คลอง
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]ยืมมาจากเขมรเก่าสมัยอังกอร์ *គ្លង៑ (*คฺลงฺ), *ឃ្លង៑ (*ฆฺลงฺ); ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᨣᩖᩬᨦ (คลอง), ᨣᩬᨦ (คอง), อีสาน คลอง, คอง, ลาว ຄອງ (คอง), ไทลื้อ ᦅᦸᧂ (คอ̂ง)
Schuessler (2007) นำคำนี้ไปเชื่อมโยงกับซีโน-ทิเบตันดั้งเดิม *kl(j)u(ŋ/k) (“แม่น้ำ; หุบเขา”) ซึ่งเป็นรากของ 江 (OC *kroːŋ, “แม่น้ำ”), 谷 (OC *kloːɡ, “หุบเขา”), ทิเบต ཀླུང (กฺลุง, “แม่น้ำ”), พม่า ချောင်း (ขฺเยาง์:, “ธารน้ำ”) แต่ STEDT ตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งนี้ไม่ได้อธิบายถึงพยัญชนะท้ายพยางค์ *-n
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | คฺลอง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | klɔɔng |
ราชบัณฑิตยสภา | khlong | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰlɔːŋ˧/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]คลอง
- ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล
- ทาง, แนว
- คลองธรรม
- (ร้อยกรอง) อวัยวะเพศหญิง
คำสืบทอด
[แก้ไข]- → อังกฤษ: khlong