ข้ามไปเนื้อหา

เข้า

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เขา และ เข่า

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์เค่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkâo
ราชบัณฑิตยสภาkhao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰaw˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *χawꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาปักษ์ใต้ เค้า, ภาษาลาว ເຂົ້າ (เข็้า), ภาษาไทลื้อ ᦃᧁᧉ (เฃ้า), ภาษาไทดำ ꪹꪄ꫁ꪱ (เฃ้า), ภาษาไทขาว ꪹꪄꪱꫂ, ภาษาไทใต้คง ᥑᥝᥲ (เฃ้า), ภาษาไทใหญ่ ၶဝ်ႈ (ข้ว), ภาษาอาหม 𑜁𑜧 (ขว์), 𑜁𑜨𑜧 (ขอ̂ว์), 𑜁𑜧𑜈𑜫 (ขว์ว์) หรือ 𑜁𑜨𑜧𑜈𑜫 (ขอ̂ว์ว์), ภาษาจ้วง haeuj, ภาษาจ้วงใต้ kaeuj

คำกริยา

[แก้ไข]

เข้า (คำอาการนาม การเข้า)

  1. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน
    เข้าบ้าน
    เข้าถ้ำ
    เอาหนังสือเข้าตู้
  2. เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง
    รถด่วนเข้า 10 โมง
  3. ใส่, บรรจุ
    เข้าหีบ
  4. ประสม, แทรก
    เข้ายาดำ
  5. รวม
    เข้าหุ้น
    เข้าทุน
  6. รวมเป็นพวก
    เข้าพรรค
    เข้าแถว
    เข้าข้าง
  7. ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทำให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ
    เสียงเข้ากัน
    สีเข้ากัน
    เข้าไม้
  8. เคลื่อนมาสู่
    พระศุกร์เข้า
  9. สิง
    เจ้าเข้า
    ผีเข้า
  10. เริ่ม
    เข้าเรียน
  11. เริ่มทำงาน
    โรงเรียนเข้า
  12. เริ่มอยู่ในภาวะ
    เข้าโรงเรียน
    เข้าทำงาน
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]

คำคุณศัพท์

[แก้ไข]

เข้า

  1. ตรงข้ามกับ ออก
    ทางเข้า
    ขาเข้า

คำกริยาวิเศษณ์

[แก้ไข]

เข้า

  1. ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่ามากขึ้น
    เร็วเข้า
    คิดเข้า
    หนักเข้า
    ดึกเข้า
    นานเข้า

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

เข้า

  1. รูปที่เลิกใช้ของ ข้าว

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

เข้า

  1. (โบราณ) ปี

ภาษาคำเมือง

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

เข้า

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨡᩮᩢ᩶ᩣ (เขั้า)

คำกริยา

[แก้ไข]

เข้า (คำอาการนาม ก๋ารเข้า หรือ ก๋านเข้า)

  1. (อกรรม, สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨡᩮᩢ᩶ᩣ (เขั้า)

ภาษาญ้อ

[แก้ไข]

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

เข้า

  1. ข้าว

ภาษาอีสาน

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

เข้า

  1. อีกรูปหนึ่งของ เข่า