คุยกับผู้ใช้:Octahedron80/กรุ 2

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
กรุ
กรุ: หน้าปัจจุบัน
1, 2, 3, 4

เรื่องวิกิสนเทศ[แก้ไข]

วันพรุ่งนี้ เฟสแรกของวิกิพจนานุกรมในวิกิสนเทศจะเริ่มแล้ว ต้องมีวิธีการไหมครับ พอเห็นหน้านี้ พอที่จะช่วยเหลือหรือทำอย่างไรบ้าง --[nä˥.kʰä˥.reːt̚˥˩] (พูดคุย) 20:16, 23 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]

ตอนนี้มีส่วนขยายชื่อ Cognate ที่ตั้งใจจะคอยจับคู่บทความในวิกิพจนานุกรม ตามข่าวบอกเริ่มวันนี้ 24 เม.ย. 60 เวลา 12.00 UTC (หนึ่งทุ่มในไทย) ส่วนขยายนี้ยังไม่เกี่ยวข้องกับวิกิสนเทศ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:47, 24 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]

พูดคุย:โง่ทึ่ม[แก้ไข]

กรุณาตอบด้วยครับ ผมอยากรู้เหมือนกันว่า คุณมีวิธีพิสูจน์ทางภาษาศาสตร์อย่างไรว่า คำไหนเป็นสองคำ คำไหนเป็นคำประสม จะได้เป็นความรู้ครับ พูดคุย:โง่ทึ่ม --A.S. (พูดคุย) 16:56, 27 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]

@Alifshinobi ส่วนหนึ่งผมได้ประสบการณ์จาก en.wikt ซึ่งมีหน้าสำหรับอภิปราย ร้องขอให้ตรวจสอบ (RFV) หรือ ร้องขอให้ลบ (RFD) และนโยบายหลักเกณฑ์การรวมศัพท์ (CFI) หลักการคิดง่าย ๆ มีดังนี้
  1. ปรากฏในพจนานุกรมฉบับตีพิมพ์หรือไม่ หรือปรากฏในสิ่งตีพิมพ์เกินกว่า 5 ปีหรือไม่
  2. สร้างเฉพาะหน้าที่เป็นคำหลัก เช่น ประเทศไทย คำหลักอยู่ที่ ไทย จึงควรสร้างเฉพาะหน้า ไทย ส่วน ประเทศไทย ทำเป็นหน้าเปลี่ยนทาง หรืออย่างเช่น เดือนมกราคม พระชนมพรรษา ปลาทู นกเป็ดน้ำ ดาวอังคาร ฯลฯ
  3. สามารถรวมคำศัพท์ได้ทุกรูปที่ผัน ที่เคยมีอยู่ในอดีต และที่มักสะกดผิด (สามารถตรวจสอบด้วย search engine)
  4. คำประสมคือสองคำหรือมากกว่าเอามาต่อกันแล้วเกิดความหมายใหม่ (นิยาม) หรือความหมายเชิงสำนวน (idiomic) ที่นอกเหนือไปจากความหมายเดิมที่เอามาต่อกัน (ความหมายเดิมจะเขียนเพิ่มได้เมื่อมีเงื่อนไขแรกแล้ว)
  5. คำภาษาปากที่เกิดขึ้นใหม่ต้องใช้งานในวงกว้าง สำหรับ th.wikt ถ้าเป็นเว็บไซต์ ต้องปรากฏอย่างน้อย 5 เว็บไซต์ (ที่ไม่ได้ลอกต่อกันมา หรืออาจจะขอมากกว่านี้?)
  6. เลขที่เขียนเป็นคำ ๆ อนุญาตให้นับทีละ 1 ตั้งแต่ 0 ถึง 100 เกินนี้ให้ข้ามหลักไปเลยเช่น 200 300 1000 2000 นอกเสียจากจะมีความหมายอื่นดังข้อ 4
  7. ชื่อประเทศอย่างเต็มสามารถรวมได้ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน
  8. ที่ en.wikt สามารถรวมชื่อบุคคลได้แต่ต้องไม่มาพร้อมกันทั้งชื่อและนามสกุล เพราะชื่อฝรั่งนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับศาสนา แต่ th.wikt ชื่อบุคคลยังไม่อนุญาตให้รวม เพราะชื่อคนไทยเดี๋ยวนี้แฟนซีมากเกินไป และเราก็ยังไม่เคยมีนามานุกรมที่รวมชื่อบุคคล

--Octahedron80 (พูดคุย) 09:20, 28 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]

กรณี โง่ทึ่ม ก็คือการเอา โง่ รวมกับ ทึ่ม ความหมายก็คือ โง่และทึ่ม จึงไม่เข้าข่ายคำประสม ก่อนหน้านี้ก็มี พ่อแม่ ก็คือการเอา พ่อ รวมกับ แม่ ความหมายก็คือ พ่อและแม่ ก็ไม่เข้าข่ายคำประสมเช่นกัน ที่ en.wikt เขาเรียกว่า หลายส่วนรวมกัน (SOP) เขาจะไม่รวมศัพท์ที่เป็น SOP --Octahedron80 (พูดคุย) 09:31, 28 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณครับที่อธิบายให้กระจ่างขึ้น ข้อสรุปเหล่านี้ควรอยู่ในนโยบายวิกิไทย (หรือว่าอยู่แล้วหรือครับ) แต่อย่างไรก็ตาม ผมยังอยากทราบว่า เราสามารถพิสูจน์ได้อย่างไรว่า โง่ทึ่ม ไม่ใช่คำซ้อนพร้องคำหมายเหมือนคำไทยอื่น เช่น เติบโต กับ สูญหาย เราจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า ผู้เขียนคำว่า โง่ทึ่ม ไม่ได้นำสองคำหลักมาประดิษฐ์ความหมายใหม่หรือครับ มีตัวอย่างนอกเหนือจาก พ่อแม่ ไหมครับ การเปรียบเทียบนี้ ยิ่งทำให้ผมงงมากขึ้นครับ คำว่า พ่อแม่ นั้น เราสามารถมองเห็นได้ว่า หมายถึง พ่อ กับ แม่ เพราะสองคำนี้ มีความหมายไม่เหมือนกัน แต่ โง่ กับ ทึ่ม มีความหมายที่ใกล้กันมากครับ --A.S. (พูดคุย) 18:49, 28 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
คำซ้อนไม่ถือเป็นคำประสม คือใช้คำใกล้เคียงกัน และไม่เกิดความหมายใหม่ (แต่ใช้แม่แบบเดียวกันโดยอนุโลม) มันมีอยู่ได้เพราะมาจากพจนานุกรม (หรือศัพท์บัญญัติ) ถ้าไม่เคยมีแสดงว่าเป็นคำใหม่ ก็ควรมีการใช้งานในวงกว้าง มีแหล่งอ้างอิงที่แสดงว่ามีคนใช้จำนวนมากในความหมายเดียวกัน โง่ทึ่ม เป็นคำซ้อน เพราะความหมายก็ยังเหมือนเดิม แต่ไม่เคยปรากฏในพจนานุกรมมาก่อน ผมจึงต้องขอแหล่งอ้างอิงเพิ่ม ในเมื่อไม่ใช่คำประสม ก็ต้องถือว่าเป็น SOP --Octahedron80 (พูดคุย) 20:46, 28 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ใครเป็นคนกำหนดกฎเหล่านี้ครับ สรุปคือคำซ้อนที่รวมได้ คือ ๑ ต้องอยู่ในพจนานุกรมมาก่อน ๒ ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่แสดงว่ามีคนใช้จำนวนมาก ถูกไหมครับ ถ้าหากว่าถูก ผมว่าเราควรเขียนลงนโยบายให้กระจ่างครับ เช่น ในเพจ [Wiktionary:Criteria_for_inclusion] ของภาษาอังกฤษ บอกว่าใช้ compounds ได้ครับ แต่ไม่ได้ระบุว่าชนิดไหน "A term need not be limited to a single word in the usual sense. Any of these are also acceptable: Compounds and multiple-word terms such as post office." ในเพจนี้ ไม่ได้มีการระบุว่า ต้องมีการใช้ในพจนานุกรมมาก่อน เพียงแต่ว่าต้องมีการใช้ใน 3 แหล่งที่บันทึกแบบถาวร ซึ่งมีการใช้มากกว่า 1 ปี และกฎเกณฑ์จะต่างกันในแต่ละภาษา "use in permanently recorded media, conveying meaning, in at least three independent instances spanning at least a year (different requirements apply for certain languages)." ถ้า โง่ทึม ไม่ผ่าน criteria เหล่านี้ ก็ลบออกได้ครับ แต่สิ่งแรกที่ เราควรทำการเขียนนโยบายการรวมให้กระจ่าง และ consistent across วิกิพจนานุกรมไทยครับ ขอบคุณครับ --A.S. (พูดคุย) 22:42, 29 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ผมอาจจะจำมาผิดหรือเข้าใจผิด เรื่องคำประสมหรือคำซ้อนอยากให้ดูตรง Idiomaticity และ Idiomatic phrases ครับ หนังสือตีพิมพ์ที่อธิบายความหมายของคำมันก็คือพจนานุกรมนั่นเอง หากเป็นหนังสืออย่างอื่นมักจะไม่ได้อธิบายความหมาย และถ้าไม่ได้มีในหนังสือตีพิมพ์ ก็ต้องมีแหล่งอ้างอิง 3 แหล่งใน Number of citations แต่เราขอ 5 แหล่งไม่น่าจะเกินความสามารถครับ ต้องเป็นพจนานุกรม/หนังสือที่เกินกว่า 5 ปีไหม ความเห็นผมคือถ้าเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีมานาน มีการตีพิมพ์ซ้ำ จะมีความเชื่อถือมากกว่าสิ่งพิมพ์ใหม่ ๆ พจนานุกรมในท้องตลาดก็เป็นพจนานุกรมที่อยู่มานานกว่า 5 ปีทั้งนั้นครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:35, 30 เมษายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]

มอดูล:shn-translit[แก้ไข]

ทำไมถึงถอดรูป ['ႆ'] เป็น 'ย์' ครับ --A.S. (พูดคุย) 10:52, 2 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

โทษทีครับ เข้าใจแล้วครับ คงมีไว้เผื่อสระยาว "าย" --A.S. (พูดคุย) 10:53, 2 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]
กำหนดไว้เป็นตัวสะกด ย เพื่อให้สามารถใช้ตรรกะเดียวกันได้ เพราะยังมี -าย, -อย อีก --Octahedron80 (พูดคุย) 10:55, 2 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

Interwikis in Wiktionaries[แก้ไข]

Hi, Octahedron80.

I saw your (deleted) message regarding interwikis in Wiktionaries. You say that interwikis are now handled by the extension Cognate and thus bots don't need to update interwikis. But my bot operates in categories interwikis. Are categories also linked by the Cognate extension? Should I stop interwiki-linking categories altogether? Thanks, Malafaya (พูดคุย) 17:16, 3 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

@Malafaya No,no. I had mistaken that you operated it over main namespace. I am sorry. --Octahedron80 (พูดคุย) 17:22, 3 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]
No problem. I just wanted to be sure, also cause sometimes (rarely...) I did operate in main namespace. Thanks, Malafaya (พูดคุย) 03:15, 4 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

ᦺᦗ ถูกแล้วครับ[แก้ไข]

อิงจากหน้าที่ 246 from Hanna, W. J. (2012). Dai Lue-English Dictionary. Silkworm Books: "ᦺᦗ paj⁴ 1) vi. to go. The spellings ᦺᦔ and ᦺᦗ are both common." --A.S. (พูดคุย) 07:35, 9 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

NP --Octahedron80 (พูดคุย) 12:32, 9 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

วิกิซอร์ซ[แก้ไข]

รบกวนสอบถามนิดนึงครับ จากหน้าอภิปรายโครงการวิกิซอร์ซ คุณ Ans ต้องการให้ revert หน้า skin ไปเป็นรุ่นเดิม คุณ Octahedron80 มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ --B20180 (พูดคุย) 17:49, 16 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

th-pron สระ เอย เสียงสั้น[แก้ไข]

สวัสดีครับ มีคนพยายามเขียนการออกเสียง ของคำว่า เฉย ที่เป็นแบบเสียงสั้น ต้องเขียนอย่างไรครับ เพราะ เฉ็ย ไม่เวิร์คครับ --A.S. (พูดคุย) 19:16, 18 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

เพิ่มให้แล้ว ใช้รูปแบบ เ-็ย ถึงจะดูแปลกก็ตาม แต่ไม่มีทางเลี่ยง--Octahedron80 (พูดคุย) 21:01, 18 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]
Thanks. --A.S. (พูดคุย) 23:55, 18 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ทำไมต้องมีเสียงสั้นครับ? ผมว่าควรตัดออก --Ans (พูดคุย) 03:17, 1 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ขอเหตุผลและหลักฐานด้วยครับ ว่าภาษาไทยไม่มีเสียง เ-ย แบบสั้น ผมเห็นว่าต้องมีไว้ เพื่อแยกแยะระหว่างคำที่มีการแยกแยะครับ เช่น เลย, เกย, เนย (ไม่สั้น) และ เสย (สั้น) ขอบคุณครับ --A.S. (พูดคุย) 03:28, 1 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
เสย เสียงยาวครับ --Ans (พูดคุย) 20:10, 6 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
เราคงไม่ได้พูดสำเนียงเดียวกันครับ เพราะตัวผมและคนรอบตัวพูด เสย เช่นใน "เสยผม" สั้นครับ อย่างไรก็ตาม ผมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคุณที่ว่า ให้ตัดเสียงสั้นออกครับ ("ทำไมต้องมีเสียงสั้นครับ? ผมว่าควรตัดออก") แล้วก็ไม่เห็นด้วยที่ให้เขียนแบบนี้ "เงอะน" ครับ ตามเหตุผลของคุณ Octahedron80 ครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาเสนอความเห็นส่วนตัว --A.S. (พูดคุย) 00:57, 7 มิถุนายน 2560 (ICT)
  1. สำเนียงที่ไหนเหรอครับ, ที่ผมได้ยินมันเสียงยาว. ต่อให้บางทีอาจจะออกเสียงสั้นกว่า เลย, แต่ก็ยังยาวกว่า "เห่ย" มาก (แต่สั้นกว่า "เลย" เพียงนิดเดียว).
  2. ที่ให้ตัดเสียงสั้น ผมหมายถึงเฉพาะคำว่า เฉย ครับ, ไม่ได้ให้ตัดในคำอื่นด้วย (ได้บอกไว้แล้วด้านล่าง). ผมต้องขออภัยที่เขียนสั้นจนทำให้เข้าใจผิด. --Ans (พูดคุย) 16:32, 8 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
"ต่อให้บางทีอาจจะออกเสียงสั้นกว่า เลย, แต่ก็ยังยาวกว่า "เห่ย" มาก" คุณกำลังเสนอว่าภาษาไทยสามารถมีสระ phonemic (ไม่ใช่ phonetic) ถึงสามระดับเลยหรือครับ (สั้น ยาว และ กลาง) นักภาษาศาสตร์คนไหนมีข้อเสนอนี้ครับ ขอแหล่งอ้างอิงด้วยครับ --A.S. (พูดคุย) 23:41, 8 มิถุนายน 2560 (ICT)
มีคำหลายคำที่มีเสียงนี้ เช่น เฉย เฮ่ย เฮ้ย กุยเล้ย เช่นเดียวกับสระ เ-ิ ที่ออกเสียงทั้งยาวและสั้น (เสียงสั้นเช่น เงิน เกริ่น เปิ่น) ใช้แสดงการออกเสียง+แปลงเป็น IPA ไม่ใช่การสะกดคำ อยากให้ทราบว่า คำที่สะกดไม่ตรงเสียงที่อ่านมีเยอะแยะครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:58, 1 มิถุนายน 2560 (ICT)
เฉย ก็เสียงยาวครับ, ผมต้องการบอกว่า เฉย ไม่มีเสียงสั้นครับ, ไม่ได้บอกว่าคำอื่นไม่มีเสียงสั้น --Ans (พูดคุย) 20:10, 6 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
และ ถ้าจะเขียนเป็นเสียงอ่าน ก็น่าจะใช้ เงอะน เกร่อะน เป่อะน --Ans (พูดคุย) 20:12, 6 มิถุนายน 2560 (ICT)
ไปเอาความมั่นใจแบบนี้มาจากไหน ไหนลองพูดคำว่า ทำเฉย อยู่เฉยๆ หรือไม่ก็ไปดูตามคลิปยูทูบ ส่วนรูปแบบที่คุณเสนอมา นอกจากจะอ่านยากแล้วเขียนโปรแกรมก็ยากด้วย เติมไม้ไต่คู้ตัวเดียวง่ายกว่า ผมเคยเห็นการใช้ในหนังสือ พจนานุกรมคำสัมผัส --Octahedron80 (พูดคุย) 22:17, 6 มิถุนายน 2560 (ICT)
เฉย แบบสั้น อันนั้นมันภาษาพูดรึเปล่าครับ? --Ans (พูดคุย) 16:42, 8 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
จะอ่านชัดถ้อยชัดคำหรือจะภาษาพูดก็ใส่ได้หมด ปัญหาอยู่ตรงไหนเหรอ ที่เสียงเพี้ยนกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะการพูดนั่นแหละครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 17:43, 8 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ถ้าจะเอาแบบภาษาพูดรวมไปด้วยแบบนั้น งั้นคำว่า สบาย แบบภาษาพูด ก็ต้องใส่การสะกดคำอ่าน สะ ที่เป็นวรรณยุกต์เสียงสามัญ แทนที่จะเป็นเสียงวรรณยุกต์เอก เข้าไปด้วยสิครับ, ต้องการให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือครับ?
--Ans (พูดคุย) 19:52, 8 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ข้างบนเคยคุยกันไว้แล้ว อันนั้นก็รองรับไว้เรียบร้อยแล้วครับ ส̄ะ-บาย เพียงแต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ใส่เพราะมันเยอะ อาจจะต้องใช้บอตช่วย--Octahedron80 (พูดคุย) 20:09, 8 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
"ถ้าจะเขียนเป็นเสียงอ่าน ก็น่าจะใช้ เงอะน เกร่อะน เป่อะน" เวลาคุณมีข้อเสนออะไร กรุณาเติมเหตุผลด้วยครับ ผู้อ่านจะได้เข้าใจ และพิจารณาว่าเป็นข้อเสนอที่สมเหตุสมผลหรือเปล่า --A.S. (พูดคุย) 01:03, 7 มิถุนายน 2560 (ICT)
ก็ลักษณะเดียวกับ เกอว ในแม่เกอว ไงครับ, เขาไม่ได้ใช้ เกิว. และก็เป็นรูปสระที่มีใช้ในคำในภาษาไทยอยู่แล้ว. ส่วน เ-็ เป็นอีกรูปของ เ-ะ และไม่เห็นมีตำราที่กำหนดอย่างเป็นทางการว่า เมื่อใช้กับ ย จะหมายถึง เ-อะ, ทำให้ไม่มีความชัดเจนว่ามันคือ เ-ะ หรือ เ-อะ กันแน่.
อ้อ, ตัวอย่างชัดๆ ก็คำว่า เงิน ที่คุณยกตัวอย่างมา จะเขียนเป็นคำอ่าน เงอะน ว่าอย่างไรครับ? หรือจะใช้ เง็น? มันก็จะไปซ้ำกับ เงะน, แต่ถ้าจะไปใช้ เงิน สำหรับเสียงสั้น, ก็จะแยกความต่างระหว่าง เงอะน กับ เงอน ไม่ได้อีก. แล้วโปรแกรมคุณจะรู้ได้อย่างไรว่า เงิน เป็นเสียงสั้น เดิน เป็นเสียงยาว, ไม่เขียนโปรแกรมยากกว่าเหรอครับ, คนอ่านก็อ่านยากกว่า เพราะต้องคอยจำว่าคำนี้(เงิน)ออกเสียงสั้น คำนี้(เดิน)ออกเสียงยาว ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนให้จำได้ง่ายๆ ต้องอาศัยจำแยกเป็นคำๆ ซะเยอะ. ถ้าใช้ เงอะน อ่านง่ายกว่า เพราะมันชัดเจนกว่า ว่าเป็นสระ เ-อะ ไม่ไปซ้ำกับสระอื่น --Ans (พูดคุย)
เรื่องสระเออะแก้ปัญหาไปนานแล้ว ก็แค่เขียนว่า เงิ็น มีไม้ไต่คู้บนสระอิ ถ้ามีวรรณยุกต์ ก็เติมเพิ่มไป เกฺริ็่น เปิ็่น คุณลองเปิดดูหรือยังครับ ไม้ไต่คู้มีหน้าที่เสมือนการทำเสียงสระให้สั้น เติมแล้วรูปไม่แปลกไปจากเดิมมากนัก ดีกว่าเปลี่ยนไปสะกดอย่างอื่น ด้านโปรแกรมก็ยังยืนยันว่าไม้ไต่คู้ง่ายกว่า เพราะคอมพิวเตอร์มันไม่ได้อ่านรูปสระเป็นคำๆเหมือนสมองคน มันอ่านตัวอักษรทีละตัว อ,ว,ย นี่เป็นปัญหามากที่สุดเพราะสามารถเป็นได้ทั้งพยัญชนะและสระ มอดูลนี้ร่วมกับวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษทำขึ้นมาใช้กัน ฝรั่งก็ใช้ด้วย ปัญหาที่คุณเพิ่งจะเห็นเราคุยไปหมดแล้ว แก้ไปหมดแล้ว เรื่องเกอวบอกตามตรงถ้าเขียนเกิวมันก็เขียนได้ แต่เผอิญว่ามันมีอยู่แค่คำเดียวเลยไม่รู้จะแก้ไปทำไม --Octahedron80 (พูดคุย) 17:13, 8 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ถ้าไม่อยากให้ดูเหมือนเป็นสระเอะ ผมก็มีอีกรูปหนึ่งที่อยากเสนอ (ซึ่งเคยทดลองไปก่อนหน้านี้แต่ไม่ได้ใช้) นั่นก็คือ เ-ิ็ย ซึ่งเลียนมาจาก เงิ็น ผมไม่แน่ใจว่าคุณมีปัญหาทางเทคนิค เรื่องการพิมพ์ไม้ไต่คู้เอาไว้ข้างบน หรือการพิมพ์วรรณยุกต์บนไม้ไต่คู้ หรือเปล่า แต่เราพิมพ์ได้ทุกคน--Octahedron80 (พูดคุย) 17:25, 8 มิถุนายน 2560 (ICT)
  1. ขอบคุณครับ, แต่ เ-ิ็ ยิ่งเป็นรูปสระที่ไม่พบเจอในคำภาษาไทย ซะยิ่งกว่าอีกครับ. ไม่ใช่ว่าไม่แปลกไปจากเดิมมาก, แต่ไม่พบเจอมาก่อนเลย ซะมากกว่าครับ, เ-อะ ยังเป็นรูปที่มีอยู่แล้ว, ใช้กฎเกณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้ว
  2. ผมไม่เห็นว่า เงอะน มันจะอ่านยากนัก, ถ้าบอกว่า เงอะน อ่านยาก, เงิ็น ก็อ่านยาก ไม่ต่างกัน
  3. ปล. จริงๆ ผมก็ไม่ได้คิดว่าประชาชนธรรมดาจะประดิษฐ์สิ่งใหม่ในภาษาไทยไม่ได้, แต่กรณีนี้ผมยังเห็นทางเลือกที่จะใช้ของเดิมแก้ปัญหาได้ ก็ควรใช้ของเดิม. อย่างไรก็ตาม คุณคิดอย่างไร ถ้าหากมีคนโต้แย้งว่า นี่มันไม่มีในมาตรฐานภาษาไทย ราชบัณฑิตฯ ไม่ได้กำหนดไว้?
--Ans (พูดคุย) 19:42, 8 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ก็ได้ใส่หมายเหตุไว้แล้วว่า ไม่ตามอักขรวิธี (การสะกดนี้ไม่เป็นไปตามอักขรวิธีเพื่อแสดงการออกเสียงที่ไม่ปรกติ) เป็นคุณลักษณะที่อังกฤษเขาทำมาแต่ต้น --Octahedron80 (พูดคุย) 19:58, 8 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]
การสนทนาเริ่มจะวกไปเวียนมาไม่ไปไหนแล้วนะครับ เอาแบบข้อสรุปเลย ถ้าจะให้โหวต ผมจะโหวตให้ใช้ไม้ไต่คู้ต่อ ตามเหตุผลข้างบนครับ อนึ่ง การใช้ไม้ไต่คู้ก็ไม่ได้แปลกประหลาดมากจนเกินไป เพราะขนาดในพจนานุกรมภาษาอื่น เช่น คำเมือง ก็มีการใช้เขียนบางคำเช่น "เฝิก็" (ไม้ไต่คู้บน ก ไก่) เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสระสั้น ถ้ามีเหตุผลอื่นที่ดีกว่านี้ ผมอาจเปลี่ยนใจ แต่ ณ ตอนนี้ คิดว่าควรใช้ไม้ไต่คู้ครับ --A.S. (พูดคุย) 23:41, 8 มิถุนายน 2560 (ICT)

หมวดหมู่:แม่แบบหน้าที่/en[แก้ไข]

หมวดหมู่:แม่แบบหน้าที่/en หมวดหมู่นี้ไว้ทำอะไรครับ? --Ans (พูดคุย) 17:08, 31 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

เหตุใดจึงใส่ไว้ใน แม่แบบ:หน้าที่ --Ans (พูดคุย) 17:10, 31 พฤษภาคม 2560 (ICT)

เป็นหมวดหมู่ติดตามชั่วคราว เพื่อที่จะยกเลิกการใช้แม่แบบหน้าที่ และเปลี่ยนไปใช้แม่แบบเฉพาะภาษา จะได้รู้ว่า มีหน้าไหน ของภาษาไหน ยังใช้อยู่เหลืออีกบ้าง ทำไมทำเช่นนี้ก็จะไม่รู้เลย--Octahedron80 (พูดคุย) 18:18, 31 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ดูเอาจาก หน้าที่ลิงก์มา ไม่ได้หรือครับ? --Ans (พูดคุย) 02:40, 1 มิถุนายน 2560 (ICT)
มันไม่แยกภาษาไงครับ ปนกันหมด ประเมินจำนวนไม่ได้ และมันก็ไม่เรียงตามตัวอักษรด้วย --Octahedron80 (พูดคุย) 08:58, 1 มิถุนายน 2560 (ICT)

สร้างคำอัตโนมัติ[แก้ไข]

สวัสดีครับ อยากทราบว่าเวลาคุณสร้างคำอัตโนมัติ (เช่น การ+คำ) คุณทำอย่างไรครับ หรือว่าใช้บอต ขอบคุณครับ --A.S. (พูดคุย) 08:18, 7 มิถุนายน 2560 (ICT)

วิกิพจนานุกรม:สคริปต์แมว ๆ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:21, 7 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]

Diminutive[แก้ไข]

ผมไม่รู้ว่า diminutive (ความหมายทางไวยากรณ์) ในภาษาไทยให้ใช้คำว่าอะไรครับ ผมเริ่มเจอคำนี้หลังจากทำหน้าภาษาดัตช์ ผมหาในกูเกิลแล้วไม่เจอแบบภาษาไทยครับ --KaNaCaN (พูดคุย) 14:40, 13 กรกฎาคม 2560 (ICT)

@KaNaCaN diminutive มีความหมายว่า ที่เล็กลง เช่น ต้นไม้ต้นเล็ก ซึ่งภาษาไทยมีคำว่า จุล อยู่ งั้นผมบัญญัติว่า คำจุลนาม = diminutive noun เลยแล้วกันครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 23:26, 18 กรกฎาคม 2560 (ICT)
รับทราบครับ --KaNaCaN (พูดคุย) 07:08, 19 กรกฎาคม 2560 (ICT)

แม่แบบ l[แก้ไข]

ผมไม่แน่ใจว่าต้องไว้ตรงนี้ดีมั้ย หรือที่อื่น ถ้าผิดที่ก็ขอโทษด้วยครับ แต่เห็นเป็นผู้ดูแลระบบและ active ทุกวัน และมีความรู้เรื่องพวกนี้ครับ

คือตรงแม่แบบ l หน้าที่ลิงค์ไปจะเป็น [[คำ]]#[[ชื่อภาษา]] ซึ่งตามความจริงควรเป็น [[คำ]]#ภาษา[[ชื่อภาษา]] เพื่อจะได้ลิงค์ไปตรงหัวข้อพอดีครับ

ถ้าไม่เข้าใจ นี่คือตัวอย่างครับ

{{l|en|a}}

จะไปลิงค์ที่หน้า a#อังกฤษ แทนที่จะเป็น a#ภาษาอังกฤษ ถ้ากดลิงค์นี้จะเห็นครับว่าแบบที่มี "ภาษา" ข้างหน้าจะใช้งานได้ดีกว่าครับ --KaNaCaN (พูดคุย) 19:27, 17 กรกฎาคม 2560 (ICT)

@KaNaCaN แก้แล้ว ดูเหมือนว่าจะใช้ได้ ลองดูครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 23:27, 18 กรกฎาคม 2560 (ICT)
ใช้งานได้แล้วครับขอบคุณครับ --KaNaCaN (พูดคุย) 07:11, 19 กรกฎาคม 2560 (ICT)

โครงการวิกิคำคม[แก้ไข]

สวัสดีครับ พอดีมีอาสาสมัครจาก WMF ท่านหนึ่งสอบถามถึง วิกิคำคม:ศาลาชุมชน และ แม่แบบ:ศาลาชุมชน ในโครงการวิกิคำคมภาษาไทย ว่าไม่สามารถจัดส่งข้อความได้ และเมื่อเทียบกับที่มีอยู่ในโครงการวิกิพจนานุกรมภาษาไทย ก็เข้าใจว่าเป็นในลักษณะเดียวกัน ผมจึงสงสัยว่าต้องแก้ปัญหาดังกล่าวตรงจุดใด

ขอบคุณครับ --B20180 (พูดคุย) 23:23, 23 กรกฎาคม 2560 (ICT)

เขาไม่เข้าใจว่าจะโพสต์ข้อความใหม่ได้ยังไง เพราะมีเงื่อนไขต้องไปสร้างหน้าใหม่ที่ฝรั่งอ่านไม่เข้าใจ ภาษาอื่นส่วนมากใช้วิธีโพสต์ต่อท้ายไปเรื่อย ๆ วิกิพีเดียภาษาไทยก็โพสต์ลงหน้าเลขา วิกิคำคมแต่ก่อนนี้ติดปัญหาบัญชีดำด้วยอีกอันหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบใครสร้าง ถ้ามีการอภิปรายไม่มาก ขอแนะนำให้ยุบเหลือหน้าเดียว ไม่ต้องแบ่งหมวดมากมาย --Octahedron80 (พูดคุย) 01:13, 24 กรกฎาคม 2560 (ICT)

รู้ไหมว่า...[แก้ไข]

ผมรู้สึกว่ารู้ไหมว่า... ในหน้าแรกไม่เปลี่ยนมานานแล้วครับ ผมคิดว่าเปลี่ยนบ้างน่าจะดีนะครับ (ยิ่งทุกวันยิ่งดี แต่มันคงเกินไปหน่อยมั้งครับ) นี่เป็นแค่ความคิดเห็นของผมนะครับ ไม่ต้องเปลี่ยนตามก็ได้ --ZilentFyld (พูดคุย) 15:21, 24 กรกฎาคม 2560 (ICT) (KaNaCaN)

ผมอยากจะเปลี่ยนเป็น Word of the Day เหมือน en ครับ เพราะเราไม่ได้เป็นบทความเหมือนวิกิพีเดีย จึงไม่น่าจะมีรู้ไหมว่า... แต่อัปเดตทุกวันคงจะบ่อยเกินไป และควรมีการเสนอชื่อคำ (และภาษา) ที่จะแสดงก่อน --Octahedron80 (พูดคุย) 16:02, 24 กรกฎาคม 2560 (ICT)

ผมคิดว่าถ้าจะทำ เอาเป็น word of the week ดีกว่าครับ (อัปเดทรายสัปดาห์) ส่วนเรื่องภาษาน่าจะเป็นภาษาไทยครับ เพราะนี่คือวิกิพจนานุกรมภาษาไทย ส่วนเรื่องการเสนอชื่อคำทำแบบของภาษาอังกฤษน่าจะยากนะครับ เพราะหาน่าดีๆยาก และผู้กระตือลือล้นก็คงน้อยเกินไป (ผมตั้งใจใช้ ล เพื่อประมาณว่าประชดว่ามันล้นจริงๆ) ผมเลยคิดว่ามันไม่จำเป็นที่จะต้องมีหรอกครับ คงไว้อย่างนี้ก็ไม่ส่งผลต่อวิกิพจนานุกรมอะไร --ZilentFyld (พูดคุย) 15:21, 25 กรกฎาคม 2560 (ICT)

en เขาแยกเป็น Word of the Day แสดงเฉพาะคำอังกฤษ กับ Foreign Word of the Day แสดงเฉพาะคำภาษาอื่น ที่ผมบอกว่าให้เสนอชื่อคำและภาษาหมายความว่า สำหรับ th คำไทยก็ต้องไปแสดงในส่วนแรก ส่วนภาษาอื่นก็ต้องแสดงในส่วนที่สอง ไม่ได้ว่าจะต้องปิดกั้นให้แสดงเฉพาะคำไทย ต้องมีหน้ารองรับเพื่อเสนอชื่อคำไว้หลาย ๆ รายการ เพื่อให้บอตสามารถดึงข้อมูลไปแสดง (หากทำใส่เองทุกวันตายแน่นอน การจัดรูปแบบหัวข้อไปในทางเดียวกันจะมีประโยชน์ตรงนี้) แต่ก็มีกฎด้วยว่าคำประเภทไหนที่สามารถเสนอได้บ้าง --Octahedron80 (พูดคุย) 15:58, 25 กรกฎาคม 2560 (ICT)

อ้อครับ --ZilentFyld (พูดคุย) 17:21, 25 กรกฎาคม 2560 (ICT)

เกี่ยวกับวิธีการเขียน[แก้ไข]

ขอโทษถ้าผมดันเพิ่มหัวข้อบ่อยเกินไป เพราะมีเรื่องที่อยากรู้เยอะจริงๆครับ

เกี่ยวกับวิธีการเขียนหน้า ผมมีคำถามครับ

  1. รากศัพท์มาก่อนการออกเสียง หรือการออกเสียงมาก่อนรากศัพท์ หรือไม่บังคับเรื่องพวกนี้
  2. ถ้าเป็นคำที่เป็นภาษาเดียวกัน ซึ่งความหมายที่มาการออกเสียงต่างๆไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่ดันเขียนเหมือนกัน ควรทำไงครับ รวมถึงดันเป็นคำชนิดเดียวกันแต่ดันไม่เกี่ยวข้องอะไรกันเลยด้วยครับ
  3. แม่แบบ audio ที่สามารถใส่คำต่อท้ายได้ ให้ใส่เป็นชื่อคำ คำว่าไฟล์เสียง หรือไม่ต้องใส่ หรืออื่นๆอันใดครับ
  4. การที่ผมทำแม่แบบ -nlnoun- มา แล้วใช้ในหน้าภาษาดัตช์ที่ผมสร้างเองนี่ ผิดไม่ครับ ต้องลบมั้ยครับ รวมถึงที่ผมใช้ head แทน nl-noun เพราะมันจะมีพหูพจน์มากวนใจด้วยครับ
  5. der กับ inh นี่ใช้ต่างกันมั้ยครับ แล้วต้องแยกอย่างไรดี
  6. คำวิเศษณ์ที่ขยายคำวิเศษณ์นี่จัดอยู่หมวดไหนครับ
  7. ถ้ามีชื่อพวกสปีชีส์มานี่ ผมต้องลิงค์ไปวิกิสปีซีส์มั้ยครับ ถ้าต้องแล้วทำอย่างไรครับ
  8. การใส่รูปในคำภาษาต่างประเทศนี่ผิดมั้ยครับ เห็นบางทีไม่ใส่กัน
  9. คำสมาส คำสนธิ ยังคงใช้แม่แบบคำประสมอยู่ใช้มั้ยครับ หรือใช้อันอื่น
  10. แม่แบบ wikipedia นี่ ผมต้องใส่ใต้ภาษาหรือพวก คำนาม คำวิเศษณ์
  11. a แบบมีขีดด้านบนในภาษาละตินนี่ ให้สร้างหน้าแบบไม่มีขีดด้านบยใช้มั้ยครับ รวมถึงขีดเฉียงในภาษารัสเซียด้วยครับ

และอื่นๆอีกมากมายที่ผมคิกไม่ได้ตอนนี้

ถ้ารบกวนก็ขอโทษด้วยครับ --ZilentFyld (พูดคุย) 17:45, 28 กรกฎาคม 2560 (ICT)

  1. โดยทั่วไปคำมักจะมีรากเดียว รากศัพท์มาก่อนการออกเสียง แต่ถ้ามีหลายรากและการออกเสียงเหมือนกันหมด การออกเสียงมาก่อน แล้วค่อยแจงแต่ละราก แต่หากการออกเสียงต่างกันvอีก การออกเสียงก็แยกไปอยู่ภายใต้แต่ละรากแทน หัวข้อรูปแบบอื่นก็ทำเหมือนกัน วิธีจัดวางนี้เหมือนกับ en
  2. มันก็ต้องแยกเป็นรากศัพท์ 1 รากศัพท์ 2 ฯลฯ อย่างที่บอกไปแล้ว ภาษาไทยเขาแยกมาให้เบื้องต้นแล้วในพจน. ที่มีตัวเลขตามหลัง (แต่บางทีก็ยุบลงบ้างหากพบว่าเป็นรากเดียวกัน)
  3. ใส่ชื่อไฟล์ก็พอแล้วถ้าไม่ต้องอธิบายอะไรเพิ่ม อย่างเช่นบริติชหรืออเมริกัน
  4. อยากให้ใช้ en เป็นต้นแบบครับ เพราะทั้งหมดที่ทำอยู่นี้ก็เลียนแบบ en มา พหูพจน์ของจุลนามก็ควรไปปรากฏที่รายการของจุลนาม
  5. der เป็นแม่แบบกลาง ๆ ยังไม่เจาะจง; bor เป็นการยืม คือทับศัพท์มาใช้ เช่นไมโครเวฟ ฟุตบอล; inh เป็นการสืบทอดจากภาษาบรรพบุรุษ เช่นภ.อังกฤษกลาง ภ.อังกฤษเก่า ของภ.อังกฤษ, คำที่มาจากภาษาดั้งเดิม (proto) ต้องใช้ inh เสมอ (ต้องเป็นตระกูล/กลุ่มเดียวกัน); cog ใช้สำหรับเทียบภาษาอื่นที่คาดว่าจะมีรากเดียวกัน หรือไม่ทราบว่าใครยืมใคร หรือร่วมเชื้อสายกัน
  6. อาจจะเป็นคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์ก็ได้ คุณศัพท์ขยายคำ กริยาวิเศษณ์ขยายประโยค ขอให้ดูตัวอย่างการใช้
  7. มีแม่แบบ {{taxlink}} แต่ไม่ต้องทำก็ได้ ที่สำคัญคือสปีชีส์และสกุลต้องเป็นตัวเอน ตามพจน.ที่พิมพ์ไว้ เพราะเป็นธรรมเนียมของนักวิทย์
  8. ใส่ได้แต่ขี้เกียจทำ งานหลักของเราคือการสร้างพจนานุกรม การใส่รูปถือว่าเป็นแค่การตกแต่ง รูปบางอย่างก็ใช่ว่าจะหาได้ง่าย ๆ เอาเวลามาสร้างคำดีกว่าครับ
  9. ใช้แม่แบบคำประสมหมดทุกอย่าง การสมาส-สนธิเป็นเพียงกฎย่อยของภาษา
  10. ถ้ามีรากเดียวอยากให้ใส่ไว้ใต้หัวข้อภาษาทันทีเพราะมีที่ว่างเหลือเยอะ
  11. การตั้งชื่อหน้าใช้นโยบายเดียวกับ en เขาตั้งอย่างไรก็เอาตามนั้น เพื่อให้ลิงก์ข้ามภาษาเชื่อมโยงกันได้

--Octahedron80 (พูดคุย) 07:41, 29 กรกฎาคม 2560 (ICT)

เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณครับ (ตัว -nlnoun- นี่มาจาก wiktionary-nl ครับ เห็นว่ามันมีประโยชน์ดีเลยมาลองใช้) --ZilentFyld (พูดคุย) 08:13, 29 กรกฎาคม 2560 (ICT)

ขอสอบถามเพิ่มเติมครับ ตัวอ้างอิงนี้ ต้องใส่อ้างอิงเป็นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานมั้ยครับ ถ้าเราลอกมาทั้งดุ้นเลย ถ้าต้องใส่จะใส่อย่างไรครับ --ZilentFyld (พูดคุย) 08:55, 12 สิงหาคม 2560 (ICT)

คำและความหมายที่มาจากพจนานุกรมเล่มหลักไม่ต้องใส่ก็ได้ครับ เพราะภาษาไทยเป็นภาษาที่ well documented en:Wiktionary:Criteria_for_inclusion/Well_documented_languages --Octahedron80 (พูดคุย) 12:20, 17 สิงหาคม 2560 (ICT)

ฟอนต์ของแม่แบบ ja-noun[แก้ไข]

ในเครื่องผม (firefox 55 ภาษาอังกฤษ ใน windows 10) ผมเห็นฟอนต์ของแม่แบบ ja-noun แบบแตกๆ ทั้งๆที่ปกติก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ประมาณนี้ https://puu.sh/xrnR7/a2b0f1bdd5.png ต้องทำไงครับ --ZilentFyld (พูดคุย) 22:48, 4 กันยายน 2560 (ICT)

ไม่มีอะไรผิดปกติหรอกครับ ฟอนต์ญี่ปุ่นแท้ๆมันจะเป็นเหลี่ยมอย่างนี้--Octahedron80 (พูดคุย) 14:09, 5 กันยายน 2560 (ICT)

การสะกดสมัยจอมพล ป[แก้ไข]

ถ้าผมจะเพิ่มคำเช่นรัถบาล ที่เป็นการสะกดสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะได้มั้ยครับ --ZilentFyld (พูดคุย) 10:20, 18 กันยายน 2560 (ICT)

เพิ่มได้ครับผมก็ทำอยู่ เป็นประเภทเลิกใช้ ใช้แม่แบบ obsolete form of เหมือนอย่าง เฃ้า --Octahedron80 (พูดคุย) 11:29, 18 กันยายน 2560 (ICT)

ช่วยย้ายให้หน่อยครับ[แก้ไข]

ช่วยย้าย == ภาษา == === รูปแบบอื่น === === รากศัพท์ === === การออกเสียง === === คำนาม ===ฯลฯ ที่อยู่ด้านล่างขึ้นมาด้านบนได้มั้ยครับ มันจะกดได้ง่ายกว่าครับ (และอยากให้เพิ่ม [[]] ด้วยครับ เพราะการกดใส่ลิงค์และกดใส่ลิงค์อีกทีมันใช้เวลาพอสมควร) --ZilentFyld (พูดคุย) 17:27, 8 ตุลาคม 2560 (ICT)

ผมคิดว่าไม่น่าจะย้ายได้ครับเพราะมันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของวิกิ ส่วนประโยคหลังนั้นผมไม่เข้าใจ --Octahedron80 (พูดคุย) 10:24, 9 ตุลาคม 2560 (ICT)

งั้นทำอย่างแบบภาษาลาว / ดอยช์ (ที่มีปุ่มกด preload ข้างบน) ได้มั้ยครับ ส่วนเรื่องของไอข้างไม่ต้องไปสนใจก็ได้ครับ :> (ถ้าผมจะแก้ไข วิกิพจนานุกรม:คู่มือในการเขียน ได้มั้ยครับ อย่างกับว่ามันแนะนำให้ใช้แม่แบบหน้าที่อยู่) --ZilentFyld (พูดคุย)

การทับศัพท์ผิดไปหรือเปล่า[แก้ไข]

สวัสดีครับ ผมขออนุญาตท้วงติงการทับศัพท์ภาษารัสเซียครับ ผมเห็นแล้ว ตะลึงเลยเพราะคำส่วนใหญ่ทับศัพท์ไม่ตรงกับหลักของราชบัณฑิตยสถาน ตัวอย่าง:

  1. освобождение มันน่าจะทับศัพท์เป็น ออสโวบอจเดนี แต่ทำไมวิกิพจนานุกรมถึงเป็น โอสโฝโบซดเยนีเย เนื่องจากคำว่า ออสโวบอจเดนี คำนี้ ผมให้คุณ Potapt ทับศัพท์ให้เพื่อเป็นชื่อภาพยนตร์ที่ผมจะเอามาทำเป็นบทความ (ซึ่งภาพยนตร์นี่ผมดูบ่อยมาก)
  2. นอกจากนี้ยังมีคำอื่นอีกมากมายที่ทับศัพท์ผิด จึงอยากให้ไปแก้ไขนะครับ ขอบคุณครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (พูดคุย) 07:47, 20 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

นี่ไม่ได้ทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตครับ เพราะกฎยิบย่อยเยอะ ไม่สามารถใส่ลงโปรแกรมได้ทั้งหมด นี่เป็นการถอดอักษรอย่างง่าย โดยใช้ของ en เป็นต้นแบบ о จะเป็น โอ, в จะเป็น ฝ (เลี่ยงการใช้ ว/ฟ) และ е จะเป็น เย (ใกล้เคียงเสียงจริง) เป็นต้น ดูเพิ่มเติมที่ มอดูล:ru-translit-Thai --Octahedron80 (พูดคุย) 07:56, 20 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

อ้อ โอเคครับ ขอบคุณครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (พูดคุย) 08:41, 20 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

เรื่องหมวดหมู่[แก้ไข]

สงสัยทำไมขณะนี้มีหมวดหมู่แปลกๆ เช่น "ไทย คำนาม" หรือ "อังกฤษ คำกริยา" ใครเป็นคนแก้ไข --[nä˥.kʰä˥.reːt̚˥˩] (พูดคุย) 21:12, 7 ธันวาคม 2560 (ICT)

ผมทำผิดเองเมื่อกี้ ตอนนี้แก้แล้ว--Octahedron80 (พูดคุย) 21:14, 7 ธันวาคม 2560 (ICT)

สวัสดีครับ เห็นแม่แบบนี้ทางฝั่งภาษาอังกฤษสามารถสร้างคำขึ้นมาได้เอง โดยที่เราไม่ต้องกรอกเองทีละภาษา เข้าไปดูน่าจะมาจาก Module:pi-Latn-translit พอผมกลับมาดูของไทยเห็นเขียนคอมเม้นต์ไว้ว่าไม่ใช้ เลยคิดว่าพอมีวิธีใดบ้างไหมที่จะให้แม่แบบนี้ generate คำขึ้นเองได้ ถ้าไม่เกินกำลังรบกวนคุณ Octahedron80 ช่วยดูให้หน่อย ขอบคุณมากครับ --Ponpan (พูดคุย) 22:35, 16 ธันวาคม 2560 (ICT)

ผมมีแผนว่าจะทำให้แปลงจากอักษรไทยแทนครับ เพราะอักษรละตินมันมีขีดมีจุดอะไรอีกทำให้ใส่ยาก --Octahedron80 (พูดคุย) 22:37, 16 ธันวาคม 2560 (ICT)
อ๋อครับ ตอนแรกคิดว่าการแปลงจากอักษรไทยไปยากกว่า เพราะมีสระบนล่างซ้ายขวา ก็เลยมีไอเดียว่าใช้ Module:pi-Latn-translit เหมือนของวิกิอังกฤษ เพียงแต่เวลาใช้แม่แบบ pi-alt ก็ให้กรอกอักษรละตินลงไปที่พารามิเตอร์แรก แต่คุณ Octahedron80 มีแผนอยู่แล้วก็ดีเลยครับผมสนับสนุน คิดอีกทีอักษรที่แปลงไปก็มี pattern ใกล้กับอักษรไทยมากกว่าละตินเสียอีก --Ponpan (พูดคุย) 22:48, 16 ธันวาคม 2560 (ICT)

มอดูล:zh/data/dial[แก้ไข]

สวัสดีครับ ผมมาขอคำแนะนำจากคุณ Octahedron80 พอดีผมอยากแปลเนื้อหาจากมอดูล:zh-dial-syn กับ มอดูล:zh/data/dial แต่ติดปัญหาว่าชื่อที่ตั้งเป็นภาษาอังกฤษไว้ยังใช้เป็น variable อีกด้วย (ไม่รู้ว่าเรียกแบบนี้รึเปล่า) คือไม่สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้โดยตรงเพราะโค้ดเชื่อมกันหลายหน้า (โดยเฉพาะ มอดูล:zh/data/dial-syn/... ซึ่งน่าจะมีเป็นพันหน้า) ไม่รู้ว่าเราจะเทียบ ทำนองเดียวกับ pos_functions["คำนาม"] = pos_functions["nouns"] ได้ไหม ถ้าได้ขอให้คุณ Octahedron80 ลองทำให้ผมดูสักอันเป็นตัวอย่างเดี๋ยวที่เหลือผมทำเอง ขอบคุณครับ --Ponpan (พูดคุย) 08:23, 28 ธันวาคม 2560 (ICT)

ห้ามแปลตัวแปรครับเพราะว่าจะได้สามารถสำเนาจาก en ด้วยบอตได้โดยตรง (ซึ่งมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) ส่วน pos และ poscat นั้นมันจำเป็นเพราะเราต้องแสดงหัวข้อและหมวดหมู่เป็นภาษาไทย --Octahedron80 (พูดคุย) 09:05, 28 ธันวาคม 2560 (ICT)
ผมทราบครับว่าไม่ควรยุ่งกับตัวแปร แต่พอจะมีหนทางไหมที่ทำให้การแสดงผลออกมาเป็นภาษาไทยโดยไม่ต้องเปลี่ยนตัวแปรดังกล่าว เช่น อาจเขียนโค้ดเทียบว่า "Classical" ให้แสดงผลว่า "คลาสสิก" หรือ "Beijing" ให้แสดงผลว่า "ปักกิ่ง" อะไรทำนองนี้อ่ะครับ ถ้านึกภาพไม่ออกลองดูในหน้า 不錯 หัวข้อคำพ้องความ ตรงนั้นที่ผมอยากให้แสดงผลทั้งหมดเป็นภาษาไทยอ่ะครับ --Ponpan (พูดคุย) 07:40, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
ต้องเขียนฟังก์ชันเพิ่มเพื่อแปลพวกนี้ครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:47, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
ครับผม --Ponpan (พูดคุย) 21:46, 30 ธันวาคม 2560 (ICT)

Requested entries[แก้ไข]

จาก https://en.wiktionary.org/wiki/Wiktionary:Requested_entries

ผมเห็นว่าในภาษาอังกฤษมีหน้านี้อยู่ ในภาษาไทยคือหน้าไหนหรอครับ -ZilentFyld (พูดคุย) 18:59, 6 มกราคม 2561 (ICT)

วิกิพจนานุกรม:คำใหม่มาแรง แต่ว่า หน้านั้นควรจะเปลี่ยนชื่อใหม่ไหม คุยไปแล้วก็ไม่มีใครตอบ --Octahedron80 (พูดคุย) 21:20, 6 มกราคม 2561 (ICT)

ช่วยทำ eo-translit-Thai หน่อยครับ[แก้ไข]

ข้อมูลตามนี้เลย https://learn.esperanto.com/th/01/gramatiko/ ที่ผมไม่แน่ใจว่าถูกรึเปล่าคือ c ĉ ĝ เพราะแยกไม่ออก ช่วยหน่อยนะครับ xD --ZilentFyld (พูดคุย) 17:28, 13 มกราคม 2561 (ICT)

ผมเคยศึกษาครับ ส่วนจะใช้ตัวอักษรอะไรนั้นต้องเทียบกับ IPA --Octahedron80 (พูดคุย) 09:08, 15 มกราคม 2561 (ICT)

Scottish Gaelic[แก้ไข]

Scottish Gaelic หรือที่ใช้ในวิกิพจนานุกรมภาษาไทยว่า ภาษา"แกลิกแบบสกอตแลนด์" มีรหัสภาษาคือ gd ซึ่งผมคิดว่ามันยาวเกิน และไม่แน่ใจว่าควรใช้ชื่ออย่างนี้ดีมั้ย เพราะถ้าอ้างอิงตามวิกิพีเดีย อย่างเช่นหน้าสหราชอาณาจักรจะได้เป็น "แกลิกสกอต", สกอตแลนด์จะได้เป็น "แกลิกแบบสกอต", ภาษาสกอตจะได้เป็น "แกลิกสกอตแลนด์" หรือ "แกลิก-สกอต"

และที่สำคัญ จากหน้าวิกิพีเดียภาษาเกลิกสกอตจะได้เป็น "เกลิกสกอต" ซึ่งเหมือนกับที่ใช้ในข่าว ภาษา 'เกลิกสกอต' มีผู้ใช้เพียง 60,000 คน ซึ่งถ้าอ้างอิงตาม Scottish Gaelic และ List of endangered languages in Europe น่าจะหมายถึงภาษานี้ และตาม glosbe.com ใช้ทับศัพท์เป็น "สก็อตติชเกลิก" ใน Google translate ใช้เป็น "เกลิกในสก็อต" ซึ่งตามด้านบนน่าจะเห็นว่า "Gaelic" ควรอ่านเป็น "เกลิก"

ผมก็ไม่แน่ใจว่าควรจะเรียกภาษานี้ว่าอะไรดี แต่ในความคิดผมคำว่า "เกลิกสกอต" ควรใช้ที่สุดเพราะมีการใช้มาหลายครั้งแล้ว จึงมาถามว่าควรใช้คำว่าดีครับ --ZilentFyld (พูดคุย) 18:35, 30 มกราคม 2561 (ICT)

ตอนแรกผมก็ใช้ชื่อแกลิกสกอต แต่ว่ามันมีพวกภาษาอื่นที่อยู่ในรูปแบบ ภาษา[X]แบบ[Y] อยู่มากมาย (Y คือประเทศหรือภูมิภาคซึ่งควรใช้ชื่อเต็ม, "แบบ"ใส่ไว้เพื่อป้องกันความสับสนเพราะแปลจากหลังไปหน้า) เช่นในหน้านี้ มอดูล:etymology_languages/data (มีที่อื่นอีก) เลยต้องตั้งชื่อให้เป็นแนวเดียวกันครับ แน่นอนว่ามีภาษาแกลิกหลายแบบ ภาษาแกลิกแบบไอร์แลนด์(ga)ซึ่งใช้แทนว่าภาษาไอริช ภาษาแกลิกแบบเกาะแมน(gv)ซึ่งใช้แทนว่าภาษาแมงซ์ เหลือแต่ภาษาแกลิกแบบสกอตแลนด์(gd)ที่ไม่มีคำแทนเลยต้องใส่เต็ม และจะเรียกว่า"สกอต"เฉยๆก็ไม่ได้เพราะไปซ้ำกับภาษาสกอต(sco)ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนี้ คำว่า Gaelic อ่านได้ทั้งเกลิก แกลิก และกาลิก--Octahedron80 (พูดคุย) 00:26, 31 มกราคม 2561 (ICT)

ช่วยแปลมอดูล etymology หน่อยครับ[แก้ไข]

พอดีผมไปแก้ไม่ได้ มันมีบางส่วนเช่น

table.insert(categories, lang:getCanonicalName() .. " terms derived from " .. info.cat_name)

ที่ต้องแปลเป็นพวก "ภาษา" .. lang:getCanonicalName() .. ":รากศัพท์จากภาษา" .. info.cat_name

พอดีเห็นหมวดหมู่ชื่อ เอสเปรันโต terms derived from อังกฤษ‎ ก็เลยเห็นว่ายังไม่ได้แปลครับ ช่วยแปลหน่อยนะครับ --ZilentFyld (คุย) 18:07, 24 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

อันนี้รู้แล้วครับ เพราะว่าเป็นมอดูลใหม่ต่างจากเดิมมาก ไม่ได้อัพเดทมานาน ต้องแปลอยู่แล้ว แต่จะแปลเฉย ๆ โดยไม่ดูผลกระทบไม่ได้ครับ เพราะมันมีบางชื่อที่ไม่เป็นไปตามกฎ จะทำให้เมื่อมีเวลาว่าง --Octahedron80 (คุย) 20:43, 24 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ผมเห็นวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษเข้ามี rhyme หรือภาษาไทยตามแม่แบบจะได้เป็นสัมผัส ผมไม่แน่ใจว่าควรทำหน้าสัมผัสดีมั้ย เพราะตามนี้ ไม่มีเนมสเปซสัมผัส หรือถ้ายังไม่ต้องทำควรมีเนมสเปซนี้มั้ย หรือควรทำอย่างไรก็ช่วยบอกด้วยนะครับ --ZilentFyld (คุย) 09:05, 27 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ลองสร้างไว้ก่อนก็ได้โดยเลียนแบบชื่อจริง ถ้าหากมีเนมสเกปซใหม่เกิดขึ้น การเปลี่ยนชื่อนั้นก็ไม่ได้ยากอะไร --Octahedron80 (คุย) 07:06, 28 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

แม่แบบ:หน้าหลัก/ส่วนหัว[แก้ไข]

ทำให้ "มากกว่า 100 ภาษา" ลิงก์ไปที่ หมวดหมู่:ภาษาทั้งหมด น่าจะดีกว่าสถิตินะครับ --ZilentFyld (คุย) 15:34, 7 มีนาคม 2561 (ICT)

แต่ผมว่ามันเสี่ยงที่จะกลายเป็นศูนย์รวมการก่อกวนครับ หน้าพิเศษมันแก้ไขไม่ได้อยู่แล้วเลยไม่ต้องห่วง --Octahedron80 (คุย) 15:52, 7 มีนาคม 2561 (ICT)

การประชุม ESEAP 2018[แก้ไข]

สวัสดีค่ะ คุณ Octahedron80

งานประชุม ESEAP 2018เปิดรับสมัครขอรับทุนแล้ว!

การประชุม ESEAP 2018 เป็นการประชุมระดับภูมิภาคสำหรับชุมชนวิกิมีเดียในพื้นที่ ESEAP ซึ่งย่อมาจาก East and South East Asia, and Pacific (เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก) และจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2561 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

ทุนเต็มจำนวนมีจำนวนจำกัด สูงสุด 2 คนต่อประเทศและประเทศของคุณสามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมบนหน้านี้

พวกเรายินดีที่จะรับการนำเสนอหลายรูปแบบ รวมทั้ง:

  • กิจกรรมเชิงปฏิบัติการและการติว: การนำเสนอที่เน้นการปฏิบัติจริง โดยมีเป้าหมายในการฝึกทักษะใหม่หรือทำภารกิจเฉพาะ ระยะการประชุมมีความยาว 55 นาที นำโดยผู้นำเสนอ ในพื้นที่ห้องเรียนซึ่งเหมาะกับการใช้แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์และการทำงาน
  • โปสเตอร์: รูปแบบขนาด A2 เพื่อให้ข่าวสาร แบ่งปันกิจกรรมหรือโครงการในชุมชนของคุณ ริเริ่มความคิด ก่อตั้งต้นแบบ หรืออธิบายปัญหา โปสเตอร์จะต้องถูกอัพโหลดไปที่วิกิมีเดียคอมมอนส์โดยมีลิขสิทธิ์ที่เหมาะสม
  • การนำเสนอแบบสั้น/การพูดเชิงแบ่งปัน: การนำเสนอเป็นเวลา 10 – 15 นาทีเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่ง

ปิดการรับสมัครขอทุนและส่งการนำเสนอในวันที่ 15 มีนาคม 2561 หากมีข้อสงสัย อย่าลังเลที่จะติดต่อฉันหรือส่งอีเมลไปยัง eseap@wikimedia.or.id

ด้วยความเคารพ --Pilarbini (คุย) 23:31, 9 มีนาคม 2561 (ICT)

Share your experience and feedback as a Wikimedian in this global survey[แก้ไข]

WMF Surveys, 01:36, 30 มีนาคม 2561 (ICT)

declension/inflection conjugation[แก้ไข]

ให้ใช้คำว่าอะไรดีครับ ตอนนี้ผมใช้ว่าการผันรูปไปหมดเลย --ZilentFyld (คุย) 20:15, 2 เมษายน 2561 (ICT)

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าต่างกันยังไง มันอาจจะเป็นคำพ้องความก็ได้ สำหรับโครงการเราเรียก "การผันรูป" ทั้งหมดก็ไม่น่าจะผิดอะไรครับ ก่อนหน้านี้ผมใช้ "วิภัตติ" กับภาษาบาลี แต่คำนี้ไม่เหมาะที่จะใช้กับภาษาอื่น คนทั่วไปไม่รู้จัก ก็ว่าจะเปลี่ยนเหมือนกัน --Octahedron80 (คุย) 21:28, 2 เมษายน 2561 (ICT)

งั้นพวก first - sixth declension ในภาษาลัตเวีย ผมใช้เป็นการผันรูปที่หนี่ง - หก นะครับ --ZilentFyld (คุย) 11:39, 3 เมษายน 2561 (ICT)

ตารางการผันด้านขวา[แก้ไข]

เรื่องเกิดจากการที่ผมเปิดไปหาแต่ละภาษาเพื่อหาการผันของ світло ในเมื่อมันไม่มีหน้านี้ในภาษาอังกฤษ ในวิกิพจนานุกรมบางภาษามีการย้ายตารางการผันไปทางด้านขวา ซึ่งผมก็มองเห็นประโยชน์ของมันที่ไม่ต้องเสียเวลากดแสดงเพื่อดูการผันของแต่ละคำ และทำให้หน้าฝั่งขวาที่ดูโล่ง ๆ เต็มขึ้นมาด้วย ผมเลยเกิดความคิดว่าควรทำตารางการผันทางขวา โดยจะให้เป็นแม่แบบแยก ให้ใช้ในหน้าที่ยาวเพียงพอที่ควรมี (เพราะบางหน้าสั้นแล้วใส่ตารางผันทางขวาแล้วอาจดูไม่สวย) เลยสอบถามความคิดเห็นครับ (หรือผมควรถามที่วิกิพจนานุกรม:สภากาแฟ) --ZilentFyld (คุย) 12:32, 12 เมษายน 2561 (ICT)

ไม่สนับสนุน การเอาตารางผัน(หรืออะไรก็ตาม)ไปไว้ทางขวา จะทำให้เนื้อหาในตารางปรากฏขึ้นก่อนเนื้อหาอื่น ๆ ภายในเซ็กชัน ในหน้าจอมือถือครับ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดี ตารางผันควรจะอยู่หลังจากส่วนที่บรรยายความหมายแล้ว อีกอย่างถ้าเนื้อหาในนั้นยาวมาก มันก็จะเบียดเนื้อหาปกติ ในหน้าจอคอมอีกด้วย--Octahedron80 (คุย) 19:35, 12 เมษายน 2561 (ICT)

Reminder: Share your feedback in this Wikimedia survey[แก้ไข]

WMF Surveys, 08:34, 13 เมษายน 2561 (ICT)

Your feedback matters: Final reminder to take the global Wikimedia survey[แก้ไข]

WMF Surveys, 07:44, 20 เมษายน 2561 (ICT)

อักษรจีน[แก้ไข]

อยุูดี ๆ ผมก็เริ่มคิดว่าหน้าอักษรจีนหลายหมื่นหน้ามันไร้ประโยชน์ โดยเฉพาะหน้าที่ไม่มีความหมาย ไม่มีการออกเสียง และพวกที่ยังไม่แปลที่ยังมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่มันไม่เป็นภาษาไทย ผมก็เลยอยากถามว่า จะทำอะไรกับพวกมันมั้ย หรือปล่อยไว้แบบนี้ครับ ถ้าจัดการจะจัดการด้วยการทำอะไร ลบ หรือใช้กูเกิลแปลแล้วติดแม่แบบให้มาตรวจสอบครับ --ZilentFyld (คุย) 16:29, 23 เมษายน 2561 (ICT)

ปล่อยไว้อย่างนั้นแหละครับ ดีกว่าจะต้องไปสร้างหน้าใหม่อีกรอบด้วยมือ เหนื่อยเปล่า หน้าเหล่านี้อิมพอร์ตมาจากฐานข้อมูลยูนิโค้ดโดยอัตโนมัติ ก็คือมีข้อมูลพื้นฐานส่วนหนึ่งอยู่แล้ว (มันก็แน่นอนว่าข้อมูลมีแต่อังกฤษ ต้องแปลไทยเอาเองเท่านั้น) ที่วิกิพจนานุกรมจีนหรือญี่ปุ่นเขาก็มีครับ ส่วนที่ข้อมูลภายในมีน้อย ก็เป็นเพราะ มันไม่ใช่ภาษาจีนปัจจุบัน อาจจะเป็นภาษาจีนโบราณ ภาษาญี่ปุ่นเก่า หรือภาษาเวียดนามเก่า (ซึ่งมีความหมาย มีการออกเสียง) หรือบางทีเป็นตัวอักษรที่พบแต่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร (ถัดจากบล็อกเอ-บีไปก็เป็นอักษรโบราณหมด) เราเรียกรวมๆกันว่าอักษรจีนในส่วนข้ามภาษา ถึงแม้ที่(เคย)ใช้จริงจะไม่ใช่ภาษาจีนก็ตาม ข้อมูลจากยูนิโค้ดไม่มีรายละเอียดมากกว่านี้ นอกจากหนังสืออ้างอิงที่ปรากฏ ในอนาคตยังจะมีเพิ่มอีกครับ --Octahedron80 (คุย) 17:03, 23 เมษายน 2561 (ICT)
ข้อมูลภาษาจีนโบราณ และสำเนียงต่าง ๆ นี่ก็ได้มาจากวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ซึ่งเขาไปรวบรวมมากันเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ถ้าไม่มีหน้าอักษรจีนรองรับ ก็จะไม่ได้ใช้งานในส่วนนี้ครับ ไหนๆก็ก๊อปปี้มาแล้วต้องใช้ให้คุ้ม --Octahedron80 (คุย) 17:10, 23 เมษายน 2561 (ICT)
[1] --ZilentFyld (คุย) 18:07, 23 เมษายน 2561 (ICT)
ขอบคุณสำหรับแหล่งสืบค้นภาษาเวียดนามที่เป็นอักษรจีน --Octahedron80 (คุย) 18:21, 23 เมษายน 2561 (ICT)
@Octahedron80 (ผม ping เพราะไม่รู้ว่ามีการแจ้งเตือนมั้ย ถ้ามีบอกด้วยจะดีมากครับ) ผมสงสัยว่าพวกคำ en:𧵑 ที่ส่วนย่อยของภาษาเวียดนามเขียนเป็นอักษรฮั่น ซึ่งก็เป็นบุพบทด้วย จะเขียนไงครับ จะให้เหมือนภาษาญี่ปุ่นที่มีส่วนย่อยคันจิ ซึ่งแสดงรูปคันจิใหญ่แล้วต่อไปเป็นความหมายลงมา () และก็ https://www.chunom.org/ น่าจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วยครับ --ZilentFyld (คุย) 20:02, 23 เมษายน 2561 (ICT)
และเกี่ยวกับการเขียนหน้าอักษรจีน อย่างเช่น en:白 เค้าเขียนความหมายของภาษาจีนในหัวข้อย่อย Definitions เราต้องเขียนเป็นตามเค้า หรือแยกเป็นคำนาม คำกริยาครับ ถ้าเขียนตามเค้า ช่วยบอกด้วยคับว่าจะให้ Definitions เป็นคำไทยอะไร --ZilentFyld (คุย) 20:09, 23 เมษายน 2561 (ICT)
ใช้ vi-prep ไปครับ vi-hantu มันแม่แบบของเก่า กะว่าจะไม่ให้ใช้ในโครงการนี้; Definitions ที่ผมแปลไว้ก็คือ "ความหมาย" ส่วน POS มีอยู่ในตัว zh-pron ที่พารามิเตอร์ cat ถ้าจะเขียนรวมเหมือนเขาก็ใช้หัวข้อความหมายก็ได้ มันคือนโยบายของเก่า ถ้าจะเขียนแยกเป็นหัวข้อคำนามคำกริยาฯลฯก็ได้ แต่ผมแนะนำว่าให้แยกจะได้เห็นชัดเจน คำใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจะแยกครับ --Octahedron80 (คุย) 20:16, 23 เมษายน 2561 (ICT)
อีกคำถามนึงคือ Glyph origin จะให้ใช้คำว่าอะไรครับ --ZilentFyld (คุย) 20:46, 23 เมษายน 2561 (ICT)

ช่วยยยย[แก้ไข]

(ตรงนี้ไม่ต้องสนใจ มันทำยากกว่า ลง gadget พูดง่าย ๆ ) หลังจากที่ไปเจอมาจากวิกิพจนานุกรมภาษาสวีเดน sv:Hjälp:Nytt uppslag ถ้าว่าง ๆ ช่วยเอาเข้าวิกิพจนานุกรมภาษาไทยได้มั้ยครับ มันอาจจะช่วยให้ผู้ใช้ใหม่สามารถเขียนได้รวดเร็วและอาจจะได้ผู้เขียนเพิ่ม

ส่วนแบบภาษาเยอรมันใช้ de:Vorlage:Formatvorlagen-Menü ซึ่งเป็นแม่แบบ แล้วใส่ใน Mediawiki:Newarticletext แล้วใช้หลักการ preload เอา (ดูเพิ่มที่ de:Vorlage:Erstell-Link) ซึ่งมันน่าจะง่ายกว่าอีก อยากให้ลองทำลงวิกิพจนานุกรมภาษาไทยหน่อยครับ (ถ้าไม่เห็นภาพว่าพวกนี้เป็นยังไงก็ลองเข้าหน้าสร้างหน้าใหม่แบบมั่วๆของแต่ละภาษาดูครับ ซึ่งจะอยู่ข้างบน) --ZilentFyld (คุย) 16:48, 25 เมษายน 2561 (ICT)

หลังจากที่ผมลองหา wikihosting แล้วลองทำดู -> http://thdict.referata.com ข้อมูลทั้งหมดที่ผมทำอยู่ในนี้แล้วครับ --ZilentFyld (คุย) 17:42, 25 เมษายน 2561 (ICT)

คนละหัวข้อกับด้านบนแต่รวมกันเลยดีกว่า เปลืองที่ เรื่อง:toc

ช่วยใส่ใน Mediawiki:Common.css หน่อยนะครับว่า

#toc h2 {
   background: #f9f9f9;
}

พอเห็นแล้วพื้นหลังเป็นสีน้ำเงินมันดูแปลก ๆ --ZilentFyld (คุย) 18:02, 25 เมษายน 2561 (ICT)

@Octahedron80 และก็ช่วยตอบด้วยครับ รวมถึง Glyph origin หัวข้อบนด้วย --103.27.230.122 19:08, 4 พฤษภาคม 2561 (ICT) (ZilF ขี้เกียจลอกอิน)

catcatscript[แก้ไข]

ผมแค่อยากรู้ว่าเราจะสามารถสร้างทำให้มันรองรับการสร้างหน้าอัตโนมัติจากการผันคำนามภาษาฟินแลนด์ได้มั้ยครับ ถ้าทำได้น่าจะสามารถสร้างหน้าให้ได้มากมาย (ซึ่งจริงๆผมก็ไม่ได้อยากได้อะไรขนาดนั้น แค่อยากเห็นมีจำนวนบทความแทรงภาษาญี่ปุ่นซักวันหนึ่ง) แค่อยากรู้ความเป็นไปได้ครับ --ZilentFyld (คุย) 19:13, 29 พฤษภาคม 2561 (ICT)

ถ้ามันมีกฎตายตัวเหมือนภาษาเอสเปรันโตก็ง่ายนิดเดียวครับ แต่ตอนนี้ไม่รู้รายละเอียดอะไรเลย ที่เป็นห่วงคือ กรณีพิเศษจะมีเยอะไหม--1.47.104.207 19:27, 29 พฤษภาคม 2561 (ICT)

@octahedron80 เนื่องจากมันเป็นภาษาที่มีการผันกว่า 40 แบบคงไม่เรียบง่ายหรอกครับ มันพอเป็นไปได้มั้ยครับที่จะให้มันตรวจจับจากตาราง หรือจากคำข้างๆ(ที่ต้องไปแก้ไขทึ่ตารางอีกที) --Zilf 1.46.42.37 12:09, 30 พฤษภาคม 2561 (ICT)

วิกิตำรา[แก้ไข]

สวัสดีครับ รายการเปลี่ยนแปลงล่าสุด ในโครงการวิกิตำราตอนนี้ไม่แสดงผล ต้องไปแก้โค้ดที่ตรงไหนได้ครับ --B20180 (คุย) 20:31, 3 มิถุนายน 2561 (ICT)

ผมเห็นเป็นปกติครับ และเป็นปกติตลอดมา คุณลองล้างแคชเบราว์เซอร์ดูครับ --Octahedron80 (คุย) 20:51, 3 มิถุนายน 2561 (ICT)

ขอโทษครับ ผมนึกว่าวิกิพจนานุกรม ถ้าจะให้เดาผมว่าน่าจะเป็นที่ js ของตัวกรองระบบใหม่ เพราะตอนโหลดผมเห็นข้อมูลอยู่ แต่พอโหลดเสร็จก็หายไป เหมือนถูกเอาไปซ่อน --Octahedron80 (คุย) 09:16, 4 มิถุนายน 2561 (ICT)

@B20180 สิ่งที่ผมจะแนะนำก็คือ ปิดฟังก์ชันใหม่ก่อน ไปที่การตั้งค่า>เปลี่ยนแปลงล่าสุด>ติ๊กตัวเลือกข้อสุดท้าย เสร็จแล้วแก้ไข มีเดียวิกิ:Recentchangestext กับ มีเดียวิกิ:Common.css ให้มีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันนี้ผมเห็นมันเบี้ยว แต่ผมแนะนำว่า ลอกของวิกิพจนานุกรมหรือวิกิพีเดียจะดีกว่า --Octahedron80 (คุย) 09:42, 4 มิถุนายน 2561 (ICT)

@B20180 ขอแนะนำเพิ่มครับ อยากให้ใช้ AbuseFilter หมายเลข 5 บนโครงการอื่น ๆ ด้วย ถึงจะมีการก่อกวนเกิดขึ้น แต่โครงสร้างก็จะไม่พังครับ --Octahedron80 (คุย) 19:34, 4 มิถุนายน 2561 (ICT)

Special:AbuseFilter หมายเลข 5 นี่อยู่ตรงไหนครับ ผมหาไม่เจอ --B20180 (คุย) 19:50, 4 มิถุนายน 2561 (ICT)
^^^ --Octahedron80 (คุย) 19:51, 4 มิถุนายน 2561 (ICT)

ขอบคุณครับ --B20180 (คุย) 20:04, 4 มิถุนายน 2561 (ICT)

For your references, I found a English-Kayah Li Dictionary at Here. The source is from here. Ninjastrikers (คุย) 20:32, 15 มิถุนายน 2561 (ICT)

I already have another source of dictionary as good as yours. Thanks anyway. I will look up words that match Proto-Karen first. (Proto-Karen recently emerged in 2013 by Thai professor) --1.46.15.47 20:55, 15 มิถุนายน 2561 (ICT)

ผมรู้ครับ แต่แค่ผมขี้เกียจ ถ้าลองดูหน้าแต่ละคำที่ใช้ etyl ในภาษาอังกฤษแล้วจะเห็นว่าเค้าใช้ etyl เหมือนกันครับ (รวมถึงถ้ามีภาพ ผมก็จะมีภาพเหมือนกัน ถ้ามีลิงค์วิกิพีเดีย ผมก็จะมีเหมือนกัน ถ้ามีการผัน ผมก็จะมีเหมือนกัน) ผมใช้สคริปต์ (กาก ๆ) ของผมแปลงรูปแบบของหน้าเช่น Etymology เป็น รากศัพท์ อัตโนมัติ เพราะผมขี้เกียจเขียนหน้าเองครับ งั้นผมจะลองพยายามเขียนสคริปต์แปลงเป็นแบบใหม่ละกันครับ --ZilentFyld (คุย) 21:48, 16 มิถุนายน 2561 (ICT)

รวมถึงผมก็รู้ด้วยว่าใช้ {{ping}} ได้แต่อยากใช้อย่างนี้จะได้เพิ่มหัวข้อใหม่ ถถถ --ZilentFyld (คุย) 21:50, 16 มิถุนายน 2561 (ICT)

etyl ที่เห็นเยอะก็คือยังเก็บกวาดไม่หมดครับ ไม่ได้หมายความว่าเขาต้องการคงไว้อยู่ ถ้าเราดูดมาแล้วเปลี่ยนเป็นแม่แบบที่เหมาะสมได้ก็คงจะดีไม่น้อย สามารถใช้ der กรณีไม่แน่ใจว่าจะใช้ bor หรือ inh; bor สำหรับศัพท์ที่ยืมมา ส่วนมากคือภาษาที่ต่างตระกูลกัน; และ inh สำหรับภาษาโปรโตหรือภาษาบรรพบุรุษ
ถ้าพูดคุยในหน้าผู้ใช้คนอื่นไม่ต้องพิงก็ได้ เพราะมันก็เตือนเจ้าของอยู่แล้ว ส่วนหน้าอื่นควรใช้พิงเพื่อเรียกคนไปดู --Octahedron80 (คุย) 11:09, 21 มิถุนายน 2561 (ICT)

{{subst:}} ใช้ไม่ได้หรอครับ --ZilentFyld (คุย) 00:17, 17 มิถุนายน 2561 (ICT)

มันจะใช้ได้หรือไม่ได้ ผมไม่สามารถแก้ไขได้ครับ เท่าที่ทราบคือใช้ได้ครับ ถ้าใช้มากกว่าหนึ่งชั้น (ในแม่แบบเดียวกัน หรือหลายแม่แบบซ้อนกัน) จะสามารถถอดเฉพาะอันบนสุดได้ชั้นเดียว --Octahedron80 (คุย) 10:59, 21 มิถุนายน 2561 (ICT)

บอต[แก้ไข]

มันพอเป็นไปได้มั้ยครับที่จะเอาคำทั้งหมดใน lexitron มาใส่วิกิพจนานุกรมครับ ถ้าไม่ได้ มันพอจะเป็นไปได้มั้ยที่ทำพวกสคริปต์ที่แค่กอปคำมาแล้ว (แบบพวกมี [N] อะไรประมาณนี้) เปลี่ยนเป็นหน้านึงเลย ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ --ZilentFyld (คุย) 11:49, 14 กรกฎาคม 2561 (ICT)

การทำไม่ยากครับ แต่ผมเห็นข้อเสียมากกว่าข้อดี เช่นข้อมูลผิดต้องไปตามแก้ ซึ่งเราจะไม่สามารถติดตามได้เลยว่ามีหน้าไหนบ้าง หรือคำที่เป็น SOP ที่มันมีในรายการแต่เราไม่เก็บ หรือรูปแบบเข้ากันไม่ได้กับที่ใช้เขียนคำ ซึ่งจะต้องใช้ตรรกะเดียวกัน ความเสียหายอาจจะเกิดในวงกว้างถ้าไม่ติดตามผลการทำงานอย่างใกล้ชิด อย่างมากที่ผมทำได้ก็คือ ทำแบบฟอร์มขึ้นมา (ซึ่งทำไว้นานแล้ว) แล้วเอาข้อมูลมากรอก จะได้แปลงเป็นรูปแบบที่ถูกเหมือนกัน --Octahedron80 (คุย) 12:04, 14 กรกฎาคม 2561 (ICT)

แบบฟอร์มนั่นอยู่ไหนหรอครับ --ZilentFyld (คุย) 12:14, 14 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ลิงก์อยู่ในหน้าผู้ใช้ครับ เมื่อก่อนผมใช้อันนี้ในการดูดข้อมูลจากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งสะดวกมาก แต่ต่อมาเว็บไซต์ได้ปรับปรุงใหม่ทำให้ผมดูดข้อมูลออกมาไม่ได้อีกต่อไป เลยต้องมากรอกข้อมูลเองแทน ทว่าการกรอกข้อมูลในฟอร์มมันก็ไม่ต่างอะไรกับการกรอกข้อมูลลงในเว็บโดยตรง อนึ่งผมเคยใช้บริการตัดคำของเนคเทค ที่สามารถเชื่อมโยงกับฟอร์มนี้ ในการแบ่งคำและเติมลิงก์ทีละคำลงในความหมาย แต่ภายหลังเขาไม่ให้ใช้แล้ว ผมก็เลยเลิกใช้ฟอร์มถาวร ที่ยังใช้ได้ดีอยู่ตอนนี้ก็น่าจะมี ฟอร์มสำหรับอักษรย่อ --Octahedron80 (คุย) 12:29, 14 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ถามเพิ่มเติมครับ จะเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยยังไงครับ แล้วถ้าใช้ lexto (http://www.sansarn.com/lexto/) เค้ายังใช้ตัดคำแบบนั้นได้อยู่มั้ยครับ--ZilentFyld (คุย) 16:32, 14 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ภาษาอื่นไม่มีครับ ผมทำใช้กับภาษาไทยเท่านั้น ตัดคำผมใช้อันนั้นแหละครับ ใช้ฟรีจนกระทั่งเจ้าของเขาให้ทำหนังสือขอใช้งานเป็นเรื่องเป็นราว วันเริ่มต้นวันสิ้นสุดในการใช้ จากใครหรือหน่วยงานอะไร ใช้ที่ไหน ฯลฯ ซึ่งผมก็ไม่รู้จะใช้เหตุผลอะไรเพราะผมใช้เองคนเดียว --Octahedron80 (คุย) 16:40, 14 กรกฎาคม 2561 (ICT)

เอา Gadget AcceleratedFormCreation ของ enwikt เข้ามาแล้วแปลคำได้มั้ยครับ (en:MediaWiki:Gadget-AcceleratedFormCreation.js กับข้อมูลที่ en:User:Conrad.Irwin/creationrules.js) มันช่วยลดเวลาในการสร้างหน้าคำผัน เท่าที่ผมลองใช้แบบ userscript แล้วก็ได้ว่ามันใช้ได้แค่บางภาษา (แต่ userscript ไม่ได้ใช้ได้ขนาด gadget ผมลองแบบ enwikt แล้วก็เป็นเหมือนกัน แต่พอเปิด gadget แล้วใช้ได้เฉย) แต่ภาษาอังกฤษนี่ได้แน่นอน แต่ผมไม่รู้นะว่าถ้าเอาเข้ามาจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า ช่วยตัดสินใจด้วยครับ --ZilentFyld (คุย) 11:21, 15 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ถ้าอยากลองว่าเป็นไงผมได้ทำการแปลบางส่วนแล้ว สามารถลอง importscript ได้ที่ผู้ใช้:ZilentFyld/creat.jsครับ ตอนนี้ยังรับได้แต่ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, ฟินแลนด์ (ที่ผมต้องการที่สุด) ซึึ่งมันน่าจะยังคงมีปัญหาอยู่ครับ แต่น่าจะช่วยในการนำแกดเจตนี้เข้าได้ง่ายขึ้น --ZilentFyld (คุย) 21:00, 15 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ขอให้ทดลองใช้จนกว่ามันจะไม่มีข้อผิดพลาดครับ เพราะถ้านำเข้าไปตอนนี้ คุณจะแก้มันไม่ได้ หรือ ไม่ต้องนำเข้าก็ได้ คุณก็ใช้เป็นสคริปต์ส่วนตัวไป เพราะคนอื่นก็ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว --Octahedron80 (คุย) 07:58, 16 กรกฎาคม 2561 (ICT)

แอลิแมนนิก, อลามันน์, อลามานนิค, แอเลอแมนนี[แก้ไข]

แอลิแมนนิก ตาม w:วิกิพีเดียภาษาแอลิแมนนิก อลามันน์ ตาม w:ชนอลามันน์ อลามานนิค ตาม w:สวิตเซอร์แลนด์ ผมไม่แน่ใจจะเอาอันไหนดี แต่ที่รู้คือเลือกมาซักอย่าง จะได้ทำการไปเปลี่ยนทั้งหมดให้เป็นชื่อเดียวกันครับ --ZilentFyld (คุย) 08:46, 30 กรกฎาคม 2561 (ICT)

[2] [3] ผมดูอันนี้มา Alemannic เป็นรูป adj ของ Alemanni และผมถอดเสียงตามอเมริกันครับ ตามนี้แล้ว ลิไม่ใช่ ลาไม่ใช่ มันน์ไม่ใช่ นิกไม่ใช่ --Octahedron80 (คุย) 08:49, 30 กรกฎาคม 2561 (ICT)

w:en:Alemannic German เค้าบอกว่า [alɛˈman(ː)ɪʃ] ครับ แต่ผมไม่แน่ใจจะเอาตามคนในท้องถิ่นอ่าน (Alemannisch) ดีกว่าหรือแบบอเมริกันอ่าน-ZilentFyld (คุย) 08:57, 30 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ปกติเราถอดชื่อภาษาตามภาษาอังกฤษครับ ต้นฉบับจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ --Octahedron80 (คุย) 08:59, 30 กรกฎาคม 2561 (ICT)

เริ่มงงกับชื่อและ ถถถ งั้นผมจะเริ่ม Schwiizertüütsch แล้วนะครับ ไม่แน่ใจจะเปลี่ยนวิกิพีเดียตามดีมั้ย

สวัสดีครับ ช่วยสร้าง แม่แบบ ar-adj ได้ไหมครับ เช่นใน رحمن ผมไม่มีความสามารถในด้านนี้ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 07:44, 31 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ภาษามือ[แก้ไข]

ผมอยากจะเพิ่มหน้าภาษามือเข้าครับ แต่ไม่รู้ว่าจะตั้งชื้อไงดี ตามอังกฤษ: en:Wiktionary:About_sign_languages แบบแปลไทย หรือคิดแบบใหม่เลย เพราะเราใช้อักษรต่างกับของอังกฤษ หรือควรถามที่ วิกิพจนานุกรม:สภากาแฟ --ZilentFyld (คุย) 17:01, 13 สิงหาคม 2561 (ICT)

มันมีข้อตกลงในการถอดความออกมาเป็นภาษามืออยู่ครับ ภาษามือนั้นก็หลากหลายต่างกันตามภาษาต้นฉบับ ภาษามืออังกฤษมีวิธีเขียนให้คนที่ดูสัญลักษณ์อย่างเดียวเข้าใจได้เรียก Sign Writing แต่ภาษามือไทยไม่มีการสอน ถึงจะสร้างขึ้นมาพวกเขาก็ไม่เข้าใจอยู่ดี อย่างดีที่สุดผมว่าเอาคลิปไปใส่หน้าคำธรรมดาของเราดีกว่าครับ --Octahedron80 (คุย) 19:07, 13 สิงหาคม 2561 (ICT)

รู้สึกว่าเค้าก็จะไม่มีเหมือนกันครับ เค้าแค่ตั้งชื่อให้แยกออก แล้วใช้ en:Index:American_Sign_Language เพราะผมหาแล้ว ไม่พบการใช้ที่อื่นนอกจาก enwt และที่กอปมา --ZilentFyld (คุย) 20:13, 13 สิงหาคม 2561 (ICT)

ส่วนภาษามือไทยกอปมาจาก asl (หรือเรียงจริง ๆ คือ การครีโอล) เพราะฉะนั้นก็เขียนเป็น SignWriting ได้ครับ อีกอย่างอีกษรก็ไม่มี unicode (ที่ปรกติมีฟอนต์ใช้) ต้องมาประกอบ svg เอาเอง ท้ายสุดก็ต้องหาวิธีการตั้งชื่อหน้าอยู่ดีนั่นแหละครับ --20:18, 13 สิงหาคม 2561 (ICT)

ถึงจะลอกมาแต่แต่ตอนนี้สื่อสารไม่เข้าใจกันครับเพราะมันเป็นคนละภาษาไง "ภาษามือ" หรือ sign languages ถ้าค้นดูในสารบบมีหลายภาษาเยอะเลยครับ แค่อยากจะบอกว่าภาษามือไม่ได้ universal --Octahedron80 (คุย) 20:22, 13 สิงหาคม 2561 (ICT)

จะว่าไปแล้วหาฟอนต์อิมพอร์ตเข้าก็น่าจะได้อยู่นะครับ --ZilentFyld (คุย) 20:21, 13 สิงหาคม 2561 (ICT)

OK ครับ signwriting ไม่สามารถเขียนเป็นเส้นเดียวได้ และยากต่อการเข้าใจ ปัญญาไม่ได้อยู่ที่ฟอนต์ครับ แต่อยู่ที่การตั้งชื่อคำ สิ่งที่ผมต้องการคือการทำให้คนไม่รู้ว่าภาษามือนั่นหมายถึงอะไรสามารถหาได้ วิธีการที่ผมคิดว่าดีที่สุดตอนนี้คือตั้งชื่อตามแบบอังกฤษ ตาม "ยกฝ่ามือซ้ายขึ้นมาระดับหัวใจ โดยหันปลายนิ้วไปยังคู่สนทนา จากนั้นใช้ปลายนิ้วมือข้างขวาทำวน ในทิศตามเข็มนาฬิกา เหนือฝ่ามือข้างซ้าย" คงสามารถตั้งชื่อได้เป็น FlatB@InHand-CirclesInHand-FlatB@NearForearm-Forward ซึ่งอาจจะแปลเป็นไทยได้ครับ แต่ไม่รู้จะทำไงนั่นแหละ (ตั้งชื่อตาม DominantHandshape@Location-Facing-NondominantHandshape@Location-Facing และข้อมูลที่ระบุไว้ใน about sign language) --ZilentFyld (คุย) 21:13, 13 สิงหาคม 2561 (ICT)

มีข้อจำกัดอยู่ครับ การตั้งชื่อหน้าที่ยาวมากจะไม่สามารถทำได้ ยิ่งเป็นตัวอักษรไทยด้วยแล้วจะใช้เนื้อที่เก็บมากกว่าตัวอักษรละตินพื้นฐาน 3 เท่า หมายความว่าถ้าแปลเราอาจจะสร้างขึ้นมาไม่ได้ มีวิธีเดียวคือต้องใช้ชื่อเดียวกันกับของ en และลิงก์ข้ามภาษาจะได้เชื่อมถึงกันได้ด้วย เราสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวเป็นภาษาไทยในเนื้อหาได้ --Octahedron80 (คุย) 07:46, 14 สิงหาคม 2561 (ICT)