กระทง
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | กฺระ-ทง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | grà-tong |
ราชบัณฑิตยสภา | kra-thong | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kra˨˩.tʰoŋ˧/(สัมผัส) |
รากศัพท์
[แก้ไข]ยืมมาจากภาษาจีนเก่า 鐙 (OC *tɯːŋ, *tɯːŋs, “ภาชนะพิธีกรรมหรือโคมไฟ”).[1] วิธีการอ่านออกเสียงภาษาจีนเก่าในระบบของ Baxter–Sagart /*k-tˤəŋ/
คำนาม
[แก้ไข]กระทง
- ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูงสำหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม
- ภาชนะที่ทำขึ้นสำหรับลอยน้ำในประเพณีลอยกระทง
- ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก
- ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะเหมือนกระทงนาซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม
- ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือหรือพาดแคมเรือทั้ง 2 ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบภาษามลายู กุดง)
- ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ
- (กฎหมาย) ลักษณนามของความผิดอาญาแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทำความผิดแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้งนั้นถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้งเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ
- (เลิกใช้) ฐานปรับตามกรมศักดิ์ในกฎหมายเก่า
คำคุณศัพท์
[แก้ไข]กระทง
- เรียกไก่อ่อนอายุประมาณ 3 เดือนว่า ไก่กระทง
- ใช้สำหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอนขันว่า ไก่รุ่นกระทง
- โดยปริยายใช้เรียกชายกำลังแตกเนื้อหนุ่มเป็นเชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง
- ↑ Pittayaporn, Pittayawat (2014), chapter Layers of Chinese Loanwords in Proto-Southwestern Tai as Evidence for the Dating of the Spread of Southwestern Tai, in MANUSYA: Journal of Humanities, volume 20 (special issue), Bangkok: Chulalongkorn University, ISSN 0859-9920, pages 47–68.