จูง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน จูง, ภาษาลาว ຈູງ (จูง), ภาษาคำเมือง ᨧᩪᨦ (จูง), ภาษาเขิน ᨧᩩᨦ (จุง), ภาษาไทลื้อ ᦈᦳᧂ (จุง), ภาษาไทดำ ꪊꪴꪉ (จุง), ภาษาไทขาว ꪶꪊꪉ, ภาษาไทใหญ่ ၸုင် (จุง), ภาษาไทใต้คง ᥓᥧᥒ (จูง), ภาษาอาหม 𑜋𑜤𑜂𑜫 (ฉุง์), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง jung

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์จูง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjuung
ราชบัณฑิตยสภาchung
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕuːŋ˧/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

จูง (คำอาการนาม การจูง)

  1. (สกรรม) พาไปด้วยอาการคล้ายดึงหรือฉุด
    จูงควาย
    จูงเด็ก

คำนาม[แก้ไข]

จูง

  1. ชื่อวัยของเด็กระหว่างวัยอุ้มกับวัยแล่น เรียกว่า วัยจูง