นา
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ภาษาไทย[แก้ไข]
รากศัพท์[แก้ไข]
จากภาษาไทดั้งเดิม *naːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨶᩣ (นา), ภาษาลาว ນາ (นา), ภาษาไทลื้อ ᦓᦱ (นา), ภาษาไทใหญ่ ၼႃး (น๊า), ภาษาอาหม 𑜃𑜠 (นะ) หรือ 𑜃𑜡 (นา), ภาษาจ้วง naz, ภาษาปู้อี naz; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *niaᴬ², ภาษาไหลดั้งเดิม *hnaːɦ (“นา; คันนา”)
การออกเสียง[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ | นา | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | naa |
ราชบัณฑิตยสภา | na | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /naː˧/(สัมผัส) |
คำนาม[แก้ไข]
นา
- พื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นน้ำเป็นแปลง ๆ สำหรับปลูกข้าวเป็นต้น
- พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสำหรับทำประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทำ เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด
- ใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา
- (เลิกใช้) ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแลทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา
- (ร้อยกรอง) อวัยวะเพศหญิง
- นาดีดีต้องใช้ข้าวปลูกพันธุ์ดี ถ้าปลูกไม่ดีก็ทำให้เสียที่นา(เพลง รักกับพี่ดีแน่)
- นาน้องทำไมหญ้ารก หญ้าปรกเสียจนเป็นป่า พี่จะมาช่วยไถ เอาไหมนะจ๊ะแก้วตา(เพลง รักเลี่ยมทอง)
คำเกี่ยวข้อง[แก้ไข]
คำอนุภาค[แก้ไข]
นา
- (ภาษาหนังสือ) มักใช้ประกอบท้ายคำบทร้อยกรองให้มีความกระชับหรือสละสลวยขึ้น
- แลนา
หมวดหมู่:
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทดั้งเดิม
- หน้าที่มีลิงก์แดงภาษาอาหม/m
- สัมผัส:ภาษาไทย/aː
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียง IPA
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 1 พยางค์
- คำหลักภาษาไทย
- คำนามภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีความหมายเลิกใช้
- ศัพท์ภาษาไทยที่ใช้ในบทร้อยกรอง
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้
- คำอนุภาคภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่เป็นภาษาหนังสือ