ข้ามไปเนื้อหา

เหล็ก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เหลิ๋ก

ภาษาไทย

[แก้ไข]
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
ธาตุเคมี
Fe
ก่อนหน้า: แมงกานีส (Mn)
ถัดไป: โคบอลต์ (Co)
เหล็ก (1)

รากศัพท์

[แก้ไข]

สืบทอดจากไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ʰlekᴰ¹ˢ, จากไทดั้งเดิม *ʰlekᴰ, จากจีนเก่า (OC *l̥ʰiːɡ); ร่วมเชื้อสายกับลาว ເຫຼັກ (เหลัก), คำเมือง ᩉᩖᩮᩢᨠ (หเลัก), เขิน ᩉᩖᩮᨠ (หเลก), ไทลื้อ ᦵᦜᧅ (เหฺลก), ไทดำ ꪹꪨꪸꪀ (เหฺลย̂ก), ไทขาว ꪨꪸꪀ, ไทใหญ่ လဵၵ်း (เล๊ก), ไทใต้คง ᥘᥥᥐᥱ (เล่ก), อาหม 𑜎𑜢𑜀𑜫 (ลิก์), จ้วง lek หรือ lik, จ้วงแบบหนง liak

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์เหฺล็ก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlèk
ราชบัณฑิตยสภาlek
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lek̚˨˩/(สัมผัส)

คำนาม

[แก้ไข]

เหล็ก

  1. (ธาตุเคมี) ธาตุลำดับที่ 26 สัญลักษณ์ Fe เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นเงาคล้ายเงิน หลอมละลายที่ 1,536 องศาเซลเซียส ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทำเหล็กหล่อ เหล็กพืด เหล็กกล้า
  2. (ภาษาปาก) โลหะทั่วไป
  3. (สุภาพ) ขี้เหล็ก (พืช)

คำคุณศัพท์

[แก้ไข]

เหล็ก

  1. แข็งแกร่ง
    บุรุษเหล็ก

ลูกคำ

[แก้ไข]

คำแปลภาษาอื่น

[แก้ไข]

ภาษาปักษ์ใต้

[แก้ไข]

คำคุณศัพท์

[แก้ไข]

เหล็ก (คำอาการนาม ขว่ามเหล็ก)

  1. เล็ก

อ้างอิง

[แก้ไข]
  • เหล็ก” ใน Central Southern Thai Dictionary (Kaewkhao, Uthai และ Kiatboonyarit, Tawan: ประเทศไทย: US Peace Corps 1986), หน้าที่ 18