สาลิกา
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | สา-ลิ-กา | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sǎa-lí-gaa |
ราชบัณฑิตยสภา | sa-li-ka | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /saː˩˩˦.li˦˥.kaː˧/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]สาลิกา (คำลักษณนาม ตัว)
- ชื่อนกขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ในวงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากสีแดง มีแถบสีดำคาดตา ตัวสีเขียว ขนปลายปีกสีน้ำตาล ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ สาลิกาเขียว [Cissa chinensis (Boddaert)] และสาลิกาเขียวหางสั้น (C. hypoleuca Salvadori & Giglioli) พบทางตะวันออก
- ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Acridotheres tristis (Linn.) ในวงศ์ Sturnidae หัวสีดำ วงรอบเบ้าตาและปากสีเหลือง ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มขาวที่ปีก ปลายหางสีขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ตามโพรงไม้ ง่ามไม้ หรือซอกอาคาร กินแมลงและผลไม้ พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย, เอี้ยง หรือ เอี้ยงสาลิกา ก็เรียก
คำที่เกี่ยวข้อง
[แก้ไข]รากศัพท์ 2
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]สาลิกา
- ชื่อตะกรุดดอกเล็ก ๆ ชนิดหนึ่ง ใช้ในทางเมตตามหานิยม