ได้

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ได

ภาษาไทย[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɗajꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ได้, ภาษาลาว ໄດ້ (ได้), ภาษาคำเมือง ᨯᩱ᩶ (ได้), ภาษาไทลื้อ ᦺᦡᧉ (ได้), ภาษาไทดำ ꪼꪒ꫁ (ได้), ภาษาไทใหญ่ လႆႈ (ไล้), ภาษาจ้วง ndaej, ภาษานุง đày; เทียบภาษาสุ่ย qdyais, ภาษาต้งใต้ lis, ภาษาไหลดั้งเดิม *ɗɯ

Simpson (2001) เสนอว่า ในที่สุดแล้ว มาจากภาษาจีนยุคกลาง (MC tok) ซึ่งมีการใช้งานในความหมายว่า "สามารถ" ที่ท้ายประโยคเหมือนกับในภาษาไทย[1]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ด้าย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdâai
ราชบัณฑิตยสภาdai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/daːj˥˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงด้าย

คำกริยา[แก้ไข]

ได้ (คำอาการนาม การได้)

  1. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว
    ได้เงิน
    ได้ลูก
    ได้แผล
  2. ใช้ประกอบท้ายคำกริยามีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ
    1. อาจ, สามารถ เช่น เดินได้, เขียนได้
    2. สำเร็จผล เช่น สอบได้
    3. อนุญาต เช่น ลงมือกินได้, ไปได้
  3. (ไวยากรณ์, คำกริยานุเคราะห์) คำช่วยกริยาบอกอดีต
    ได้กิน
    ได้ไป

คำประสม[แก้ไข]

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. Simpson, Andrew (2001), chapter Focus, Presupposition and Light Predicate Raising in East and Southeast Asia, in Journal of East Asian Linguistics, volume 10, issue 2, pages 91–92, 110–111

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

ได้ (คำอาการนาม ก๋ารได้ or ก๋านได้)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨯᩱ᩶ (ได้)

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

ได้

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨯᩱ᩶ (ได้)

คำสันธาน[แก้ไข]

ได้

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨯᩱ᩶ (ได้)