เอี้ยง
หน้าตา
ดูเพิ่ม: เอียง
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ອ້ຽງ (อ้ย̂ง), ภาษาคำเมือง ᩋ᩠ᨿ᩶ᨦ (อย้ง), ภาษาเขิน ᩋ᩠ᨿ᩶ᨦ (อย้ง), ภาษาไทลื้อ ᦵᦀᧂᧉ (เอ้ง), ภาษาไทใหญ่ ဢဵင်ႈ (เอ้ง)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | เอี้ยง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | îiang |
ราชบัณฑิตยสภา | iang | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /ʔia̯ŋ˥˩/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]เอี้ยง (คำลักษณนาม ตัว)
- (นก~) ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น มีทั้งที่หากินบนพื้นดินและบนต้นไม้ รวมทั้งบนสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย พบอยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ตามโพรงไม้ ง่ามไม้ หรือซอกอาคาร กินผลไม้และแมลง เช่น เอี้ยงดำปักษ์ใต้ [Aplonis panayensis (Scopoli)] เอี้ยงด่าง (Sturnus contra Linn.) เอี้ยงสาลิกาหรือสาลิกา [Acridotheres tristis (Linn.)]
- (นก~) ชื่อเรียกอย่างหนึ่งของนกเอี้ยงสาลิกา (A. tristis)