าของคำในภาษามัลดีฟส์ (dv) กับภาษามาร์แชลล์ (mh) รบกวนดำเนินการด้วยครับ ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 19:43, 2 มีนาคม 2562 (ICT)

อยากสร้างภาษาไหนสามารถสร้างได้เลย แค่ฟอร์แมตต้องเหมือนกัน --Octahedron80 (คุย) 21:19, 2 มีนาคม 2562 (ICT)
เห็นคุณเคยบอกไว้เกี่ยวกับการแทนที่ชื่อใน มอดูล:languages ว่าให้บอกคุณก่อน --Potapt (คุย) 23:56, 2 มีนาคม 2562 (ICT)
โอเค เห็นแล้วครับ ----Potapt (คุย) 23:59, 2 มีนาคม 2562 (ICT)
อ้อ ถ้าอยากจะเปลี่ยนชื่อ ช่วยบอกว่าเปลี่ยนชื่อนะครับ เพราะหมวดหมู่กับมอดูลมันเชื่อมโยงกันอยู่ ต้องแก้หลายที่ ในขณะที่คำศัพท์นั้น สามารถสร้างเลยได้ --Octahedron80 (คุย) 12:22, 3 มีนาคม 2562 (ICT)

Hi. Is เสมหะ really from श्लेष्मन्? I think เสลด is. I've made an entry @ English Wiktionary for เสลด. --Anatoli (คุย) 11:04, 4 มีนาคม 2562 (ICT)

No. เสมหะ is from Pali semha. --Octahedron80 (คุย) 13:01, 4 มีนาคม 2562 (ICT)

Thanks for answering and fixing on enwikt. I think Khmer ស្លេស្ម is a cognate - also derived from Sanskrit. --Anatoli (คุย) 13:09, 4 มีนาคม 2562 (ICT)

พิมพ์หนังสือ?[แก้ไข]

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้นำ "พิมพ์หนังสือ" ออกไปแล้วหรือครับ ตามที่ผมค้นหาจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ "พิมพ์หนังสือ" มีนิยามว่า "ก. ใช้เครื่องพิมพ์กดตัวหนังสือหรือภาพเป็นต้นให้ติดบนกระดาษหรือผ้าเป็นต้น" ไม่ควรรวมเป็นบทความหรือครับ
--A.S. (คุย) 07:08, 12 มีนาคม 2562 (ICT)

มีอยู่ในพจน. แต่ผมเห็นว่า พิมพ์หนังสือ ไม่น่าจะเป็นคำประสมได้ครับ มันสามารถเป็นที่เข้าใจได้ว่า = พิมพ์+หนังสือ ถ้าเทียบกับ เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ ทำหนังสือ ซึ่งก็จะเป็น sum of parts --Octahedron80 (คุย) 07:17, 12 มีนาคม 2562 (ICT)

เข้าใจแล้วครับ --A.S. (คุย) 08:24, 12 มีนาคม 2562 (ICT)

zh-mw สำหรับภาษาไทย?[แก้ไข]

สวัสดีครับ เคยเขียนแม่แบบสำหรับลักษณนามไทยที่คล้าย zh-mw ในวพจน. อังกฤษไหมครับ ผมหาไม่เจอครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 11:19, 12 มีนาคม 2562 (ICT)

แม่แบบ:cls ผมทำไว้เป็นแบบทั่วไป ใช้ได้ทุกภาษา --Octahedron80 (คุย) 18:03, 12 มีนาคม 2562 (ICT)

ลักษณนามของ ควย[แก้ไข]

โปรดตรวจสอบที่หน้า ควย หน่อยค่ะ "ควย" เขาเรียกเป็น "อัน" หรอคะ

ป.ล. สร้างหัวข้อที่หน้านั้นไม่ได้ เพราะติดตัวกรอง เลยมาสร้างที่นี่โดยตรง ขอบคุณค่ะ

--Miwako Sato (คุย) 18:45, 16 มีนาคม 2562 (ICT)

คำนี้ไม่มีคำลักษณนามที่ใช้เฉพาะ เนื่องจากเป็นภาษาปาก ในทางปกติสามารถใช้คำเดิมนับก็ได้ / แต่ในความเห็นผม อัน ก็น่าจะใช้ได้ ถ้าลองเทียบคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น ฉลามมีจู๋สองอัน --Octahedron80 (คุย) 20:18, 16 มีนาคม 2562 (ICT)

บอตแก้ตัวสะกดในวิกิพีเดีย[แก้ไข]

สวัสดีครับ ไม่ทราบว่าถ้าจะขอให้คุณใช้บอตแก้ตัวสะกดคำจำนวนหนึ่งในวิกิพีเดีย จะได้หรือเปล่าครับ --Potapt (คุย) 19:53, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)

บอตของผมในวิกิพีเดียยังมีสถานะอยู่ สามารถใช้ได้ครับ ช่วยบอกรายละเอียดด้วยครับ --Octahedron80 (คุย) 20:29, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)
  • บุนเดสลีกา ---> บุนเดิสลีกา
  • เดเอฟเบ ---> เดเอ็ฟเบ
  • ชาลเก, -เก้ ---> ชัลเคอ
  • ฟรังค์ฟูร์ท ---> ฟรังค์ฟวร์ท
  • เอสเซไฟรบูร์ก, เอสเซ ไฟรบูร์ก ---> เอ็สเซ ไฟรบวร์ค
  • โบรุสเซียดอร์ทมุนด์, โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์, -ซีอา- ---> โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
  • ดอร์ทมุนด์ ---> ดอร์ทมุนท์ bonus
  • โบรุสเซียเมินเชนกลัดบัค, โบรุสเซีย เมินเชนกลัดบัค, โบรุสเซียมึนเชนกลัดบัค, โบรุสเซีย มึนเชนกลัดบัค, โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ---> โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค
  • ลาลีกา ---> ลาลิกา
  • ดีบีซีออน ---> ดิบิซิออน
  • เอสปาญา ---> เอสปัญญา
  • แอตเลติโก มาดริด, แอตเลติโกมาดริด, อัตเลตีโก-, อัตเลติโก- ---> อัตเลติโกเดมาดริด
  • แอทเลติกบิลบาโอ, แอทเลติก บิลบาโอ ---> อัตเลติกเดบิลบาโอ
  • เซบียา, เซบีย่า, เซบิย่า ---> เซบิยา
  • เรอัล มาดริด ---> เรอัลมาดริด
  • อาร์เซน่อล, อา- ---> อาร์เซนอล bonus
  • บาร์เซโลน่า, บา- ---> บาร์เซโลนา
  • อัสปัญญอล ---> อัสปัญญ็อล
  • บียาร์เรอัล ---> บิยาร์เรอัล
  • อัลเมรีอา ---> อัลเมริอา
  • ซานตันเดร์ ---> ซันตันเดร์
  • ราซิงซันตันเดร์, ราซิง ซันตันเดร์ ---> ราซิงเดซันตันเดร์ bonus
  • เกตาเฟ, เคตาเฟ, -เฟ่ ---> เฆตาเฟ
  • เดปอร์ตีโบ ---> เดปอร์ติโบ
  • เดปอร์ติโบ ลา โกรุญญา ---> เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา bonus
  • แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ---> แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
  • แมนเชสเตอร์ ซิตี, -ซิตี้ ---> แมนเชสเตอร์ซิตี
  • เลสเตอร์ ซิตี, -ซิตี้ ---> เลสเตอร์ซิตี bonus
  • แอสตัน วิลลา, -ล่า ---> แอสตันวิลลา bonus
  • แชมเปี้ยนส์ลีก ---> แชมเปียนส์ลีก
  • ทบิลิซิ ---> ทบิลีซี
  • ริยาด ---> รียาด
  • บันดาร์เสรีเบกาวัน, บันดาเสรีเบกาวัน ---> บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
  • อิสลามาบัด ---> อิสลามาบาด
  • อูลานบาตอร์, อุลานบาตอร์ ---> อูลานบาตาร์
  • ตาระวา ---> ตาราวา
  • ตองกา ---> ตองงา may affect other few contexts
  • นูกูอะโลฟา ---> นูกูอาโลฟา
  • พริชตีนา ---> พริสตีนา affect other few contexts, op already revert
  • มินสก์ ---> มินสค์
  • สตอกโฮล์ม, สต๊อก-, -ค-, -โฮม ---> สต็อกโฮล์ม
  • โคโซโว, คอโซโว ---> คอซอวอ
  • ลีเบรอวิล ---> ลีเบรอวีล
  • โกนากรี ---> โคนาครี
  • ยามุสซุโกร ---> ยามูซูโกร
  • เอ็นจาเมนา ---> อึนจาเมนา no result
  • พอร์ตหลุยส์ ---> พอร์ตลูอิส
  • นูแอกชอต ---> นูอากชอต
  • อันตานานาริโว ---> อันตานานารีโว
  • มันโรเวีย ---> มอนโรเวีย
  • อัมบาบาเน ---> อึมบาบานี
  • บราซซาวิล ---> บราซาวีล
  • เซนต์ลูเซีย, เซนต์ ลูเซีย, -เชีย ---> เซนต์ลูเชีย
  • โดมินิกา, -ก้า ---> ดอมินีกา affect other few contexts, op already revert
  • ซันติอาโก ---> ซานเตียโก affect other few contexts, op already revert
  • อะซุนซิออง ---> อาซุนซีออน no result
  • บราซิเลีย ---> บราซีเลีย
  • วาลลิสและฟุตูนา ---> วาลิสและฟูตูนา detect each word, affect other few contexts, op already revert
  • อะวารัว ---> อาวารัว
  • เกดะห์ ---> เกอดะฮ์
  • เนกรีเซมบิลัน ---> เนอเกอรีเซิมบีลัน
  • เประก์, เประ ---> เปรัก เประ too risky
  • ซาราวะก์ ---> ซาราวัก
  • ซาบาห์, -บาฮ์ ---> ซาบะฮ์ may affect other few contexts
  • สเรมบัน, เซอเร็มบัน ---> เซอเริมบัน
  • อีโปห์ ---> อีโปะฮ์
  • กัวลาตรังกานู ---> กัวลาเตอเริงกานู
  • ตรังกานู ---> เตอเริงกานู may affect other few contexts
  • โกตากินะบะลู ---> โกตากีนาบาลู
  • ยะโฮร์บาห์รู, ยา-, -โฮ-, -บะ-, -ฮ์- ---> โจโฮร์บะฮ์รู
  • อาเจะห์ ---> อาเจะฮ์
  • กาลิมันตัน ---> กาลีมันตัน
  • สุลาเวสี ---> ซูลาเวซี
  • ชเลสวิก, -จ ---> ชเลสวิช
  • โฮลชไตน์, ฮอลชไตน์ ---> ฮ็อลชไตน์
  • กอททอร์พ ---> ก็อททอร์พ bonus
  • ซาร์ลันด์ ---> ซาร์ลันท์
  • เทือริงเงิน ---> ทือริงเงิน
  • นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน ---> นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน detect each word
  • บรันเดนบูร์ก ---> บรันเดินบวร์ค
  • เวือร์ทเทมแบร์ก ---> เวือร์ทเทิมแบร์ค
  • เมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น, เมคเคลนบูร์ก-, เม็กเคลนบวร์ก-, แมคเคลนบูร์ก ---> เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น detect each word
  • ไรน์ลันด์-พฟัลซ์, -พฟาลซ์ ---> ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ detect each word
  • ฮัมบูร์ก ---> ฮัมบวร์ค
  • เฮสเซิน ---> เฮ็สเซิน
  • มักเดบูร์ก ---> มัคเดอบวร์ค
  • แอร์ฟูร์ท ---> แอร์ฟวร์ท
  • ฮันโนเวอร์ ---> ฮันโนเฟอร์
  • พอทสดัม ---> พ็อทซ์ดัม
  • ชเวริน ---> ชเวรีน may affect other few contexts
  • ไมนซ์ ---> ไมนทซ์
  • มิวนิค ---> มิวนิก affect other few contexts, wp user already revert
  • บาเยิร์น มิวนิค, -นิก, -เยิน- ---> บาเยิร์นมิวนิก bonus
  • อัพเพนเซลล์ ---> อัพเพินท์เซลล์
  • ชาฟฟ์เฮาเซิน ---> ชัฟเฮาเซิน
  • ซูริก, ซูริค ---> ซือริช
  • โซโลทูร์น ---> โซโลทวร์น no result
  • ทีชีโน ---> ตีชีโน
  • ทูร์เกา ---> ทัวร์เกา
  • บาเซิล-ลันด์ชาฟท์ ---> บาเซิล-ลันท์ชัฟท์ no result
  • ทิโรล ---> ทีโรล
  • สติเรีย ---> สตีเรีย
  • โลว์เออร์ออสเตรีย ---> โลเวอร์ออสเตรีย
  • กัมปาเนีย ---> คัมปาเนีย
  • กาลาเบรีย ---> คาลาเบรีย may affect other few contexts
  • กาตันซาโร ---> คาตันซาโร
  • บาซีลีกาตา ---> บาซีลีคาตา
  • ปีเอมอนเต ---> ปีเยมอนเต
  • ปูลยา ---> ปุลยา
  • มาร์เก ---> มาร์เค
  • ลาซีโอ ---> ลัตซีโย
  • ลิกูเรีย ---> ลีกูเรีย
  • กาลยารี ---> คัลยารี
  • ตรีเอสเต ---> ตรีเยสเต
  • ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย ---> ฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย too risky to detect each word
  • ลาโกรูญา ---> ลาโกรุญญา
  • อาโกรูญา ---> อาโกรุญญา bonus
  • อันดาลูเซีย, -ซีอา ---> อันดาลูซิอา
  • เอกซ์เตรมาดูรา ---> เอซเตรมาดูรา
  • มอเรเลีย ---> โมเรเลีย affect other few contexts, op already revert
  • มอเรโลส ---> โมเรโลส
  • เวรากรูซ, -กรุซ ---> เบรากรุซ
  • วียาเอร์โมซา ---> บียาเอร์โมซา no result
  • ฟัลกอง ---> ฟัลกอน no result
  • เทกซัส ---> เท็กซัส may affect other few contexts

--Potapt (คุย) 20:57, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ผมคิดว่าบางรายการน่าจะมีปัญหากับบางส่วนของคำไทยที่สะกดเหมือนกัน ที่ผมเห็นอันนึงอย่างเช่น มาร์เก ที่อาจจะมาจาก มาร์เก็ต ก็ได้ และการเปลี่ยนคำนี้ใช้ผลลัพธ์จากการค้นหา ซึ่งอาจจะมีบางหน้าเป็นส่วนน้อยหลุดรอดไปก็ได้ จึงบอกให้ทราบไว้ครับ --Octahedron80 (คุย) 21:12, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)
เดี๋ยวจะตรวจดูไปด้วยครับ ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 21:36, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)
Please see also a lot of Template:Country data xxxx. I did not update them automatically. --OctraBot (คุย) 09:44, 6 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ขอรบกวนเพิ่มหน่อยครับ

  • โกปาลีเบร์ตาโดเรส, โกปา ลีเบร์ตาโดเรส ---> โกปาลิเบร์ตาโดเรส
  • โคปาอเมริกา เซนเตนาริโอ ---> โกปาอาเมริกาเซนเตนาริโอ
  • โคปาอเมริกา, โคปา อเมริกา ---> โกปาอาเมริกา
  • ละตินอเมริกา ---> ลาตินอเมริกา
  • คอนเมบอล ---> กอนเมโบล
  • เบงกาลี ---> เบงกอล

ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 00:15, 26 กรกฎาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

CheckUser[แก้ไข]

สวัสดีครับ ขณะนี้ที่วิกิพีเดียภาษาไทยมีการอภิปรายเกี่ยวกับปรับแก้นโยบายการคัดเลือกและการถอดถอนผู้ตรวจสอบผู้ใช้ให้ดำเนินการผ่านชุมชนได้โดยไม่ต้องอาศัย คอต. ผมและผู้ใช้ท่านอื่นเห็นว่าคุณ Octahedron80 เคยเป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้มาก่อนและมีความเหมาะสม ไม่ทราบว่ายังสนใจที่จะกลับมาเป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้หรือไม่ครับ --Geonuch (คุย) 09:35, 17 กรกฎาคม 2562 (ICT)

collapsible template[แก้ไข]

สวัสดีครับ พอจะทราบสาเหตุหรือพอจะสืบให้ทราบได้ไหมครับว่าทำไมแม่แบบ collapsible บางอันถึงแสดงผลผิดพลาด โดยไม่สามารถคลิกแสดงหรือซ่อนได้ เป็นกับแม่แบบตารางผันคำแทบทุกภาษา (เช่นในหน้า den) แต่บางแม่แบบก็ไม่ได้รับผลกระทบเช่นแม่แบบคำแปลภาษาอื่นในหน้า หนังสือพิมพ์ หรือ มนุสฺส ข้อสังเกตที่ทำให้ผมงง เช่น แม่แบบ:de-decl-pronoun แสดงผลไม่ได้ในหน้าคำศัพท์ den แต่กลับแสดงผลได้ปกติในหน้าแม่แบบของมันเอง --Ponpan (คุย) 05:45, 8 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ผมเห็นมาสักพักนึงแล้ว ตั้งแต่ไปใช้ Gadget ขนาดก๊อปปี้โค้ดมาเหมือนเป๊ะในทุก ๆ หน้า ก็ยังเป็นอยู่ ดังนั้นผมคิดว่า สาเหตุน่าจะเป็นที่ไลบรารีเก่ายังไม่ได้อัปเดต ซึ่งผมไม่สามารถไปแก้ไขตรงนั้นได้ครับ --Octahedron80 (คุย) 07:18, 8 สิงหาคม 2562 (ICT)

ผมแก้ไขเป็นเวอร์ชันของเราเองแล้วครับ ซึ่งน่าจะใช้ได้ --Octahedron80 (คุย) 10:24, 8 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ใช้ได้แล้วครับ ขอบคุณครับที่หาหนทางแก้ไขทำให้ทำงานสะดวกขึ้นมากจริงๆ --Ponpan (คุย) 03:15, 9 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

Delete and create rather than move?[แก้ไข]

I see you just deleted Parenting and created parenting. Why did you not move the page to the new title without creating a redirect (or just delete the redirect after the move was finished), in order to preserve the edit history of the original page? - dcljr (คุย) 10:32, 5 กันยายน 2562 (ICT)

The page was created by an IP and not well-formed. I see no advantage to keep unidentified credit on IP. (I could move if it was created by a registered user.) --Octahedron80 (คุย) 10:37, 5 กันยายน 2562 (ICT)
Despite the poor formatting, was the content you placed at parenting substantially the same as that formerly at Parenting? If so, then your use of that text, uncredited, at parenting would, I believe, still constitute a violation of licensing terms. CC BY-SA 3.0 makes no distinction between logged-in users and logged-out users when it comes to authorship. I would recommend undeleting Parenting, moving it to parenting, then updating the page back to its present form (and doing the same for any other pages you have deleted and recreated in the same way). If you would like a second opinion about this, perhaps you could ask at, say, m:Wikimedia Forum. - dcljr (คุย) 14:31, 5 กันยายน 2562 (ICT)
The content was not absolutely the same . If you want to see, the IP just wrote only this line:

(N.) การเลี้ยงดู

This one word should have not deserved any license. However, I already undeleted it. I have no more comment. --Octahedron80 (คุย) 14:39, 5 กันยายน 2562 (ICT)
Oh, OK. Thank you for the information. (But your final remark, "I have no more comment.", was, I think, a misguided attempt to drop the mic.) - dcljr (คุย) 15:18, 5 กันยายน 2562 (ICT)

Community Insights Survey[แก้ไข]

RMaung (WMF) 21:34, 9 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

Reminder: Community Insights Survey[แก้ไข]

RMaung (WMF) 02:14, 21 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

Thai word segmentation?[แก้ไข]

สวัสดีครับ ทราบไหมครับว่ามีเว็บไหนแบ่งคำไทยได้เหมือน http://www.sansarn.com/tlex/ ขอบคุณครับ
--A.S. (คุย) 04:08, 13 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

นอกจาก http://www.sansarn.com/tlex/ กับ http://www.sansarn.com/lexto/ ก็ไม่มีที่อื่นอีกแล้วครับ สองอันนี้เป็นผลผลิตจากวิทยานิพนธ์ --Octahedron80 (คุย) 07:26, 13 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณครับ
--A.S. (คุย) 07:31, 13 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

doublet = คำซ้อน หรือ คำคู่?[แก้ไข]

ผมว่าแม่แบบ doublet น่าจะใช้คำบัญญัติครับ คำว่า doublet ควรแปลว่า "คำซ้อน" หรือ "คำคู่" ดีครับ บทความนี้บอกว่าใช้ "คำซ้อน" เขียนว่าภาษาเขมรยืมคำว่า "ช่วย" จากไทย ซึ่งเป็นคำที่ไทยยืมจากเขมรอีกที บทความเขียนด้วยว่าเป็นศัพท์บัญญติ แต่เว็บศัพท์บัญญัติกลับเขียนว่า doublet คือ "คำคู่" สรุปใช้คำไหนดีครับ ผมหาคำตอบจากวิทยานิพนธ์ต่าง ๆ แต่พบว่า "คำซ้อน" กับ "คำคู่" มีการใช้แล้ว แต่ไม่ได้ใช้เหมือน doublet ในภาษาอังกฤษครับ
--A.S. (คุย) 08:14, 25 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

  • "คำซ้อน" ไม่สามารถใช้ได้ครับ คำซ้อน ที่สอนกันในโรงเรียน คือ [1] ถ้าเขียนลงไปจะสร้างความสับสนให้คนอ่าน
  • "คำคู่" ผมไม่เคยเห็น แต่ผมเคยใช้คำว่า "คู่ศัพท์" แทนคำว่า counterpart male/female term ซึ่งมีในบางภาษา
  • doublet ตามนิยามคือ คำสองคำ (หรือมากกว่า) ในภาษาหนึ่ง ๆ ที่มีความหมายต่างกัน (เกือบสิ้นเชิง) แต่มีรากมาจากคำเดียวกัน เช่น bandana กับ bind ซึ่งมาจาก PIE *bʰendʰ- ดังนั้นถ้าจะให้บัญญัติเอง ผมน่าจะใช้คำว่า "ศัพท์รากร่วม" ซึ่งก็จะเหมือนกับ ร่วมเชื้อสาย แต่เป็นเฉพาะภาษาเดียวกัน

--Octahedron80 (คุย) 14:09, 25 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

"คำคู่" ที่ผมเห็นในวิทยานิพนธ์คือ collocate เช่น "มุ" มักคู่กับ "มานะ" เป็น "มุมานะ" "คำร่วมราก" ฟังดูดีกว่าไหมครับ ใช้ "คำ" จะได้เหมือน "คำซ้อน" "คำคู่" ฯลฯ ใช้ "ร่วม" ก่อน "ราก" จะได้เหมือนศัพท์บัญญัติอื่น เช่น "ร่วมสมัย", "ความร่วมรู้สึก", "รักร่วมเพศ" ฯลฯ

--A.S. (คุย) 23:38, 25 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ร่วมราก ก็ได้ครับ ในหมวดหมู่อัตโนมัติ ผมจะใช้คำว่า ศัพท์ (ศัพท์...ที่ร่วมราก) อย่างเช่น ศัพท์ภาษาไทยที่ร่วมราก เราไม่สามารถเขียนว่า คำ/ศัพท์ร่วมรากภาษาไทย เพราะมันกำกวม --Octahedron80 (คุย) 13:14, 26 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
ครับ อีกอย่างหนึ่ง การยืมกลับคือวิธีหนึ่งที่ทำ doublet เกิดขึ้นได้ครับ ทบทวนการยืมกลับได้ที่นี่ครับ
--A.S. (คุย) 01:26, 27 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

Buggy translation coding?[แก้ไข]

I couldn't add words like Luxembourgish Eil, even though I managed to add Eule. What's going on here?--Apisite (คุย) 10:00, 18 กุมภาพันธ์ 2563 (+07)[ตอบกลับ]

Sorry for inconvenience. Code here is adapted from English Wiktionary and needs translation. The translation may also interrupt logic theirselves of the code. I have tried to update often. --Octahedron80 (คุย) 07:36, 18 มีนาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
Belated thanks. --Apisite (คุย) 13:07, 9 เมษายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ไทเขิน ไม้ซัดหรือไม้โท?[แก้ไข]

สวัสดีครับ คำเขินที่ใช้ไม้โท เขียนแบบไหนดีครับ ตามเว็บ http://www.kengtung.org/ กับพจนานุกรมไทเขิน (เคย) โหลดได้จากเว็บนี้ ใช้ไม้ซัดแทนไม้โท ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 06:16, 18 มีนาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ควรจะใช้ไม้โทครับ ถ้าใช้ไม้ซัดซ้ำสองครั้ง เช่นใน ᨡᩮᩢ᩶ᩣ มันก็น่าจะผิดครับ เมื่อก่อนรูปไม้ซัดกับไม้โทเป็นขีดเหมือนกัน แต่เวลาอยู่ในคอมพิวเตอร์ (ยูนิโคด) ต้องแยก เพื่อให้ถูกต้อง --Octahedron80 (คุย) 07:30, 18 มีนาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณครับ ทีแรกก็คิดอย่างนั้นเหมือนกันครับ แต่ไม่แน่ใจ --A.S. (คุย) 07:46, 18 มีนาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เผชิญหน้า[แก้ไข]

สวัสดีครับ เผชิญ เป็น sesquisyllable พยางค์แรกเป็นพยางค์ reduced ทำไมถึงไม่ใช้ ผ̄ะ แล้วครับ --A.S. (คุย) 10:02, 14 เมษายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เผอิญว่าการตรวจจับคำพ้องเสียง ใช้พื้นฐานจากการสะกดออกเสียงแบบชัดถ้อยชัดคำครับ ดังนั้นไฟล์เสียงก็ต้องใช้แบบนั้นด้วย // ส่วนเสียงกร่อนวรรณยุกต์นั้น เดิมทีจะให้แยกเป็นอีกเสียงนึงต่างหาก เช่น พยางค์ ก็เขียนว่า พะ-ยาง และ พ̄ะ-ยาง แต่ว่ามันมีเยอะมาก เลยไม่ค่อยได้ใส่+มันจะทำให้รกรุงรังหรือไม่ --Octahedron80 (คุย) 10:09, 14 เมษายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

อ๋อครับ เข้าใจแล้วครับ นอกจากนี้ ตามหลักการทางสัทวิทยาที่ผมคุ้นเคยแล้ว ถ้าการออกเสียงมัน predictable ก็อาจไม่จำเป็นต้องเติมรายละเอียดมากกว่าจำเป็นใน underlying representation (ข้อมูลระหว่าง / /) ดังนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ macron ก็ได้ครับ --A.S. (คุย) 10:15, 14 เมษายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

การออกเสียง หนองบัวระเหว[แก้ไข]

สวัสดึครับ รบกวนตรวจสอบการออกเสียงในหน้า หนองบัวระเหว ด้วยครับ ในหน้านั้นออกเสียงพยางค์ท้ายเป็น เหว ซึ่งน่าจะออกเสียงเป็น เหฺว มากกว่าครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ --Siam2019 (คุย) 22:11, 27 เมษายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

แก้ไขแล้ว --Octahedron80 (คุย) 01:18, 28 เมษายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ภาษาไหล[แก้ไข]

ผมไปเจอ นี่ มาครับ (จากหน้า en:nam³ ในส่วนภาษา Cun) ซึ่งมันมีรายการคำต่าง ๆ ในภาษาในกลุ่มไหลอยู่ เท่าที่ผมเจอโค้ดภาษาของภาษาข้างในงานคือ Cun โค้ด cuq กับ Jiamao โค้ด jio (ชื่อไทยคือจุนกับเจียมาวตาม w:แม่แบบ:ภาษาไทกะได) ส่วนภาษาไหลรวมคือ lic ซึ่งคงไม่ได้เพิ่มลงเพราะมีหลายภาษาอยู่ข้างใน ผมเอาคำพวกนั้นมาใส่วิกิพจนานุกรมได้มั้ยครับ --ZilentFyld (คุย) 10:50, 23 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ตามที่ตรวจในวิกิพีเดีย มีสองรหัสคือ ไหล (lic) กับ จุน (cuq) ส่วน เจียมาว (jio) เป็นอีกภาษาหนึ่งแยกออกไปแล้ว ทุกภาษาจึงน่าจะเขียนให้แยกออกจากกันได้ แต่กลุ่มภาษาไหลเป็นภาษาพูดที่ไม่มีตัวเขียน (เวลาสื่อสารกับภายนอกจะใช้ภาษาจีน) เมื่อไม่มีตัวเขียนก็ต้องแสดงด้วย IPA ซึ่งอาจมีหลายแบบมากไปตามพื้นถิ่นสำเนียง จะทำให้มีปัญหาเวลาตั้งชื่อหน้า (คำหลัก) ดังนั้นควรพิจารณาว่า คำไหนเป็นสำเนียงหลักหรือมาตรฐาน แล้วเอาคำนั้นมาตั้งเป็นหน้า --Octahedron80 (คุย) 09:54, 24 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
เจียมาว ลอกจากนี้มาเลยก็ได้ en:Appendix:Jiamao vocabulary lists ใช้ของ Norquest เพราะใหม่ที่สุด (คนเขียนนิพนธ์ที่คุณยกมา) ระวังเรื่อง colon ด้วย เราต้องใช้ IPA colon ไม่ใช่ common colon --Octahedron80 (คุย) 09:59, 24 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ผมไปโหลดของ Norquest จากที่ไหนที่หนึ่งมา (ที่โหลดบทความได้ฟรีแบบผิดกฎหมาย ผมขอโทษครับแต่ผมไม่มีเงิน) มันมีเขียนว่าภาคผนวกสามารถดู online ได้ที่ https://figshare.com/articles/Appendix_to_A_Phonological_Reconstruction_of_Proto_Hlai/1512402 ครับ ซึงมีทั้งภาษาเจียมาวและชุนอยู่ ผมขอนำของภาษาจุนเข้าในวิกิพจนานุกรมนะครับ --ZilentFyld (คุย) 14:05, 24 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

สารบัญ[แก้ไข]

บางหน้าที่มีภาษาจำนวนมาก (อย่างเช่น dag หรือตัวอย่าง en:a ที่ยาวจนเมมไม่พอ ในภาษาอังกฤษ) จะยากต่อการไล่ดูความหมายแต่ละภาษาครับ เพราะตัวสารบัญจะยาวและมีหลายภาษา การหาดูภาษาที่เรียงเป็นอันดับท้าย ๆ จะต้องเลื่อนหลายครั้ง ผมเลยลองไปดูที่ภาษาคาตาลัน ca:a เขาจะทำการย่อสารบัญของแต่ละภาษาให้เป็นบันทัดเดียวครับ ผมเลยคิดว่าทำอย่างนั้นในภาษาไทยโดยอาจจะใส่เข้า common.css เลยหรือทำเป็น gadget ไว้เผื่อเปิดจะดีกว่ามั้ย ส่วนโค้ดเท่าที่หามาก็ประมาณนี้ครับ

โค้ด
/*************************/
/*   Style des articles  */
/*************************/
/* Suppression des numéros dans le sommaire */
.ns-0 .toclevel-2 span.tocnumber,
.ns-0 .toclevel-3 span.tocnumber
{display:none;}

/* Raccourcit les sommaires (TOC : table of contents) */
.ns-0 #toc li.toclevel-1 ul { display: inline; margin: 0; }
.ns-0 #toc li.toclevel-2 { display: inline; margin-left:0.5em; }
.ns-0 #toc li.toclevel-2:before { content:"—"; margin-right:0.5em; }
.ns-0 #toc li.toclevel-3 { display: inline; font-size: 85%; margin-left: 0.1em; }
.ns-0 #toc li.toclevel-3:before { content:"·"; margin-right:0.1em; }
.ns-0 #toc li.toclevel-3 ul { display: none; }

--ZilentFyld (คุย) 15:30, 26 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ผมลองเอาไปใส่แล้วพบว่าได้ผลดี ประหยัดเนื้อที่หน้าจอได้มาก --Octahedron80 (คุย) 20:33, 1 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

zh-hanzi[แก้ไข]

ผมจำได้ว่าเคยถามรอบนึงแล้วแต่ผมอยู่ดี ๆ มีความคิดใหม่ครับ ซึ่งผมคิดว่า:

  • มันจำเป็นต้องแยกมั้ย เนื่องจาก zh-pron ใส่หมวดหมู่ให้แล้ว
  • ถ้าแยกเป็นคำพวกนั้นเป็นคำนาม กริยา คุณศัพท์ พวกนี้จะเป็นความคิดที่ดีมั้ย ในเมื่อบางคำใช้ข้าม pos ได้ เช่นในภาษาไทย เหล็ก อาจแปลได้ทั้งตัวเหล็กเอง หรือทำด้วยเหล็ก เช่น ช้อนเหล็ก ถ้าทำอย่างนั้นจะทำให้การใช้คำแปล "เหล็ก" ระบุทั้งสอง pos อยู่แล้ว
  • ในภาษาอังกฤษ ไม่ได้ใช้ zh-hanzi กับทุกคำ คำประสมใช้ zh-pos ตามปรกติ อย่างกับเค้าต้องการให้มันแสดงความหมายเฉพาะตัวอักขระ
  • บางคำเป็นแค่หนึ่งในอักขระของคำประสมที่มีความหมายเหมือนคำประสม แต่คนทั่วไปไม่ใช้กัน ลองคิดถึงคำว่า ประตู แต่ ตู ที่ว่าใช้ประกอบในคำอื่นด้วย (ซึ่งผมคิดไม่ออกในภาษาไทยครับ) คนมักไม่ใช้คำว่า ตู เดี่ยว ๆ ยกเว้นในภาษาเก่า (ซึ่งบางอักขระเมื่อก่อนอาจไม่ใช้ด้วย) ถ้าเราแยกเป็นคำนามจะดีไหม แต่ถ้าแยกจริงจะใส่ dated ไม่ได้เนื่องจากคำนี้ใช้กับคำอื่น (นอกจากประตู) ที่ทำให้มันมีความหมายในปัจจุบันด้วย การใส่ข้อมูลแค่ความหมายของอักขระจะแก้ปัญหาพวกนี้
  • ผมขี้เกียจแยกครับ
ตัวอย่างจากญี่ปุ่น เค้าจะเอาความหมายของคันจิใส่ใต้ === คันจิ === ซึ่งในภาษาจีนไม่มีแยก ผมคิดว่าถ้าแยกจะเปลืองเวลาเปล่า

ผมเลยมาขอความคิดเห็นว่าถ้าไปใช้ zh-hanzi เหมือนกับอังกฤษจะดีกว่ามั้ยครับ --ZilentFyld (คุย) 00:33, 16 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

  • ก็ต้องแยกอยู่ดีครับ จีนสมัยโบราณนั้นไม่มีแนวคิดเรื่องการแยกประเภทของคำ เพราะหนึ่งคำแทนได้ทุกอย่าง วางตรงไหนก็ได้ แต่ปัจจุบันเราต้องแยกและมีตัวอย่างการใช้ ถึงจะรู้ว่าเป็นคำประเภทไหน
  • คำบางคำอาจจะทำได้หลายหน้าที่ เช่น เหล็ก (วัสดุ) โดยพื้นฐานแล้วต้องเป็นคำนาม มันจะไม่เป็นคำวิเศษณ์ (คุณศัพท์) เพราะคำนามสามารถขยายคำนามด้วยกันได้อยู่แล้ว สามารถดูประเภทได้จากพจนานุกรมฉบับเล่ม บางทีวิธีการใช้คำที่เราใช้กันอยู่อาจจะผิดก็ได้
  • ผมแนะนำให้แยกทั้งหมดไม่เป็นการเลือกครับ ซึ่งมันดีกับคนอ่านขาจรด้วย คนอ่านเขาไม่รู้หรอกว่าอันไหนนามหรือกริยาหรืออื่น ๆ หากไม่เขียนเอาไว้
  • กรณีประตูและตู ก็สามารถมีหน้าได้ทั้งสอง (ที่จริงคือ จะมีกี่รูป ก็สร้างได้หมด) ปัจจุบันไม่ใช้ตูแล้วก็ต้องใส่แท็กโบราณ ส่วนประตูก็ต้องอธิบายว่ามันมาได้อย่างไร (เขียนให้แล้ว) แท็กนั้นเอาไว้ติดกับคำนั้นคำเดียว เพราะมันจะถูกนำไปจัดหมวหมู่ ไม่ส่งผลกระทบถึงคำประสมหรือคำสืบทอดอื่น ๆ ตัวอย่างหนึ่งที่คล้ายกันเช่น มะม่วง ซึ่งมาจากหมากม่วง และม่วง เป็นคำโบราณ แต่มะม่วงก็ไม่ได้โบราณไปด้วย
  • คันจิภาษาญี่ปุ่นถ้าดูเยอะอีกหน่อย จะพบว่าพวกคำที่เขียนดี ๆ นั้นแยกประเภทกันหมดครับ แต่เนื่องจากภาษาญี่ปุ่นมีคำเยอะกว่าภาษาจีนหลายเท่า จึงไม่มีคนเพียงพอไปปรับปรุง (คนที่ใส่ข้อมูลเข้ามาตอนแรกคือบอต)

--Octahedron80 (คุย) 09:45, 16 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ปล. ถ้าไม่อยากแยกภาษาจีน ก็เขียนภาษาอื่น ๆ ไปก็ได้

โปรดตรวจสอบอีเมลของคุณ![แก้ไข]

สวัสดี Octahedron80: โปรดตรวจสอบอีเมลของคุณ! เรื่อง: "The Community Insights survey is coming!" หากคุณมีคำถามใด ๆ โปรดส่งอีเมลไปที่ surveys@wikimedia.org.

(English: Please check your email and spam! Subject is "The Community Insights survey is coming!" If you have questions, email surveys@wikimedia.org.)

Sorry for the inconvenience, you can read my explanation here.

MediaWiki message delivery (คุย) 00:18, 26 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ผมเห็นในวิกิพีเดียใช้ชื่อกาตาลา เปลี่ยนจากคาตาลันเป็นกาตาลาดีมั้ยครับ --ZilentFyld (คุย) 13:32, 3 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ผมเห็นคุณ Potapt เปลี่ยนชื่อ (ซึ่งส่วนใหญ่ผมก็เห็นด้วย) คำในภาษาตัวเอง (autonym) เรียกว่า Català ในขณะที่ Catalan เป็นคำอังกฤษ ซึ่งเชื่อว่ามาจาก Catalunya / Catalonia ผมก็สงสัยว่าควรจะใช้ชื่ออะไรดี ผมคิดว่าเปลี่ยนตามวิกิพีเดียก็ได้ครับ แต่ก็ไม่ใช่ทุกภาษาที่เป็นแบบนี้ บางทีผมก็เปลี่ยนวิกิพีเดียให้ตรงกับเรา --Octahedron80 (คุย) 14:12, 3 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ถ้าว่างจะทำให้ครับ ตอนนี้ยังไม่ว่าง เพราะหมวดหมู่มีมาก --Octahedron80 (คุย) 14:17, 23 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

Database of CJK Unified Ideographs Extension G[แก้ไข]

Hello! I'm an editor from Chinese Wiktionary.

Since Thai Wiktionary is the only Wiktionary that covers the whole CJK extension G block, I'm curious about where did you get the database to create these entries? Like, how can I found the character structure of 𰞃, which is "⿰火北"? --TongcyDai (คุย) 13:43, 23 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

@TongcyDai For general database, it is released by Unicode itself [2] (look for Unihan.zip). About IDS composition, download the whole file here [3] (warning big file) --Octahedron80 (คุย) 13:56, 23 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
Thank you so much! --TongcyDai (คุย) 14:01, 23 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
I also have ready-processed JSONs for inputting into bot. [4] --Octahedron80 (คุย) 09:51, 24 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
Thank you for being patient with me. I cannot find rn, rad, as, sn data of {{Han char}}, they are not in Unihan.zip I guess. Where can I get them? --TongcyDai (คุย) 11:31, 31 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
Seriously? There are lots of k fields in Unihan. You may need it understand what they say. [5] Data you need are already in it. For example, kRSKangXi tells which radical and additional strokes; kTotalStrokes tells total strokes of course (If kTotalStrokes does not present, you can even add up from kRSKangXi by yourself). You must map Kangxi number and real character. (I list them in additional_data/kangxi-radicals-compat.json.) Do you already know what is Kangxi radical right? --Octahedron80 (คุย) 13:13, 31 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
I got it! All CJK Ext-G characters have been auto-created in zhwt, really appreciate that! --TongcyDai (คุย) 18:07, 3 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Language name choices[แก้ไข]

For มอดูล:languages/canonical names, ภาษาซูกหรือภาษาเตาซุก? (ภาษาซูก for tsg, please?) --Apisite (คุย) 14:54, 23 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Also, don't forget ภาษามาราเนา for Maranao/Meranaw (mrw) and ภาษามากินดาเนา for Maguindanao/Magindanaw (mdh). --Apisite (คุย) 15:01, 23 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
I wonder how the language name Yakan (yka) could be translated into Thai. --Apisite (คุย) 15:14, 23 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
The same thing goes for Iranun (ill) too. --Apisite (คุย) 15:46, 23 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
Found them as follows:
Iranun: อีรานุน
Yakan: ยากัน
So there you go, maybe? --Apisite (คุย) 03:53, 31 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
For Kumyk (kum), why not ภาษาคูมุก instead of ภาษาคูมึก? --Apisite (คุย) 11:00, 31 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Let me check each appropiate name of those in Thai. As Thai has no adjective form e.g. -ian, -an, -n, -ese like English, so they must be called by original word or autonym. --Octahedron80 (คุย) 13:48, 31 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

I think they are okay by now. --Octahedron80 (คุย) 13:59, 31 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Now how about the Kashubian language? For csb, how could "paa-sǎa Kashub" be transliterated? --Apisite (คุย) 13:49, 2 มีนาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

"คาชุบ" would be suitable for this. --Octahedron80 (คุย) 14:04, 2 มีนาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Done. Anyway, here are the following tongue-names to translate when you have any free time.
["Tai Daeng"] = "tyr",
["Tai Do"] = "tyj",
["Tai Hang Tong"] = "thc",
["Tai Hongjin"] = "tiz",
["Tai Loi"] = "tlq",
["Tai Long"] = "thi",
["Tai Mène"] = "tmp",
["Tai Pao"] = "tpo",
["Tai Thanh"] = "tmm",
["Tai Ya"] = "cuu",
Thanks for your help. --Apisite (คุย) 10:41, 3 มีนาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
I never heard one of those. However, they might be spoken-only languages, not easy to create their entries. --Octahedron80 (คุย) 12:36, 3 มีนาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

I found the Thai word for Limbu (ลิมบู) and I'm not sure if I put it in the proper place in มอดูล:languages/canonical names. --Apisite (คุย) 17:37, 7 มีนาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Jingpho (kac)[แก้ไข]

Taking the native pronunciation (tɕiŋ˧˩ pʰɔʔ˧˩) into account, could the language name Jingpho be transliterated into จิ่งโผ่ or anything else? --Apisite (คุย) 00:00, 19 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Found the language name จิ่งเผาะ --Apisite (คุย) 00:11, 19 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Could you change "^[g]uu$" at line 101 to "^g?uu$"? Because uu should be /ʔɯ˩/ and guu should be /kɯ˩/. I hit the "ผู้ใช้ใหม่ห้ามแก้ไขแม่แบบ, หมวดหมู่, มอดูล" abuse filter. Thanks. --GnolizX (คุย) 11:09, 26 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

All right. --Octahedron80 (คุย) 11:12, 26 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

กุ่ม[แก้ไข]

How is the word กุ่ม pronounced? I updated the section for its pronunciation. --Apisite (คุย) 12:35, 14 มีนาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

It is already a simple syllable. Just adding th-pron is okay. --Octahedron80 (คุย) 07:06, 15 มีนาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

การเรียงรูปสระ /-ap/ ในภาษาไทดำ[แก้ไข]

สวัสดีครับ /-ap/ ต้องเรียงอย่างไรครับ ผมไม่รู้ว่าดูเอกสารถูกฉบับหรือเปล่า ตามหน้าที่ 4 ของ https://www.unicode.org/L2/L2007/07039r-tay-viet.pdf สระ /-ap/ เช่นในคำว่า ꪝꪾꪚ (ป̱ำบ) (ซึ่งคุณสร้างไว้) จะต้องเขียน () ก่อน () เป็น ꪚꪾ ตามพจนานุกรมไทดำ-อังกฤษของ Baccam et al. ก็เรียงแบบนี้ครับ คุณทราบไหมครับว่าทางยูนิโค้ดเขาตกลงกันว่าอย่างไร ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 00:22, 11 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

น่าจะต้องใส่ที่ตัวหลังเหมือนกันครับ แต่เราเคยชินกับการใส่สระไว้ที่ตัวหน้า เอาเป็นว่าทำหน้าเปลี่ยนทางไปด้วยน่าจะช่วยให้คนอ่านสามารถค้นเจอได้ --Octahedron80 (คุย) 08:21, 11 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ผมไปเจออันนี้มา [6] [7] [8] เขาสอนว่าให้ใส่กับตัวหน้า อย่างไรก็ดี ทำแบบที่ผมบอกน่าจะดีสุดครับ --Octahedron80 (คุย) 11:08, 11 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ครับ ทำแบบนั้นก็ดีครับ --A.S. (คุย) 11:22, 11 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

สวัสดีครับ ผมขอเขียนตรงนี้นะครับ คุณสร้างเอ็นทรีสำหรับคำว่า ꪩꪺꪉ ซึ่งแปลว่า "ลง" ในภาษาไทดำ คำนี้น่าจะสะกดแบบนี้ ꪶꪩꪉ ไหมครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 21:55, 25 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ผมสร้างสระโอแต่แรกถูกแล้ว คุณเองที่เปลี่ยนชื่อเป็นสระอัว มันเลยผิดไปหมด Octahedron80 (คุย) 22:34, 25 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
🤦 ต้องขออภัยด้วยครับ ขอบคุณมากครับที่ช่วยแก้ไข --A.S. (คุย) 22:48, 25 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

นอนวัด[แก้ไข]

กรุณากู้คำนี้คืนและแปะอ้างอิงตามนี้ด้วย https://www.youtube.com/watch?v=AIyZyIupGP4 https://www.youtube.com/watch?v=sKUeQRzIDU0 https://www.youtube.com/watch?v=syRXUEdMdo4--Somsak Ung (คุย) 03:29, 17 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

https://kingzgame.com/แนะนำอุปกรณ์ที่ต้องใส่/ อีกตัวอย่างนึง เอาไปแป่ะด้วยก็ดีครับ --Somsak Ung (คุย) 03:34, 17 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

https://pantip.com/topic/31304042 ใน pantip ก็มีการอธิบายครับ --Somsak Ung (คุย) 03:42, 17 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

สิ่งที่ผมสงสัยคือ มีการใช้ในเกมอื่นทั่วไปหรือไม่ มีการพูดทั่วไปหรือไม่ คุณอาจจะลองเทียบกับคำว่า ทัวร์ลง หัวร้อน งานเข้า งานงอก อะไรแบบนี้ ถ้าคำที่คุณเสนอมันจำกัดอยู่แค่ในเกมเกมเดียว ก็ยังถือว่าเป็นศัพท์เฉพาะกลุ่ม ยังไม่แพร่หลาย จึงยังไม่เหมาะสมที่จะใส่ --Octahedron80 (คุย) 07:55, 17 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
อืม ก็จริงอย่างที่คุณว่า คือคุณคิดว่าไม่เหมาะว่างั้น?--Somsak Ung (คุย) 04:19, 19 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
เออ ว่าแต่ถามไรหน่อยซิ ทำไมมีผู้ใช้ต่างชาติเข้ามาก่อกวนหัวข้อของผมอ่ะ?--Somsak Ung (คุย) 04:20, 19 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ฝรั่งมาเห็นแปะลิงก์มากมายคงนึกว่าเป็นสแปมมั้งครับ --Octahedron80 (คุย) 06:49, 19 กรกฎาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

पद्म[แก้ไข]

Regarding มอดูล:hi-IPA, something fishy is going on regarding the term पद्म. --Apisite (คุย) 13:02, 18 กันยายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

What is the odd? I think I already fix it. --Octahedron80 (คุย) 17:28, 18 กันยายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

เขมรในภาษาฮินดี[แก้ไข]

สวัสดีครับคุณ Octahedron80 พอจะช่วยเช็คให้หน่อยได้ไหมครับว่า खमेर (ขเมร) (เขมร) เป็นการสะกดที่ถูกต้องหรือเป็นการสะกดแบบอื่นหรือไม่ เพราะในวิกิอังกฤษมีแต่หน้า en:ख्मेर หมายถึงทั้งชาวเขมรและภาษาเขมร --Ponpan (คุย) 22:55, 20 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ขออนุญาตแสดงข้อสังเกตนอกหัวข้ออีกเรื่องหนึ่งครับ คำว่าเลือดในภาษาฮินดิมีทั้ง खून และ en:ख़ून ซึ่งต่างกันแค่จุดใต้อักษรตัวแรก คำศัพท์ทั้งสองปรากฏอยู่ในวิกิพจนานุกรมหลายภาษา โดยในวิกิอังกฤษมีแต่คำที่สอง ส่วนในวิกิภาษาฮินดีเองมีแต่คำแรก ไม่ทราบเลยว่าต่างกันอย่างไร --Ponpan (คุย) 23:12, 20 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

เราไม่สามารถรู้ว่าสะกดแบบไหนถูกได้ เราต้องดูจากพจนานุกรมและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มันอาจจะถูกทั้งสองก็ได้เพราะมีการใช้มาก่อน ถ้ายังไม่แน่ใจก็ข้ามไปก่อน (บอตนำเข้าของคุณอะลิฟบางทีก็ผิดได้) เบื้องต้นผมจะเปลี่ยนเป็น ख्मेर ตามที่หลายโครงการมีอยู่ // ตัวอักษรมีจุดกับไม่มีจุด (จุดเรียกว่า nukta) ออกเสียงพยัญชนะคนละแบบ เช่น क=/k/, क़=/q/, ख=/kʰ/, ख़=/x/ ปกติแล้วคำยืมที่เสียงไม่ตรงกับที่มีในภาษา ก็จะใส่จุด (ส่วนมากยืมจากอาหรับ/เปอร์เซีย) แต่เวลาเขียนบางทีก็ไม่ใส่จุดเพื่อความสะดวก // อนึ่งไม่ควรใช้วิกิพีเดียเป็นตัวเทียบ เพราะบางทีวิกิพีเดียก็ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่และยังไม่แพร่หลาย --Octahedron80 (คุย) 07:24, 21 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ครับ สำหรับผมที่ส่วนใหญ่คัดลอกเนื้อหามาจาก Wiktionary อังกฤษ ถ้าเป็นภาษาที่ไม่มีแหล่งข้อมูลอื่นประกอบ ก็คงยึดแหล่งนี้เป็นหลัก ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ --Ponpan (คุย) 07:46, 21 พฤศจิกายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]

How we will see unregistered users[แก้ไข]

สวัสดี

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นผู้ดูแลระบบในหนึ่งในวิกิของโครงการวิกิมีเดีย

ในปัจจุบัน เมื่อมีผู้แก้ไขวิกิโดยไม่ได้เข้าสู่ระบบจะมีการแสดงที่อยู่ไอพีของผู้แก้ไขนั้น อย่างที่คุณอาจทราบมาก่อนแล้วว่าจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีกต่อไปในอนาคต การตัดสินใจนี้ถูกดำเนินการโดยฝ่ายกฎหมายของมูลนิธิวิกิมีเดียตามการเปลี่ยนแปลงในบรรทัดฐานและข้อบังคับสำหรับความเป็นส่วนตัวออนไลน์

แทนที่จะแสดงที่อยู่ไอพีแก่สาธารณะ เราจะแสดงตัวตนของผู้แก้ไขโดยมี "หน้ากาก" ปกปิดตัวตน คุณในฐานะผู้ดูแลระบบจะยังสามารถเข้าถึงที่อยู่ไอพีได้ และอาจมีการสร้างกลุ่มผู้ใช้ใหม่ที่มีสิทธิ์เห็นที่อยู่ไอพีของผู้ใช้ที่ยังไม่ลงทะเบียนได้เพื่อการต่อสู้กับการก่อกวน คุกคาม และสแปม โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดูแลระบบ ผู้ตรวจตรายังสามารถเห็นส่วนหนึ่งของที่อยู่ไอพีได้โดยไม่ต้องใช้สิทธิ์นี้ และเรากำลังดำเนินการทำเครื่องมือที่ดีกว่าเพื่ออำนวยความสะดวก

หากคุณไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้บนเมทา หากคุณสนใจและไม่อยากพลาดการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคบนวิกิในวิกิมีเดียอีก สามารถติดตามฉบับใหม่ของสารเชิงเทคนิครายสัปดาห์ได้

เรามีสองวิธีหลักในการระบุตัวตนแบบใหม่นี้ เราจะยินดีเป็นอย่างมากหากคุณให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่้เหมาะสมที่สุดสำหรับวิกิของคุณ คุณยังสามารถแนะนำบนหน้าพูดคุยในภาษาใด ๆ รวมทั้งภาษาไทยได้เช่นกัน สองวิธีข้างต้นถูกเสนอขึ้นมาเมื่อเดือนเดือนตุลาคม และจะมีการตัดสินใจหลังจากวันที่ 17 มกราคม

ขอขอบคุณ /Johan (WMF)

01:20, 5 มกราคม 2565 (+07)

อ้างอิงของ kula (ภาษาตองงา)[แก้ไข]

สวัสดีครับคุณ Octahedron80 ต้องขอโทษที่ไม่ได้ใส่อ้างอิงของคำว่า kula ในภาษาตองงาครับ เนื่องจากที่ผมสืบค้นพบมาจาก ดัชนีคำใน Bulletin of the Bureau of Fisheries, เล่มที่ 25 ท้ายหัวข้อ "The fishes of Samoa" ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ของสำนักงานประมงสหรัฐ (ค.ศ. 1905) หน้า 454 ตามลิงก์นี้ครับ [9] ตรงคำว่า 'ula, 'ula 'ula ซึ่งเป็นภาษาซามัวแปลว่า red และมีคำเทียบภาษาอื่น ๆ รวมทั้งภาษาตองงา ที่ระบุว่า kula แปลว่า red ครับ

ทั้งนี้ผมไม่ติดใจสำหรับการนำคำแปลดังกล่าวออกจากวิกิพจนานุกรมไปก่อน เพราะเท่าที่ทราบยังไม่สามารถสืบค้นคำนี้จากแหล่งข้อมูลที่เป็นพจนานุกรมออนไลน์ใด ๆ ได้ครับ --Siam2019 (คุย) 12:12, 19 มกราคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

เท่าที่ผมค้นดูภาษาตองงา เจอคำว่า kulokula ที่แปลว่าสีแดงครับ เลยไม่มั่นใจว่า kula ของคุณ เป็นนามหรือคุณศัพท์หรืออะไร (red เป็นได้ทั้งนามและคุณศัพท์) หรือว่าเป็นคำที่ถูกตัดมาครึ่งเดียว --Octahedron80 (คุย) 12:44, 19 มกราคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

อยากจะขอเพิ่มเติมภาษา udi̊[แก้ไข]

ภาษาโบราณเก่าแก่จากประเทศพม่า ผมจะได้เรียนรู้มาเยอะมากแล้วผมเองก็เคยเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลหนังสือเก่าแก่จากประเทศพม่า เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ ภาษาปยู ผมอยากจะแบ่งปันให้วิกิพจนานุกรมภาษาไทยนี้ ขอบคุณนะ--咽頭べさ (คุย) 20:59, 8 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

มีเดียวิกิ:Deleting-subpages-warning[แก้ไข]

พอดีเห็นที่นี่โดนลบไปน่ะครับ แต่ว่าไม่ต้องสร้างกลับมาใหม่นะครับ ผมเพิ่งเจอคำแปลส่วนกลางที่ translatewiki ครับ 🤦‍♂️ แก้ที่นั่นแล้ว สัปดาห์หน้าน่าจะเห็นที่แก้คำแปลส่วนกลางครับ --Bebiezaza (คุย) 17:10, 16 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ข้อความมีเดียวิกิ ที่ไม่จำเป็นต้อง localize ของโครงการโดยเฉพาะ หรือแปลเป็นคำกลาง ๆ แล้ว ผมก็จะลบออกครับ ซึ่งตอนนี้มีอยู่แค่นิดเดียวเท่านั้น --Octahedron80 (คุย) 22:39, 16 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ลำดับ ถ่ายเสียง/ถอดรูป และ รูปแบบอื่นสำหรับเอ็นทรีคำเมือง[แก้ไข]

เวลาเพิ่มศัพท์คำเมือง เช่น ᨠᩥ᩠ᨶ (กิน) คุณคิดว่าการเรียงแบบไหนเหมาะสมมากกว่ากันครับ

แบบที่ 1:

แบบที่ 2:

แบบที่ 2 เหมือนจะเหมาะสมมากกว่าไหมครับ เพราะเข้ากับแม่แบบ lb ซึ่งทำให้เอ็นทรีโดยรวมดูมีระเบียบมากขึ้น และเพราะจะได้รู้บริบทก่อนเห็นรูปแบบอื่น ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 03:46, 1 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

เพิ่งนึกได้ครับ เวลาใช้ lo-alt สำหรับเอ็นทรีลาว (ล้าสมัย) หรือ (เลิกใช้) ก็มาก่อนรูปแบบอื่นเหมือนกัน ดังนั้น ผมว่าแบบที่ 2 สำหรับเอ็นทรีคำเมืองน่าจะเหมาะสุดครับ --A.S. (คุย) 04:38, 1 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ผมชอบแบบที่สองครับ เพราะส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น แต่ทว่าคนทำแม่แบบ alt เขาใส่วงเล็บไว้ข้างหลัง อาจจะต้องแก้นิดนึง --Octahedron80 (คุย) 08:04, 1 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 08:17, 1 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

แม่แบบ:non-gloss definition[แก้ไข]

ทำไมตอนนี้ใช้ แม่แบบ:non-gloss definition ไม่ได้แล้วหรือครับ --A.S. (คุย) 20:28, 1 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

เพราะใน module ฟังก์ชันไม่เหมือนเดิม update ทีนึงก็ error ตามมาเป็นพรวน ค่อนข้างลำบากเลยครับ --Octahedron80 (คุย) 20:37, 1 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

อ๋อครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 22:17, 1 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

Octrabot[แก้ไข]

Hi Octahedron,

Would it be possible to add other wiktionaries to Octabot?

I've been updating the Unicode modules on wikt-th because when I update the others, it's trivial to include wikt-th. But it would be nice if they could be automated.

There are 28 languages linked to Module:Unicode data/images/001. The only ones I've seen with new material are wikt-en and wikt-vi.

If Octabot can do this, would it also be possible to copy the full set of images/xxx and names/xxx modules to all 28 languages, and link them to Wikidata? (Wikt-mni has asked for the full set.) That would be a one-time run.

Please ping if you respond. Thanks! Kwamikagami (คุย) 01:14, 2 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

OctraBot is not the global bot. Wikis that have not approved it for bot flag gonna have time limit, 8 edits per minute or less. I can run it on a wiki once even unflagged but it will take longer time to complete. (It does not worth to apply for flag if we want to merely update these. They will disapprove.) --Octahedron80 (คุย) 08:49, 2 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
Okay, thanks. There have been a lot of expansions recently, but those probably won't last long. Then we'll only have the annual update after Unicode publishes. That won't be too much for a manual update. Kwamikagami (คุย) 05:58, 10 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

นิรุกติศาสตร์ versus รากศัพท์[แก้ไข]

คุณคิดว่า "นิรุกติศาสตร์" เหมาะสมมากกว่า "รากศัพท์" ไหมครับ ผมว่าถ้าใช้ "รากศัพท์" เพื่ออธิบายที่มาของตัวอักษร เช่น กับ จะดูแปลก ๆ เพราะตัวอักษรไม่น่าจะเป็น "ศัพท์" ใช่ไหมครับ (cf. ซึ่งมีหัวเรื่อง Etymology) --A.S. (คุย) 10:27, 2 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

เคยคิดว่าถ้าแปล Etymology เป็น นิรุกติศาสตร์ ตรง ๆ มันก็เหมือนเป็น "วิชา" มากไป (เหมือนใส่คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ) คนส่วนมากไม่เข้าใจคำนี้ ผมก็เลยใช้คำว่า รากศัพท์ เพราะมันสื่อง่าย ๆ ว่า มีรากของศัพท์มาจากไหน และเคยคิดว่าจะใช้ ที่มา ที่มาของคำ รากคำ แต่บางทีศัพท์ประกอบด้วยหลายคำ ก็เลยลงเอยที่ รากศัพท์ (มีคนใช้มาก่อนที่ผมจะเข้าร่วม) และหมวดหมู่ก็ใช้ รากศัพท์จาก... ตัวอักษรก็เป็นศัพท์ได้ครับ --Octahedron80 (คุย) 11:35, 2 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

declension / inflection / conjugation ผมก็ยังแปลเหมือนกันว่า การผันรูป ไม่ต้องไปแยกว่าคำไหนใช้อะไร --Octahedron80 (คุย) 11:39, 2 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ครับ สรุปเราไม่ควรนึกถึงความหมายตามตัวอักษรของ "รากศัพท์" กับ "การผันรูป" ให้เปรียบเหมือนเป็นคำประสมทั่วไปในภาษาไทยที่เราไม่นึกถึงความหมายตามตัวอักษรตลอด --A.S. (คุย) 12:01, 2 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

คุณมีแผนการจะสร้าง module lo-pron ไหมครับ ผมทำไม่เป็น ผมไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านนี้ ผมคุ้นเคยกับเรื่องสัทศาสตร์มากกว่า ผมทำมั่ว ๆ ไปเรื่อย ๆ หลายรอบแล้วครับ แต่ก็ยังไม่ได้ผลสักที ครั้งนี้ผมลองเอา blt-pron เป็น base ดูเหมือนจะได้ผลตอนแรกแต่ก็ไม่ได้ผล ถ้ามี lo-pron ก็จะดีมากเลยครับ เพราะผมใช้เวลามากในการเติม IPA เองจนเมื่อยมือและตาลาย ถ้าไม่ต้องทำเองด้วยมือ ผมก็จะได้ใช้เวลาที่เสียไปนี้ไปปรับปรุงสิ่งอื่น ระดับเสียงวรรณยุกต์แบบเวียงจันทน์ผมก็มีแล้วซึ่งตีความมาจากข้อมูลของ Nick Enfield อาจมีคนไม่เห็นด้วยกับระดับเสียงวรรณยุกต์เหล่านี้ แต่มันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ ถ้ามีคนคัดค้านในอนาคต เราก็เปลี่ยนได้ครับ ผมขอรบกวนคุณช่วยเรื่องนี้ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ --A.S. (คุย) 04:12, 4 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

อันที่จริงผมทำไว้แล้วใน มอดูล:User:Octahedron80/sandbox เป็นสำเนียงเวียงจันทน์ ที่ได้มาจาก ผู้ใช้:Octahedron80/lo แต่ผมก็ยังสงสัยว่า แบบมอดูลของผมกับแบบเขียนมือของคุณ มีบางส่วนไม่ตรงกัน ไม่รู้ว่าใครผิด (หรือผิดทั้งคู่?) นอกจากนี้ยังทราบมาว่า วรรณยุกต์ของเวียงจันทน์กับหลวงพระบางไม่เหมือนกัน (ตั้งใจจะทำให้มีสองถิ่นออกมาพร้อมกัน เหมือนเวียดนาม แต่ขาดข้อมูล) และยังมีปัญหาเรื่องความกำกวมของสระอยู่ จึงยังไม่เอาออกมาใช้ --Octahedron80 (คุย) 07:14, 4 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ข้อมูลเกี่ยวกับวรรณยุกต์ลาวที่มาจากการวิจัยทางสัทศาสตร์โดยตรงค่อนข้างหายากครับ ผมลองค้นหามาแล้วใน Google Scholar พบอยู่บ้างแต่ไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนชัดเจนเท่าที่ Enfield บรรยายไว้ครับ ผลงานของเขาน่าเชื่อถือได้ครับ เขาเป็นนักภาษาศาสตร์ สำหรับเขา plain (เช่น ก) และ aspirate (เช่น ข) initials + tone A ใช้วรรณยุกต์เดียวกัน ผมจึงชอบเพราะน่าจะถูกต้องครับ
เอกสารที่ผมมีหรือเคยเห็นได้แก่ของ Osatananda (1997, หาได้ใน Google scholar) tone letters หาได้หน้าที่ 66 ครับ
ของ Benjawan Poomsan Becker and Buasawan Simmala (Lao for Beginners) ก็ใช้ได้ครับแต่ผมไม่ชอบเท่าของ Enfield ผมชอบของ Becker and Simmala เพราะเขาบอกว่าวรรณยุกต์เวียงจันทน์ในพยางค์ที่มี plain + tone A จะเปลี่ยนจากเอกเป็นจัตวาเมื่ออยู่ท้ายประโยค เช่น /ไป่/ เป็น /ไป๋/ (cf. หล่าย -> หลาย ในสำเนียงเชียงใหม่) ข้อมูลนี้น่าจะถูกต้องครับ การเปลี่ยนเสียงแบบนี้น่าจะเป็นเอกลักษณ์ของสำเนียงเวียงจันทน์ครับ ผมเลยชอบ
นอกจากนั้นมาจากมาจากหนังสือภาษาศาสตร์ต่าง ๆ หรือหนังสือสอนภาษา มีผลงานของ William Gedney, David Dale และอื่น ๆ ซึ่งจำไม่ได้แล้วว่าใครเป็นผู้เขียน ของ Gedney นั้น ผมมีข้อมูลที่เขาบรรยายเสียงวรรณยุกต์ไว้ เขาบรรยายไว้สองแบบ เป็นเวียงจันทน์ทั้งคู่ ของ Dale นั้น คือ Shapes and Sounds of the Lao Language ผมมีข้อมูลที่เขาบรรยายเสียงวรรณยุกต์นั้นไว้เหมือนกัน เหตุผลที่ผมไม่ค่อยเชื่อใจการบรรยายของ Gedney ก็คือข้อมูลเขาเก่า และไม่ค่อยเชื่อของ Dale เพราะเมื่อเทียบกับที่ได้ยินคนเวียงจันทน์พูดแล้วเหมือนจะไม่ถูกต้อง 100% โดยเฉพาะเสียง plain + tone A (เช่น กา)
วรรณยุกต์ของหลวงพระบางนั้นผมเคยเห็นครับ แต่จำไม่ได้ว่าชื่อผู้เขียนคืออะไร ตอนนี้ผมมีข้อมูลจากหน้าหนึ่งแต่ในหน้านั้นไม่มีชื่อของหนังสือหรือผู้เขียน พอดีตอนนั้นไปสนใจเรื่องอื่นครับ (เช่นการใช้ "ข้าน้อย" เป็นหางเสียง ไม่ใช่แค่ขานรับ) เล่มนี้เป็นหนังสือสอนภาษาลาวให้แก่คนต่างชาติครับ (น่าจะเน้นสอนชาวอเมริกันโดยเฉพาะ ไม่แน่ใจครับ) ตีพิมพ์สมัยก่อนปฏิวัติ นอกจากเล่มนี้คงน่าจะเคยเห็นจากเล่มอื่นอีกแต่จำไม่ได้แล้วครับ เหมือนเคยเห็นสำเนียงอื่นด้วย --A.S. (คุย) 08:45, 4 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
Finally! ผมขอเปลี่ยนใจเป็นครั้งสุดท้ายครับ พอดีการสนทนานี้ทำให้ผมตั้งใจหาข้อมูลมากขึ้นครับ ผมอยากได้แหล่งอ้างอิงจากนักวิชาการมากที่สุดครับ ตอนนี้ขอสนับสนุนวิทยานิพนธ์ของ Osatananda (1997) ผมนำข้อมูลพร้อมทั้ง page numbers ลงไว้ที่ [1] ครับ วิทยานิพนธ์ของเขาละเอียดมาก มีการวิเคราะห์จากเสียงคนจริง ๆ และมี tone letters ให้พร้อม รวมทั้งเรื่องเสียง กา กับ ขา ว่าสรุปเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันกันแน่และมีการเปลี่ยนจากเอกไปจัตวาก่อน pause ไหม etc. Enfield เองก็ mention Osatananda เหมือนกันครับ --A.S. (คุย) 10:35, 4 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ตอนนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับวรรณยุกต์หลวงพระบางแล้วครับ ดูได้ที่ [2] มี tone letters จาก Osatananda (2015) เองเลย มีเรื่องกำกวมเกี่ยวกับสระไหนครับ เผื่อผมช่วยหาข้อมูลให้ได้ จะได้หมดอุปสรรคนี้ไปสักที --A.S. (คุย) 13:57, 4 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
สระก็น่าจะมีปัญหากับ สระอัว สระเอีย หรือที่มี ว ควบ หรือที่สะกด ย นั่นแหละครับ แต่เอาเป็นว่า ผมเน้นให้ respell ในแบบปัจจุบันแล้วกัน ผมจะไม่รองรับการเขียนแบบเก่า --Octahedron80 (คุย) 21:43, 4 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ตอนนี้ lo-pron ดูดีมากเลยครับ สุดยอดจริง ๆ ผมสงสัยว่าทำไม ຫຼວງ ได้เสียง /˧˥/ (ส. เวียง) และ /˩˨/ (ส. หลวง) ครับ เหมือนเป็น A4 แต่ควรเป็น A1 ใช่ไหมครับ--A.S. (คุย) 19:54, 5 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
>>อาจจะมีการผิดพลาด เพราะผมดูที่ ຫຼວງຫຼາຍ ซึ่งวรรณยุกต์ควรจะเป็นเสียงเดียวกัน --Octahedron80 (คุย) 23:43, 5 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ครับ ทราบครับว่า หล (และ ห นำ ตัวอื่น ๆ) อยู่กลุ่มเดียวกับ ห คือกลุ่ม 1 ของ Gedney ผมจึงสงสัยว่าทำไมถ่ายเสียงผิด --A.S. (คุย) 23:50, 5 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
แก้ไขแล้ว ผิดพลาดตรงการตรวจ class --Octahedron80 (คุย) 01:35, 6 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ເຍັຍ /ɲej/ ตอนนี้ ถ่ายเสียงผิดครับ phonotactics ลาวไม่อนุญาต /ej/ ครับ ตามหน้านี้ ต้องเป็น /iə/ ใช่ไหมครับ คำว่า ຮວາດ กับ ຮວາຍລູກ ก็ใช้ไม่ได้ผลครับ คำว่า ຫຽນ ก็ได้แบบนี้ครับ [ɲ#n] --A.S. (คุย) 02:35, 7 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ต้องสะกดใหม่เพราะตัวอักษรกำกวมครับ ส่วนเรื่อง ฮว ใช้ได้จริงหรือครับ ดูที่วิกิพีเดีย มันไม่มี phoneme ตัวนี้ Octahedron80 (คุย) 09:36, 7 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
/hw/ นั้นผมไม่มีความรู้พอครับ ผมต้องค้นคว้าก่อน แต่ถ้าคุณดูแหล่งอ้างอิงของวิกิพีเดียก็จะเห็นว่ามีของ Erickson และของ Enfield ตารางที่วิกิพีเดียอาจเอามาจาก Erickson ครับ แต่เมื่อผมดูหน้าที่ 144 ของ Erickson ([PDF]) ก็จะเห็น "List of Lao words with labialized consonants" และในรายการคำนี้ มีคำว่า hvá:y uterus, hvā:y fragrant, hvà:y exclamation of surprise (คำนี้คือ ฮ่วย! ในภาษาอีสาน ซึ่งหนังสือการ์ตูนโดราเอมอนฉบับลาวที่ผมซื้อมาจากลาวเขียนว่า ຮວ້າຍ!), and hvà:t bunch (pp. 145-146) --A.S. (คุย) 10:13, 7 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ความเห็นผมคือ อาจเป็นการเขียนที่ไม่ต่างกับ ใจ/ไจ สวาย/สวย ถั่ว/ทั่ว ที่หายไปแล้วใน phonology ลาว (ยกเว้น ใจ/ไจ ในสำเนียงลาวเหนือต่าง ๆ) ครับ คือรูปยังเหลืออยู่แต่เสียงหายไปแล้ว ร (ก่อนเป็น ฮ) และ ล เป็น liquid sounds ถ้า ล เคยอยู่กับ วา ได้ ร ก็ต้องเคยอยู่กับ วา ได้เหมือนกัน ของคำเมือง อ่าน รวาย ว่า ลฺวาย น่าจะเป็นการเก็บความเป็นเสียง liquid ไว้ จึงอยู่กับ วา ได้ครับ A.S. (คุย) 10:50, 7 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
เรื่อง ว ควบ + า นั้น Osatananta (1997) เขียนไว้ว่าภาษาลาวเวียงจันทน์ไม่แยกแยะกับเมื่อไม่มี า ครับ เช่น ขวา/ขัว, ลวาด/ลวด, สวาย/สวย ฯลฯ (pp. 73-78) ส่วนสำเนียงหลวงพระบางนั้นผมคิดว่าเป็นเหมือนกัน (แต่ยังอยากได้เอกสารวิชาการยืนยัน) เช่น
  1. ใน [Video 1] ประมาณนาทีที่ 10:22 และ 25: ความหมาย -> ควมหมาย (แต่นอกเรื่องนิดนึง เพราะประเด็นคือ Cwaa -> Cua คนนี้เหมือนเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช้เสียง ใ ถ้าดูคลิปอื่น เช่น ใน [example] คนที่อายุมากกว่ายังใช้อยู่)
  2. คนอ่านข่าวคนนี้ ซึ่งใช้สำเนียงเหนือ อาจเป็นหลวงพระบางเพราะใช้เสียง ใ และใช้วรรณยุกต์แบบหลวงพระบาง ใน [Audio 1] ประมาณนาทีที่ 3:24 ความ -> ควม คำนี้หาได้ในหลายนาทีอื่น และประมาณนาทีที่ 3:35 ขัดขวาง -> ขัดขวง ใน [Audio 2] ประมาณนาทีที่ 3:13 กว้างขวาง -> ก้วงขวง ขนาดเขาอ่านแบบช้า ๆ แล้ว (คือพูดแบบระมัดระวัง) ก็ยังมีใช้ สระอัว ในพยางค์ที่เป็น Cwaa
  3. ใน [Video 2] นี้คนนี้เป็นคนหลวงพระบางและใช้เสียง ใ ประมาณนาทีที่ 2:09 มี ยูกวาด -> ยูกวด
สมมุติว่าผมอยากจะ respell Cwaa -> Cua สำหรับเฉพาะเวียงจันทน์ ผมทำอย่างนั้นไม่ได้ใช่ไหมครับ --A.S. (คุย) 21:34, 5 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
>>เรื่อง ว ควบของลาว จริงๆไม่ได้ออกเสียง ว เลย แต่เป็น labialize คือห่อปากเข้า ซึ่งคุณจะเห็นว่า ใช้ตัวยก ʷ ไม่ใช่ w ตัวเต็ม ทำให้เสียงออกมาคล้าย ออ หรือ อัว (เซียงขวาง กลายเป็น เซียงของ หรือ เซียงขวง) ผมคิดว่าน่าจะใส่ phonetic ต่อท้ายได้ (จะใช้สระอะไรดี อัว มีทั้งสั้นยาว) ส่วน phonemic วางไว้เหมือนเดิม --Octahedron80 (คุย) 23:04, 5 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ครับ เห็นด้วยครับที่มี phonemic transcription กับ phonetic transcription (เหมือนแต่ก่อนที่คุณทำ) ตอนนี้แม่แบบ IPA ที่เราใช้เหมือนจะเป็นรูป phonetic มากกว่า (จริง ๆ เหมือนเป็นกึ่ง phonemic กึ่ง phonetic อยู่ตอนนี้) แต่เรากลับใช้ // ไม่ใช่ [] ผู้ใช้จะเข้าถึงได้มากกว่าถ้าเห็นรูป phonetic เพราะจะได้อ่านออกเสียงตามได้โดยไม่ต้องรู้กฎทางสัทวิทยา (phonological rules) ของภาษาที่เขาไม่รู้จัก ไม่งั้นเขาต้องรู้ว่าจะต้องไปจาก // -> [] (phonemic level to phonetic level) อย่างไรในภาษานั้น ๆ
เหมือนที่คุณรู้อยู่แล้ว ปรกติในสัทวิทยา เรามักจะไม่ใช้ diacritic อะไรเลยใน // ยกเว้นถ้า diacritic ตัวนั้นเป็น phoneme หรือเป็นการถ่ายเสียงที่เป็น phonemic ของภาษา (เช่น stress ในภาษาอังกฤษ) เรามักจะใช้ broad transcription สำหรับ phonemic transcription มากกว่า คือใช้ IPA symbols อย่างประหยัดที่สุดสำหรับภาษานั้น ๆ ส่วน phonetic transcription ซึ่งใช้ [] จะเป็นการถ่ายเสียงแบบละเอียดครับ ยิ่งเป็น narrow transcription มากเท่าไหร่อีกละเอียดมากเท่านั้น (broad vs. narrow จะอยู่บน spectrum, i.e., broader vs. narrower) ใน phonetic transcription เรามักจะใส่ diacritic รวมทั้ง [̚] (สำหรับ unreleased stops) ด้วย
ส่วนเรื่องการเรียงนั้น อย่างที่คุณรู้อยู่แล้ว นักสัทวิทยามักจะเอารูป phonemic ขึ้นก่อนรูป phonetic เหมือนในคำว่า cantar ที่เรียงแบบนี้ครับ: /kanˈtaɾ/, [kãn̪ˈt̪aɾ] --A.S. (คุย) 23:48, 5 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ใส่สระอัวแล้วโดยปรากฏอัตโนมัติ ใช้สระอัวยาว เพื่อให้ผันเสียงได้เหมือนกัน (เวลาเป็นคำตาย) --Octahedron80 (คุย) 02:24, 6 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ครับ ผมชอบโค้ดมากเลยครับ ทำให้เอ็นทรีคำลาวมีคุณภาพสูงขึ้นเยอะเลย ฝีมือคุณยอดเยี่ยมมากเลยครับ --A.S. (คุย) 03:28, 6 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ขอเสริมว่า // ยังใช้ได้อยู่เพียงแต่ต้องเอา [̚] ออกครับถ้าอยากจะใช้ phonemic transcription จริง ๆ (และถ้ามีอะไรที่ไม่ใช่ phoneme อีกก็ควรเอาออก)
ถ้าลาวเวียงจันทน์กับลาวหลวงพระบางสูญเสียการแยกแยะระหว่าง Cwaa vs. Cua ไปแล้ว (ผมเขียน Cwaa/Cua ย่อนะครับ ไม่ได้ระบุเรื่อง labialization และ long diphthong) ก็แสดงว่า phonology ของลาวเวียงจันทน์ และ phonology ของลาวหลวงพระบางไม่มี Cwaa แล้ว มีแค่ Cua ซึ่งคล้ายกับการสูญเสีย phonemic contrast ระหว่าง ช กับ ซ ของ Proto-Southwestern Tai ในอดีต ในกรณี Cwaa/Cua นี้ ถ้าไม่แยกแยะระหว่าง ขวา กับ ขัว แล้วก็แปลว่า ไม่มี Cwaa แล้ว เหมือนกับที่ phonology ของลาวเวียงจันทน์ไม่มี /ɯ/ หลัง /a/ แล้ว แต่ phonology ของ ลาวหลวงพระบางยังมีอยู่ เราจึงไม่ใช้ /aɯ/ สำหรับเสียง ใ ในลาวเวียงจันทน์ ในกรณี Cwaa vs. Cua นี้เหมือนกับว่า -aa อยู่ในพยางค์เดียวกับ Cw- ไม่ได้ เราจึงไม่ควรเขียน C/waː/ (หรือ C/ʷaː/) คือ Cw- กับ -aa ยังเป็น phoneme อยู่ในภาษาลาว เพียงแต่อยู่รวมกันไม่ได้ในพยางค์เดียวกันจึงไม่ควรนำมารวมกันใน // เวลาถ่ายเสียงพยางค์ใดพยางค์หนึ่ง เรื่องนี้ไม่ต่างกับคำว่า start ซึ่งใช้ /stɑɹt/ สำหรับสำเนียงอเมริกันแต่ใช้ /stɑːt/ สำหรับสำเนียงอังกฤษ (RP) คือ /ɹ/ ยังเป็น phoneme อยู่ในภาษาอังกฤษแบบบริติชแบบ non-rhotic เพียงแต่ /ɹ/ ไม่สามารถเป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ได้ในสำเนียงนี้
เรื่องนี้เกี่ยวกับการหา phoneme โดยทั่วไปในภาษาใดภาษาหนึ่ง เหมือนที่คุณน่าจะรู้อยู่แล้ว ในสัทวิทยาเวลาเราจะหา phoneme เราจะใช้ minimal pair ถ้าเปลี่ยนเสียงหนึ่งแล้วความหมายเปลี่ยน เราก็ถึงจะมีหลักฐานว่ามี phoneme แต่ถ้าแยกแยะความหมายไม่ได้ ก็แสดงว่าภาษานั้น ๆ ไม่มี phoneme เช่นถ้าผมเปรียบคำว่า กาง กับ /ɡ/าง ในภาษาไทย ผมก็สรุปไม่ได้ว่ามี phoneme อะไรในภาษาไทย เพราะ /ɡ/ ไม่ได้เปลี่ยนความหมาย /ɡ/าง อาจจะฟังแปลก ๆ หูนิดหน่อยสำหรับคนไทย แต่ก็ยังก็ได้ยินเป็นความหมายเดียวกับ กาง สรุปถ้าจะใช้ // ก็ยังใช้ได้อยู่ครับ หลักฐานจากเอกสารวิชาการมียืนยัน Osatananta (1997) เขียนว่า "Furthermore, I found that native speakers of Vientiane Lao cannot distinguish between the following pairs of citation forms:" (pp. 76) ตามด้วยคำที่ผมเขียนไว้ข้างบนคือ ขวา/ขัว, ลวาด/ลวด, สวาย/สวย แล้วเขาเขียนต่อว่าคนลาวเวียงจันทน์จะรู้ความหมายต่อเมื่อมีบริบท เช่น ถ้า สวย อยู่ก่อน งาม ก็จะรู้ว่าแปลว่า สวยงาม ไม่ใช่ สวาย (คือ สาย, ไม่เช้า) การใช้บริบทช่วยนี้คล้าย ๆ กับคนไทยที่รู้ความหมายระหว่าง เหล้า กับ เล่า, ใน กับ นัย, และ หญ้า กับ ย่า เป็นต้น คือถึงเราไม่มี phonemic contrast แต่เราใช้บริบทช่วยได้
ถ้าจะมีแบบ /kanˈtaɾ/, [kãn̪ˈt̪aɾ] ก็ดูดีครับ (by the way, /ɾ/ คือ phoneme ในภาษาสเปน และเรารู้ได้เมื่อเปรียบคำว่า perro "หมา" กับ pero "แต่" = pe/r/o "หมา" vs. pe/ɾ/o "แต่") หรือมีแค่ // ก็ไม่ยุ่งยากครับ จะได้ไม่ต้องยุ่งเรื่องวรรณยุกต์ที่เปลี่ยนเสียงหรือเรื่องอื่นเพราะเอกสารเกี่ยวกับสัทศาสตร์ภาษาลาวค่อนข้างหายากอยู่ตอนนี้ --A.S. (คุย) 05:36, 6 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
เรื่อง labialization ของพยัญชนะลาวนั้น ไม่ได้เป็นที่ยอมรับโดยทุกคนครับ นักวิจัยแต่ละคนก็มีความเห็นของตัวเอง "The only Lao consonant which is controversial is the onset /w/, whether it is a labialized feature (hence kʷ, khʷ, sʷ, cʷ as proposed by Morev 1979), or whether it forms part of a sequence. I would like to maintain the conventional view that Cw- is a cluster, similarly to the clusters Cl- and Cr-." (Osatananta, 1997, p. 98) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า มุมมองแบบ "conventional" คือการเสนอว่า Cw- เป็น cluster ครับ ปัจจุบันในวิกิพีเดียผมเห็นมีแต่การอ้างอิงงานของ Erickson ซึ่งใน Google Scholar มีการอ้างอิงแค่ 9 ครั้ง [1] ส่วนของ Morev ที่เสนอ labialization มีคนอ้างอิง 40 ครั้ง [2] แต่ Enfield ไม่ได้เสนอ labialization (ดูหน้าที่ 34) และมีคนอ้างอิง 274 ครั้งครับ [3] A.S. (คุย) 11:25, 7 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
>> ผมแปลง Cwaa ให้เป็น Cuua แบบภายในแล้ว คุณไม่ต้องสะกดสระอัวเองครับ ปล่อยมันไปแบบนั้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว --Octahedron80 (คุย) 09:50, 9 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
>> สิ่งที่ผมเห็นเพิ่มเติมอีกอย่าง ຂວາວ (มีคำเดียวที่สะกดอย่างนี้) อ่านว่า ขวาว ไม่น่าจะเป็น ຂວວ ขวว ไปได้ครับ --Octahedron80 (คุย) 10:27, 9 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณมากครับ น่าจะเป็น ຂາວ ครับ เพราะ SEAlang เขียนว่า ຂວາວ กับ ຂາວ แปลว่า Adina cordifolia Hook ครับ เว็บของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิระบุว่าภาษาถิ่นในอีสาน (ซึ่งไม่น่ามี Cwaa เหมือนกับลาว) ใช้ ขาว (อุบลฯ) กับ กาว (เลย) สำหรับ Adina cordifolia Hook ครับ --A.S. (คุย) 11:12, 9 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

blt-pron[แก้ไข]

/aɰ/ หรือ /əw/

ꪻ = /əw/ มาจากที่ไหนครับ วิกิพีเดียหรือเปล่า น่าจะมาจาก Fippinger and Fippinger (1970) อีกทีครับ เพราะอ้างอิงอยู่ตรงบรรทัดที่เขียนว่า "/ɨ/ fluctuates to a back unrounded sound [ɯ]." ถ้าดูงานของ Fippinger and Fippinger (1970) ก็จะเห็นว่าเขาเขียนว่า bəw¹ leaf (p. 85) ครับ

แต่ข้อมูลนี้ถูกต้องแค่ไหนครับ ผมคิดว่าไม่น่าจะถูกต้อง (แต่คุณอาจมีข้อมูลมากกว่าผม) เหตุผลมีดังนี้

  1. Gedney (ใน Hudak, 2008) เขียนว่า baɰ¹ (/˨˨/) แปลว่า "leaf" (p. 14, in the "Southwestern Tai Dialects" chapter)
  2. Baccam et al. (1989) ซึ่ง Dorothy Fippinger (= Fippinger, D.) ก็เป็นหนึ่งในผู้เขียน เขียนว่า ꪻꪚ = ໃບ = baư = leaf (p. 103) ถ้า ꪻ เป็น /əw/ จริง น่าจะเขียนว่า bơu มากกว่าครับ
  3. ถ้าฟังจากคลิปนี้ ประมาณนาทีที่ 0:57 จะได้ยิน /aɰ/ ในคำว่า ꪻꪬ꫁ และประมาณนาทีที่ 7:35 ก็จะได้ยินในคำว่า ꪻꪔ꫁ ครับ

>> /əw/ ผมเอามาจากเอกสาร Unicode ที่คนเสนอไว้ [10] ซึ่งมี ref อยู่หลายแหล่งในนั้น ไม่ทราบว่าสรุปจากไหนเหมือนกัน แต่ถ้าจะเปลี่ยนก็ง่ายนิดเดียว (ช่วยแก้ในวิกิพีเดียด้วย) --Octahedron80 (คุย) 11:49, 10 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ผมไม่รู้เอกสาร Unicode เขาว่าอย่างไร คงมีผิดพลาดบ้างและอาจเข้าใจผิดบ้างครับ เราควรดูเอกสารจากงานวิจัยครับ เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่า ผมค้นหาใน Google Scholar ก็พอเจออยู่บ้าง มีแบบใหม่ ๆ ด้วย เช่นของ Burusphat (2017) จากมหิดล เขากล่าวว่า ไทดำถิ่นไทยใช้ aɯ ̴ai ̴ɤ ส่วนไทดำถิ่นลาวและเวียดนามใช้ aɯ เช่นในคำว่า ใจ ครับ (p. 18) ไม่มีการกล่าวถึง /əw/ ครับ --A.S. (คุย) 12:08, 10 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

Glottalization

ส่วนวรรณยุกต์จาก amritas นั้น เขาเอามาจากที่เดียวกับของผม เพราะเขียนว่า "see Gedney's descriptions in Hudak 2008: 9, 12" ตัวเลขสำหรับระดับวรรณยุกต์ตรงกันหมด แต่ปัญหาคือเขาไม่ได้ใส่ glottalization ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของวรรณยุกต์ครับ ในภาษาไทดำ วรรณยุกต์ 21 (ในคำว่า "อ้า" C1-3) กับ 31 ("ฟ้า" C4) ต้องมี glottalization ครับ (อิงตาม Hudak, 2008, p. 12)

References

  • Baccam, D., Baccam F., Baccam H., & Fippinger, D. (1989). Tai Dam-English, English-Tai Dam vocabulary book. Summer Institute of Linguistics.
  • Fippinger J., & Fippinger, D. (1970). Black Tai phonemes, with reference to White Tai. Anthropological Linguistics, 12(3). 83-97. https://www.jstor.org/stable/30029082
  • Hudak, T. J. (2008). William J. Gedney’s comparative Tai source book. Honolulu: University of Hawai'i Press.

--A.S. (คุย) 11:28, 10 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ชื่อผู้ใช้ที่ "ยอมรับได้"[แก้ไข]

ผู้ใช้:อิฉัน จรรไรคนเดิม ใช้ชื่อที่ถือว่า "ยอมรับได้" ไหมครับ --A.S. (คุย) 08:25, 12 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ดูจากชื่อก็ไม่ใช่คำหยาบคาย ถ้าผู้ใช้ไม่มีเจตนาก่อกวนก็ไม่น่าจะมีปัญหา // ชื่อที่ยอมรับไม่ได้ นอกจากคำหยาบ ก็เช่น ชื่อที่เจตนาโจมตีหรือปลอมตัว เป็นผู้ใช้คนอื่น หรือบุคคลอื่นในโลกจริง หรือชื่อที่ทำให้สับสนกับ UI --Octahedron80 (คุย) 08:29, 12 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
แล้ว ผู้ใช้:อีดอกทอง ถือว่า "ยอมรับได้" ไหมครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 15:27, 28 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ก็อาจจะได้ ถ้าดูนโยบาย en คือ ชื่อผู้ใช้ต้องไม่ offensive จนรบกวนชุมชน แต่คนนี้ถูกบล็อกเพราะเป็นหุ่นเชิดข้ามวิกิ (ตรวจสอบแล้ว) คิดว่าตั้งขึ้นมาเพราะแค้น แต่ดูเหมือนว่าจะด่าตัวเองมากกว่า --Octahedron80 (คุย) 15:44, 28 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]

Couldn't the template {{es-IPA}} be updated, so that it can categorize the Spanish entries by syllable counts? --Apisite (คุย) 11:40, 12 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

I didn't even know it existed. We didn't focus much on Spanish. I will try to update es-IPA. --Octahedron80 (คุย) 11:43, 12 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
PS I won't do syllable counting since I don't know how to syllabify Spanish words. Let the English project does it first. --Octahedron80 (คุย) 12:02, 12 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

รบกวนแวะเข้าไปหน่อยครับ ขอบคุณมากครับ ป.ล. ผมเพิ่งกลับเข้ามาดูนึกว่าได้ดำเนินการไปแล้ว --taweethaも (คุย) 10:39, 17 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณมากครับ --taweethaも (คุย) 11:09, 17 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ปรึกษากิจกรรมสำหรับวิกิพจนานุกรม[แก้ไข]

@B20180 ผมได้ปรึกษาคุณ B20180 เบื้องต้นไว้ในเรื่อง Wiki Loves Food นะครับ ตรงนั้นจะให้คุณ B20180 เป็นผู้ประสานงานหลัก แต่มีประเด็นทั่วไปที่อยากทราบความคิดเห็น คือ การสนับสนุนให้ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ปัจจุบันถ่ายภาพหรือนำภาพถ่ายที่มีอยู่แล้วในคอมมอนส์มาใส่ในวิกิพจนานุกรมเป็นแนวคิดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันหรือไม่ มีข้อดี ข้อเสีย หรือข้อควรระวังอย่างไรบ้างครับ ความเห็นส่วนนี้จะใช้ได้กับทุกโครงการในแนว WLX (WLE และ WLM น่าจะเกิดขึ้นก่อน Wiki Loves Food จึงต้องมาขอความคิดเห็นก่อน)--taweethaも (คุย) 10:47, 17 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ช่วยใส่รูปไม่มีปัญหา แต่ปัญหาที่เคยพบ(ในวิกิพีเดีย)คือ แย่งกันใส่รูป คนนี้จะเอารูปนี้ คนนั้นจะเอารูปนั้น // ตอนนี้วิกิไม่อนุญาตให้อัปโหลดรูปในโครงการแล้ว ต้องลงที่คอมมอนส์อย่างเดียว ซึ่งถ้ารูปเขามีปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ ทางนั้นก็ต้องลบเป็นธรรมดา และบางทีผู้อัปโหลดก็จะมาโวยวายที่โครงการเรา เราอาจจะต้องไปช่วยทำความเข้าใจ --Octahedron80 (คุย) 11:01, 17 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

รับทราบครับ / ขอบคุณมากครับ สำหรับ WLE/WLM อาจจะให้ใส่เฉพาะรูปที่ผ่านเข้ารอบก็ได้ จะคัดกรองคุณภาพของเนื้อหาและอาสาสมัครไปได้ระดับหนึ่ง --taweethaも (คุย) 11:09, 17 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

สระเดี่ยว เอ เออ โอ ในภาษาไทขาว[แก้ไข]

หน้าที่ 17 ของ เอกสารนี้ กล่าวว่า เอ เออ และโอ เขียน ꪮꪸ ꪮꪷ ꪮꪺ ตามลำดับครับ --A.S. (คุย) 21:33, 17 เมษายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ขออภัยที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ เพราะแหล่งข้อมูลที่แพร่หลาย ตอนนี้มีแต่ไทดำ --Octahedron80 (คุย) 15:22, 17 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

หัวแถบด้านข้างของ Gadget-VisibilityToggles[แก้ไข]

พอดีผมเจอใน string ว่าหัวเมนูของ "แสดงinflection" มันใหญ่เกินไปเนื่องจากว่ามันขาด class "vector-menu-heading" ครับ โค้ดที่เกี่ยวข้องอยู่ที่ มีเดียวิกิ:Gadget-VisibilityToggles.js#L-266 --Bebiezaza (คุย) 14:04, 13 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณที่บอก ผมก็หาอยู่เหมือนกันว่ามันผิดตรงไหน--1.47.137.180 16:42, 13 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

คำยืมจากขอม/เขมรโดยราชบัณฑิตยสถาน[แก้ไข]

สวัสดีครับ คุณทราบวิธีค้นหาคำไทยที่คำนิยามเขียนว่า "ข." ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไหมครับ หรือไม่ก็ คุณมีรายการคำไทยที่ยืมจากขอม/เขมรอิงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไหมครับ ผมค้นหาในเว็บนี้แต่มันช่างค้นหายากเหลือเกินครับ คือผู้ใช้ต้องงมหาเอาเอง ขอบคุณมากครับ --A.S. (คุย) 01:31, 16 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

นี่เป็นฉบับ 2542 ใช้พอคร่าว ๆ ส่วนมากไม่ค่อยต่างจากปัจจุบัน [11] แต่ๆๆ พจน.ไม่ได้บอกว่าเขมรยุคไหน (เขมรรุ่นก่อนสะกดต่างจากเขมรใหม่) หรือเขมรยืมไทยไป ต้องไปค้นคว้าต่อ --Octahedron80 (คุย) 12:13, 17 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 09:57, 18 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

กรุณาช่วยแก้ไขด้วยครับผมพยายามดีที่สุดแล้วยังไงก็ไม่ได้ต้องมีสาเหตุบางอย่างผมก็ยังไม่ทราบกำลังมองหาสาเหตุแต่ไม่เจอ ผมเองก็วิธีการใช้ Wiki ยังไม่ค่อยเก่งที่สุดกำลังขัดข้องบางอย่างวิธีการใช้ ถ้าคุณมีเวลาว่างกรุณาแก้ไขด้วยนะ ผมคิดว่าถ้าแก้ไขเสร็จเรียบร้อยหมดแล้วก็น่าจะมีประโยชน์บางอย่าง เช่น ผมไม่มีคีย์บอร์ด IPA เวลาเขียนคำออกเสียง IPA มันยุ่งยากมาก ผมเขียนจากคอมพิวเตอร์ไม่ได้ต้องผ่านโทรศัพท์ตลอดเวลา ขอบคุณนะช่วยหน่อยนะ

ผมไม่อยากจะทำ IPA ภาษามอญ เพราะว่าการออกเสียงไม่คงเส้นคงวา คือพยัญชนะหรือสระตัวเดียวกัน ออกเสียงได้มากกว่าหนึ่งแบบ แถมยังมีหลายสำเนียงระหว่างไทยกับพม่า หากทำเป็นมอดูลแล้ว เสียงจะออกมาแบบเดียว อาจจะให้ผลไม่ถูกต้อง กรณีอย่างนี้ เหมือนภาษาอังกฤษที่จะไม่ทำมอดูล ซึ่งจะใส่ IPA เองทั้งหมด มันไม่เหมือนกับการถอดอักษร (transliteration) ที่เห็นอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น--Octahedron80 (คุย) 07:10, 31 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

To let you know, I made the entry for the Basque word sits. Apisite (คุย) 16:59, 26 พฤศจิกายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

Do what you can as normal. Language names need to be alphabet-sorted (with English/Thai on top). But you don't worry about that now. I am thinking about the language rearranging script. --Octahedron80 (คุย) 17:22, 26 พฤศจิกายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
I thought the entries are arranged in the Thai script order. --Apisite (คุย) 17:36, 26 พฤศจิกายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

I mean ก-ฮ. Did I say wrong? Octahedron80 (คุย) 17:59, 26 พฤศจิกายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

You said nothing wrong. Thanks for the clarification. --Apisite (คุย) 09:24, 29 พฤศจิกายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]

Pukapukan[แก้ไข]

(CC: @Apisite) Pukapukan น่าจะทับศัพท์แบบนี้ไหมครับ ปูกาปูกา เพราะมาจากคำว่า Pukapuka (cf. Japanese จาก Japan) A.S. (คุย) 14:13, 28 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

Pukapuka เป็นชื่อเกาะ ก็ใช้ตามนั้นครับ --Octahedron80 (คุย) 00:10, 30 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

แก้ module ยังไม่เสร็จใช่ไหมครับ[แก้ไข]

สวัสดีครับ ตอนนี้แม่แบบบางชนิดไม่ทำงาน เช่น ใน เสมอภาค และ กิน คุณกำลังแก้ไม่เสร็จใช่ไหมครับ A.S. (คุย) 20:47, 15 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ขออภัยที่แก้ไม่หมด เพราะตอนที่ทำนั้นผมยังไม่เห็น error ปรากฏขึ้นมา --Octahedron80 (คุย) 23:56, 15 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]

การแก้ไขของคุณเกี่ยวข้องกับมอดูลที่ปรากฏใน කාකී และ กากี ไหมครับ --A.S. (คุย) 19:20, 18 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]
สวัสดีครับ คุณทราบไหมครับว่าทำไม มอดูล:labels/data/topical ไม่ทำงาน ทำไม label พุทธ กับ คริสต์ (เช่น ในคำว่า เมตตา และ ความรอด ไม่แสดงหมวดหมู่) มอดูลนี้คงไม่เกี่ยวกับมอดูลที่คุณกำลังแก้ใช่ไหมครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 15:04, 23 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]
labels ยังไม่ได้ยกเครื่องครับ ผมปรับแค่หน้าเดียวไม่ให้ error --Octahedron80 (คุย) 16:39, 23 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]
แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว // ระหว่าง labels กับ category tree ก็ต้องตั้งชื่อให้เหมือนกัน เพื่อให้จัดลงไปอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ซึ่งทำค่อนข้างยากเพราะมันเยอะ --Octahedron80 (คุย) 12:11, 27 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณครับ เดี๋ยวผมค่อย ๆ ช่วยแก้ครับ --A.S. (คุย) 12:39, 27 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]

การแสดงผลสระอุใต้อักษร ฏ ผ่านการใช้แม่แบบ[แก้ไข]

สวัสดีครับต้องขออนุญาตรบกวนคุณ Octahedron นะครับ จากคำที่ผมพึ่งจะสร้างคือ నాటు ในภาษาเตลูกู นั้นคำอ่านเป็นอักษรไทยคือ นาฏุ (มีสระอุใต้ ฏ) ผมได้พบว่า เฉพาะในการแสดงผลคำอ่านดังกล่าวผ่านการใช้แม่แบบ (แสดงในวงเล็บ) นั้น สระอุ จะปรากฏทับอยู่กับหาง ฏ ปฏัก จนมองแทบไม่เห็นครับ ไม่ทราบว่าจะต้องแก้ไขให้แม่แบบแสดงผลสระอุขยับลงมาด้านล่างในกรณีนี้อย่างไร จึงต้องขอรบกวนคุณช่วยดูและแก้ไขถ้าหากเป็นไปได้ด้วยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ --Siam2019 (คุย) 23:40, 20 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

มันไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดจากวิกิ มันจึงปรับแต่งแก้ไขไม่ได้ (ผมเห็นได้ปกติ) ปัญหาคือฟอนต์ปัจจุบันของคุณไม่มีการปรับช่องไฟ (kerning) คุณอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้วินโดวส์ 10/11 มันจะมีฟอนต์ที่อัพเดตมาให้ หรือใช้ Firefox มันจัดการกับฟอนต์ต่างประเทศได้ดีกว่า Octahedron80 (คุย) 07:03, 21 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
เช่นเดียวกับ เจฺิ็ด ถ้าคุณมองเห็นไม้ไต่คู้ทับซ้อนกับสระอิ ก็คือปัญหาฟอนต์อันเดียวกัน Octahedron80 (คุย) 08:18, 21 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณครับ --Siam2019 (คุย) 09:49, 21 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

สคริปต์แมว ๆ ไม่ทำงาน[แก้ไข]

สวัสดีครับ สคริปต์แมว ๆ ไม่ขึ้นที่หน้าแก้ไขเลยครับ ผมใช้ Chrome อัปเดตสคริปต์แล้ว ล้างแคชแล้วก็ยังไม่กลับมา ไม่รู้จะแก้ยังไงดี Ponpan (คุย) 23:16, 27 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

Lua error[แก้ไข]

สวัสดี @Octahedron80 เกี่ยวข้องก็หน้าภาษาแมนจูจะมีปัญหาLua error ช่วยแก้ไขเรื่องนี้ด้วย ผมพยายามดีที่สุดแล้วยังไงก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรบ้างผมก็ไม่ทราบกำลังค้นหาปัญหาแต่ไม่เจอมันซ่อนอยู่ตรงไหนไม่ทราบดูตัวอย่างหน้า ᠠᠨᡳᠶᠠ อันนี้ ผมก็แค่อยากจะเพิ่มตามแบบวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษขอบคุณครับ

แก้ไขแล้วครับ ส่วนตัวอักษรแนวตั้ง ต้องรอสักพักถึงจะเห็นผล --Octahedron80 (คุย) 18:12, 31 มีนาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณมากครับ ไม่ทราบว่าผมขอสอบถามเพิ่มเติมบางสิ่งบางอย่างได้ไหม ผมไม่เก่งเรื่องวิธีการใช้คุณก็รู้อยู่ดี ผมอยากจะได้ความช่วยเหลือจากคุณ ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 00:04, 1 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

What's going on with vorrâ and other Inari Sami entries? -- Apisite (คุย) 14:37, 2 พฤษภาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

Thai WT majorly updates following up English. So lots of modules may show error but no worry. --Octahedron80 (คุย) 14:42, 2 พฤษภาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

สอบถามพูดคุย[แก้ไข]

สวัสดี @Octahedron80 ผมอยากจะสอบถามพูดคุยกับคุณบางอย่าง คุณกรุณาช่วยให้คำตอบโดยตรง บางครั้งผมจะมาขอความแนะนำจากคุณ คุณก็ไม่ได้ตอบกลับใดๆ อันนี้หมายความว่าอะไรคุณกรุณาช่วยตอบกลับครั้งสุดท้ายก็ได้คุณไม่พอใจก็ฉันบางอย่างก็พูดตามตรงไปเถอะ บางครั้งผมจะมาขอความคำแนะนำคุณก็ไม่ตอบกลับเป็นแบบนี้ไม่มีความยุติธรรมแล้วก็การกระทำให้ผมโมโหด้วย ผมคิดว่า เริ่มปัญหาที่ผมห้ามเอาไว้ไม่ให้ผสมมอญไทยก็มอญพม่าหรือเปล่า ถ้าคุณไม่พอใจเรื่องปัญหานี้แล้วก็เป็นความผิดของคุณชัดๆ เพราะว่าเป็นภาษามอญไทยยังไม่มีการพัฒนาการเขียนภาษามอญไทยก็ไม่มีระเบียบวินัยสาเหตุปัญหานี้แหละผมก็ต้องห้ามเอาไว้คุณเข้าใจเรื่องนี้หรือเปล่า ตัวอย่างเช่น ในภาษามอญภาษาเขียนก็ภาษาพูดมี ๒ ประเภท ภาษาพูดนั้นไปใช้กับวรรณกรรมไม่ได้ เรื่องนี้คุณเรียนรู้หรือยัง คนมอญจะเรียกคนพม่าว่า (ฮาแมဟမာ) คำพูดนี้ก็ถูกต้องก็จริงแต่ใช้งานที่วรรณกรรมไม่ได้ ในวรรณกรรมต้องใช้งานว่า(ဗၟာบาแม)คุณต้องจดจำเอาไว้คำตัวอย่างนี้ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญวิกิดังนั้น มีปัญหาบางอย่างบนวิกิแล้วก็ผมต้องขอความแนะนำจากใครก็ไม่รู้ ตอนที่ผมมาขอความแนะนำจากคุณ คุณก็ไม่ยอมตอบกลับเป็นแบบนี้การกระทำให้ผมโมโหมาก ผมเป็นคนใจร้อนคุณก็รู้อยู่ดีความที่ผมต้องการหย่าทำงานก็คุณเร็วๆ ตอนนี้ในวิกิพจนานุกรมภาษามอญมีปัญหา Lua error ต้องขอความแนะนำจากใครก็ยังไม่รู้พยายามจะทำตัวเองก็ไม่สำเร็จผมก็โกรธมากทุบคอมพิวเตอร์จอแตกไปสักหน่อยละ เอาล่ะผมสอบถามครั้งสุดท้ายเรื่องปัญหานี้คุณอยากจะช่วยให้ไหม ดูตัวอย่าง mnw:شهرอันนี้--ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 16:03, 5 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

เรื่องภาษามอญนั้นจบไปตั้งนานแล้ว ตั้งแต่คุณเสนอให้แยก มอญ(แบบพม่า) กับมอญแบบไทย เป็นสองรหัส ก็ถือว่าเป็นคนละภาษา เพราะการสะกดกับไวยากรณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (มีเปเปอร์พูดถึงเรื่องนี้) คุณก็เขียนมอญแบบพม่าไป ผมก็เขียนมอญแบบไทยไป อย่างมีความสุข ไม่ต้องแย่งกันแก้ มอญไทยคนเก่าคนแก่เขาเขียนอย่างใด ไม่ต้องแก้เป็นมอญพม่า เราเขียนถูกแบบของใครของมัน (เพียงแต่บางคำยังไม่ได้แยก) กรุณาไม่ต้องบอกกล่าวเรื่องนี้อีก เพราะคุณพูดแบบเดิมซ้ำ ๆ ไปทุกที่ทุกแห่ง ผมก็รำคาญ // อันที่จริง จะเป็นภาษาเขียน(วรรณกรรม) หรือภาษาพูด ก็ลงได้ทุกคำ เพราะพจนานุกรมจะต้องรวบรวมทุกคำ และทุกรูปที่มีปรากฏ เคยย้ำไปแล้วหลายครั้ง // ส่วนเรื่องทางเทคนิค ยังมีอีกหลายคนที่ช่วยคุณได้ ไม่ต้องรอผมคนเดียว ผมก็มีงานต้องทำเหมือนกัน อีกอย่างนึงคือ ผมแปลภาษามอญเป็นประโยคไม่ออก จะไปช่วยคุณทำมันก็ลำบาก --Octahedron80 (คุย) 08:53, 6 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

สวัสดี @Octahedron80 เมื่อกี้นี้ผมมองไม่เห็นตัวอักษรผิดไปสักหน่อย ทำไมคุณอยากจะลบออกเร็วๆ ทำไมยังไม่ได้พูดเรื่องสาเหตุก่อน แบบนี้ไม่ดีนะคุณ ไร้สาระมาก ผมพยายามแก้ไขดีที่สุดแล้ว แค่ผิดในสายตา ผมไม่ใช่เป็นผู้สร้างเละเทะ--ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 18:37, 26 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

อะไรที่เห็นว่าผิดใหญ่มาก ต้องรีบลบ มิฉะนั้น บอตที่ดูดข้อมูลวิกิไปเผยแพร่ต่อ ข้อมูลจะยิ่งผิดต่อไปเรื่อย ๆ แล้วแก้ไขไม่ได้ อย่างไรก็ดี ผมก็ใส่เหตุผลประกอบแล้ว ผมก็แปลกใจว่า ทำไมคุณถึงตาลายขนาดนั้น --Octahedron80 (คุย) 18:44, 26 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
นี่คุณอย่ามองคนอื่นแบบตัวเอง ก่อนที่ยังไม่พูดกับคนอื่นต้องปรึกษาปัญหาคนอื่นก่อน ปัญหาผมคืออะไรคุณมองที่รูปภาพนี้
ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 13:54, 27 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
@咽頭べさ คุณไม่มีฟอนต์ โหลดฟอนต์ที่นี่ไปใช้เบื้องต้นก่อนครับ ถึงแม้ตัวอักษรยังไม่ครบ แต่พอใช้งานได้ [12] --Octahedron80 (คุย) 14:16, 27 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ผมดาวน์โหลดแล้วมันใช้งานไม่ค่อยจะได้ มีปัญหา Error ผมต้องสลับก็โทรศัพท์😭😭 ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 14:23, 27 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

Need your input on a policy impacting gadgets and UserJS[แก้ไข]

Dear interface administrator,

This is Samuel from the Security team and I hope my message finds you well.

There is an ongoing discussion on a proposed policy governing the use of external resources in gadgets and UserJS. The proposed Third-party resources policy aims at making the UserJS and Gadgets landscape a bit safer by encouraging best practices around external resources. After an initial non-public conversation with a small number of interface admins and staff, we've launched a much larger, public consultation to get a wider pool of feedback for improving the policy proposal. Based on the ideas received so far, the proposed policy now includes some of the risks related to user scripts and gadgets loading third-party resources, best practices for gadgets and UserJS developers, and exemptions requirements such as code transparency and inspectability.

As an interface administrator, your feedback and suggestions are warmly welcome until July 17, 2023 on the policy talk page.

Have a great day!

Samuel (WMF), on behalf of the Foundation's Security team 19:08, 10 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ขอใช้งาน Bot สำหรับ วิกิพจนานุกรมไทย[แก้ไข]

สวัสดี @Octahedron80 ฉันอยากจะขอคุณสำหรับจะอัพโหลดคำศัพท์ภาษามอญในวิกิพจนานุกรมภาษาไทยคำศัพท์อันนี้ทั้งหมดฉันจะอนุมัติให้แล้ว(คำตื่น=คำศัพท์ที่ผมยังไม่ได้อนุมัติอย่าโพสในวิกิพจนานุกรมภาษาไทยและที่อื่นด้วย/คำพูดนี้ผมห่วงวรรณคดีภาษามอญเสียหายคุณต้องเข้าใจการกระทำผมด้วย/ถ้าคุณไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาษามอญยังไงก็คุณต้องฟังผม/ผมไม่ได้มากล่าวหาคุณ ผมแค่ห่วงวรรณคดีภาษามอญเสียหาย) คำศัพท์ที่ผมจะให้คุณทั้งหมดต่อไปนี้

อันนี้ทั้งหมดให้ Bot อัพโหลดในวิกิพจนานุกรมภาษาไทย, ขอบคุณครับช่วยด้วย--ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 22:48, 26 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ฐานข้อมูลนี้ ผมก็มีครับ มาจากที่เดียวกัน เป็นของคนไทยทำไว้ โดยอ้างอิงจากหนังสือของผม (พจนานุกรมมอญ-ไทย ฉบับมอญสยาม) และเป็นข้อมูลที่เคยเอาให้คุณดู อย่างเช่น မည္ည [มฺอนแญฺ.]น.ชาวมอญ มันมีอยู่ในนั้น หลาย ๆ คำคุณเคยบอกว่ามันผิด เพราะมันเป็นการสะกดแบบไทย(หรือสยาม) ไม่ใช่การสะกดแบบพม่า ถ้าผมนำเข้าฐานข้อมูลนี้ ผมต้องใส่ในภาษามอญแบบไทย ถ้าผมเอาไปใส่ภาษามอญแบบพม่า เดี๋ยวก็ทะเลาะกันอีก ถ้าหากคุณได้แก้ไขฐานข้อมูลบางส่วนแล้ว หรือไทย-พม่าไม่ต่างกัน ผมอาจพิจารณาเอาลงให้บ้าง แต่ผมจะให้ความสำคัญกับมอญแบบไทยก่อน และจะไม่ทำบอต เพราะอาจจะทำให้รายการผิดพลาดมาก --Octahedron80 (คุย) 08:26, 27 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ข้อมูลของคุณ ผมเอาออกจากหน้าพูดคุย เพราะมันทำให้หน้าพูดคุยรก แต่ยังอยู่ในประวัติ ไม่หายไปไหน --Octahedron80 (คุย) 08:47, 27 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ใช่ที่ฉันให้คุณเอาไว้ฉันเอาจากพจนานุกรมไทยมอญ ฉันจะแก้ไขคำสะกดทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ใช้เวลา ๒ เดือน คืออย่างนี้แหละฉันอนุมัติให้คุณ ฉันจะตรวจสอบทั้งหมดเรียบร้อยหมดแล้ว ที่ผมให้เอาไว้ทั้งหมดคุณจะใช้ได้ มอญพม่าก็มอญไทย เป็นแบบที่ผมไม่อนุญาตคุณดูที่ในรูปภาพนี้
ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 19:27, 27 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
สวัสดีครับคุณ@咽頭べさ ผมไม่เข้าใจการใช้คำศัพท์ของคุณ การที่คุณจะ "อนุมัติ" หรือ "ไม่อนุญาต" นี้หมายความว่าอะไรครับ คุณเป็นเจ้าของพจนานุกรมมอญ-ไทยหรือครับ --A.S. (คุย) 21:17, 27 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ฉันไม่ใช่เป็นเจ้าของพจนานุกรมไทยมอญ ฉันเป็นเจ้าของภาษามอญ เกี่ยวกับภาษามอญฉันมีหน้าที่มากมาย ตัวอย่างเช่น สำหรับผลิตตัวหนังสือต้องมีใบอนุญาตรัฐบาลใช่ไหม เกี่ยวกับภาษามอญก็อย่างนี้แหละ ต้องมีการอนุมัติจะผู้เชี่ยวชาญภาษามอญ คุณต้องจำเอาไว้ว่าวรรณคดีภาษามอญไม่ใช่ของเล่น อันนี้เป็นชีวิตของชาวมอญทั้งหมด จะมาเขียนภาษามอญมั่วๆได้ยังไง ฉันมีหน้าที่ต้องปกป้องภาษามอญ ถ้าคุณต้องการเขียนมั่วๆ ไปเขียนภาษาอื่นๆ ถ้าเกี่ยวกับภาษามอญฉันก็ต้องยุ่ง อันนี้เป็นภาษาแม่ฉันแล้วก็เป็นชีวิตฉันด้วย ถ้าวรรณคดีภาษามอญเสียหายแล้วก็ภาษามอญก็จะหายไปได้คุณรู้เรื่องนี้ด้วยไหม ดูตัวอย่างคนมอญในประเทศไทย บางคนก็พูดภาษามอญผสมกับภาษาไทยอยู่ อันนี้ต้นสาเหตุคืออะไรคุณรู้ไหม ถ้าคุณอยากรู้ให้เขาอ่านภาษามอญ คุณต้องเข้าใจว่าเขาอ่านไม่ได้แน่นอน ต้นสาเหตุก็คือเพราะเขาอ่านภาษามอญไม่ได้เขาไม่รู้จักคำศัพท์ภาษามอญ ถ้าวรรณคดีภาษามอญเสียหายแล้วก็คนมอญทั้งหมดไม่มีใครพูดภาษามอญได้อีกแล้ว ถ้าคุณไม่อยากช่วยไม่ต้องช่วยก็ได้อย่ามาพยายามทำร้ายวรรณคดีภาษามอญฉันยอมรับไม่ได้ ฉันไม่เคยทำร้ายวรรณคดีภาษาไทย ฉันแค่พยายามดีที่สุดถ้าเกี่ยวกับภาษาไทยคนไทยจะพูดอะไรฉันก็ต้องฟัง ถ้าเกี่ยวก็ภาษามอญแล้วก็คุณต้องฟังผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีภาษามอญ พจนานุกรมไทยมอญนั้นฉันจะตรวจสอบแล้วแก้ไขทั้งหมดแล้วถ้าคุณยังไม่รู้อะไรอย่ามายุ่งดีกว่า เราสามัคคีด้วยการทำงานด้วยกันเถอะอย่าสร้างมีเรื่องการมีอะไรก็ปรึกษาก่อนอย่าทำแบบมั่วๆ แค่นี้แหละขอบคุณครับ ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 23:31, 27 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
@咽頭べさ, คำตอบของคุณคือ "ฉันไม่ใช่เป็นเจ้าของพจนานุกรมไทยมอญ" ผมเกรงว่าที่เหลือส่วนใหญ่คือนอกประเด็น สรุปถ้ามีคนเพิ่มศัพท์โดยอิงตามพจนานุกรมที่น่าเชื่อถือ คุณก็ไม่มีสิทธิ์ "อนุมัติ" หรือ "อนุญาต" ไม่ให้คนคนนั้นทำเช่นนั้น คุณสามารถ "เห็นด้วย" หรือ "ไม่เห็นด้วย" ได้ ขอบคุณครับที่เข้ามาช่วยพัฒนาวิกิพจนานุกรมภาษาไทย --A.S. (คุย) 01:19, 28 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ฉันมีสิทธิ์ เพราะว่าที่ฉันให้ไป ไม่ใช่ของเขาตั้งเดิม ผมตรวจสอบแล้วก็แก้ไขและก็เขียนใหม่ ถ้าคุณอยากจะพูดอย่างนี้แล้วก็ไปสอบถามผู้เขียนพจนานุกรมไทยมอญแสดงหลักฐานการอนุมัติจะผู้เชี่ยวชาญวรรณกรรมภาษามอญได้หรือไม่ ถ้าไม่มีการอนุมัติจะผู้เชี่ยวชาญแล้วก็พจนานุกรมนั้นไม่ตามกฎระเบียบการละเมิดวรรณกรรมภาษามอญชัดๆ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วก็ฉันรายงานแจ้งความได้ตั้งข้อหาการผลิตวรรณกรรมภาษามอญของปลอม ถ้าคุณมีเวลาว่างกรุณาเปิดอ่านกฎหมายการผลิตหนังสือด้วย เกี่ยวกับภาษามอญต้องมีการอนุมัติจะผู้เชี่ยวชาญ ในวิกิพจนานุกรมนั้นทั่วโลกก็มองเห็นได้คืออย่างนี้แหละการเขียนภาษามอญต้องระวังมากขึ้น เขียนแบบมั่วๆไม่ได้ ถ้าผิดพลาดไปสักหน่อยแล้วก็สำหรับผู้เรียนรู้ข้อผิดพลาดก็ได้ ถ้าผู้เรียนรู้ผิดพลาดไปแล้วก็วรรณกรรมภาษามอญจะเสียหายได้แน่นอน ดูตัวอย่างคนมอญในประเทศไทยก็ในประเทศพม่า เวลาเขาพูดภาษามอญเขาผสมกับภาษาอื่น ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 16:00, 28 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
@咽頭べさ, คุณไม่มีสิทธิ์อนุมัติหรืออนุญาตทางกฎหมายเพราะคุณไม่ใช่เจ้าของเนื้อหาของพจนานุกรมไทย-มอญดังกล่าว ดังนั้นคุณทำได้แค่ "เห็นด้วย" และ "ไม่เห็นด้วย"
It seems like you are not very fluent in Thai, so I will write the following in English. You cannot legally give permission to anyone to use or not to use the Thai-Mon dictionary as a source. You do not own the contents of the dictionary. The other things that you have written do not change the fact that you are not the legal owner of the contents. Thank you. --A.S. (คุย) 16:14, 28 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
แต่ยังไงก็ต้องมีการยืนยันผู้เชี่ยวชาญ พจนานุกรมใครก็เขียนได้แต่ต้องมีกฎระเบียบ ถ้าไม่มีกฎระเบียบ ฉันยังไงก็อนุญาตให้ไม่ได้ ถังกฎหมายอนุญาตให้แล้วก็ฉันก็ต้องรายงาน ถ้ารายงานดีๆไม่ได้ฉันต้องจับอาวุธต่อสู้แน่นอน ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 16:32, 28 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
@Octahedron80 knows best about my Thai language skills. ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 16:37, 28 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
Thank you. You still cannot legally give permission to anyone to use or not to use a reliable dictionary as a source if you do not own the contents of the dictionary. You wrote "ฉันต้องจับอาวุธต่อสู้แน่นอน" (lit. "I will for sure hold a weapon to fight"). Please study the norms for interacting with other users here: [13]. If there is an error in an entry, you can discuss it with other users or the admins. --A.S. (คุย) 16:52, 28 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

การเขียนภาษาคำตี้[แก้ไข]

สวัสดีครับ ผมเพิ่งเริ่มศึกษาครับ ยังงง ๆ อยู่ว่า สรุปต้องเขียนจุด (FE00) หรือไม่ ดูเหมือนว่าไม่ต้องหรือครับ หรือการเขียนแบบมีจุดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งขอบคุณครับ A.S. (คุย) 21:49, 18 สิงหาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

คำหลักไม่ต้องเขียน VS1 ครับ เพื่อประโยชน์ในการสืบค้น VS1 เอาไว้แสดงเฉพาะใน headword เราเขียนไว้แล้วในมอดูล kht/phk/aio ถึงมันจะปนมากับลิงก์เราก็ตรวจได้ มิฉะนั้นแล้ว คำที่มี VS1 กับไม่มี VS1 มันจะกลายเป็นคนละหน้า --Octahedron80 (คุย) 21:54, 18 สิงหาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ถ้าจะเทียบก็คือเหมือนกับ ฐ ญ ไม่มีเชิง ของบาลี คำหลักเขียนปกติ แต่ headword จะแสดงเป็นตัวไม่มีเชิง --Octahedron80 (คุย) 22:04, 18 สิงหาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 22:13, 18 สิงหาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ปราศ บำราศ[แก้ไข]

ขอสอบถามรากศัพท์ของคำนี้ครับ ผมสืบค้นไม่เจอ มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคำไทยแท้ไหมครับ ขอบคุณครับ A. Nitithorn (คุย) 13:02, 6 กันยายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ปราศ มีเขมรกลางกับสันสกฤตให้เทียบอยู่ครับ ความหมายใกล้เคียงกัน พุ่งไป ก็คือ พ้นไป ในเมื่อไม่แน่ใจก็ไม่ต้องระบุ // ส่วน บำราศ ก็อาจเป็นไปได้ว่า ไทยแผลงเอง --Octahedron80 (คุย) 13:28, 6 กันยายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
โอเครครับ ขอบคุณมาก A. Nitithorn (คุย) 14:47, 6 กันยายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]


ช่วยแก้ไขมอดูลshn-translit[แก้ไข]

มอดูลshn-translitนี้มีปัญหาบางอย่างช่วยกรุณาแก้ไขด้วยครับ ลองดู mnw:ရူႇပ, shn:ရူႇပ ๒ หน้านี้ ขอบคุณครับ--ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 13:52, 19 ตุลาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

เรายังหาข้อผิดพลาดไม่เจอ เพราะมอดูลนั้นเริ่มต้นสร้างโดยวิกิภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่เหมือนกับของวิกิภาษาไทย // เรายังไม่เคยเจอคำศัพท์แบบ ရူႇပ มาก่อน ของไทยสามารถถอดได้ แต่ของอังกฤษยังถอดไม่ได้ --Octahedron80 (คุย) 09:27, 20 ตุลาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ရူႇပ นี้ เป็นคำศัพท์ยืมจากภาษาบาลี ရူပ หรือ คำศัพท์แบบภาษาบาลี ในภาษามอญเรียกว่า ရူပါရီု สำหรับการอ้างอิง ရူႇပ นี้ ลองดูที่ (ရူႇပ၊ ဝေႇတၼႃႇ၊ သၺ်ႇၺႃႇ၊ သင်ႇၶႃႇရလႄႈ ဝိၺ်ႇၺႃႇၼ) ช่วยกรุณาตรวจสอบแล้วก็แก้ไขให้ด้วยครับ เรื่องนี้ผมไม่เก่งคุณก็รู้อยู่ดีถ้าเป็นไปได้ช่วยกรุณาแก้ไขด้วย ด็อกเตอร์.อินโดเบสะ|พูด 16:14, 21 ตุลาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ბუთთ[แก้ไข]

Have you noticed the addition of the entry ბუთთ recently? -- Apisite (คุย) 16:51, 26 พฤศจิกายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

Thanks for reminding. I will update language database later. I am AFK right now. Octahedron80 (คุย) 16:56, 26 พฤศจิกายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ไร้สาระนุกรมภาษาลาว[แก้ไข]

สวัสดีครับ ไม่ทราบว่าคุณเคยใช้งาน บัญชีนี้ ที่ไร้สาระนุกรมภาษาลาวเมื่อปี 2550 หรือเปล่าครับ Lookruk (คุย) 15:09, 5 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ไม่ครับ ผมเขียนภาษาลาวไม่เป็น และไม่มีอะไรจะเขียน เคยใช้แต่ภาษาไทย --1.46.12.78 15:37, 5 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ขอโทษนะครับ นี่ไอพีคุณ Octahedron80 หรือเปล่าครับ Lookruk (คุย) 16:00, 5 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ผมเองครับ ใช้มือถืออยู่ครับ--1.46.12.78 16:08, 5 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
อืม งั้นแสดงว่ามีคนอื่นเอาชื่อของคุณไปสร้างบัญชีที่โครงการนั้น และพอดีบัญชีนั้นมีสิทธิผู้ดูแลระบบและผู้ดูแลระบบสิทธิแต่งตั้งด้วย ผมจึงมาสอบถามคุณครับ Lookruk (คุย) 16:20, 5 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ผมรู้จักชื่อ Jo Shigeru (คนที่ให้สิทธิ) ซึ่งเคยร่วมงานกันที่วิกิพีเดีย เขาน่าจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นผม แต่ก็ไม่เคยถามผมก่อน เพื่อความปลอดภัยควรถอนสิทธิพิเศษที่ว่า ออกไปครับ--1.46.12.78 16:37, 5 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
เข้าใจแล้วครับ แต่คงถอนสิทธิไม่ได้เพราะคุณ Jo Shigeru ไม่เคลื่อนไหวในโครงการนั้นตั้งแต่ปี 2554 และบัญชีนั้นก็มีการแก้ไขล่าสุดเมื่อปี 2550 (ปีเดียวกันกับที่ได้สิทธิมา) ขอบคุณมาก ๆ ครับที่ให้ข้อมูล Lookruk (คุย) 16:49, 5 ธันวาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

การแสดงผลพินอินในแม่แบบตัวอย่าง[แก้ไข]

สวัสดีครับ เพิ่งสังเกตว่าแม่แบบ:zh-x ของวิกิไทยกับอังกฤษแสดงพินอินไม่เหมือนกัน เช่น 了 หรือ 的 ใน ผมเข้าไปดูในโมดูลแล้ว แต่ก็ยังหาต้นตอไม่เจอ พอจะช่วยแก้ให้ตรงกันได้ไหมครับ Ponpan (คุย) 12:03, 19 มีนาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]