ข้ามไปเนื้อหา

กฎ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: กุฎี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]
  • (สะกดผิด) กฏ

รากศัพท์

[แก้ไข]

จากเขมร កត់ (กต̍, หมายไว้, หยุด)

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์กด
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgòt
ราชบัณฑิตยสภาkot
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kot̚˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงกช
กด

คำนาม

[แก้ไข]

กฎ (คำลักษณนาม ข้อ)

  1. คำบังคับ
    • พระราชพงศาวดาร ฉบับ จ.ศ. 1336 ในประชุมพงศาวดาร ภาค 4:
      จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ
  2. (กฎหมาย) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย
  3. (กฎหมาย) พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
    • 2553 ศาลปกครองสูงสุด (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 269/2553 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2553) :
      ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณาคดีด้านจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2540 มีสถานะทางกฎหมายเป็นเพียงกฎเท่านั้น จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'บทบัญญัติแห่งกฎหมาย' ตามความหมายของมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อันจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยแต่ประการใด
  4. (วิทยาศาสตร์) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้

ลูกคำ

[แก้ไข]

คำแปลภาษาอื่น

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

กฎ

  1. (โบราณ) จดไว้เป็นหลักฐาน
    • กฎหมายอายัดทาส:
      ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้
  2. (โบราณ) ตรา
    • พระอัยการเบ็ดเสร็จ:
      ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้
    • พระราชพงศาวดาร ฉบับ จ.ศ. 1336 ในประชุมพงศาวดาร ภาค 4:
      กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย