คุยกับผู้ใช้:Octahedron80/กรุ 3
เพิ่มหัวข้อ
กรุ: หน้าปัจจุบัน |
1, 2, 3, 4 |
สร้างหน้าตามชนิดคำ
[แก้ไข]จากความเชื่อของผมที่ว่าจะต้องมีคนที่อยากเขียนแต่ไม่ทราบวิธีการเขียน พอเปิดไปดูวิกิพจนานุกรม:คู่มือในการเขียนก็ได้เจอกับความล้าสมัยของข้อมูล ผมจึงลองจัดการทำแม่แบบสร้างหน้าตามชนิดคำขึ้นมาครับ ซึ่งตัวอย่างเป็นดังนี้
คำนาม | คำกริยา | คำคุณศัพท์ (วิเศษณ์ขยายคำนาม) |
---|---|---|
ผมไม่รู้ว่าการใช้วิธีนี้จะดีมั้ย และถ้าดีแต่ใส่ในวิกิพจนานุกรม:ศาลาประชาคมจะดีมั้ยครับ ซึ่งผมไม่รู้ว่าควรจะทำต่อหรือทิ้งดีครับ --ZilentFyld (คุย) 21:05, 3 กันยายน 2561 (ICT)
ถ้าคิดว่ามันจะช่วยให้วิกิพจนานุกรมพัฒนาก็ทำไปครับ ปัญหาไม่น่ามีนอกจากการก่อกวน --Octahedron80 (คุย) 10:05, 6 กันยายน 2561 (ICT)
ช่วยเพิ่ม div preload ลงมีเดียวิกิ:Newarticletextหน่อยครับ
[แก้ไข]ตามชื่อเรื่องครับ ผมทดลองทำแล้วโดยอยู่ที่ ผู้ใช้:ZilentFyld/testde.js ซึ่งมันยากต่อการทดสอบครับ --ZilentFyld (คุย) 12:12, 25 กันยายน 2561 (ICT)
- คุณก็ใช้ไอดี Newarticletext-extension สิครับ เปลี่ยนแค่ชื่อเท่านั้นเอง ไม่จำเป็นต้องเพิ่มใหม่อีก $("#Newarticletext-extension").html(wikicode); คุณอยากได้อิลิเมนต์เพิ่มก็เขียนสคริปต์เพิ่มเอา --Octahedron80 (คุย) 12:21, 25 กันยายน 2561 (ICT)
- ขอบคุณครับ :) --ZilentFyld (คุย) 12:26, 25 กันยายน 2561 (ICT)
ขอสอบถามเพิ่มเติมครับ หน้าที่เป็ร "ปัจจุบันไม่มีข้อความในหน้านี้" คือหน้าอะไรและใช้ไอดีอะไรครับ --ZilentFyld (คุย) 00:25, 29 กันยายน 2561 (ICT)
- ผมเห็น มีเดียวิกิ:Noarticletext กับ มีเดียวิกิ:Noarticletext-nopermission --Octahedron80 (คุย) 07:52, 29 กันยายน 2561 (ICT)
- ช่วยใส่ div Noarticletext-extension ได้มั้ยครับ
- ผมใส่แค่หน้าแรกนะครับ --Octahedron80 (คุย) 10:15, 2 ตุลาคม 2561 (ICT)
- ครับ --ZilentFyld (คุย) 10:17, 2 ตุลาคม 2561 (ICT)
- ผมเห็นคุณเขียน jQuery เต็มตัวแล้ว (จากเดิมที่เขียนปนกับ DOM) พยายามต่อไปครับ --Octahedron80 (คุย) 10:29, 2 ตุลาคม 2561 (ICT)
เกี่ยวกับ autocreat.js
[แก้ไข]หลังจากที่ผมลองสร้าง autocreat.js (จากความรู้อันน้อยนิดแล้วกอป catcat มา) ซึ่งสามารถสร้างคำผันภาษาสวีเดนได้จากการกดปุ่มเดียว ผมมีปัญหาตรงที่มันขึ้นปุ่มในทุกรูปผันครับ แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถกดแล้วสร้างได้เหมือนกัน ช่วยหน่อยได้มั้ยครับ (autocreat.js)
อีกอย่างนึงคือถ้าใช้วิธีนี้ การสร้างหน้าคำผันภาษาฟินแลนด์ก็เป็นไปได้ ถึงแม้การผันจะมั่ว แต่ขอให้แก้ปัญหานี้ได้ก่อนครับ (ผมใช้หลักการตรวจสอบ class ครับ) --ZilentFyld (คุย) 09:56, 4 ตุลาคม 2561 (ICT)
- คุณอาจจะใส่คลาสหรือไอดีเพิ่มในแม่แบบ ให้สามารถกรองอิลิเมนต์ที่ต้องการหรือไม่ต้องการก็ได้ครับ (ระวัง:ไอดีสามารถใช้ได้ครั้งเดียวบนเพจ) หัวใจสำคัญของ jQuery คือการเลือกอิลิเมนต์ ด้วยสัญกรณ์แบบ css --Octahedron80 (คุย) 14:30, 4 ตุลาคม 2561 (ICT)
การใช้แม่แบบเป็นหัวข้อ
[แก้ไข]- เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องตามภาษาอังกฤษคนอื่นเค้าทุกเรื่อง ผมเลยอยากได้ความคิดเห็นเรื่องการใช้แม่แบบภาษานิดหน่อยครับ
- ผมเห็นหลายภาษาใช้หัวข้อเป็นรูปแบบโค้ดภาษาพร้อมกับ - คลุม (เช่น -en- สำหรับหัวข้อภาษาอังกฤษ) ผมเลยเกิดความคิดหนึ่งขึ้นมาครับ แทนที่เราจะเริ่มหัวข้อภาษาไทยเป็น (== ภาษาไทย ==) เปลี่ยนรูปแบบการเขียนเป็น == {{lang|th}} == ซึ่ง lang เป็นชื่อตัวอย่างเพราะมีการใช้อยู่แล้ว แทนจะดีกว่ามั้ย ข้อดีของมันคือถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อภาษา (อย่างเช่นแปล) ก็เปลี่ยนเลยที่เดียวและทั้งหมดจะเปลี่ยนตาม และในบางภาษาที่รู้โค้ดแต่ไม่รู้ชื่อภาษาก็จะไม่จำเป็นต้องหาชื่อจากที่อื่นครับ แต่ข้อเสียน่าจะเป็นการเปลืองทรัพยากรเซิฟเวอร์
- ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับความคิดนี้ก็เลยลองถามดูครับและที่แน่นอนถ้าเปลี่ยนผมเปลี่ยนคนเดียวไม่ได้อยู่แล้ว --ZilentFyld (คุย) 14:56, 16 ตุลาคม 2561 (ICT)
- เราเคยใช้อยู่ในสมัยแรกๆ ตั้งแต่กว่า 10 ปีก่อน เช่นพวก {{th}} {{en}} {{fr}} ฯลฯ ซึ่งแทนด้วย ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ และหลายวิกิเก่าๆที่ไม่ค่อยอัพเดทด้านเทคนิคก็ทำแบบนี้กัน มันสะดวกก็จริงแต่ข้อเสียของการใช้แม่แบบคือใช้เวลาประมวลผล + กินแรมมาก (ในขณะที่มอดูลกินน้อยกว่าเพราะต่อกับ lua และ php ซึ่งเป็นไบนารี) บอตภายนอกไม่สามารถเอาไปประมวลผลได้ คนภายในไม่รู้จักรหัสภาษา และถ้าแม่แบบถูกแก้ก็คือพังทุกหน้า แม่แบบชื่อภาษาส่วนหนึ่งมีชื่อเหมือนกับแม่แบบที่ทำฟังก์ชั่นอื่นเช่น der bor inh cog ฯลฯ ปัจจุบันแม่แบบชื่อภาษาจึงยกเลิกหมด ใช้ข้อความธรรมดาดีกว่าเรียกแม่แบบ ผมคิดว่าเราไม่ควรที่จะถอยหลังลงคลอง เพราะฐานข้อมูลเราใหญ่ขึ้นทุกวันไม่เหมือน 10 ปีที่แล้ว อีกอย่างแม่แบบ lang ไม่ได้ใช้เอาไว้ทำแบบนั้นครับ มีไว้แค่เปลี่ยนฟอนต์เท่านั้น --Octahedron80 (คุย) 19:44, 16 ตุลาคม 2561 (ICT)
- ก็ใช้ lua สิครับ ตาม template:langname แต่แค่เติมคำว่าภาษาเข้าไปข้างหน้า ผมไม่คิดจะทำแยกอยู่แล้ว เพราะผมรู้ว่าถ้าทำเป็นแม่แบบแยกจะเกิดอะไรขึ้น และการทำแม่แบบแยกภาษาที่ยังไม่ได้แปลมันก็จะสร้างไม่ได้อยู่ดีครับ อีกอย่าง lang เป็นชื่อทดลองครับเพราะผมก็เช็คมาแล้วว่ามันเป็นอะไร (สถานที่ที่ผมได้ความคิดมาได้แก่ fr, de, es, el ซึ่งก็ไม่ใช่วิกิที่คนมาดูน้อยเลย แต่อย่างไรก็ตามในสิบอันดับวิกิพจนานุกรมที่มีคนเปิดดูมากที่สุดก็มีแค่สี่อันนี้แหละครับ และอีก 4 ru, pl, nl, ja ใช้แบบเก่า จะเหลือแค่ en กับ cz นั่นแหละครับ แต่อย่างไรก็ตามผมก็ไม่ได้คิดไว้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด แค่ต้องการควาคิดเห็นเฉย ๆ นั่นแหละครับ)--ZilentFyld (คุย) 20:17, 16 ตุลาคม 2561 (ICT)
- แม่แบบ langname ก็ไม่ได้สร้างมาให้ใช้โดยตรงครับ ถ้าคุณอยากใช้ควรทำเป็น subst:langname แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อความนิ่งที่ไม่ต้องผูกกับแม่แบบ อีกอย่างคือเรื่องจำนวนคนดูกับนักเทคนิคมันคนละเรื่องกันครับ คนดูเยอะแต่นักเทคนิคมีนิดเดียว ล่าสุดนี่เจอกับ ja ที่ลอกมอดูลไปแล้วแต่ยังใช้อะไรไม่ได้สักอย่าง --Octahedron80 (คุย) 20:21, 16 ตุลาคม 2561 (ICT)
ภาษาจีน (ต่อ แต่คนละเรื่อง)
[แก้ไข]ผมเริ่มเห็นในภาษาอังกฤษเริ่มลบตรงความหมายในหมวดข้ามภาษาแล้วทั้งหมด ไปแยกอยู่ในแต่ละภาษาแทน ผมไม่รู้ว่าควรลบตามดีมั้ย --ZilentFyld (คุย) 16:47, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
- จะลบก็ได้ครับ เพราะถึงยังไง "ภาษา" ก็สามารถอธิบายความหมายได้ดีกว่าข้ามภาษา แต่ก่อนลบ ให้แน่ใจว่าเราแปลได้ แปลถูก และถูกภาษา ถ้าแปลไม่ได้ก็ปล่อยทิ้งไว้งั้นก่อน เนื่องจากมีแม่แบบติดตามอยู่ --Octahedron80 (คุย) 16:55, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
ภาษาอาหรับ
[แก้ไข]จะเป็นไปได้มั้ยครับที่จะลบคำภาษาอารบิกทั้งหมดที่ Alif-bot เขียน เนื่องจากคำหลายคำมันไม่ใช่รูปที่ยำมาทำใส่พจนานุกรม และก็ไม่ใช่จำนวนน้อยด้วยครับ ถ้าลองดูหน้าหมวดหมู่คำนามภาษาอาหรับ จะเห็นคำจำนวนมากขึ้นต้นด้วย ا (หรือจะเรียกว่าลงท้ายก็ได้ เพราะมันต่อท้านถ้าอ่านตามแบบเรา) ซึ่งหน้าส่วนใหญ่ในนั้นจะเป็นรูปเจาะจง (Definite) ซึ่งมันจะลิงค์เข้าภาษาอื่นไม่ได้ครับ --ZilentFyld (คุย) 18:40, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)
ติดป้ายแจ้งลบไว้ครับ เพราะผมก็ไม่ทราบว่าควรจะลบอันไหนบ้าง บางหน้าก็อาจพัฒนาไปแล้ว --Octahedron80 (คุย) 18:43, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)
ถ้ามาจาก bot ผม ก็ต้องขออภัยด้วยครับ ตอนนั้น ซึ่งผ่านมาหลายปีมากแล้ว มีความถนัดน้อยยิ่งกว่าตอนนี้ --A.S. (คุย) 20:41, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)
คำวิสามานยนาม ไทเขิน
[แก้ไข]สวัสดีครับ ตามผมเข้าใจ ไทเขิน ไม่ใช่ชื่อประเทศ ชื่อคนเฉพาะ หรือชื่อสถานที่เฉพาะ (เช่น เมือง) ตาม Wiktionary ภาษาอังกฤษ ชื่อกลุ่มจัดว่าเป็น noun (เช่น https://en.wiktionary.org/wiki/Han_Chinese) ถ้านับเป็นชื่อภาษา Wiktionary ดังกล่าวก็จัดเป็น noun เหมือนกัน (เช่น https://en.wiktionary.org/wiki/Chinese#Noun) กรุณาอธิบายได้ไหมครับว่า ชื่อกลุ่มชนชาติเป็น proper noun ได้อย่างไร ตามมุมมองทฤษฎีไหนครับ ขอบคุณครับ
--A.S. (คุย) 20:39, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)
- ผมไม่แน่ใจครับ ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์หมายถึงคนกลุ่มนั้นกลุ่มเดียวไม่ได้หมายถึงกลุ่มอื่น ก็น่าจะสามารถเป็นวิสามานยนามได้ นอกจากนั้นเขินสามารถเป็นชื่อภาษาได้ด้วย ชื่อภาษามักจะเอาชื่อประเทศหรือชื่อกลุ่มชาติพันธุ์มาตั้ง ก็ต้องเป็นวิสามานยนามครับ --Octahedron80 (คุย) 20:42, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)
- ผมลองศึกษาใหม่ครับ ตามที่ผมเข้าใจจากบทความนี้และข้อมูลอื่นในอินเตอร์เน็ต กลุ่มชาติพันธุ์ต้องเป็นคำนามครับ เพราะหมายถึงกลุ่ม หรือ class ซึ่งมีสมาชิกอยู่ในนั้นรวมกันอยู่ กลุ่มคนเขินมีคนเขินหลายคน จึงเป็นคำนามครับ ส่วนเรื่องภาษาเขินนั้น น่าจะหมายความว่า ภาษาของชาวเขิน ซึ่งหมายถึงภาษาใดภาษาหนึ่ง ถ้าผมเอาคำว่า คน ในประโยค กลุ่มคนเขินมีคนเขินหลายคน เปลี่ยนเป็น ภาษา มันก็จะเข้าใจได้ยากครับ คือ กลุ่มภาษาเขินมีภาษาเขินหลายภาษา เพราะว่ากลุ่มภาษาเขินไม่ได้มีภาษาเขินหลายภาษา (มีแต่หลายสำเนียงหรือภาษาท้องถิ่น) ดังนั้นคำว่า เขิน เป็นคำนามเมื่อหมายถึง คน แต่เป็นคำวิสามานยนามเมื่อเป็นภาษาครับ
- ตามข้อมูลนี้ (แต่ในบริบทภาษาอังกฤษ) เราพูดว่า คนเขินคนนั้น ได้ แต่เวลาพูดว่า ภาษาเขินภาษานั้น มันฟังดูแปลก ๆ ครับ
- อนึ่ง ไหน ๆ ดูเหมือนว่าเราจะทำตามมาตรฐานสากลอยู่แล้ว เช่น การแบ่งคำวิเศษณ์ออกเป็นคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ ผมว่ามันไม่เสียหายอะไรที่จะแบ่งคำที่เป็นได้ทั้งชื่อชนชาติและภาษา (และประเทศ เช่นคำว่า ไทย) ตามมาตรฐานสากล ผมจะแก้ไขตามข้อมูลนี้นะครับ --A.S. (คุย) 00:56, 16 สิงหาคม 2565 (+07)
ຊາກ = ຫຼອນ ?
[แก้ไข]สวัสดีครับ ผมเอาคำว่า หลอน มาจากพจนานุกรม ลาว-ลาว ครับ (มะหาสิลา วีระวง พ.ศ. 2503) จึงใส่ไว้ในคำพ้องความ แต่ผมคงใส่ไม่ถูกที่ --A.S. (คุย) 07:02, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)
- แต่ว่าเอาออกไป ผมว่าดีแล้วครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 07:11, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)
- ผมดูจาก sealang แล้วไม่น่าจะมีความหมายที่เข้ากับอะไรได้นะครับ ความหมาย บางครั้งบางโอกาส กับ เกิดขึ้นโดยไม่บอก ไม่น่าจะเหมือนกันครับ --Octahedron80 (คุย) 07:13, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)
นอร์เวย์
[แก้ไข]เนื่องจากมันแบบเขียนอยู่สองแบบ (หรือห้าถ้านับ Samnorsk ที่เลิกใช้ Høgnorsk, Riksmål ที่ไม่ทางการ จึงไม่มีในวิกิพจนานุกรม) คือ Bokmål กับ Nynorskซึ่งในวิกิพจนานุกรมภาษาไทยชื่อภาษานี้เป็นบุ๊กมอลกับนือนอชก์ ผมคิดว่ามันอาจจะทำให้คนเข้าใจผิดว่ามันไม่ใช่ภาษานอร์เวย์ครับ ถ้าจะเปลี่ยนชื่อเป็น นอร์เวย์(แบบ)บุ๊กมอล ตาม Norwegian Bokmål ในภาษาอังกฤษจะได้มั้ยครับ ผมไม่กล้าเปลี่ยนเอง --ZilentFyld (คุย) 10:23, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)
ผมก็พยายามเลี่ยงการเก็บกวาดภาษานี้มาตลอดครับ รอให้คนมาออกความเห็นเพราะจะได้ทำทีเดียว ผมดูที่ en:Wiktionary:About_Norwegian ก็แยกภาษากันมาตั้งแต่ 2011 เรื่องชื่อนั้นถ้ามีคำว่านอร์เวย์ด้วยน่าจะดีครับ แต่จะไม่แปลจากหลังไปหน้าแบบอังกฤษเพราะจะทำให้งง ควรใช้ว่า นอร์เวย์แบบบุ๊กมอล (nb) (แปลว่าตัวเขียนในหนังสือ) กับ นอร์เวย์แบบนือนอสก์ (nn) (แปลว่านอร์เวย์ใหม่) ส่วนภาษานอร์เวย์ธรรมดา เอาไว้ใช้กับรากศัพท์เท่านั้น ไม่ควรจะมีคำใดอยู่ --Octahedron80 (คุย) 11:37, 28 ตุลาคม 2561 (ICT)
Module:Unicode data/images/009
[แก้ไข]Can you please update Module:Unicode data/images/009? I was unable to modify the module page here. Just like en:Module:Unicode data/images/009. I changed them to better-quality images. --Username8192 (คุย) 15:33, 13 พฤศจิกายน 2561 (ICT)
- No problem. Do you have more updates? --Octahedron80 (คุย) 15:35, 13 พฤศจิกายน 2561 (ICT)
- No. Thank you very much! --Username8192 (คุย) 15:37, 13 พฤศจิกายน 2561 (ICT)
Module:category tree
[แก้ไข]Also, what happened to Module:category tree, so that language categories like หมวดหมู่:ภาษานีวเว aren't displayed properly? --Lo Ximiendo (คุย) 14:13, 27 พฤศจิกายน 2561 (ICT)
- @Lo Ximiendo It is fixed now. I recently renamed derivcatboiler to derived cat but I forgot to modify few pages. --Octahedron80 (คุย) 20:12, 29 พฤศจิกายน 2561 (ICT)
ตัวกรองการเปลี่ยนชื่อในวิกิพีเดีย
[แก้ไข]สวัสดีครับ ที่หน้าพูดคุยของผมในวิกิพีเดีย มีคนมาขอให้ช่วยอัปเดตตัวกรองการย้ายหน้าผู้ใช้ (เข้าใจว่าเป็นตัวกรองนี้) แต่ไม่ทราบว่าควรแก้โค้ดอย่างใด จึงรบกวนสอบถามมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ --B20180 (คุย) 16:56, 9 มกราคม 2562 (ICT)
- @B20180 ตรวจระดับของผู้ใช้ที่ user_groups น่าจะเหมาะกว่าตรวจที่คำอธิบายครับ เพราะว่าคำอธิบายอาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้แล้วเราก็จะตรวจจับไม่เจอ ระดับของผู้ใช้ที่ควรได้รับการยกเว้นเพิ่มเติม (นอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว) ก็คือ checkuser, steward, global-sysop, และ global-renamer ถึงจะมีสิทธิเหนือกว่าแต่ก็ติดตัวกรองเหมือนกัน --Octahedron80 (คุย) 07:16, 11 มกราคม 2562 (ICT)
Hello. Could you tell me why this edit was "Disallow", if you possible? Thanks. --Garam (คุย) 01:29, 3 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
@Garam First, we have the filter to prevent new users editing category, template and module pages because they potentially become vandalism. Second, the category คำวิเศษณ์ภาษาไทย is obsolete and it is in the process of cleanup. No one should edit the category. --Octahedron80 (คุย) 07:42, 3 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
ชื่อพายุภาษากวางตุ้ง
[แก้ไข]สวัสดีครับ รบกวนถอดเสียง 鴛鴦 เป็นภาษากวางตุ้งให้หน่อยครับ เป็นชื่อพายุใหม่ มีผู้ใช้อีกคนถามมา --Potapt (คุย) 19:27, 2 มีนาคม 2562 (ICT)
- en:鴛鴦 (เป็ดแมนดาริน) อ่านได้สองแบบ jyun1 joeng1, jin1 joeng1 ถ้าถอดตามหลักที่ผมใช้ก็จะเป็น ยฺวื้นเยิ้ง กับ ยี้นเยิ้ง (ถอดด้วยระบบ Jyutping) --Octahedron80 (คุย) 21:01, 2 มีนาคม 2562 (ICT)
dv & mh
[แก้ไข]อีกเรื่องคือ ผมจะสร้างหน้าของคำในภาษามัลดีฟส์ (dv) กับภาษามาร์แชลล์ (mh) รบกวนดำเนินการด้วยครับ ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 19:43, 2 มีนาคม 2562 (ICT)
- อ้อ ถ้าอยากจะเปลี่ยนชื่อ ช่วยบอกว่าเปลี่ยนชื่อนะครับ เพราะหมวดหมู่กับมอดูลมันเชื่อมโยงกันอยู่ ต้องแก้หลายที่ ในขณะที่คำศัพท์นั้น สามารถสร้างเลยได้ --Octahedron80 (คุย) 12:22, 3 มีนาคม 2562 (ICT)
Hi. Is เสมหะ really from श्लेष्मन्? I think เสลด is. I've made an entry @ English Wiktionary for เสลด. --Anatoli (คุย) 11:04, 4 มีนาคม 2562 (ICT)
No. เสมหะ is from Pali semha. --Octahedron80 (คุย) 13:01, 4 มีนาคม 2562 (ICT)
- Thanks for answering and fixing on enwikt. I think Khmer ស្លេស្ម is a cognate - also derived from Sanskrit. --Anatoli (คุย) 13:09, 4 มีนาคม 2562 (ICT)
พิมพ์หนังสือ?
[แก้ไข]พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้นำ "พิมพ์หนังสือ" ออกไปแล้วหรือครับ ตามที่ผมค้นหาจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ "พิมพ์หนังสือ" มีนิยามว่า "ก. ใช้เครื่องพิมพ์กดตัวหนังสือหรือภาพเป็นต้นให้ติดบนกระดาษหรือผ้าเป็นต้น" ไม่ควรรวมเป็นบทความหรือครับ
--A.S. (คุย) 07:08, 12 มีนาคม 2562 (ICT)
มีอยู่ในพจน. แต่ผมเห็นว่า พิมพ์หนังสือ ไม่น่าจะเป็นคำประสมได้ครับ มันสามารถเป็นที่เข้าใจได้ว่า = พิมพ์+หนังสือ ถ้าเทียบกับ เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ ทำหนังสือ ซึ่งก็จะเป็น sum of parts --Octahedron80 (คุย) 07:17, 12 มีนาคม 2562 (ICT)
เข้าใจแล้วครับ --A.S. (คุย) 08:24, 12 มีนาคม 2562 (ICT)
zh-mw สำหรับภาษาไทย?
[แก้ไข]สวัสดีครับ เคยเขียนแม่แบบสำหรับลักษณนามไทยที่คล้าย zh-mw ในวพจน. อังกฤษไหมครับ ผมหาไม่เจอครับ ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 11:19, 12 มีนาคม 2562 (ICT)
แม่แบบ:cls ผมทำไว้เป็นแบบทั่วไป ใช้ได้ทุกภาษา --Octahedron80 (คุย) 18:03, 12 มีนาคม 2562 (ICT)
โปรดตรวจสอบที่หน้า ควย หน่อยค่ะ "ควย" เขาเรียกเป็น "อัน" หรอคะ
ป.ล. สร้างหัวข้อที่หน้านั้นไม่ได้ เพราะติดตัวกรอง เลยมาสร้างที่นี่โดยตรง ขอบคุณค่ะ
--Miwako Sato (คุย) 18:45, 16 มีนาคม 2562 (ICT)
- คำนี้ไม่มีคำลักษณนามที่ใช้เฉพาะ เนื่องจากเป็นภาษาปาก ในทางปกติสามารถใช้คำเดิมนับก็ได้ / แต่ในความเห็นผม อัน ก็น่าจะใช้ได้ ถ้าลองเทียบคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น ฉลามมีจู๋สองอัน --Octahedron80 (คุย) 20:18, 16 มีนาคม 2562 (ICT)
บอตแก้ตัวสะกดในวิกิพีเดีย
[แก้ไข]สวัสดีครับ ไม่ทราบว่าถ้าจะขอให้คุณใช้บอตแก้ตัวสะกดคำจำนวนหนึ่งในวิกิพีเดีย จะได้หรือเปล่าครับ --Potapt (คุย) 19:53, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- บอตของผมในวิกิพีเดียยังมีสถานะอยู่ สามารถใช้ได้ครับ ช่วยบอกรายละเอียดด้วยครับ --Octahedron80 (คุย) 20:29, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- บุนเดสลีกา ---> บุนเดิสลีกา
- เดเอฟเบ ---> เดเอ็ฟเบ
- ชาลเก, -เก้ ---> ชัลเคอ
- ฟรังค์ฟูร์ท ---> ฟรังค์ฟวร์ท
- เอสเซไฟรบูร์ก, เอสเซ ไฟรบูร์ก ---> เอ็สเซ ไฟรบวร์ค
- โบรุสเซียดอร์ทมุนด์, โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์, -ซีอา- ---> โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
- ดอร์ทมุนด์ ---> ดอร์ทมุนท์ bonus
- โบรุสเซียเมินเชนกลัดบัค, โบรุสเซีย เมินเชนกลัดบัค, โบรุสเซียมึนเชนกลัดบัค, โบรุสเซีย มึนเชนกลัดบัค, โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ---> โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค
- ลาลีกา ---> ลาลิกา
- ดีบีซีออน ---> ดิบิซิออน
- เอสปาญา ---> เอสปัญญา
- แอตเลติโก มาดริด, แอตเลติโกมาดริด, อัตเลตีโก-, อัตเลติโก- ---> อัตเลติโกเดมาดริด
- แอทเลติกบิลบาโอ, แอทเลติก บิลบาโอ ---> อัตเลติกเดบิลบาโอ
- เซบียา, เซบีย่า, เซบิย่า ---> เซบิยา
- เรอัล มาดริด ---> เรอัลมาดริด
- อาร์เซน่อล, อา- ---> อาร์เซนอล bonus
- บาร์เซโลน่า, บา- ---> บาร์เซโลนา
- อัสปัญญอล ---> อัสปัญญ็อล
- บียาร์เรอัล ---> บิยาร์เรอัล
- อัลเมรีอา ---> อัลเมริอา
- ซานตันเดร์ ---> ซันตันเดร์
- ราซิงซันตันเดร์, ราซิง ซันตันเดร์ ---> ราซิงเดซันตันเดร์ bonus
- เกตาเฟ, เคตาเฟ, -เฟ่ ---> เฆตาเฟ
- เดปอร์ตีโบ ---> เดปอร์ติโบ
- เดปอร์ติโบ ลา โกรุญญา ---> เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา bonus
- แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ---> แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
- แมนเชสเตอร์ ซิตี, -ซิตี้ ---> แมนเชสเตอร์ซิตี
- เลสเตอร์ ซิตี, -ซิตี้ ---> เลสเตอร์ซิตี bonus
- แอสตัน วิลลา, -ล่า ---> แอสตันวิลลา bonus
- แชมเปี้ยนส์ลีก ---> แชมเปียนส์ลีก
- ทบิลิซิ ---> ทบิลีซี
- ริยาด ---> รียาด
- บันดาร์เสรีเบกาวัน, บันดาเสรีเบกาวัน ---> บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
- อิสลามาบัด ---> อิสลามาบาด
- อูลานบาตอร์, อุลานบาตอร์ ---> อูลานบาตาร์
- ตาระวา ---> ตาราวา
- ตองกา ---> ตองงา may affect other few contexts
- นูกูอะโลฟา ---> นูกูอาโลฟา
- พริชตีนา ---> พริสตีนา affect other few contexts, op already revert
- มินสก์ ---> มินสค์
- สตอกโฮล์ม, สต๊อก-, -ค-, -โฮม ---> สต็อกโฮล์ม
- โคโซโว, คอโซโว ---> คอซอวอ
- ลีเบรอวิล ---> ลีเบรอวีล
- โกนากรี ---> โคนาครี
- ยามุสซุโกร ---> ยามูซูโกร
- เอ็นจาเมนา ---> อึนจาเมนา no result
- พอร์ตหลุยส์ ---> พอร์ตลูอิส
- นูแอกชอต ---> นูอากชอต
- อันตานานาริโว ---> อันตานานารีโว
- มันโรเวีย ---> มอนโรเวีย
- อัมบาบาเน ---> อึมบาบานี
- บราซซาวิล ---> บราซาวีล
- เซนต์ลูเซีย, เซนต์ ลูเซีย, -เชีย ---> เซนต์ลูเชีย
- โดมินิกา, -ก้า ---> ดอมินีกา affect other few contexts, op already revert
- ซันติอาโก ---> ซานเตียโก affect other few contexts, op already revert
- อะซุนซิออง ---> อาซุนซีออน no result
- บราซิเลีย ---> บราซีเลีย
- วาลลิสและฟุตูนา ---> วาลิสและฟูตูนา detect each word, affect other few contexts, op already revert
- อะวารัว ---> อาวารัว
- เกดะห์ ---> เกอดะฮ์
- เนกรีเซมบิลัน ---> เนอเกอรีเซิมบีลัน
- เประก์, เประ ---> เปรัก เประ too risky
- ซาราวะก์ ---> ซาราวัก
- ซาบาห์, -บาฮ์ ---> ซาบะฮ์ may affect other few contexts
- สเรมบัน, เซอเร็มบัน ---> เซอเริมบัน
- อีโปห์ ---> อีโปะฮ์
- กัวลาตรังกานู ---> กัวลาเตอเริงกานู
- ตรังกานู ---> เตอเริงกานู may affect other few contexts
- โกตากินะบะลู ---> โกตากีนาบาลู
- ยะโฮร์บาห์รู, ยา-, -โฮ-, -บะ-, -ฮ์- ---> โจโฮร์บะฮ์รู
- อาเจะห์ ---> อาเจะฮ์
- กาลิมันตัน ---> กาลีมันตัน
- สุลาเวสี ---> ซูลาเวซี
- ชเลสวิก, -จ ---> ชเลสวิช
- โฮลชไตน์, ฮอลชไตน์ ---> ฮ็อลชไตน์
- กอททอร์พ ---> ก็อททอร์พ bonus
- ซาร์ลันด์ ---> ซาร์ลันท์
- เทือริงเงิน ---> ทือริงเงิน
- นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน ---> นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน detect each word
- บรันเดนบูร์ก ---> บรันเดินบวร์ค
- เวือร์ทเทมแบร์ก ---> เวือร์ทเทิมแบร์ค
- เมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น, เมคเคลนบูร์ก-, เม็กเคลนบวร์ก-, แมคเคลนบูร์ก ---> เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น detect each word
- ไรน์ลันด์-พฟัลซ์, -พฟาลซ์ ---> ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ detect each word
- ฮัมบูร์ก ---> ฮัมบวร์ค
- เฮสเซิน ---> เฮ็สเซิน
- มักเดบูร์ก ---> มัคเดอบวร์ค
- แอร์ฟูร์ท ---> แอร์ฟวร์ท
- ฮันโนเวอร์ ---> ฮันโนเฟอร์
- พอทสดัม ---> พ็อทซ์ดัม
- ชเวริน ---> ชเวรีน may affect other few contexts
- ไมนซ์ ---> ไมนทซ์
- มิวนิค ---> มิวนิก affect other few contexts, wp user already revert
- บาเยิร์น มิวนิค, -นิก, -เยิน- ---> บาเยิร์นมิวนิก bonus
- อัพเพนเซลล์ ---> อัพเพินท์เซลล์
- ชาฟฟ์เฮาเซิน ---> ชัฟเฮาเซิน
- ซูริก, ซูริค ---> ซือริช
- โซโลทูร์น ---> โซโลทวร์น no result
- ทีชีโน ---> ตีชีโน
- ทูร์เกา ---> ทัวร์เกา
- บาเซิล-ลันด์ชาฟท์ ---> บาเซิล-ลันท์ชัฟท์ no result
- ทิโรล ---> ทีโรล
- สติเรีย ---> สตีเรีย
- โลว์เออร์ออสเตรีย ---> โลเวอร์ออสเตรีย
- กัมปาเนีย ---> คัมปาเนีย
- กาลาเบรีย ---> คาลาเบรีย may affect other few contexts
- กาตันซาโร ---> คาตันซาโร
- บาซีลีกาตา ---> บาซีลีคาตา
- ปีเอมอนเต ---> ปีเยมอนเต
- ปูลยา ---> ปุลยา
- มาร์เก ---> มาร์เค
- ลาซีโอ ---> ลัตซีโย
- ลิกูเรีย ---> ลีกูเรีย
- กาลยารี ---> คัลยารี
- ตรีเอสเต ---> ตรีเยสเต
- ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย ---> ฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย too risky to detect each word
- ลาโกรูญา ---> ลาโกรุญญา
- อาโกรูญา ---> อาโกรุญญา bonus
- อันดาลูเซีย, -ซีอา ---> อันดาลูซิอา
- เอกซ์เตรมาดูรา ---> เอซเตรมาดูรา
- มอเรเลีย ---> โมเรเลีย affect other few contexts, op already revert
- มอเรโลส ---> โมเรโลส
- เวรากรูซ, -กรุซ ---> เบรากรุซ
- วียาเอร์โมซา ---> บียาเอร์โมซา no result
- ฟัลกอง ---> ฟัลกอน no result
- เทกซัส ---> เท็กซัส may affect other few contexts
--Potapt (คุย) 20:57, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)
- ผมคิดว่าบางรายการน่าจะมีปัญหากับบางส่วนของคำไทยที่สะกดเหมือนกัน ที่ผมเห็นอันนึงอย่างเช่น มาร์เก ที่อาจจะมาจาก มาร์เก็ต ก็ได้ และการเปลี่ยนคำนี้ใช้ผลลัพธ์จากการค้นหา ซึ่งอาจจะมีบางหน้าเป็นส่วนน้อยหลุดรอดไปก็ได้ จึงบอกให้ทราบไว้ครับ --Octahedron80 (คุย) 21:12, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)
ขอรบกวนเพิ่มหน่อยครับ
- โกปาลีเบร์ตาโดเรส, โกปา ลีเบร์ตาโดเรส ---> โกปาลิเบร์ตาโดเรส
- โคปาอเมริกา เซนเตนาริโอ ---> โกปาอาเมริกาเซนเตนาริโอ
- โคปาอเมริกา, โคปา อเมริกา ---> โกปาอาเมริกา
- ละตินอเมริกา ---> ลาตินอเมริกา
- คอนเมบอล ---> กอนเมโบล
- เบงกาลี ---> เบงกอล
ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 00:15, 26 กรกฎาคม 2562 (+07)
CheckUser
[แก้ไข]สวัสดีครับ ขณะนี้ที่วิกิพีเดียภาษาไทยมีการอภิปรายเกี่ยวกับปรับแก้นโยบายการคัดเลือกและการถอดถอนผู้ตรวจสอบผู้ใช้ให้ดำเนินการผ่านชุมชนได้โดยไม่ต้องอาศัย คอต. ผมและผู้ใช้ท่านอื่นเห็นว่าคุณ Octahedron80 เคยเป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้มาก่อนและมีความเหมาะสม ไม่ทราบว่ายังสนใจที่จะกลับมาเป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้หรือไม่ครับ --Geonuch (คุย) 09:35, 17 กรกฎาคม 2562 (ICT)
collapsible template
[แก้ไข]สวัสดีครับ พอจะทราบสาเหตุหรือพอจะสืบให้ทราบได้ไหมครับว่าทำไมแม่แบบ collapsible บางอันถึงแสดงผลผิดพลาด โดยไม่สามารถคลิกแสดงหรือซ่อนได้ เป็นกับแม่แบบตารางผันคำแทบทุกภาษา (เช่นในหน้า den) แต่บางแม่แบบก็ไม่ได้รับผลกระทบเช่นแม่แบบคำแปลภาษาอื่นในหน้า หนังสือพิมพ์ หรือ มนุสฺส ข้อสังเกตที่ทำให้ผมงง เช่น แม่แบบ:de-decl-pronoun แสดงผลไม่ได้ในหน้าคำศัพท์ den แต่กลับแสดงผลได้ปกติในหน้าแม่แบบของมันเอง --Ponpan (คุย) 05:45, 8 สิงหาคม 2562 (+07)
ผมเห็นมาสักพักนึงแล้ว ตั้งแต่ไปใช้ Gadget ขนาดก๊อปปี้โค้ดมาเหมือนเป๊ะในทุก ๆ หน้า ก็ยังเป็นอยู่ ดังนั้นผมคิดว่า สาเหตุน่าจะเป็นที่ไลบรารีเก่ายังไม่ได้อัปเดต ซึ่งผมไม่สามารถไปแก้ไขตรงนั้นได้ครับ --Octahedron80 (คุย) 07:18, 8 สิงหาคม 2562 (ICT)
ผมแก้ไขเป็นเวอร์ชันของเราเองแล้วครับ ซึ่งน่าจะใช้ได้ --Octahedron80 (คุย) 10:24, 8 สิงหาคม 2562 (+07)
- ใช้ได้แล้วครับ ขอบคุณครับที่หาหนทางแก้ไขทำให้ทำงานสะดวกขึ้นมากจริงๆ --Ponpan (คุย) 03:15, 9 สิงหาคม 2562 (+07)
Delete and create rather than move?
[แก้ไข]I see you just deleted Parenting and created parenting. Why did you not move the page to the new title without creating a redirect (or just delete the redirect after the move was finished), in order to preserve the edit history of the original page? - dcljr (คุย) 10:32, 5 กันยายน 2562 (ICT)
- The page was created by an IP and not well-formed. I see no advantage to keep unidentified credit on IP. (I could move if it was created by a registered user.) --Octahedron80 (คุย) 10:37, 5 กันยายน 2562 (ICT)
- Despite the poor formatting, was the content you placed at parenting substantially the same as that formerly at Parenting? If so, then your use of that text, uncredited, at parenting would, I believe, still constitute a violation of licensing terms. CC BY-SA 3.0 makes no distinction between logged-in users and logged-out users when it comes to authorship. I would recommend undeleting Parenting, moving it to parenting, then updating the page back to its present form (and doing the same for any other pages you have deleted and recreated in the same way). If you would like a second opinion about this, perhaps you could ask at, say, m:Wikimedia Forum. - dcljr (คุย) 14:31, 5 กันยายน 2562 (ICT)
- The content was not absolutely the same . If you want to see, the IP just wrote only this line:
- Despite the poor formatting, was the content you placed at parenting substantially the same as that formerly at Parenting? If so, then your use of that text, uncredited, at parenting would, I believe, still constitute a violation of licensing terms. CC BY-SA 3.0 makes no distinction between logged-in users and logged-out users when it comes to authorship. I would recommend undeleting Parenting, moving it to parenting, then updating the page back to its present form (and doing the same for any other pages you have deleted and recreated in the same way). If you would like a second opinion about this, perhaps you could ask at, say, m:Wikimedia Forum. - dcljr (คุย) 14:31, 5 กันยายน 2562 (ICT)
(N.) การเลี้ยงดู
- This one word should have not deserved any license. However, I already undeleted it. I have no more comment. --Octahedron80 (คุย) 14:39, 5 กันยายน 2562 (ICT)
- Oh, OK. Thank you for the information. (But your final remark, "I have no more comment.", was, I think, a misguided attempt to drop the mic.) - dcljr (คุย) 15:18, 5 กันยายน 2562 (ICT)
- This one word should have not deserved any license. However, I already undeleted it. I have no more comment. --Octahedron80 (คุย) 14:39, 5 กันยายน 2562 (ICT)
Community Insights Survey
[แก้ไข]Share your experience in this survey
Hi Octahedron80/กรุ 3,
The Wikimedia Foundation is asking for your feedback in a survey about your experience with Wiktionary and Wikimedia. The purpose of this survey is to learn how well the Foundation is supporting your work on wiki and how we can change or improve things in the future. The opinions you share will directly affect the current and future work of the Wikimedia Foundation.
Please take 15 to 25 minutes to give your feedback through this survey. It is available in various languages.
This survey is hosted by a third-party and governed by this privacy statement (in English).
Find more information about this project. Email us if you have any questions, or if you don't want to receive future messages about taking this survey.
Sincerely,
RMaung (WMF) 21:34, 9 กันยายน 2562 (+07)
Reminder: Community Insights Survey
[แก้ไข]Share your experience in this survey
Hi Octahedron80/กรุ 3,
A couple of weeks ago, we invited you to take the Community Insights Survey. It is the Wikimedia Foundation’s annual survey of our global communities. We want to learn how well we support your work on wiki. We are 10% towards our goal for participation. If you have not already taken the survey, you can help us reach our goal! Your voice matters to us.
Please take 15 to 25 minutes to give your feedback through this survey. It is available in various languages.
This survey is hosted by a third-party and governed by this privacy statement (in English).
Find more information about this project. Email us if you have any questions, or if you don't want to receive future messages about taking this survey.
Sincerely,
RMaung (WMF) 02:14, 21 กันยายน 2562 (+07)
Thai word segmentation?
[แก้ไข]สวัสดีครับ ทราบไหมครับว่ามีเว็บไหนแบ่งคำไทยได้เหมือน http://www.sansarn.com/tlex/ ขอบคุณครับ
--A.S. (คุย) 04:08, 13 ธันวาคม 2562 (+07)
นอกจาก http://www.sansarn.com/tlex/ กับ http://www.sansarn.com/lexto/ ก็ไม่มีที่อื่นอีกแล้วครับ สองอันนี้เป็นผลผลิตจากวิทยานิพนธ์ --Octahedron80 (คุย) 07:26, 13 ธันวาคม 2562 (+07)
- ขอบคุณครับ
--A.S. (คุย) 07:31, 13 ธันวาคม 2562 (+07)
- ขอบคุณครับ
doublet = คำซ้อน หรือ คำคู่?
[แก้ไข]ผมว่าแม่แบบ doublet น่าจะใช้คำบัญญัติครับ คำว่า doublet ควรแปลว่า "คำซ้อน" หรือ "คำคู่" ดีครับ บทความนี้บอกว่าใช้ "คำซ้อน" เขียนว่าภาษาเขมรยืมคำว่า "ช่วย" จากไทย ซึ่งเป็นคำที่ไทยยืมจากเขมรอีกที บทความเขียนด้วยว่าเป็นศัพท์บัญญติ แต่เว็บศัพท์บัญญัติกลับเขียนว่า doublet คือ "คำคู่" สรุปใช้คำไหนดีครับ ผมหาคำตอบจากวิทยานิพนธ์ต่าง ๆ แต่พบว่า "คำซ้อน" กับ "คำคู่" มีการใช้แล้ว แต่ไม่ได้ใช้เหมือน doublet ในภาษาอังกฤษครับ
--A.S. (คุย) 08:14, 25 ธันวาคม 2562 (+07)
- "คำซ้อน" ไม่สามารถใช้ได้ครับ คำซ้อน ที่สอนกันในโรงเรียน คือ [1] ถ้าเขียนลงไปจะสร้างความสับสนให้คนอ่าน
- "คำคู่" ผมไม่เคยเห็น แต่ผมเคยใช้คำว่า "คู่ศัพท์" แทนคำว่า counterpart male/female term ซึ่งมีในบางภาษา
- doublet ตามนิยามคือ คำสองคำ (หรือมากกว่า) ในภาษาหนึ่ง ๆ ที่มีความหมายต่างกัน (เกือบสิ้นเชิง) แต่มีรากมาจากคำเดียวกัน เช่น bandana กับ bind ซึ่งมาจาก PIE *bʰendʰ- ดังนั้นถ้าจะให้บัญญัติเอง ผมน่าจะใช้คำว่า "ศัพท์รากร่วม" ซึ่งก็จะเหมือนกับ ร่วมเชื้อสาย แต่เป็นเฉพาะภาษาเดียวกัน
--Octahedron80 (คุย) 14:09, 25 ธันวาคม 2562 (+07)
- "คำคู่" ที่ผมเห็นในวิทยานิพนธ์คือ collocate เช่น "มุ" มักคู่กับ "มานะ" เป็น "มุมานะ" "คำร่วมราก" ฟังดูดีกว่าไหมครับ ใช้ "คำ" จะได้เหมือน "คำซ้อน" "คำคู่" ฯลฯ ใช้ "ร่วม" ก่อน "ราก" จะได้เหมือนศัพท์บัญญัติอื่น เช่น "ร่วมสมัย", "ความร่วมรู้สึก", "รักร่วมเพศ" ฯลฯ
--A.S. (คุย) 23:38, 25 ธันวาคม 2562 (+07)
- ร่วมราก ก็ได้ครับ ในหมวดหมู่อัตโนมัติ ผมจะใช้คำว่า ศัพท์ (ศัพท์...ที่ร่วมราก) อย่างเช่น ศัพท์ภาษาไทยที่ร่วมราก เราไม่สามารถเขียนว่า คำ/ศัพท์ร่วมรากภาษาไทย เพราะมันกำกวม --Octahedron80 (คุย) 13:14, 26 ธันวาคม 2562 (+07)
- ครับ อีกอย่างหนึ่ง การยืมกลับคือวิธีหนึ่งที่ทำ doublet เกิดขึ้นได้ครับ ทบทวนการยืมกลับได้ที่นี่ครับ
- --A.S. (คุย) 01:26, 27 ธันวาคม 2562 (+07)
- ร่วมราก ก็ได้ครับ ในหมวดหมู่อัตโนมัติ ผมจะใช้คำว่า ศัพท์ (ศัพท์...ที่ร่วมราก) อย่างเช่น ศัพท์ภาษาไทยที่ร่วมราก เราไม่สามารถเขียนว่า คำ/ศัพท์ร่วมรากภาษาไทย เพราะมันกำกวม --Octahedron80 (คุย) 13:14, 26 ธันวาคม 2562 (+07)
Buggy translation coding?
[แก้ไข]I couldn't add words like Luxembourgish Eil, even though I managed to add Eule. What's going on here?--Apisite (คุย) 10:00, 18 กุมภาพันธ์ 2563 (+07)
- Sorry for inconvenience. Code here is adapted from English Wiktionary and needs translation. The translation may also interrupt logic
theirselvesof the code. I have tried to update often. --Octahedron80 (คุย) 07:36, 18 มีนาคม 2563 (+07)
- Belated thanks. --Apisite (คุย) 13:07, 9 เมษายน 2563 (+07)
ไทเขิน ไม้ซัดหรือไม้โท?
[แก้ไข]สวัสดีครับ คำเขินที่ใช้ไม้โท เขียนแบบไหนดีครับ ตามเว็บ http://www.kengtung.org/ กับพจนานุกรมไทเขิน (เคย) โหลดได้จากเว็บนี้ ใช้ไม้ซัดแทนไม้โท ขอบคุณครับ --A.S. (คุย) 06:16, 18 มีนาคม 2563 (+07)
ควรจะใช้ไม้โทครับ ถ้าใช้ไม้ซัดซ้ำสองครั้ง เช่นใน ᨡᩮᩢ᩶ᩣ มันก็น่าจะผิดครับ เมื่อก่อนรูปไม้ซัดกับไม้โทเป็นขีดเหมือนกัน แต่เวลาอยู่ในคอมพิวเตอร์ (ยูนิโคด) ต้องแยก เพื่อให้ถูกต้อง --Octahedron80 (คุย) 07:30, 18 มีนาคม 2563 (+07)
- ขอบคุณครับ ทีแรกก็คิดอย่างนั้นเหมือนกันครับ แต่ไม่แน่ใจ --A.S. (คุย) 07:46, 18 มีนาคม 2563 (+07)
เผชิญหน้า
[แก้ไข]สวัสดีครับ เผชิญ เป็น sesquisyllable พยางค์แรกเป็นพยางค์ reduced ทำไมถึงไม่ใช้ ผ̄ะ แล้วครับ --A.S. (คุย) 10:02, 14 เมษายน 2563 (+07)
เผอิญว่าการตรวจจับคำพ้องเสียง ใช้พื้นฐานจากการสะกดออกเสียงแบบชัดถ้อยชัดคำครับ ดังนั้นไฟล์เสียงก็ต้องใช้แบบนั้นด้วย // ส่วนเสียงกร่อนวรรณยุกต์นั้น เดิมทีจะให้แยกเป็นอีกเสียงนึงต่างหาก เช่น พยางค์ ก็เขียนว่า พะ-ยาง และ พ̄ะ-ยาง แต่ว่ามันมีเยอะมาก เลยไม่ค่อยได้ใส่+มันจะทำให้รกรุงรังหรือไม่ --Octahedron80 (คุย) 10:09, 14 เมษายน 2563 (+07)
- อ๋อครับ เข้าใจแล้วครับ นอกจากนี้ ตามหลักการทางสัทวิทยาที่ผมคุ้นเคยแล้ว ถ้าการออกเสียงมัน predictable ก็อาจไม่จำเป็นต้องเติมรายละเอียดมากกว่าจำเป็นใน underlying representation (ข้อมูลระหว่าง / /) ดังนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ macron ก็ได้ครับ --A.S. (คุย) 10:15, 14 เมษายน 2563 (+07)
การออกเสียง หนองบัวระเหว
[แก้ไข]สวัสดึครับ รบกวนตรวจสอบการออกเสียงในหน้า หนองบัวระเหว ด้วยครับ ในหน้านั้นออกเสียงพยางค์ท้ายเป็น เหว ซึ่งน่าจะออกเสียงเป็น เหฺว มากกว่าครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ --Siam2019 (คุย) 22:11, 27 เมษายน 2563 (+07)
แก้ไขแล้ว --Octahedron80 (คุย) 01:18, 28 เมษายน 2563 (+07)
ภาษาไหล
[แก้ไข]ผมไปเจอ นี่ มาครับ (จากหน้า en:nam³ ในส่วนภาษา Cun) ซึ่งมันมีรายการคำต่าง ๆ ในภาษาในกลุ่มไหลอยู่ เท่าที่ผมเจอโค้ดภาษาของภาษาข้างในงานคือ Cun โค้ด cuq กับ Jiamao โค้ด jio (ชื่อไทยคือจุนกับเจียมาวตาม w:แม่แบบ:ภาษาไทกะได) ส่วนภาษาไหลรวมคือ lic ซึ่งคงไม่ได้เพิ่มลงเพราะมีหลายภาษาอยู่ข้างใน ผมเอาคำพวกนั้นมาใส่วิกิพจนานุกรมได้มั้ยครับ --ZilentFyld (คุย) 10:50, 23 พฤษภาคม 2563 (+07)
- ตามที่ตรวจในวิกิพีเดีย มีสองรหัสคือ ไหล (lic) กับ จุน (cuq) ส่วน เจียมาว (jio) เป็นอีกภาษาหนึ่งแยกออกไปแล้ว ทุกภาษาจึงน่าจะเขียนให้แยกออกจากกันได้ แต่กลุ่มภาษาไหลเป็นภาษาพูดที่ไม่มีตัวเขียน (เวลาสื่อสารกับภายนอกจะใช้ภาษาจีน) เมื่อไม่มีตัวเขียนก็ต้องแสดงด้วย IPA ซึ่งอาจมีหลายแบบมากไปตามพื้นถิ่นสำเนียง จะทำให้มีปัญหาเวลาตั้งชื่อหน้า (คำหลัก) ดังนั้นควรพิจารณาว่า คำไหนเป็นสำเนียงหลักหรือมาตรฐาน แล้วเอาคำนั้นมาตั้งเป็นหน้า --Octahedron80 (คุย) 09:54, 24 พฤษภาคม 2563 (+07)
- เจียมาว ลอกจากนี้มาเลยก็ได้ en:Appendix:Jiamao vocabulary lists ใช้ของ Norquest เพราะใหม่ที่สุด (คนเขียนนิพนธ์ที่คุณยกมา) ระวังเรื่อง colon ด้วย เราต้องใช้ IPA colon ไม่ใช่ common colon --Octahedron80 (คุย) 09:59, 24 พฤษภาคม 2563 (+07)
- ผมไปโหลดของ Norquest จากที่ไหนที่หนึ่งมา (ที่โหลดบทความได้ฟรีแบบผิดกฎหมาย ผมขอโทษครับแต่ผมไม่มีเงิน) มันมีเขียนว่าภาคผนวกสามารถดู online ได้ที่ https://figshare.com/articles/Appendix_to_A_Phonological_Reconstruction_of_Proto_Hlai/1512402 ครับ ซึงมีทั้งภาษาเจียมาวและชุนอยู่ ผมขอนำของภาษาจุนเข้าในวิกิพจนานุกรมนะครับ --ZilentFyld (คุย) 14:05, 24 พฤษภาคม 2563 (+07)
สารบัญ
[แก้ไข]บางหน้าที่มีภาษาจำนวนมาก (อย่างเช่น dag หรือตัวอย่าง en:a ที่ยาวจนเมมไม่พอ ในภาษาอังกฤษ) จะยากต่อการไล่ดูความหมายแต่ละภาษาครับ เพราะตัวสารบัญจะยาวและมีหลายภาษา การหาดูภาษาที่เรียงเป็นอันดับท้าย ๆ จะต้องเลื่อนหลายครั้ง ผมเลยลองไปดูที่ภาษาคาตาลัน ca:a เขาจะทำการย่อสารบัญของแต่ละภาษาให้เป็นบันทัดเดียวครับ ผมเลยคิดว่าทำอย่างนั้นในภาษาไทยโดยอาจจะใส่เข้า common.css เลยหรือทำเป็น gadget ไว้เผื่อเปิดจะดีกว่ามั้ย ส่วนโค้ดเท่าที่หามาก็ประมาณนี้ครับ
/*************************/ /* Style des articles */ /*************************/ /* Suppression des numéros dans le sommaire */ .ns-0 .toclevel-2 span.tocnumber, .ns-0 .toclevel-3 span.tocnumber {display:none;} /* Raccourcit les sommaires (TOC : table of contents) */ .ns-0 #toc li.toclevel-1 ul { display: inline; margin: 0; } .ns-0 #toc li.toclevel-2 { display: inline; margin-left:0.5em; } .ns-0 #toc li.toclevel-2:before { content:"—"; margin-right:0.5em; } .ns-0 #toc li.toclevel-3 { display: inline; font-size: 85%; margin-left: 0.1em; } .ns-0 #toc li.toclevel-3:before { content:"·"; margin-right:0.1em; } .ns-0 #toc li.toclevel-3 ul { display: none; }
--ZilentFyld (คุย) 15:30, 26 พฤษภาคม 2563 (+07)
ผมลองเอาไปใส่แล้วพบว่าได้ผลดี ประหยัดเนื้อที่หน้าจอได้มาก --Octahedron80 (คุย) 20:33, 1 มิถุนายน 2563 (+07)
zh-hanzi
[แก้ไข]ผมจำได้ว่าเคยถามรอบนึงแล้วแต่ผมอยู่ดี ๆ มีความคิดใหม่ครับ ซึ่งผมคิดว่า:
- มันจำเป็นต้องแยกมั้ย เนื่องจาก zh-pron ใส่หมวดหมู่ให้แล้ว
- ถ้าแยกเป็นคำพวกนั้นเป็นคำนาม กริยา คุณศัพท์ พวกนี้จะเป็นความคิดที่ดีมั้ย ในเมื่อบางคำใช้ข้าม pos ได้ เช่นในภาษาไทย เหล็ก อาจแปลได้ทั้งตัวเหล็กเอง หรือทำด้วยเหล็ก เช่น ช้อนเหล็ก ถ้าทำอย่างนั้นจะทำให้การใช้คำแปล "เหล็ก" ระบุทั้งสอง pos อยู่แล้ว
- ในภาษาอังกฤษ ไม่ได้ใช้ zh-hanzi กับทุกคำ คำประสมใช้ zh-pos ตามปรกติ อย่างกับเค้าต้องการให้มันแสดงความหมายเฉพาะตัวอักขระ
- บางคำเป็นแค่หนึ่งในอักขระของคำประสมที่มีความหมายเหมือนคำประสม แต่คนทั่วไปไม่ใช้กัน ลองคิดถึงคำว่า ประตู แต่ ตู ที่ว่าใช้ประกอบในคำอื่นด้วย (ซึ่งผมคิดไม่ออกในภาษาไทยครับ) คนมักไม่ใช้คำว่า ตู เดี่ยว ๆ ยกเว้นในภาษาเก่า (ซึ่งบางอักขระเมื่อก่อนอาจไม่ใช้ด้วย) ถ้าเราแยกเป็นคำนามจะดีไหม แต่ถ้าแยกจริงจะใส่ dated ไม่ได้เนื่องจากคำนี้ใช้กับคำอื่น (นอกจากประตู) ที่ทำให้มันมีความหมายในปัจจุบันด้วย การใส่ข้อมูลแค่ความหมายของอักขระจะแก้ปัญหาพวกนี้
- ผมขี้เกียจแยกครับ
- ตัวอย่างจากญี่ปุ่น เค้าจะเอาความหมายของคันจิใส่ใต้ === คันจิ === ซึ่งในภาษาจีนไม่มีแยก ผมคิดว่าถ้าแยกจะเปลืองเวลาเปล่า
ผมเลยมาขอความคิดเห็นว่าถ้าไปใช้ zh-hanzi เหมือนกับอังกฤษจะดีกว่ามั้ยครับ --ZilentFyld (คุย) 00:33, 16 กันยายน 2563 (+07)
- ก็ต้องแยกอยู่ดีครับ จีนสมัยโบราณนั้นไม่มีแนวคิดเรื่องการแยกประเภทของคำ เพราะหนึ่งคำแทนได้ทุกอย่าง วางตรงไหนก็ได้ แต่ปัจจุบันเราต้องแยกและมีตัวอย่างการใช้ ถึงจะรู้ว่าเป็นคำประเภทไหน
- คำบางคำอาจจะทำได้หลายหน้าที่ เช่น เหล็ก (วัสดุ) โดยพื้นฐานแล้วต้องเป็นคำนาม มันจะไม่เป็นคำวิเศษณ์ (คุณศัพท์) เพราะคำนามสามารถขยายคำนามด้วยกันได้อยู่แล้ว สามารถดูประเภทได้จากพจนานุกรมฉบับเล่ม บางทีวิธีการใช้คำที่เราใช้กันอยู่อาจจะผิดก็ได้
- ผมแนะนำให้แยกทั้งหมดไม่เป็นการเลือกครับ ซึ่งมันดีกับคนอ่านขาจรด้วย คนอ่านเขาไม่รู้หรอกว่าอันไหนนามหรือกริยาหรืออื่น ๆ หากไม่เขียนเอาไว้
- กรณีประตูและตู ก็สามารถมีหน้าได้ทั้งสอง (ที่จริงคือ จะมีกี่รูป ก็สร้างได้หมด) ปัจจุบันไม่ใช้ตูแล้วก็ต้องใส่แท็กโบราณ ส่วนประตูก็ต้องอธิบายว่ามันมาได้อย่างไร (เขียนให้แล้ว) แท็กนั้นเอาไว้ติดกับคำนั้นคำเดียว เพราะมันจะถูกนำไปจัดหมวหมู่ ไม่ส่งผลกระทบถึงคำประสมหรือคำสืบทอดอื่น ๆ ตัวอย่างหนึ่งที่คล้ายกันเช่น มะม่วง ซึ่งมาจากหมากม่วง และม่วง เป็นคำโบราณ แต่มะม่วงก็ไม่ได้โบราณไปด้วย
- คันจิภาษาญี่ปุ่นถ้าดูเยอะอีกหน่อย จะพบว่าพวกคำที่เขียนดี ๆ นั้นแยกประเภทกันหมดครับ แต่เนื่องจากภาษาญี่ปุ่นมีคำเยอะกว่าภาษาจีนหลายเท่า จึงไม่มีคนเพียงพอไปปรับปรุง (คนที่ใส่ข้อมูลเข้ามาตอนแรกคือบอต)
--Octahedron80 (คุย) 09:45, 16 กันยายน 2563 (+07)
ปล. ถ้าไม่อยากแยกภาษาจีน ก็เขียนภาษาอื่น ๆ ไปก็ได้
โปรดตรวจสอบอีเมลของคุณ!
[แก้ไข]สวัสดี Octahedron80/กรุ 3: โปรดตรวจสอบอีเมลของคุณ! เรื่อง: "The Community Insights survey is coming!" หากคุณมีคำถามใด ๆ โปรดส่งอีเมลไปที่ surveys@wikimedia.org.
(English: Please check your email and spam! Subject is "The Community Insights survey is coming!" If you have questions, email surveys@wikimedia.org.)
Sorry for the inconvenience, you can read my explanation here.
MediaWiki message delivery (คุย) 00:18, 26 กันยายน 2563 (+07)
Catalan
[แก้ไข]ผมเห็นในวิกิพีเดียใช้ชื่อกาตาลา เปลี่ยนจากคาตาลันเป็นกาตาลาดีมั้ยครับ --ZilentFyld (คุย) 13:32, 3 พฤศจิกายน 2563 (+07)
ผมเห็นคุณ Potapt เปลี่ยนชื่อ (ซึ่งส่วนใหญ่ผมก็เห็นด้วย) คำในภาษาตัวเอง (autonym) เรียกว่า Català ในขณะที่ Catalan เป็นคำอังกฤษ ซึ่งเชื่อว่ามาจาก Catalunya / Catalonia ผมก็สงสัยว่าควรจะใช้ชื่ออะไรดี ผมคิดว่าเปลี่ยนตามวิกิพีเดียก็ได้ครับ แต่ก็ไม่ใช่ทุกภาษาที่เป็นแบบนี้ บางทีผมก็เปลี่ยนวิกิพีเดียให้ตรงกับเรา --Octahedron80 (คุย) 14:12, 3 พฤศจิกายน 2563 (+07)
ถ้าว่างจะทำให้ครับ ตอนนี้ยังไม่ว่าง เพราะหมวดหมู่มีมาก --Octahedron80 (คุย) 14:17, 23 พฤศจิกายน 2563 (+07)