ᦃᦱᧉ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทลื้อ[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *kraːꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย ข้า, ภาษาลาว ຂ້າ (ข้า), ภาษาไทใหญ่ ၶႃႈ (ข้า), ภาษาไทใต้คง ᥑᥣᥲ (ฃ้า)

คำนาม[แก้ไข]

ᦃᦱᧉ (ฃ้า)

  1. ข้า, บ่าวไพร่
    ᦑᧂ ᦷᦋᧈ ᦺᦡᧉ ᦔᦲᧃ ᦃᦱᧉ ᦎᧅ ᦓᧄᧉ ᦎᧄ ᦃᧁᧉ
    ทัง โช่ ได้ ปีน ฃ้า ตัก นั้ม ตัม เฃ้า
    ทั้งชั่วชีวิต ได้เป็นคนรับใช้ตักน้ำตำข้าว

คำสรรพนาม[แก้ไข]

ᦃᦱᧉ (ฃ้า)

  1. ข้า
    ᦃᦱᧉ ᦺᦋᧉ ᦷᦟᧆ ᦀᦸᧅᧈ ᦺᦔ ᦶᦀᧁᧈᦟᦸᧈᦕᦸᧈᦑᦸᧂᦰ
    ฃ้า ไช้ โลด อ่อ̂ก ไป แอ่วล่อ̂ผ่อ̂ทอ̂งะ
    ข้าใช้รถออกไปท่องเที่ยว

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *qaːꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย ฆ่า, ภาษาลาว ຂ້າ (ข้า), ภาษาไทดำ ꪄ꫁ꪱ (ฃ้า), ภาษาไทใหญ่ ၶႃႈ (ข้า), ภาษาไทใต้คง ᥑᥣᥲ (ฃ้า), ภาษาอาหม 𑜁𑜠 (ขะ, ตัด; ฆ่า), ภาษาจ้วง gaj, ภาษาจ้วงแบบหนง kaj

คำกริยา[แก้ไข]

ᦃᦱᧉ (ฃ้า) (คำอาการนาม ᦂᦱᧃᦃᦱᧉ)

  1. ฆ่า
    ᦊᦱᧈ ᦺᦔ ᦃᦱᧉ ᦅᦳᧃ ᦟᦴᦍᦱᧆ ᦀᧁ ᦃᦸᧂ
    หฺย่า ไป ฃ้า คุน แหฺล ลูยาด เอา ฃอ̂ง
    อย่าไปฆ่าคน และ แย่งชิงเอาของ