คุณ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: คณ และ คูณ

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต गुण (คุณ, คุณภาพ, คุณธรรม, คุณความดี) หรือภาษาบาลี คุณ (เส้น, สาย; ส่วนประกอบ; คุณภาพ, ผลประโยชน์, คุณความดี); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຄຸນ (คุน), ภาษาไทลื้อ ᦅᦳᧃ (คุน)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์คุน[เสียงสมาส]
คุน-นะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkunkun-ná-
ราชบัณฑิตยสภาkhunkhun-na-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰun˧/(สัมผัส)/kʰun˧.na˦˥./
ไฟล์เสียง

คำอนุภาค[แก้ไข]

คุณ

  1. (สุภาพ) คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร
  2. (สุภาพ) คำที่ใช้เรียกราชนิกูลชั้นหม่อมหลวงอย่างลำลอง
  3. (สุภาพ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า
  4. (สุภาพ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป
  5. (สุภาพ) คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อให้เกียรติ

คำนาม[แก้ไข]

คุณ

  1. ความดีที่มีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ
  2. ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ
  3. (ไวยากรณ์) คำแต่งชื่อ
  4. อาถรรพณ์ คือ พิธีทำร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าในตัว หรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทำคุณ, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ, คุณไสย ก็ว่า

คำสรรพนาม[แก้ไข]

คุณ

  1. (สุภาพ) เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย
  2. (สุภาพ) เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, คุณท่าน ก็ว่า

คำพ้องความ[แก้ไข]

(สรรพนามบุรุษที่ 2): ดูที่ อรรถาภิธาน:มึง

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]