เถียง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เถี้ยง

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เถียง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtǐiang
ราชบัณฑิตยสภาthiang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰia̯ŋ˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน เถียง, ภาษาลาว ຖຽງ (ถย̂ง), ภาษาคำเมือง ᨳ᩠ᨿᨦ (ถยง), ภาษาเขิน ᨳ᩠ᨿᨦ (ถยง), ภาษาไทลื้อ ᦵᦏᧂ (เถง), ภาษาไทดำ ꪖꪸꪉ (ถย̂ง), ภาษาไทใหญ่ ထဵင် (เถง), ภาษาอาหม 𑜌𑜢𑜂𑜫 (ถิง์)

คำกริยา[แก้ไข]

เถียง (คำอาการนาม การเถียง)

  1. (สกรรม) พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง
  2. (สกรรม) ขัดกัน
    เรื่องนี้ความตอนต้นกับตอนปลายเถียงกัน

คำสืบทอด[แก้ไข]

  • ญัฮกุร: เทียง

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຖຽງ (ถย̂ง), ภาษาไทใหญ่ ထဵင် (เถง), ภาษาอาหม 𑜌𑜢𑜂𑜫 (ถิง์), ภาษาจ้วงใต้ ting/tieng (ถิง/เถียง)

คำนาม[แก้ไข]

เถียง

  1. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สำหรับอยู่เฝ้าข้าว