น้ำ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: นา, นำ, น่า, และ น้า

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
น้ำ (1)

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *C̬.namꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨶ᩶ᩣᩴ (น้าํ), ภาษาปักษ์ใต้ หน่าม, ภาษาลาว ນ້ຳ (น้ำ), ภาษาไทลื้อ ᦓᧄᧉ (นั้ม), ภาษาไทดำ ꪙꪾ꫁ (น้ำ), ภาษาไทใหญ่ ၼမ်ႉ (นั๎ม), ภาษาไทใต้คง ᥘᥛᥳ (ลั๎ม), ภาษาคำตี้ ꩫမ်ႇ, ภาษาอ่ายตน ꩫံ (นํ), ภาษาพ่าเก ꩫံ (นํ), ภาษาอาหม 𑜃𑜪 (นํ), ภาษาจ้วง raemx, ภาษาจ้วงแบบหนง naemx, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง naemx, ภาษาแสก นัม, ภาษาตั่ย nặm; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *namᴮꟲ², ภาษาไหลดั้งเดิม *C-nəmʔ

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์น้ามน้ำ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnáamnám
ราชบัณฑิตยสภาnamnam
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/naːm˦˥/(สัมผัส)/nam˦˥/(สัมผัส)
ไฟล์เสียง

คำนาม[แก้ไข]

น้ำ

  1. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน 1 : 8 โดยน้ำหนัก สูตรเคมีว่า H₂O เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ 1 ในธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
  2. ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นน้ำหรือเหลวเหมือนน้ำ
    น้ำตา
    น้ำปลา
    น้ำพริก
    น้ำส้ม
  3. โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง
    น้ำคำ
    น้ำใจ
    น้ำพัก
    น้ำแรง
    น้ำมือ
  4. ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ)

คำพ้องความ[แก้ไข]

ดูที่ อรรถาภิธาน:น้ำ

คำเกี่ยวข้อง[แก้ไข]

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

ดูที่ น้ำ/คำแปลภาษาอื่น

คำลักษณนาม[แก้ไข]

น้ำ

  1. เรียกเรือที่ใช้มาแล้ว 2 ปี 3 ปี ว่า เรือ 2 น้ำ เรือ 3 น้ำ
  2. ใช้เกี่ยวกับน้ำหมายความว่า ครั้ง
    ล้าง 3 น้ำ
    ต้ม 3 น้ำ

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

น้ำ

  1. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ)
    เพชรน้ำหนึ่ง
    ทับทิมน้ำงาม

ภาษาญ้อ[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

น้ำ

  1. น้ำ