คุยกับผู้ใช้:Potapt

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ยินดีต้อนรับคุณ Potapt สู่วิกิพจนานุกรมภาษาไทย

วิกิพจนานุกรม เป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ทุกคนช่วยกันเขียนพจนานุกรมออนไลน์ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม และร่วมกันปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ผมขอแนะนำหน้าต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ดังนี้

หากไม่แน่ใจว่าควรทำอะไรก่อนดี ลองแวะดูได้ที่คุณช่วยคุณได้

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน หรือเรื่องใดๆในวิกิพจนานุกรม สามารถสอบถาม ปรึกษา หรือเข้ามาพูดคุยกันได้ที่หน้าถามการใช้งาน

ขอให้มีความสุขกับการเขียนวิกิพจนานุกรมนะครับ

Hello Potapt! Welcome to Thai Wikitionary. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook. Have a nice day!

--B20180 (พูดคุย) 22:30, 8 ตุลาคม 2555 (ICT)

สวัสดีครับ ä ที่คุณใส่ไปหมายถึง centralized a ซึ่งโดยปกติบางพยางค์ก็ไม่ใช่ และสระอะ-อา-เอีย-เอือ-อัว-อำ-ใอ-ไอ-เอา มันเป็น/มีเสียงแปร [a~ä] ที่ต่างกันไม่มาก ผมจึงคิดว่าควรใส่เป็น a ให้หมด

ที่จุดผมใส่ aˑ ไปนั้น จุดเล็ก ๆ U+02D1 หมายถึงเสียงกึ่งพยางค์ (half-length) ซึ่งภาษาไทยสอนกันมาแต่เดิมในจำพวกอักษรนำ (ถ้าผมเข้าใจผิดช่วยบอกด้วย) และพยางค์ดังกล่าวนี้เสียงวรรณยุกต์ไม่สำคัญจึงไม่ได้ใส่ไว้ เช่น อร่อย ผมจะเขียนว่า [ʔaˑ.rɔj˩] เป็นต้น เรื่องตัด ʔ ออกนี่ผมก็เอาออกเหมือนกันไม่ได้ขัดข้องอันใด

สำหรับขนุน ũ หมายถึง nasalized u แต่ปกติคำนี้สะกดด้วยพยัญชนะนาสิกอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่ตัวหนอนลงไปก็ได้ครับ สระนาสิกปกติใช้กับคำที่ไม่มีตัวสะกดแต่มีเสียงนาสิกปรากฏ w:ภาษาจีนแต้จิ๋ว

ปล |lang=th ไม่ต้องใส่ก็ได้นะครับ ไม่มีผลอันใด --Octahedron80 (พูดคุย) 08:36, 2 มิถุนายน 2556 (ICT)

ผมไม่แน่ใจว่า "เสียงกึ่งพยางค์" ที่คุณว่านั้นคือสิ่งเดียวกับ "สระอะกึ่งเสียง" หรือเปล่า ถ้าใช่ ก็ควรแทนด้วยสัญลักษณ์ ə ไม่ใช่เหรอครับ เพราะมันเป็นเสียง a ที่ถูกกร่อน (reduced) ไป ส่วนสัญลักษณ์ aˑ นี่ ถ้าเข้าใจไม่ผิด มันคือหนึ่งเสียงกับความยาวอีกครึ่งแล้วนะ (ประมาณว่าเป็น 1.5 ไม่ใช่ 0.5) คือมันยาวมากกว่า [a] (เสียงอะ ที่ไม่ใช่ [àʔ]) แต่สั้นกว่า [aa] ซึ่งระหว่าง [a] กับ [aˑ] ก็ไม่ได้ต่างกันมาก แต่ในคำไทยที่ผมถอดเสียงไป 4-5 คำนั้น ปกติไม่น่ามีใครออกเสียงพยางค์เหล่านั้นเป็น [aˑ] ด้วย อย่างคลิปนี้ [1] ผมว่าเขาออกเสียงเป็น [ə] "ซ(ะ)บู่" เลยด้วยซ้ำ ไม่ใช่ [aˑ] "ซาบู่" แน่นอน
คำที่เหมาะจะใช้สัญลักษณ์ aˑ ที่พอจะนึกออกน่าจะเป็นคำว่า "ตปลา" (เสียงสระอาในคำ "ตา" สั้นกว่าเสียงสระอาในคำ "ปลา" แต่ยาวกว่าเสียงสระอะในคำว่า "สบู่" "ขนุน" เป็นต้น) หรือ "ราธิวาส" (สำหรับคนที่ออกเสียงว่า น-รา-ทิ-วาด) อะไรพวกนี้มากกว่า และเนื่องจากผมไม่เคยเห็นการถอดเสียงอะในพยางค์ที่ไม่เน้นโดยใช้ ə หรือ aˑ ที่ไหนมาก่อน (มีบทความวิชาการบางฉบับเสนอให้ใช้ ə แต่ก็ไม่ได้ถอดเป็นคำหรือเป็นย่อหน้าให้ดู) ถ้าจะให้เลือก ผมว่าใช้ a ทั้งหมดนั้นเซฟที่สุดแล้ว
เรื่องเสียงวรรณยุกต์กับ stress นั้น จากหนังสือหรือบทความที่เคยอ่านมา เขาจะพูดในทำนองเดียวกันว่า เสียงวรรณยุกต์เอกหรือตรีในพยางค์ที่ไม่เน้น ("unstressed") จะมีการเปลี่ยนแปลงไป ส่วนมากจะบอกว่ามันถูกทำให้เป็นกลาง หมดความแตกต่าง (neutralized) และกลายเป็นเสียงสามัญ (mid tone) บางคนแย้งว่าไม่ใช่เช่นนั้น แต่ก็ยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลงจริง ผมเห็นว่าในเมื่อภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ ดังนั้นไม่ว่าจะออกเสียงสูงต่ำยังไง มันก็ต้องตกอยู่ในระดับใดระดับหนึ่งอยู่แล้ว และในที่นี้น่าจะเป็นเสียงที่คล้ายกับเสียงสามัญ (ตามปกติ) มากที่สุด อีกอย่างในบทความ "Thai" ที่ลงในวารสารของสมาคม IPA ก็ใส่สัญลักษณ์แทนเสียงสามัญเมื่อถอดเสียงตลอด เช่น ขณะ สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): [kʰāˈnàʔ], พลัง สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): [pʰāˈlāŋ], พระอาทิตย์ สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): [ˌpʰráʔāˈtʰít] จึงใช้ตามนั้นไป
ส่วนเครื่องหมายเพิ่มเติมอื่น ๆ ผมไม่ได้ดูในแง่ที่ว่ามันมีหลักการอ่านภาษาไทยกำหนดไว้ยังไง เพราะใส่ไว้ใน phonemic transcription ก็ได้ ถ้าจะถอดเป็น phonetic transcription ผมนิยมถอดตามการออกเสียงแบบธรรมชาติ (ที่ไม่หละหลวมจนเกินไป) มากกว่า ตามที่ผมเคยเรียนมา การออกเสียงอะกึ่งเสียง จะใช้กับคำที่มีสระอะไม่ประวิสรรชนีย์เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ก็เห็นออกเสียงคำที่มีรูป -ะ เป็นเสียงอะกึ่งเสียงกันหลายคำ สระอาก็ใส่เครื่องหมายเพิ่มเพื่อเน้นว่า โดยทั่วไปสระอาภาษาไทยเป็นสระกลางลิ้น [ä] ไม่ใช่สระหน้า [a] (ดูจาก vowel chart สระอาภาษาไทยก็อยู่ตำแหน่งเดียวกับ ä ของ vowel chart ทั่วไป) หรือเครื่องหมาย tilde ก็ใส่เพื่อเจาะจงให้ชัดเจนขึ้นตามหลักการกลมกลืนเสียง สระที่ถูกขนาบด้วยพยัญชนะนาสิกและอยู่ในพยางค์ที่เน้น เวลาออกเสียงจะกลายเป็นเสียงสระขึ้นจมูกอยู่แล้ว ไม่ได้ดูว่ารูปเขียนมีพยัญชนะสะกดหรือไม่
แต่ถ้าสุดท้ายคุณเห็นว่าอะไรเหล่านี้ยังไงก็ไม่ต้องใส่ ก็แล้วแต่ครับ จะแก้ก็ได้ ผมแค่อธิบายเจตนาเฉย ๆ --Potapt (พูดคุย) 07:13, 3 มิถุนายน 2556 (ICT)
ขอบคุณที่บอกเรื่องจุดครับจะได้เลิกใช้ เรื่องเครื่องหมายเพิ่มเติม ผมลองใส่ใน จำนำพรรษา ปรากฏว่าเครื่องหมายซ้อนสองชั้นเลย แบบนี้สามารถทำได้ไหมครับ แล้วถ้าเป็นสระผสมเอีย-เอือ-อัวต้องใส่ tilde ทั้งสองสระหรือไม่ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง --Octahedron80 (พูดคุย) 09:06, 3 มิถุนายน 2556 (ICT)
ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยเข้าไปดูหน้าที่คุณเขียนมาก่อนว่าคุณถอดเสียงคำหรือวลีอะไรไปบ้าง และใส่เครื่องหมายไว้อย่างไร และผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง จึงต้องบอกว่าผมตอบรายละเอียดได้เฉพาะหน้าที่ผมเคยใส่ไว้เท่านั้นเองนะครับ เพราะคำที่ผมถอดเสียงไปไม่มีเสียงสระประสมพอดี และไม่ได้คิดมาก่อนว่าทุกหน้าจะต้องถอดเสียงออกมาในระดับเดียวกันหมด ที่บอกได้ก็คือ ผมไม่เคยเห็นการใส่ tilde บนสระทั้งสองตัวในสระประสมภาษาไทย และไม่เคยเห็นการใส่ซ้อนกับจุดสองจุด คือตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป (ในหลักการนั้นเป็นไปได้ที่จะใส่ แต่หลักปฏิบัติ ผมไม่เคยเห็น เพราะบทความแต่ละเรื่องไม่ได้กล่าวถึงประเด็นที่ว่ามานั้นร่วมกัน) ซึ่งถ้าคุณเองก็ไม่แน่ใจว่ามันจะถูก ผมคิดว่าก็เอาออกไปทั้งหมดก็แล้วกันครับ ขออภัยที่ให้คำตอบคุณมากกว่านี้ไม่ได้ --Potapt (พูดคุย) 07:30, 4 มิถุนายน 2556 (ICT)

ผมสร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อจะได้กดเลือก IPA สำหรับภาษาไทยได้ง่ายขึ้นครับ http://alpha.bond.in.th/th-ipa.php --Octahedron80 (พูดคุย) 20:14, 18 สิงหาคม 2556 (ICT)

http://alpha.bond.in.th/word-input.php ฉบับปรับปรุงใหม่ครับ ปัจจุบันผมใช้อันนี้อยู่ สามารถดึงข้อมูลจาก royin ได้โดยตรง (แต่ก็ต้องปรับแต่งก่อนเอาลงจริงนิดหน่อย) --Octahedron80 (พูดคุย) 18:11, 2 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ขอบคุณครับ สะดวกขึ้นมากเลย --Potapt (พูดคุย) 20:48, 2 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ภาษาปาก-ภาษาพูด[แก้ไข]

ตอนนี้มีหมวดหมู่แยกกันทั้ง ภาษาปาก ({{ปาก}}) ตามพจนานุกรมฉบับเดิม และ ภาษาพูด (ยังไม่มีแม่แบบ) ควรใช้อะไรดีครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 09:09, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ใช้ ภาษาปาก ก็ได้ครับ ฉบับใหม่ก็ใช้เหมือนกัน --Potapt (พูดคุย) 09:13, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

อนึ่ง แม่แบบในวงเล็บต่าง ๆ มีอยู่ที่ ภาคผนวก:อภิธาน --Octahedron80 (พูดคุย) 09:16, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ใช้ "ภาษาปาก" ก็เหมาะสมแล้วครับ ผมไปเช็กศัพท์บัญญัติภาษาศาสตร์แล้ว "ภาษาพูด" จะไปตรงกับคำว่า spoken language --Potapt (พูดคุย) 09:17, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

proto-language[แก้ไข]

ภาษาที่เป็น proto-language ยังมีอีกหลายภาษา จะเรียกภาษาดั้งเดิมหมดได้หรือครับ [2] มันจะทำให้เข้าใจผิดไปหมดนะ เพราะดั้งเดิมอาจหมายถึง traditional หรือ classical หรือ original ก็ได้ อีกอย่างมันเป็นชื่อเฉพาะไม่ใช่คำสามัญครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 10:30, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

นอกจากนี้แหล่งข้อมูลที่ผมไปหามา มันก็มีทั้ง Proto-Zhuang-Tai Proto-Kam-Sui Proto-Tai-Kadai ด้วย จะใช้ดั้งเดิมมาแทนคงไม่ดีเท่าไรกระมัง [3] --Octahedron80 (พูดคุย) 10:35, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ตัวอย่าง swallow ก็ใช้ว่า โปรโต-เจอร์แมนิก และ โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน --Octahedron80 (พูดคุย) 10:45, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ผมว่าก็เรียกได้นี่ครับ ไม่เห็นจะเป็นอะไร เช่น อินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิม, ออสโตรนีเชียนดั้งเดิม ฯลฯ ลองดูในกูเกิล เห็นว่า "โปรโต-ไต" มีใช้ในวิกิพีเดียแทบจะที่เดียว (ผมก็เพิ่งเห็นนี่แหละว่ามีหน้านี้ด้วย) ถ้าเป็นพวก paper ของสาขาภาษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของไทย เวลาใช้เป็นภาษาเขียนเขาก็เรียก "ภาษาไทดั้งเดิม" นะครับ อีกอย่าง Tai–Kadai languages ในวิกิภาษาไทยก็ใช้ว่า "ไท-กะได" และ "ภาษาไท-กะไดดั้งเดิม" ด้วย ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วย traditional / classical / original ที่ผมไปค้นมาก็มีเท่านี้น่ะครับ ไม่เห็นว่ามีคำอื่นที่จะเป็นชื่อเฉพาะที่จะต้องกังวลว่ามันจะซ้ำกัน
  • traditional dialect = ภาษาถิ่นแบบดั้งเดิม
  • traditional dialectology = วิทยาภาษาถิ่นแบบดั้งเดิม
  • traditional grammar = ไวยากรณ์ดั้งเดิม, ไวยากรณ์แบบเดิม
  • classical language = ภาษาคลาสสิก --Potapt (พูดคุย) 11:08, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
แล้วค้นพบเปเปอร์ใดสะกดว่า "โปรโต-ไต" หรือ "โปรโต-ไท" บ้างไหมครับ เพราะถ้าไม่มี บทความวิกิพีเดียก็คงต้องเปลี่ยนยกชุดเหมือนกัน --Octahedron80 (พูดคุย) 10:51, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
ผมไม่เคยเห็นนะครับ เห็นแต่ที่ใช้ "ไทดั้งเดิม" อย่างที่ค้นได้ในกูเกิล เช่น http://www.lc.mahidol.ac.th/lcjournal/Documents/JLC30-1-Somsonge-BR.pdf. (ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหิดล) แล้วก็ course syllabus ของสาขาภาษาศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็ใช้แต่คำนี้ --Potapt (พูดคุย) 11:08, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ภาษาถิ่น[แก้ไข]

ขอความร่วมมืออีกอย่างครับ ตอนนี้ภาษาถิ่นที่ปรากฏในพจนานุกรมไทย มีรหัสภาษาหมดแล้ว (คำเมือง=nod อีสาน=tts ปักษ์ใต้=sou ไทน้อย ไทใหญ่ ไทขาว ไทดำ มีหมด) ดังนั้นเราก็ควรจะแยกความหมายของภาษาถิ่นนั้นออกมาจากภาษาไทยกลางครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 12:07, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

fr in lao[แก้ไข]

  • ตัว r นั้น ออกเสียง /ʁ/ มันไม่ใช่ ร ธรรมดา ถ้าดูใน IPA จะออกเสียงก้ำกึ่งระหว่าง fricative (ก-ค) กับ approximant ผมจึงใส่ รฺคฺ ลงไปเพื่อให้คนอ่านพออ่านได้ และเพื่อให้คล้ายกับภาษาลาวที่ถ่ายเสียงไป
  • ตัว u ที่ออกเสียงเป็น /ɥ/ และ /y/ มันเขียนแทนด้วยสระอุ-อูอยู่แล้ว แต่คุณเติมสระอิ-อีลงไปเพิ่ม ซึ่งผิดอักขรวิธีและทำให้อ่านไม่ออกครับ อาจต้องเขียนวิธีอื่น
  • ตัว o นั้น บางทีก็เป็น ออ /ɔ/ บางทีก็เป็น โอ /o/ อยากให้ดูที่ frwikt เป็นหลักครับ

--Octahedron80 (พูดคุย) 09:08, 3 เมษายน 2557 (ICT)

  • ตรงนั้นเข้าใจครับ แต่ในมุมมองของผม เสียงพยัญชนะหนึ่งเสียงก็ควรใช้รูปหนึ่งรูป (ถ้าเป็นไปได้) อย่างตัว รฺคฺ มองดูแล้วเหมือนกับว่าเป็นการออกเสียง /r/ แล้วตามด้วย /k/ เสียมากกว่า นอกจากนี้ ถ้าเอาไปใช้กับเสียง /ʁ/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้นหรือพยัญชนะควบจะทำให้อ่านยากหรืออ่านเพี้ยนไปได้ เช่น Paris = ปา-รฺคฺี, France = ฟรฺคฺองสฺ, Hongrie = อง-กฺรฺคฺี, Sartre = ซารฺคฺทฺรฺคฺ หรือถ้าใช้ ค เฉย ๆ ก็จะซ้ำกับ ค ที่ใช้แทนเสียง [kh] อีก เช่น croissant = คฺคัว-ซ็อง, creer = คเคเอ และถ้าจะใช้ ร ผมว่ามันก็ไม่ได้ผิดมากขนาดนั้น เพราะบางเมืองทางภาคใต้ของฝรั่งเศสจะออกเสียงตัว r เป็น [r] แบบ ร ในภาษาไทยอยู่แล้ว
  • ผมต้องการแยกให้ต่างจากเสียง /w/ และ /u/ ครับ เพราะ /ɥ/ และ /y/ ก็เป็นเสียงสำคัญ ในตำราภาษาฝรั่งเศสของไทยบางเล่ม จะสอนให้ออกเสียง /y/ โดยห่อปากแบบจะออกเสียง อู แต่พยายามเปล่งเสียงออกมาเป็น อี (โดยไม่ให้ริมฝีปากเหยียด) ครับ บางเล่มก็เขียนคำอ่านออกมาเป็นแบบนี้เลย คือ อีู ซึ่งหมายถึงให้ออกเสียงกึ่งอูกึ่งอีไปในเวลาเดียวกัน แต่จะไม่เอาก็ได้ครับ แต่การใช้ อูว์ แบบหลักเกณฑ์การทับศัพท์นั้นผมเห็นว่าไม่ช่วยอะไร เพราะมันไม่ใช่ [uw] และพอมีตัวสะกดก็ต้องตัด ว์ ออกอยู่ดีเพื่อไม่ให้ดูรก ถ้าใช้ อือ หรือ อืว น่าจะใกล้เคียงกว่า ส่วนเสียง /ɥ/ ก็ควรจะถอดเสียงคล้าย ๆ กัน เพราะในภาษาฝรั่งเศส เสียงนี้จะเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ควรจะเป็นเสียง /y/ แต่บังเอิญว่ามีสระอื่นตามมาเลยกลายเป็นกึ่งสระ เหมือน /w/ (มาจาก /u/ ตามด้วยสระอื่น) และ /j/ (มาจาก /i/ ตามด้วยสระอื่น)
  • จริง ๆ แล้ว ตัว o ในคำที่มีตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป มีวิธีการออกเสียงกว้าง ๆ อยู่ว่า เมื่ออยู่ท้ายสุดของคำจะออกเสียง /o/ แต่ถ้าอยู่ในตำแหน่งอื่น ๆ ของคำจะออกเสียง /ɔ/ ครับ เช่น chocolat = ชอกอลา, photo = ฟอโต, Monaco = มอนาโก ทั้งนี้สามารถออกเสียง /ɔ/ (เฉพาะในบริบทนี้) เป็น [o] ก็ได้ เช่น โชโกลา, โฟโต, โมนาโก แต่ไม่เป็นไปตามหลัก คำว่า Slovénie ผมไปแก้ใน frwikt แล้ว หรือคุณดูจากพจนานุกรมนี้ประกอบไปด้วยก็ได้ครับ http://www.collinsdictionary.com/dictionary/french-english/slovenie?showCookiePolicy=true --Potapt (พูดคุย) 03:50, 4 เมษายน 2557 (ICT)

ศัพท์รูปอื่น[แก้ไข]

เรื่องศัพท์รูปอื่น ขอให้กำหนดหน้าละคำไปครับ รูปเก่ารูปใหม่ก็เก็บหมดครับ รูปเติมอุปสรรคปัจจัยก็เก็บหมดครับ ของอังกฤษก็ทำแบบนี้ครับ เรื่องศัพท์ใหม่นั้นการสะกดก็ลอกมาจากหนังสือ ก็ควรจะคงไว้เช่นกัน อย่าไปแก้มัน บางคำก็ไม่ได้สะกดตามหลักทับศัพท์แต่ใช้กันมานานแล้ว --Octahedron80 (พูดคุย) 08:28, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)

พจนานุกรมคำใหม่ที่พิมพ์ใหม่และรวมเล่ม 1-2 เอารูปวรรณยุกต์ในคำทับศัพท์อังกฤษออกเกือบหมดแล้วครับ --Potapt (พูดคุย) 08:35, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
งั้น ทั้งรูปเก่ารูปใหม่ ขอให้ใส่ลงไปทั้งหมดเลยครับ อาจจะใส่ทับไว้ก็ได้ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:43, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
งั้นก็ใส่ลงไปอย่างเดียวสิครับ ไม่เห็นต้องย้อน --Potapt (พูดคุย) 08:46, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
ขออภัยผมกดเร็วไปก่อนเห็นข้อความของคุณ--Octahedron80 (พูดคุย) 08:50, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
ปล.ผมค่อนข้างข้องใจอยู่ว่าทำไมไม่รวมเล่ม 3 เข้าไปด้วย--1.46.41.211 09:32, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
ผมเดาว่าอาจจะรอรวมกับเล่ม 4 ที่ทำออกมาเสร็จแล้วแต่ถูกระงับเผยแพร่ เนื่องมาจากเหตุการณ์เมื่อ 2-3 ปีก่อน (สังเกตว่าฉบับพิมพ์ครั้งนี้ไม่มีการใส่รายชื่อกรรมการจัดทำพจนานุกรมลงไปเหมือนฉบับพิมพ์แยกครั้งแรก) --Potapt (พูดคุย) 09:37, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
มีฉบับออนไลน์หรือดาวน์โหลดไหม --Octahedron80 (พูดคุย) 14:04, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
ยังไม่มีครับ แต่เท่าที่เห็นก็ไม่มีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความหมาย มีแต่แก้ตัวสะกดตามที่ผมใส่ไป --Potapt (พูดคุย) 15:17, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)

การอ่านออกเสียงในภาษาสเปน[แก้ไข]

สวัสดีครับคุณ Potapt ขอบคุณมากครับที่ช่วยตรวจทานคำศัพท์ที่ผมสร้าง นอกจากนี้ ผมสังเกตว่าในบทความที่เป็นศัพท์ภาษาสเปน หัวข้อการออกเสียงในภาษาไทย คุณ Potapt มักจะมาตรวจทานเรื่องการออกเสียงแทบทุกคำ ผมเองก็ขอยอมรับครับว่าพิมพ์จากการออกเสียงสด ๆ นั่นคือไม่ได้ใช้หลักใด ๆ เลย ผมอยากทราบว่า คุณ Potapt ได้ใช้หลักการใดในการสะกดการออกเสียงในภาษาสเปนครับ เผื่อครั้งหน้าผมจะได้ใช้เป็นแม่แบบในการถอดเสียง จะได้ไม่ต้องรบกวนคุณ Potapt ช่วยตรวจแก้อีกต่อหนึ่งครับ ขอบคุณครับ — Ponpan (พูดคุย) 05:17, 16 กรกฎาคม 2558 (ICT)

ปกติผมถอดเสียงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาสเปนครับ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับการออกเสียงอยู่แล้ว ยกเว้น
  • j และ g (+e, i) ใช้ ฆ
  • n ท้ายคำใช้ น
  • ñ กลางคำใช้ ญญ ตามร่างหลักเกณฑ์ฉบับใหม่ (ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากที่เคยทราบมา) ที่จริงควรใช้ ญ ตัวเดียว เพราะไม่ได้ยืดหรือซ้ำเสียง (geminated) เหมือน gn ในภาษาอิตาลี (เช่น Bologna [boˈloɲɲa]) แต่ภาษาไทยปัจจุบันออกเสียงเป็น /ย/ ไปแล้ว
  • a ในพยางค์เปิดใช้ อา เพราะออกเสียงเต็มเสียงเสมอ
  • i ทุกตำแหน่งใช้ อิ ยกเว้นท้ายคำใช้ อี ตามร่างฉบับใหม่ (ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากที่เคยทราบมา)
  • เสียงสระประสมที่ไม่มีในภาษาไทย เช่น ie, io, ue ให้ถอดเสียงแยก แต่ใช้เครื่องหมาย - แบ่งพยางค์ด้วยเพื่อให้รู้ว่ามีกี่พยางค์ เช่น ra-dio = 'รา-ดิโอ
  • c, k, qu ปกติออกเสียงไม่พ่นลม (unaspirated) เช่นเดียวกับ p และ t
  • v โดยทั่วไปออกเสียงเหมือนกับ b ทั้งในสเปนและลาตินอเมริกา (เท่าที่ผมเคยอ่านตำราสัทศาสตร์และภาษาถิ่นภาษาสเปนมา ไม่เคยพบการระบุว่ามีสำเนียงไหนที่มีหน่วยเสียง /v/)
  • วรรณยุกต์ อักษรนำ ผมคิดว่าไม่ควรใส่ เพราะเคยทดลองให้คนไม่เคยเรียนภาษาสเปนมาออกเสียงอ่าน ปรากฏว่าเขาเน้นน้ำหนักเกินไปตามจังหวะในภาษาไทย (โดยเฉพาะพยางค์สุดท้าย) ทำให้เสียงเพี้ยนไปอยู่ดีครับ --Potapt (พูดคุย) 20:46, 16 กรกฎาคม 2558 (ICT)

สภากาแฟ[แก้ไข]

ตอนนี้สภากาแฟมีการเสนอสองเรื่อง คือ เสนอเพิ่มเนมสเปช Index และ Appendix และ เสนอเพิ่มส่วนขยาย Dynamic Page List รบกวนไปร่วมอภิปรายด้วยครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 10:52, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)

สวัสดีครับ แม่แบบ th-pron ทำขึ้นมาเพื่อแสดง IPA และคำพ้องเสียงโดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกขึ้น ซึ่งร่วมพัฒนากับ en กรุณาใช้งานด้วย --Octahedron80 (พูดคุย) 21:46, 4 มีนาคม 2560 (ICT)

เพราะเป็นแม่แบบอัตโนมัติ มันยังไม่ถูกตามหลักการใช้เครื่องหมายและการออกเสียงโดยปกติครับ ผมเลยไม่ใช้ --Potapt (พูดคุย) 21:49, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
เครื่องหมายต่าง ๆ นี้ถูกแล้ว โดยอิงตามระบบเดิม ที่เคยพิมพ์กันมา ตรงไหนไม่ถูก จะได้ไปแก้ไข --Octahedron80 (พูดคุย) 21:51, 4 มีนาคม 2560 (ICT)

นอกจากนี้ยังใช้แม่แบบ th-noun, th-proper noun, th-pronoun, th-verb, th-adj, th-adv ฯลฯ ในการจัดหมวดหมู่แทนแม่แบบ หน้าที่ แล้ว ซึ่งบางแม่แบบมีฟังก์ชันพิเศษประกอบอยู่ กรุณาใช้งานด้วย --Octahedron80 (พูดคุย) 21:51, 4 มีนาคม 2560 (ICT)

อย่างแรก / / ใช้กับการถอดเสียงแบบกว้างหรือในระดับหน่วยเสียง ส่วน [ ] ใช้กับการถอดเสียงแบบแคบหรือระดับเสียงที่ออกจริง แต่คำอ่านที่แสดงอยู่ในแม่แบบเป็นการถอดเสียงแบบแคบ ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องการถอดเสียง ร, การถอดเสียงสระประสม, การถอดเสียงวรรณยุกต์ในพยางค์แรกที่ลงท้ายด้วยเสียง อ ที่ผมเคยบอกไปแล้ว --Potapt (พูดคุย) 22:02, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
ที่ใช้ / / ก็คือเป็นการตั้งใจเขียนการออกเสียงแบบกว้าง r ก็ไม่ได้เปลี่ยน สระประสมก็ไม่ได้เปลี่ยน วรรณยุกต์ก็ไม่ได้เปลี่ยน ที่ enwikt เริ่มทำขึ้นมานั้นก็ทำเพื่อให้ฝรั่งอ่าน ซึ่งก็จะเข้าใจแบบกว้าง ขอให้คุณแยกเป็นกรณี ๆ ไปว่าอันไหนควรจะอยู่ใน / / อย่างเช่นอะไรควรจะเอาออกหรือเอาใส่ เพราะเราแสดงได้เพียงแค่แบบเดียว หรือจะเปลี่ยนเป็น [ ] ไปเลยปัญหาอาจจะน้อยกว่า ? --Octahedron80 (พูดคุย) 22:18, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
ปล. เรื่องวรรณยุกต์ ความเห็นส่วนตัว ไม่ควรใช้วิธีเติม diacritic เพราะอาจจะทำให้คนที่ไม่คุ้นเคยอ่านผิดได้ เนื่องจากแต่ละภาษาใช้ระบบ diacritic ต่างกัน หากใช้ contour จะเห็นชัดเจนกว่า (และเขียนโปรแกรมง่ายกว่า) --Octahedron80 (พูดคุย) 22:34, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
โดยทั่วไป ถ้าพูดว่าถอดเสียงแบบกว้าง มันควรจะเป็นแบบการถอดเสียงภาษาไทยในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ คือจะไม่มีสัญลักษณ์จำพวก ä หรือ t̚ ปรากฏอยู่ เพราะในภาษาไทย [ä] ไม่ได้ contrast กับ [a] ส่วน [t̚] ท้ายพยางค์ ก็ไม่ได้ contrast กับ [tʰ] ท้ายพยางค์ (ในแง่ความหมาย) ดังนั้นใช้แค่สัญลักษณ์ a กับ t ก็เพียงพอแล้ว ส่วนพวกที่อยู่ในวงเล็บเช่น ʔ หรือ ː เอาเท่าที่ผมลองใช้ดู แม่แบบก็ยังแสดงผลได้ไม่ค่อยถูก อย่างเสียงเอียก็คือ ia̯ เสียงเอียะก็คือ ìa̯ʔ ไม่ใช่ ไม่ใช่ iːa̯ กับ ìa̯ʔ (ในภาษาไทย ia̯ ไม่ได้ contrast กับ iːa̯)
ส่วนพยางค์ที่ไม่เน้นที่มีเสียง ʔ ปิดท้าย มีปัญหาเยอะ (เป็นเพราะคนพูดภาษาไทย ออกเสียงไม่สม่ำเสมอเอง) แม่แบบจะเข้าใจตามได้หมดหรือไม่ เช่น
  • krä(ʔ)˨˩.wäːn มองแล้วตีความหมายได้ว่า ถ้าไม่ออกเสียง kräʔ˨˩.wäːn˧ (แบบแผน) ก็ออกเสียง krä˨˩.wäːn˧ ซึ่งในความเป็นจริง ถ้าตัดเสียง ʔ ออก คนพูดก็มักจะออกเสียงเป็น krä˧.wäːn˧ ด้วย ไม่ใช่ krä˨˩.wäːn˧ เพียงอย่างเดียว
  • สาลิกา แม่แบบถอดเป็น säː˩˩˦.li˦˥.käː˧ แต่ในความเป็นจริงรวมทั้งในการออกเสียงแบบแผนอาจมีเสียง ʔ ท้าย li˦˥ ด้วย (ทำไมไม่มีวงเล็บไว้เหมือนกรณีอื่น)
  • พยางค์ นะ ในคำว่า นคร กับ นราธิวาส เวลาอ่านแยกทีละพยางค์ออกเสียงตรีทั้งคู่ แต่ปกติออกเสียงคนละระดับวรรณยุกต์ (แม้ในการออกเสียงแบบแผน) --Potapt (พูดคุย) 22:47, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
เรื่อง อิ/อึ/อุ ยังมีปัญหาอยู่เล็กน้อย เป็นปัญหาที่ทราบอยู่แล้ว เพราะ อะ หรือ สระสั้นที่ลงท้าย ะ จะไม่สามารถมีตัวสะกดได้ จึงเติม ʔ ได้ทันที ในขณะที่ อิ/อึ/อุ มันมีตัวสะกดได้ แต่เงื่อนไขที่เขียนไว้ค่อนข้างซับซ้อน ตรงนี้อาจจะต้องปรึกษากับผู้สร้างคนแรก --Octahedron80 (พูดคุย) 23:04, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
ถ้าจะใช้การอ่านแบบชัดถ้อยชัดคำแล้ว วรรณยุกต์ต้องใช้กฎเดียวกันหมดครับ นครหรือนราธิวาส ก็เช่นกัน (แต่ผมอ่านด้วยเสียงตรีนะ) --Octahedron80 (พูดคุย) 23:18, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
ปัญหาคือบทความทางภาษาศาสตร์มักจะไม่ถอดเสียงแบบชัดถ้อยชัดคำหรือแบบแยกทีละพยางค์ ๆ เหมือนเวลาเราอ่านสะกดคำนะครับ อีกอย่างคือจะไม่ยึดกับตำราภาษาไทยแบบดั้งเดิมนัก เพราะไม่ใช่การออกเสียงที่ตรงตามสภาพความเป็นจริง เช่น ตัวสะกดในมาตราแม่กดที่จริงออกเสียง t ไม่ใช่ d, สระอัวที่สอนว่า มาจาก อู + อา ในความเป็นจริง เรามักออกเสียง ua ไม่ค่อยมีใครออกเสียง uːaː คุณลองดูบทความนี้ ในพยางค์ที่ไม่เน้นที่มีเสียง ʔ ปิดท้าย เขาตัด ʔ ออกไปเลย ไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ (ที่อื่นบางแห่งก็ใส่เครื่องหมายเสียงสามัญ แต่ประเด็นคือเขาไม่ได้คงเสียงวรรณยุกต์ตรีหรือเอกไว้อย่างที่แม่แบบแสดง) ยกเว้นถ้าเป็นพยางค์สุดท้ายซึ่งในภาษาไทยมักเป็นพยางค์ที่เน้น บางแห่งก็จะคง ʔ ไว้ ไม่ตัดออกไป เช่น "ปรกติ" ในบทความนั้นถอดเป็น pròkkatì แต่ที่อื่นอาจถอดเป็น pròkkatìʔ) แต่ที่ผมสงสัยคือ โปรแกรมจะเข้าใจได้หมดทุกกรณีหรือไม่ เพราะการออกเสียงเน้นหรือไม่เน้นในภาษาไทยมันลักลั่นและขึ้นกับอะไรหลายอย่าง เช่น จำนวนพยางค์ในคำ ความคุ้นเคยกับคำ อย่างคำว่า "นคร" ผมก็อ่านเสียงตรี (ละเสียง ʔ) แต่ "นราธิวาส" ผมอ่านเสียงสามัญ (มั่นใจว่าหลายคนก็ออกเสียงแบบนี้ รวมถึงในสถานการณ์ทางการด้วย)
ในบทความนั้นใช้วิธีถอดเสียงแบบกว้าง ถึงแม้จะใส่ใน [ ] ก็ตาม (การถอดเสียงภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษในวิกิพีเดียอังกฤษก็ใช้รูปแบบนี้ เช่น ฝรั่งเศส สเปน) ในทางกลับกัน ผมไม่เคยเห็นการใช้ / / กับการถอดเสียงแบบแคบหรือละเอียด ที่ผมใช้ ä, t̚ ฯลฯ ในวิกิพจนานุกรมช่วงแรกนั้นก็เพราะผมถอดไว้ทั้งแบบกว้างและแบบละเอียด ให้คนอ่านเลือกเองว่าจะทำความเข้าใจกับแบบไหน แต่ถ้าคุณบอกว่าให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมว่าควรจะเลือกแบบกว้าง เพราะในวิกิพจนานุกรมภาษาอื่นก็ถอดเสียงแบบกว้างกันทั้งนั้น อาจจะง่ายต่อการเขียนโปรแกรมมากกว่าด้วย --Potapt (พูดคุย) 23:37, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
https://en.wiktionary.org/wiki/hue (คำในวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษที่ถอดเสียงทั้งในระดับหน่วยเสียงและแบบละเอียด) --Potapt (พูดคุย) 23:48, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
ที่ enwikt บอกว่า unreleased stop sign เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนต่างชาติที่จะมาเรียนภาษาไทย เพราะเราไม่ได้ปล่อยเสียง k t p ออกมาตอนท้ายเหมือนภาษาฝรั่ง --Octahedron80 (พูดคุย) 10:22, 26 มีนาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ผมดูการถอดเสียงภาษาลาว เขมร ใน enwikt ก็ไม่เห็นเขาใส่เครื่องหมายนั้นเลยนะครับ แต่ก็แล้วแต่แล้วกัน --Potapt (พูดคุย) 19:17, 26 มีนาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

การประชุม ESEAP 2018[แก้ไข]

สวัสดีค่ะ คุณ Potapt

งานประชุม ESEAP 2018เปิดรับสมัครขอรับทุนแล้ว!

การประชุม ESEAP 2018 เป็นการประชุมระดับภูมิภาคสำหรับชุมชนวิกิมีเดียในพื้นที่ ESEAP ซึ่งย่อมาจาก East and South East Asia, and Pacific (เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก) และจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2561 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

ทุนเต็มจำนวนมีจำนวนจำกัด สูงสุด 2 คนต่อประเทศและประเทศของคุณสามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมบนหน้านี้

พวกเรายินดีที่จะรับการนำเสนอหลายรูปแบบ รวมทั้ง:

  • กิจกรรมเชิงปฏิบัติการและการติว: การนำเสนอที่เน้นการปฏิบัติจริง โดยมีเป้าหมายในการฝึกทักษะใหม่หรือทำภารกิจเฉพาะ ระยะการประชุมมีความยาว 55 นาที นำโดยผู้นำเสนอ ในพื้นที่ห้องเรียนซึ่งเหมาะกับการใช้แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์และการทำงาน
  • โปสเตอร์: รูปแบบขนาด A2 เพื่อให้ข่าวสาร แบ่งปันกิจกรรมหรือโครงการในชุมชนของคุณ ริเริ่มความคิด ก่อตั้งต้นแบบ หรืออธิบายปัญหา โปสเตอร์จะต้องถูกอัพโหลดไปที่วิกิมีเดียคอมมอนส์โดยมีลิขสิทธิ์ที่เหมาะสม
  • การนำเสนอแบบสั้น/การพูดเชิงแบ่งปัน: การนำเสนอเป็นเวลา 10 – 15 นาทีเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่ง

ปิดการรับสมัครขอทุนและส่งการนำเสนอในวันที่ 15 มีนาคม 2561 หากมีข้อสงสัย อย่าลังเลที่จะติดต่อฉันหรือส่งอีเมลไปยัง eseap@wikimedia.or.id

ด้วยความเคารพ --Pilarbini (คุย) 23:35, 9 มีนาคม 2561 (ICT)

ภาษาโซ่[แก้ไข]

สวัสดีครับ ผมเห็นคุณเพิ่งเพิ่มภาษาใหม่ thm = ภาษาโซ่ (ทะวืง) ผมสืบค้นในวิกิพีเดียก็พบว่ามีสองภาษาที่ใช้ชื่อ "โซ่" แต่ในวิกิพจนานุกรมนั้นชื่อภาษาไม่เหมาะที่จะใช้วงเล็บ (ไม่สามารถแก้กำกวม) เนื่องจากชื่อภาษาจะใช้ประสมกับคำอื่น ๆ เป็นชื่อหมวดหมู่โดยอัตโนมัติ จะทำให้การทำงานผิดเพี้ยนไปทั้งหมด ดังนั้นผมจะเปลี่ยนชื่อหลักของ thm เป็นภาษาทะวืง นอกจากนี้ การแทนที่ชื่อไทยลงใน มอดูล:languages... ต้องเก็บชื่อเดิมและชื่ออื่น ๆ ไว้ใน otherNames ด้วย ซึ่งอย่างน้อยก็แจ้งผมนิดนึงครับ เพราะมีรูทีนที่จะต้องทำต่อ --Octahedron80 (คุย) 09:03, 10 ตุลาคม 2561 (ICT)

ครับ --Potapt (คุย) 20:06, 10 ตุลาคม 2561 (ICT)

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ[แก้ไข]

สวัสดีครับคุณ Potapt เนื่องจากคุณเป็นผู้สร้างบทความ ภาคผนวก:รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือในภาษาไทย ผมจึงจะมาแจ้งว่าบัดนี้ชื่อในชุดเดิมถูกใช้มาจนถึงชื่อสุดท้ายคือ "อำพัน" แล้วครับ และเนื่องจากระเบียบการใช้ชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือนั้นเป็นแบบใช้ครั้งเดียวไม่วนซ้ำ ทางผู้ดูแลชุดรายชื่อ (IMD) จึงได้ประกาศรายชื่อชุดใหม่ออกมา (http://www.rsmcnewdelhi.imd.gov.in/images/pdf/cyclone-awareness/tc-names/tc-names.pdf) โดยมีชื่อในกลุ่มภาษาอาหรับเพิ่มขึ้น (จากการเพิ่มเข้ามาในกลุ่มของประเทศแถบตะวันออกกลาง) และเนื่องด้วยความรู้ด้านภาษาศาสตร์อันน้อยนิดของผมจึงไม่สามารถอัพเดทบทความดังกล่าวด้วยตนเองได้ จึงรบกวนขอความอนุเคราะห์จากคุณ Potapt ในการอัพเดทบทความดังกล่าวครับ

ขอบคุณครับ --Slentee (คุย) 14:50, 15 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ได้ครับ ขอบคุณที่เตือนมาครับ --Potapt (คุย) 17:32, 15 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]