ที่

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: , ท., ทิ, ที, ทุ, ทู, และ ทู่

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *diːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ທີ່ (ที่), ภาษาคำเมือง ᨴᩦ᩵ (ที่), ภาษาไทลื้อ ᦑᦲᧈ (ที่), ภาษาไทดำ ꪕꪲ꪿ (ติ่̱), ภาษาไทขาว ꪕꪲꫀ, ภาษาไทใหญ่ တီႈ (ตี้), ภาษาไทใต้คง ᥖᥤ (ตี), ภาษาอาหม 𑜄𑜣 (ตี)ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง tihภาษาจ้วง deih; นอกกลุ่มภาษาไท-กะได: เทียบภาษามอญ-เขมรดั้งเดิม *tiʔ ~ tiiʔ ~ tiəʔ, ภาษามอญ တေံ (เตํ), ภาษาเขมร ទី (ที), ภาษาเวียดนาม thì

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ที่
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtîi
ราชบัณฑิตยสภาthi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰiː˥˩/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

ที่

  1. แหล่ง, ถิ่น
    ที่ประกอบอาชีพ
    ที่ทำมาหากิน
  2. สถานที่
    ที่ประชุม
    ที่พัก
  3. ตำแหน่งแห่งที่
    เอาของวางไว้ให้ถูกที่
  4. ที่ดิน
    ซื้อที่
    ขายที่
    เช่าที่
  5. เครื่องใช้
    ที่นอน
    ที่เขี่ยบุหรี่
  6. ตำแหน่งหน้าที่
    ที่สมุหพระกลาโหม
    พระราชาคณะชั้นสามัญที่พระกวีวรญาณ

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำลักษณนาม[แก้ไข]

ที่

  1. ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุดเป็นต้น
    ที่นั่ง 3 ที่
    อาหาร 3 ที่

คำสรรพนาม[แก้ไข]

ที่

  1. คำใช้แทนคำนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า
    คนที่ขยัน
    เด็กที่ฉลาด

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ที่

  1. คำนำหน้าคำบอกลำดับ
    ที่ 1
    ที่ 2

คำบุพบท[แก้ไข]

ที่

  1. อยู่ที่บ้าน

คำประสม[แก้ไข]