ถึก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ถก, ถัก, ถืก, และ ถูก

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *tʰɤkᴰ (สัตว์หนุ่มตัวผู้), จากภาษาจีนยุคกลาง (MC dok, “วัวตัวผู้”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເຖິກ (เถิก), ภาษาไทใหญ่ ထိုၵ်း (ถึ๊ก), ภาษาอาหม 𑜌𑜢𑜤𑜀𑜫 (ถึก์), ภาษาจ้วง daeg (ตัก "ตัวผู้") , ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง taeg (ถัก "ตัวผู้")

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ถึก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtʉ̀k
ราชบัณฑิตยสภาthuek
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰɯk̚˨˩/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ถึก (คำอาการนาม ความถึก)

  1. เปลี่ยว, หนุ่ม (ใช้แก่วัวควายตัวผู้)
    วัวถึก
    ควายถึก
  2. (ภาษาปาก) เข้มแข็ง, อดทน, บึกบึน