จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
 | มอดูลกำลังปรับปรุงอยู่ ถ้าคุณเห็น error จำนวนมาก ไม่ต้องตกใจ |
{{t}}-3
|
ผู้ใช้นี้สามารถเขียนแม่แบบวิกิได้ในระดับสูง สามารถเขียนโค้ดที่ซับซ้อนได้
|
JS-3
|
ผู้ใช้นี้สามารถเขียนจาวาสคริปต์ได้ในระดับสูง สามารถเขียนโค้ดที่ซับซ้อนได้
|
lua-3
|
ผู้ใช้นี้สามารถเขียนภาษาลูอาได้ในระดับสูง สามารถเขียนโค้ดที่ซับซ้อนได้
|
Python-2
|
ผู้ใช้นี้สามารถเขียนภาษาไพทอนได้ในระดับปานกลาง สามารถเข้าใจโค้ดที่คนอื่นเขียนได้
|
|
UTC+7
|
ผู้ใช้นี้อยู่ในเขตเวลา UTC+7
|
- 🏠 วิกิพีเดียภาษาไทย และวิกิพจนานุกรมภาษาไทย
- 🇹🇭 ประเทศไทย
- 🎓 วท.บ. (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) และ บธ.บ. (การตลาด)
- 🤖 ผู้ใช้:OctraBot (บางครั้งใช้บัญชี Octahedron80 เก็บกวาดถ้าไม่เยอะมาก)
- 😅 ขออภัยหากข้าพเจ้าแก้ไขหน้าใดหน้าหนึ่งมากครั้งเกินไป
- 😵 ข้าพเจ้าทำงานกับหลายภาษาที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย
อื่น ๆ สำหรับทดสอบ[แก้ไข]
สถานะโครงการ[แก้ไข]
- มีมาตรฐานรูปแบบการเขียนแล้ว แต่บางครั้งต้องสร้างแม่แบบของภาษาต่าง ๆ ขึ้นมาเฉพาะ เพราะไวยากรณ์ต่างกัน รูปแบบการเขียนของคำเก่า ๆ ต้องทยอยปรับปรุงไปเรื่อย ๆ
- หน้าที่ต้องการเก็บกวาดให้เป็นมาตรฐานมีจำนวนมาก เพราะคนเก่า ๆ สร้างไว้นานแล้ว
- ผู้ใช้กระตือรือร้นมีน้อย ผู้ดูแลนั่งตบยุง ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดมติส่วนใหญ่ของโครงการได้ เท่าที่นับได้มีประมาณ 10 คน ต้องใช้วิธีลงคะแนนเสียง
- ลิงก์ข้ามภาษาในหน้าคำศัพท์ไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไป เพราะส่วนขยาย Cognate เชื่อมโยงกันโดยอัตโนมัติ (บางหน้ายังจำเป็น เช่นภาษามือ คำยาวมาก หรือคำที่มีตัวอักษรที่ใช้ตั้งชื่อไม่ได้)
- หน้าอื่นนอกเหนือจากคำศัพท์ เช่นหมวดหมู่หรือเนมสเปซเฉพาะกิจ เชื่อมโยงถึงกันได้ในวิกิสนเทศ แต่ต้องเพิ่มด้วยตัวเอง
- มอดูล คือการใช้ภาษาลูอาทำงานร่วมกับโครงการวิกิ ซึ่งยืดหยุ่นกว่าแม่แบบมาก ส่วนมากใช้มอดูลของวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษเป็นต้นแบบ
- หมวดหมู่เริ่มที่จะเป็นระเบียบมากขึ้น แต่บางอย่างก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในโครงการนี้ ต้องดัดแปลงหรือตัดออก
- มอดูลภาษา เช่น ชื่อภาษา การถอดอักษร การเรียงลำดับ ตระกูล/กลุ่ม บรรพบุรุษ ฯลฯ ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงบ่อย
- มีมอดูลถอดอักษร และถอดการออกเสียงเป็น IPA มากขึ้น ผู้ใช้ทั่วไปไม่ต้องเขียนเองให้ลำบาก (แต่บางภาษาก็ยากเกินไป ทำไม่ได้จริง ๆ)
ช่วยกันหน่อย[แก้ไข]
- จำนวนคำในภาษาหนึ่งมีเป็นแสน ๆ ถ้าเขียนวันละคำชาตินี้ก็ไม่เสร็จ ดังนั้นควรเขียนวันละไม่ต่ำกว่า 100 คำ
- คำสั้นมักจะมีหลายภาษารวมกันอยู่มาก ทำให้ขี้เกียจแปลและจัดเรียง ถ้าเริ่มต้นสร้างคำยาวก่อน มีภาษาน้อย อาจจะทำได้เร็วกว่า
- ข้อความแจ้งเตือนข้อผิดพลาด และเอกสารกำกับ ของแม่แบบและมอดูล ไม่ต้องแปลก็ได้
- หมวดหมู่ที่ต้องการ บางหมวดหมู่มีไว้เพื่อติดตามงานเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นมา
- ส่วนหนึ่งของชื่อภาษา
- Middle = กลาง; Central = ตอนกลาง (ยกเว้น Mandarin = จีนกลาง; Middle Chinese = จีนยุคกลาง)
- Old = เก่า; Ancient = โบราณ (เท่าที่เห็นมี Ancient Greek = กรีกโบราณ เท่านั้น)
- dialect/minor language ที่ขยายชื่อภาษา ใช้คำว่า "แบบ" เพราะบางครั้งไม่ได้อ้างถึงประเทศหรือเมือง
- ชนิดของคำที่อาจสร้างความสับสน
- acronym = อักษรอ่านย่อ (คำที่เอาอักษรตัวหน้ามาและอ่านรวมกัน เช่น UNESCO, OPEC, NASA ฯลฯ; ใช้แทนศัพท์บัญญัติว่า รัสพจน์ ซึ่งคนทั่วไปไม่รู้จัก)
- initialism = อักษรย่อ (คำที่เอาอักษรตัวหน้ามาแต่ไม่อ่านรวม; ภาษาไทยส่วนมากเป็นอันนี้)
- clipping = คำตัดทอน (คำยาวที่ถูกตัดเป็นคำสั้นลง)
- abbreviation = คำย่อ (คำที่ไม่ใช่ทั้งหมดด้านบน เช่น isn't l'more je t'aime)
- shortening = การย่อ (หมวดหมู่ใหญ่ที่คลุมทั้งหมดด้านบน)
- PSWT ก่อนหน้านี้อิงกับระบบของ Li อย่างเดียว ภายหลังพบว่า ก็ยังมีของอีกหลายคนที่เกิดขึ้นทีหลังอย่างเช่น Jonsson และต่อมา Pittayaporn ปรับปรุงระบบทั้งหมดนั่นใหม่ จึงควรเปลี่ยนไปใช้ระบบ Pittayaporn ทั้งหมด เพื่อที่จะนำไปใส่เนมสเปซ การสืบสร้าง (Reconstruction) ขณะนี้ก็ยังมีระบบ Li ตกค้างอยู่หลายหน้า ส่วนวรรณยุกต์ยึดตามระบบ Gedney คือ A B C DS DL และกลุ่มพยัญชนะ 4 กลุ่มซึ่งครอบคลุมที่สุด (มีบางภาษาที่ทั้ง 4 กลุ่มผันเสียงต่างกัน)
- ชื่อวันและชื่อเดือน (จันทรคติหรือสุริยคติก็ตาม) บางภาษาให้เป็นคำวิสามานยนาม บางภาษาให้เป็นคำสามานยนาม
- อักษรยาวีของกลุ่มภาษามาเลย์อิกทั้งหมด ให้ใช้ ک และ ݢ เท่านั้น ห้ามใช้ ك และ ڬ ของกลุ่มภาษาอาหรับ เพราะมันแสดงผลต่างกัน (ระบุไว้ในเอกสารยูนิโคด)
- ฐ/ญ ไม่มีเชิง มีให้ใช้บน PUA คือ (U+F700) และ (U+F70F) สำหรับแสดงผลเท่านั้น ห้ามใช้ตั้งชื่อหน้า เพราะจะเชื่อมโยงไม่ถึงกัน (การตั้งชื่อหน้าให้ใช้ ฐ/ญ ปกติตามกฎเดิม)
- สามารถทำลิงก์จาก ฐ/ญ ไม่มีเชิงได้ ถ้า entry_name ในมอดูลชื่อภาษา ได้ทำการเปลี่ยนตัวอักษรไว้แล้ว (ตัวอย่าง pi, sa, mfa) ซึ่งจะเชื่อมโยงไปยัง ฐ/ญ ปกติ
ปัญหาแปลก ๆ ด้านเทคนิค[แก้ไข]
- อักขระที่มองไม่เห็น สามารถสังเกตได้จาก URL หรือการถอดอักษร
- ZWSP (U+200B) หรือเครื่องหมายจัดรูปแบบอื่น ๆ ที่มองไม่เห็น มักเกิดจาก Word หรือ Machine Learning ต้องตัดออกเพราะถูกใช้เป็นตัวตัดคำ/บรรทัด ไม่มีผลในการค้นหา แต่จะทำให้เชื่อมโยงคำกันไม่เจอ และจะทำให้คนสร้างหน้าใหม่ซ้ำ
- ZWJ (U+200C) และ ZWNJ (U+200D) ควรคงไว้เพราะเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปอักษร (ภ.เปอร์เซีย, อูรดู, สิงหล) การใส่กับไม่ใส่ให้ผลลัพธ์เป็นคนละคำ
- ตัวอักษรในภาษาไทดั้งเดิมและไทตะวันออกเฉียงใต้ดั้งเดิม ᴬ ᴮ ꟲ ᴰ ᴸ ˢ ซึ่งใช้แทนวรรณยุกต์
- มาตรฐานยูนิโคด 14.0 มี C ตัวใหญ่แล้ว คือ ꟲ (U+A7F2) ฟอนต์ที่มีคือ Symbola
- ตัว s เป็นตัวเล็ก เพราะไม่มีตัวใหญ่ให้ใช้
- คุณลักษณะ OpenType ทำงานไม่ครบถ้วนในเบราว์เซอร์
- อักษรไทธรรม (ภ.คำเมือง, เขิน, ไทลื้อ) เวลามีพยัญชนะมากกว่า 1 ตัว เช่นอักษรซ้อนหรือตัวควบกล้ำ แล้วใส่สระหน้าตาม สระหน้าไม่ยอมไปอยู่ข้างหน้าสุด แต่เวลาทดสอบใน BabelMap มันโอเค (บางตัว)
- อักษรไทลื้อใหม่ (ภ.ไทลื้อ) มาตรฐานปัจจุบันให้ใส่ตามลำดับปรากฏ แต่มีบางฟอนต์ที่หวังดี ดึงสระหน้าที่ตามหลังพยัญชนะไปไว้ข้างหน้า เช่น ขแจ กลายเป็น แขจ แล้วก็จะได้คำที่สะกดผิดทั้งที่เราคีย์ถูก
- วิธีแก้เบื้องต้นคือเอา ZWNJ มาคั่นใน DISPLAYTITLE และ head ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่คนมองเห็น ตรงอื่นไม่จำเป็นมีแต่เหนื่อยเพิ่ม
- ปัญหาใหม่ DISPLAYTITLE ไม่แสดงตามที่ต้องการ ถ้า normalize แล้วได้ค่าเดียวกับชื่อหน้า ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ตั้งไว้ของมีเดียวิกิ อาจต้องใช้จาวาสคริปต์แทน (?)
- ภาษาถิ่นที่ใช้อักษรไทย มีพยัญชนะบางตัวที่ประพินทุ แล้วมีสระบน/ล่าง การป้อนตามตรรกะควรเป็น พยัญชนะ+พินทุ+สระบน/ล่าง เพื่อให้ลิงก์หากันเจอ แต่หลายฟอนต์แสดงผลโดยวางพินทุไว้ต่ำกว่าสระล่าง หรือวางทับกัน อาจทำให้สับสนได้ (ถ้าระบบเอาตัวอักษรที่เหลืออยู่มาใช้ หรือประดิษฐ์ใหม่เลย อาจจะดีกว่าที่เป็นอยู่)
- Combining Diacritical Marks ควรใช้ได้กับอักษรทุกแบบ เพราะเป็นกลุ่มอักษร Inherited แต่ในความเป็นจริงหลายฟอนต์ก็ไม่ได้ทำมาให้รองรับ (เช่นเติมบนอักษรไทย) ทำให้ตัวอักษรทับซ้อนกัน หรือกลายเป็นกล่องว่าง เราต้องเข้าใจตามตรรกะว่าได้ใส่เครื่องหมายถูกต้องแล้ว
- 﨎, 﨏, 﨑, 﨓, 﨔, 﨟, 﨡, 﨣, 﨤, 﨧, 﨨, 﨩
- มีเดียวิกิ:Spam-blacklist
- วิกิพจนานุกรม:รายชื่อภาษา
- วิกิพจนานุกรม:รายชื่อกลุ่มภาษา
- วิกิพจนานุกรม:รายชื่ออักษร
- หมวดหมู่:หน้าที่มีข้อผิดพลาดสคริปต์ (ควรคัดลอกข้อมูลมาใหม่)
- หมวดหมู่:หมวดหมู่ที่มีป้ายผิดพลาด
- หมวดหมู่:IPA pronunciations with invalid representation marks
- หมวดหมู่:IPA pronunciations with invalid IPA characters
- หมวดหมู่:IPA pronunciations with no pronunciation present
- หมวดหมู่:IPA pronunciations with paired HTML tags
- หมวดหมู่:แม่แบบและมอดูลที่ต้องการเอกสารการใช้งาน