วิกิพจนานุกรม:สภากาแฟ/กรุ 1
กรุ: หน้าปัจจุบัน |
1, 2 |
Ultimate Wiktionary (UW)
[แก้ไข]โครงการที่จะรวมวิกิพจนานุกรมทุกภาษาในฐานข้อมูลเดียวกัน
ประโยชน์
[แก้ไข]- ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อนในแต่ละภาษา
- ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างมีระบบในฐานข้อมูล เพื่อง่ายต่อการลิงก์ในแต่ละภาษา
- ผู้ใช้สามารถเลือกภาษาดูได้ ว่าต้องการคำแปลเป็นภาษาไหน เช่น Eng --> Thai, Eng-->Eng, Eng-->Japanese, Thai-->Japanese
Issue
[แก้ไข]- Wiktionary ตัวเก่า จะยังคงถูกใช้อยู่ระยะหนึ่ง โดยมีแนวโน้มว่าจะปิดตัวลงถ้ามีคนย้ายไปใช้ UW หมด
- สภากาแฟ (Beer Parlour) มีการแยกในแต่ละภาษา
- (อาจจะ) มีการแยก Recent Changes ในแต่ละภาษา
ปัจจุบัน
[แก้ไข]- อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งกำหนดจะเสร็จกลางเดือนตุลาคม ปัจจุบัน (1 พ.ย.) ยังไม่มีวี่แววว่าจะเป็นอย่างไร
ดูเพิ่ม
[แก้ไข]- ข้อมูลทั้งหมด meta:Ultimate Wiktionary
- ข้อมูลโดยสรุป meta:Ultimate Wiktionary – what, why, where, when, who
- ข้อมูลทางเทคนิค meta:Ultimate Wiktionary data design
- meta:Upgrading Wiktionary
- ดีครับ จะได้เนื้อหาไม่ซ้ำซ้อนกัน ใช้อันเดียวไปเลย Watcharakorn 10:35, 7 ตุลาคม 2005 (UTC)
เว็บพจนานุกรม ไทย ที่มีออนไลน์
[แก้ไข]- http://www.pixiart.com/dict - อังกฤษ - ไทย , มีศัพท์เยอะ ชอบที่มี two word verb ด้วย
- http://lexitron.nectec.or.th - อังกฤษ ไทย แต่การแปล ยังขัดๆ เช่น จัดความลำดับความสำคัญ ไม่เหมาะสม
- http://longdo.ex.nii.ac.jp - มีหลายภาษา ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส (โดยอ่านข้อมูลผ่านฐานข้อมูลอื่น เช่น nectec)
- http://www.siamdic.com/ - (เปิดใน ไฟร์ฟอกซ์ ไม่ได้)
- http://sealang.net/library/ อังกฤษ - ไทย (และมี อังกฤษ-พม่า/เขมร/ลาว/ไทใหญ่/กะเหรี่ยง/มอญ/เวียดนาม อีกด้วย แต่คุณต้องมี Padauk font ver 2.4 ถึงจะดูฟอนต์ไทใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ และพม่าได้)
- http://guru.sanook.com/dictionary/ ไทย-ไทย ไทย-อังกฤษ ราชาศัพท์ ศัพท์บัญญัติวิชาการ
โลโก้
[แก้ไข]อยากให้มีโลโก้ไทยครับ แต่อันนี้ลองทำเล่นๆ แต่ยังไม่ค่อยดีเท่าไร
ลองทำมั่ง :-P ±Watcharakorn 22:29, 30 กันยายน 2005 (UTC)
- วิกัต มาก่อน วิกิพจนานุกรม มาก่อน วิกิพีเดีย นะครับ (เรียงกลับกัน หุหุ) --Wap 13:55, 19 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เอ่อ ใช่แล้ว ลืมไปเลย ทำไงดีอ่า --Watcharakorn 08:31, 20 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ของเราโดนลบไปแล้วแฮะ ว้า ว้า --Manop 23:02, 27 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)
- เอ่อ ใช่แล้ว ลืมไปเลย ทำไงดีอ่า --Watcharakorn 08:31, 20 ธันวาคม 2005 (UTC)
บทความพูดคุยเก่า
[แก้ไข]Wikitionary Web UI translation
[แก้ไข]please refer to
--Bact 12:31, 12 ส.ค. 2004 (UTC)
does there any way to import thost translations from Wikipedia to Wikitionary ? --Bact 12:32, 12 ส.ค. 2004 (UTC)
ชวนร่วมสร้าง พจนานุกรม ไทย -> อังกฤษ ต่อยอดจาก LEXiTRON
[แก้ไข]Dictionary for Thai -> English
[แก้ไข]มีความคิดอย่างหนึ่งที่อยากจะลองนำเสนอเพื่อถามความเห็นดู เกี่ยวกับการสร้างพจนานุกรม ได้ลองดูพจนานุกรม LEXiTRON ซึ่งเป็นพจนานุกรมสองภาษาคือจากไทย -> อังกฤษ และจากอังกฤษ -> เป็นไทย ที่พัฒนาโดย NECTEC
เนื่องด้วยพจนานุกรมนี้เป็นแบบ open source ซึ่งตัว licence นั้นก็ระบุให้สามารถนำเนื้อหาเพื่อไปพัฒนาต่อยอดได้ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ตามที่ระบุ
จุดที่สนใจคือตัวพจนานุกรมไทย -> อังกฤษ ซึ่ง ณ ปัจจุบันตัวเนื้อหาก็จะประกอบด้วย
- คำศัพท์ภาษาไทย
- คำแปลภาษาอังกฤษ
- หน้าที่คำตามไวยากรณ์
- คำพ้องความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (synonym)
- คำที่มีความหมายตรงข้ามภาษาไทย (Thai antonym)
- คำลักษณนาม
- นิยามความหมายของคำภาษาไทย และ
- ประโยคตัวอย่างภาษาไทย
ในส่วนของเนื้อหาเกี่ยวกับคำศัพท์นี้ เห็นว่ายังขาดสองส่วนที่สำคัญ และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้คือ
- เสียงอ่านแบบสัทอักษร (มีประโยชน์สำหรับชาวต่างประเทศที่ต้องการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) และ
- ประโยคตัวอย่างภาษาอังกฤษ
เพราะส่วนใหญ่ในการใช้พจนานุกรมไทย -> อังกฤษ นอกจากการหาคำแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ส่วนใหญ่ต้องการที่จะรู้ว่าคำภาษาอังกฤษนั้นๆ มีการใช้ในประโยคภาษาอังกฤษอย่างไร
จากจุดหลักๆ 2 ส่วนนี้ จึงเห็นว่าถ้าสามารถพัฒนาต่อยอด โดยร่วมกันสร้างตัวอย่างภาษาอังกฤษ และถ่ายสัทอักษรเสียงอ่านจะเป็นการสร้างพจนานุกรมฉบับนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้น ดังจะแสดงตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง
- license ของ พจนานุกรม จาก lexitron เป็น opensource แบบ ไหน ครับ? น่า จะ ต้อง ดู license ให้ ดี ๆ ก่อน ครับ, เพราะ ไม่ใช่ ว่า opensource ทุกตัว จะ compat กับ GFDL. หยั่ง GPL ก็ ได้ยิน มา ว่า ไม่ compat กับ GFDL นะ ครับ. ไม่ compat คือ ไม่ สามารถ เอา มา รวม กัน ได้.
- Ans 12:27, 9 พ.ค. 2005 (UTC)
Th. word | Category | Eng. word | Definition | Eng. Synonym | Th. Sysnonym | Th. sample |
---|---|---|---|---|---|---|
เดิน 1 | V | walk | ยกเท้าก้าวไป | go on foot | ก้าวเดิน, ย่างก้าว, ย่างเท้า, ย่ำเดิน | เมื่อเขาเดินผ่านหน้าร้านหนังสือก็จะแวะเข้าไปดูเป็นปกติทุกวัน |
เดิน 2 | V | work | เคลื่อนไปด้วยกำลังต่างๆ | run; go; function | ทำงาน, เคลื่อน, เคลื่อนที่, ขับเคลื่อน, เดินเครื่อง | พอใส่ถ่านแล้วนาฬิกาก็เดินตามปกติ |
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าเราสามารถเพิ่มเติมได้อีกในเรื่องของเสียงอ่านสัทอักษร และตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ เช่น
Th. word | Category | Transcription</t> | Eng. word | Definition | Eng. Synonym | Th. Sysnonym | Th. sample | Eng. sample |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดิน 1 | V | /dəːn/ | walk | ยกเท้าก้าวไป | go on foot | ก้าวเดิน, ย่างก้าว, ย่างเท้า, ย่ำเดิน | เมื่อเขาเดินผ่านหน้าร้านหนังสือก็จะแวะเข้าไปดูเป็นปกติทุกวัน | You must walk straight ahead. |
เดิน 2 | V | /dəːn/ | work | เคลื่อนไปด้วยกำลังต่างๆ | run; go | ทำงาน, เคลื่อน, เคลื่อนที่, ขับเคลื่อน, เดินเครื่อง | พอใส่ถ่านแล้วนาฬิกาก็เดินตามปกติ | The machine does not work properly. |
จากตารางส่วนหนังสือตัวสีเขียวคือส่วนที่เราสามารถเพิ่มขึ้นได้
สำหรับส่วนที่คิดไว้ และคิดว่าตัวเองช่วยสนับสนุนในส่วนการทำงานนี้ได้คือ
การใส่ข้อมูลคำภาษาไทยและข้อมูลรายละเอียดส่วนอื่นๆ ของคำ ซึ่งคำศัพท์ภาษาไทยใน LEXiTRON ไทย -> อังกฤษ มีประมาณ 35,000 คำ และประมาณ 45,000 รายการย่อยตามจำนวนความหมาย เมื่อใส่คำศัพท์แล้วก็จะเพิ่มในส่วนเสียงอ่านด้วย
ส่วนที่จะช่วยๆ กันต่อไปคือการใส่ประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งการใส่ประโยคภาษาอังกฤษนี้ มีหลักเกณฑ์ที่จะต้องพิจารณาคือ concept ของการทำพจนานุกรม LEXiTRON นั้นเป็นแนว cospus based ซึ่งเน้นการวิเคราะห์ภาษา หรือการให้ข้อมูลทางภาษาแบบธรรมชาติที่ใช้จริงโดยใช้ฐานข้อมูลจาก corpus หรือคลังข้อความที่มีอยู่
ดังนั้นประโยคตัวอย่างภาษาอังกฤษที่เราจะใช้นั้นก็เช่นกัน ก็ไม่ควรจะเป็นการแต่งประโยคเอง ควรจะเป็นการค้นหาประโยคที่ใช้จริงในภาษาซึ่งอาจจะได้จากบทความต่างๆ วิธีที่ง่ายที่สุดก็อาจจะเป็นการค้นหาจากเว็บไซต์ หรือจากแหล่ง corpus ที่มี
นอกจากนี้ที่สำคัญคือคงเป็นเรื่องการจัดหมวดหมู่กลุ่มคำศัพท์ หากได้มีการจัดกลุ่มเผื่อไว้ เพื่อสามารถพัฒนาต่อได้เป็นรูปแบบ thesaurus ก็จะเกิดประโยชน์ทางด้านการพัฒนาพจนานุกรม และการนำไปใช้งานต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง
จากแนวคิดที่เสนอมานี้ ต้องการอยากจะทราบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำแต่ไหน และสนใจที่จะร่วมกันทำหรือไม่ และหากมีคำแนะนำใดๆ ก็ช่วยบอกกล่าวกันมาLoma 08:04, 20 ต.ค. 2004 (UTC)
โครงการ รู้หรือไม่ ในวิกิพจนานุกรม
[แก้ไข]เสนอโครงการ รู้หรือไม่ ในวิกิพจนานุกรม แบบเดียวกับ วิกิพีเดีย:หน้าหลัก และ วิกิพีเดีย:รู้หรือไม่
- แม้ยังไม่มีในวิกิภาษาอื่น แต่ผมว่า น่าสนใจดี (และเราไม่จำเป็นต้องตามเขาเป๊ะ แต่ทำนำเขาได้)
- โดยการสุ่มนำเสนอ
- คำศัพท์แปลกๆ
- คำแปลแปลกๆ
- คำศัพท์ที่มักเขียนผิด
- คำแปลที่มักเข้าใจผิด
- สถิติการใช้คำ และ/หรือ ข้อมูลรกสมองเกี่ยวกับการใช้คำ
- ฯลฯ
- ตัวอย่างคร่าวๆ
- ศัพท์บัญญัติ น้ำดูดซึม (อ. capillary water) (ธรณี) น. น้ำในดิน]ที่ถูกจับยึดไว้ด้วยแรงดูดซึมของช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่มีขนาดเล็ก เป็นน้ำส่วนที่พืชสามารถนำไปใช้ได้.
- คำว่า "สังเกต" (ไม่มีสระอุ) เป็นคำที่ถูก มักถูกเขียนผิดเป็น "สังเกตุ"
- สถิติการค้นหาด้วย google พบ "สังเกต" (คำที่ถูก) 5,330,000 รายการ และ "สังเกตุ" (คำที่ผิด) 3,410,000 รายการ คิดสัดส่วน 6:4 (ผิดร้อยละ 39.01)
2010 Fundraising Is Almost Here
[แก้ไข] Hello Wikipedians, my name is Kelly and I am working for the Wikimedia Foundation during the 2010 Fundraiser. My job is to be the liaison between the Thai community and the Foundation. This year's fundraiser is intended to be a collaborative and global effort; we recognize that banner messages which may perform well in the United States don't necessarily translate well, or appeal to international audiences.
I'm contacting you as I am currently looking for translators who are willing to contribute to this project by helping translate and localize messages into Thai and suggesting messages that would appeal to Thai readers on the Fundraising Meta Page. We've started the setup on meta for both banner submission, statistical analysis, and grouping volunteers together.
Use the talk pages on meta, talk to your local communities, talk to others, talk to us, and add your feedback to the proposed messages as well! I look forward to working with you during this year's fundraiser. If someone could translate this message I would really appreciate it so that everyone is able to understand our goals and contribute to this year's campaign.
Thanks! Klyman 17:57, 15 ตุลาคม 2553 (UTC)
การปรับปรุงชื่อหมวดหมู่
[แก้ไข]ผมมีความคิดที่จะปรับปรุงหมวดหมู่ต่าง ๆ ที่อยู่ในวิกิพจนานุกรมแห่งนี้ อยากให้ท่านทั้งหลายพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ หรือถ้ามีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติมก็นำมาบอกกล่าวกันได้นะครับ สิ่งที่ผมคิดตอนนี้ได้แก่
- เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ภาษาต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น "หมวดหมู่:en:วิทยาศาสตร์" ให้เปลี่ยนเป็น "หมวดหมู่:วิทยาศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ)"
- เหตุผล: เนื่องจากชื่อหมวดหมู่เดิมบอกเพียงอักษรย่อของภาษา เช่น ภาษาอังกฤษเป็น en, ภาษาจีนกลางเป็น cmn, ภาษาสเปนเป็น es เป็นต้น ซึ่งหลาย ๆ คนอาจไม่รู้จักและไม่เข้าใจ ผมจึงเสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ในประเภทนี้ทั้งหมด เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้ทั่วไป
- เปลี่ยนชื่อ "หมวดหมู่:*หัวข้อ" เป็น "หมวดหมู่:หัวข้อ" (ลบ * ออก) หรือใครมีความคิดอื่น ๆ ก็บอกกันได้นะครับ
- เหตุผล: ผมคิดว่าหมวดหมู่นี้ถอดแบบมาจากวิกชันนารีในภาษาอังกฤษ "category:*Topics" ซึ่งในขณะนี้หมวดหมู่นี้ได้ถูกลบไปแล้วและย้ายไปที่ "category:All topics" แทน
- สำหรับหมวดหมู่หน้าที่ของคำในภาษาต่าง ๆ นั้นให้คงเดิมไว้ เช่น หมวดหมู่:คำนามภาษาไทย, หมวดหมู่:คำกริยาภาษาเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งตามหลักแล้วหน้าที่ของคำในภาษาไทยมีอยู่ 7 อย่างได้แก่ คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ (คุณศัพท์+กริยาวิเศษณ์) สันธาน บุพบท และอุทาน แต่ในภาษาอื่นอนุโลมให้แยกย่อยได้ เช่น คำคุณศัพท์ นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งผมสงสัยอยู่ก็คือ ผมเห็นหมวดหมู่ชื่อ "หมวดหมู่:คำเชื่อมภาษา..." ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นคำบุพบทและสันธานรวมกัน (เพราะบุพบทเชื่อมคำ ส่วนสันธานเชื่อมประโยค) ดังนั้นผมคิดว่าควรจะแยกออกเป็นคำบุพบทและคำสันธาน แล้วลบหมวดหมู่คำเชื่อมออก
หากท่าน ๆ ทั้งหลายมีความคิดเห็นหรือคำแนะนำใด ๆ ให้บอกกล่าวกัน ณ ที่นี้เลยนะครับ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่อยากให้เปลี่ยน อยากให้เปลี่ยนแต่เป็นรูปแบบอื่น ขอให้มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน คนสองคนก็ยังดี หรือหากใครอยากพัฒนาหรือมีแผนในส่วนอื่น ๆ นอกจากเรื่องหมวดหมู่แล้วก็บอกกล่าวกันได้นะครับ ช่วย ๆ กัน ^^
ปล. ที่ผมตั้งหัวข้อนี้ขึ้นมาเพราะตอนแรกคิดว่าจะทำด้วยตนเอง แต่พอเห็นเนื้อหาที่จะปรับปรุงแล้วมีมากมายเกินความสามารถของคน ๆ เดียว และถ้าเกิดผมทำอะไรผิดพลาดขึ้นมาจะกระทบส่วนอื่น ๆ อีก ผมจึงนำมาเสนอในหน้าสภากาแฟแห่งนี้ เผื่อจะได้ช่วยกันคนละไม้ละมือครับ :) --Pon'd (พูดคุย) 03:42, 29 มีนาคม 2555 (ICT)
ตอนนี้มีหมวดหมู่อัตโนมัติสร้างด้วยแม่แบบหม้อต้ม (boiler) ซึ่งจะทำให้หมวดหมู่ทั้งหมดอยู่ในรูปแบบเดียวกัน จะมี 5 ประเภท
- topic cat เป็นแม่แบบสำหรับบริบทหรือหัวข้อเรื่องของคำศัพท์ จะยังคงรูปแบบคล้ายภาษาอังกฤษ คือรหัสข้างหน้าจะใช้ชื่อเต็มแทนที่จะเป็นอักษรย่อ เช่น หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ:วิทยาศาสตร์ มีโครงสร้างต้นไม้ของบริบทต่าง ๆ เป็นพื้นฐาน
- deriv cat เป็นแม่แบบสำหรับแสดงรากศัพท์ว่ามาจากภาษาอะไร ใช้รูปแบบคล้าย topic cat เช่น หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ:รากศัพท์จากภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น มีโครงสร้างต้นไม้ของการจัดกลุ่มภาษาเป็นพื้นฐาน
- pos cat เป็นแม่แบบสำหรับชนิดของคำในภาษาต่าง ๆ จะขึ้นต้นด้วยชนิดของคำก่อนแล้วตามด้วยภาษา มีโครงสร้างต้นไม้ชนิดของคำเป็นพื้นฐาน แต่เนื่องจากชนิดของคำในแต่ละภาษาไม่เหมือนกัน บางชนิดไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทย บางหมวดหมู่จึงยังแปลไม่ได้
- และเนื่องจากหัวข้อบางอย่างคล้ายกับ topic cat เพื่อไม่ให้ซ้ำจึงต้องกำหนดรูปแบบให้แตกต่างจาก topic cat ตัวอย่างเช่น หมวดหมู่:คำนามภาษาอังกฤษ เป็นการรวบรวมคำนามต่าง ๆ นานา ในขณะที่ หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ:คำนาม จะมีแต่ชื่อภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกคำนามชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
- script cat เป็นแม่แบบสำหรับหมวดหมู่รวมตัวอักษรเดี่ยว หรือทวิอักษร หรือไตรอักษร ที่มีใช้ในภาษาหนึ่ง ๆ แยกประเภทตามชนิดอักษรเป็นหลัก (ไม่แยกตามภาษา) แต่ยังไม่สมบูรณ์ตอนนี้ อย่าเพิ่งใช้
- lang cat เป็นแม่แบบสำหรับหมวดหมู่หลักประจำภาษาต่าง ๆ มีโครงสร้างการจัดกลุ่มภาษารองรับ แต่ยังไม่สมบูรณ์ตอนนี้ อย่าเพิ่งใช้
--Octahedron80 (พูดคุย) 09:50, 4 สิงหาคม 2558 (ICT)
ภาพในลายเซ็น
[แก้ไข]เนื่องด้วยทางวิกิพีเดียภาษาไทย ณ ปัจจุบัน ได้เสนอให้ห้ามใช้ภาพประกอบลายเซ็น กระผมจึงใคร่ขอเชิญชวนสมาชิกโครงการร่วมแสดงความเห็นและลงคะแนนครับ --B20180 (พูดคุย) 16:04, 16 เมษายน 2555 (ICT)
- คุณเห็นด้วยหรือไม่ที่จะห้ามใช้ภาพในลายเซ็น
- เห็นด้วย --Taweethaも (พูดคุย) 17:26, 16 เมษายน 2555 (ICT)
- เห็นด้วย --Panyatham 09:48, 17 เมษายน 2555 (ICT)
- เห็นด้วย --N.M. (พูดคุย) 10:48, 17 เมษายน 2555 (ICT)
- เห็นด้วย Dulux | พูดคุย 15:06, 17 เมษายน 2555 (ICT)
- เห็นด้วย --Ponpan (พูดคุย) 15:27, 17 เมษายน 2555 (ICT)
- เห็นด้วย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 16:04, 20 เมษายน 2555 (ICT)
แก้ไข Namespace Project
[แก้ไข]เนื่องจากขณะนี้วิกิพจนานุกรมมีความเคลื่อนไหวพอสมควร แต่พบว่ามีปัญหาในการเขียน Namespace Project: (เช่นหน้านี้ ที่ต้องเขียนว่า Wiktionary: แทนที่จะเป็น วิกิพจนานุกรม: จึงขอเสนอให้มีการเปลี่ยนไปใช้เนมสเปซ Project จากเดิมดังนี้
- Wiktionary: เปลี่ยนเป็น วิกิพจนานุกรม:
- คุยเรื่องWiktionary: เปลี่ยนเป็น คุยเรื่องวิกิพจนานุกรม:
จึงขอความเห็นชุมชน ณ ที่นี้ครับ (ดูเพิ่มที่นี่) --G(x) (พูดคุย) 12:36, 3 ตุลาคม 2555 (ICT)
- เห็นด้วย นึกๆอยู่เหมือนกันครับ --B20180 (พูดคุย) 12:58, 3 ตุลาคม 2555 (ICT)
- เห็นด้วย certainly --Ponpan (พูดคุย) 13:09, 3 ตุลาคม 2555 (ICT)
- เห็นด้วย รวมทั้งโครงการอื่นๆด้วย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 17:29, 3 ตุลาคม 2555 (ICT)
- เห็นด้วย เหตุผลเหมือนกับคนอื่นๆ ครับ --นคเรศ (พูดคุย) 22:16, 3 ตุลาคม 2555 (ICT)
- เห็นด้วย --taweethaも (พูดคุย) 07:45, 4 ตุลาคม 2555 (ICT)
- เห็นด้วย -— ultimate [ห้องสนทนา] 14:50, 6 ตุลาคม 2555 (ICT)
- เห็นด้วย --Octahedron80 (พูดคุย) 11:11, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)
- เห็นด้วย --Panyatham 20:50, 17 ตุลาคม 2555 (ICT)
เสนอการตั้งค่าเวลาให้สอดคล้องกับโครงการวิกิพีเดียภาษาไทย
[แก้ไข]เนื่องด้วยโครงการนี้ เวลาที่แสดงในรายการอาจไม่ตรงกับเวลาท้องถิ่นแบบวิกิพีเดียภาษาไทย ณ ปัจจุบัน และได้รับการแนะนำการตั้งเวลาในโครงการพี่น้องภาษาไทยให้สอดคล้องกันดังกล่าว กระผมจึงขอเรียนเชิญสมาชิกชุมชนร่วมลงคะแนนครับ --B20180 (พูดคุย) 18:44, 10 พฤษภาคม 2556 (ICT)
ขยายความเพิ่มเติม
[แก้ไข]เมื่อกดดูประวัติพบว่าเวลาบันทึกเป็น UTC+0 ส่วนนี้ควรแก้ไข แต่ว่าในลายเซ็นต์เป็นเวลา ICT อยู่แล้ว ไม่ต้องแก้ไข --Taweethaも (พูดคุย) 07:51, 11 พฤษภาคม 2556 (ICT)
เอามาให้ดูความแตกต่าง
- Server time: Tue, 29 Oct 2024 17:27:27 +0000
- Local time: Wed, 30 Oct 2024 00:27:27 +0700 (tz set by users)
ผมก็เห็นว่ามันปกติอยู่แล้วนี่ครับ Server time ก็ใช้ +0 เหมือนวิกิพีเดีย w:ผู้ใช้:Octahedron80/กระบะทราย14 (และทุก ๆ ที่ ก็ใช้ +0 เหมือนกันทุกโครงการ) จะปรับอะไรกันอีกครับ การแสดงเวลาส่วนตัวก็ตั้ง Bangkok ไปซึ่งจะได้ +7 เป็นของใครของมัน ค่าเวลาที่ปรากฏในปรับปรุงล่าสุดบ้างหรือประวัติบ้าง ก็จะเปลี่ยนไปตามเขตเวลาที่เราตั้งไว้ตามปกติอยู่แล้ว --Octahedron80 (พูดคุย) 10:25, 11 พฤษภาคม 2556 (ICT)
- ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมที่เพิ่งทราบหลังจากคุณ Octahedron80 ทักท้วง
- เข้าใจว่าเป็นสมาชิกดั้งเดิมการตั้งค่าเวลาจึงเป็นไปตาม default รุ่นเก่า หรือก่อนจะมี default วิธีการตั้งใหม่ดูได้ที่ พิเศษ:การตั้งค่า#mw-prefsection-datetime ซึ่งค่าปริยายของวิกินี้ได้รับการแก้ไขให้เป็น Asia/Bangkok แล้ว (แต่เดิมนั้นไม่เป็น) ผู้ใช้รุ่นเก่าที่ยังเห็นเวลาเป็น UTC+0 จึงอาจตั้งเวลาเสียใหม่ให้เป็นเวลาท้องถิ่นของประเทศไทยหรือเวลาในท้องที่ที่ประสงค์ให้แสดงผลได้
- หากไม่ล็อกอิน เวลาในหน้าประวัติและปรับปรุงล่าสุดเป็น Asia/Bangkok อยู่แล้ว ทีเวลาเปลี่ยนไปเป็น UTC+O เพราะการตั้งค่าผู้ใช้ที่ผิดเพี้ยนไปซึ่งคงเป็นเฉพาะผู้ใช้เก่า
- แนวทางดำเนินการต่อไป
- ขออภัยในความผิดพลาด
- ขอถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกเก่าปรับตั้ง พิเศษ:การตั้งค่า#mw-prefsection-datetime ถ้าต้องการให้แสดงผลเวลาเช่นเดียวกับวิกิพีเดียภาษาไทย
--Taweethaも (พูดคุย) 13:32, 12 พฤษภาคม 2556 (ICT)
แม่แบบ ตย
[แก้ไข]ตัวอย่างการใช้คำในประโยคหรือวลี ถ้าลองดูใน enwikt จะเห็นว่า ใช้ตัวเอนเพื่อแสดงตัวอย่างกัน ในขณะที่ thwikt ใช้แม่แบบ:ตย แต่ก็ไม่ได้ทำให้เป็นตัวเอนตั้งแต่แรก ผู้ใช้ทั่วไปจึงใส่ตัวเอนเพิ่มเอาทีหลัง จึงเห็นควรว่าแม่แบบ ตย ควรทำให้เป็นตัวเอนอยู่ในแม่แบบเลย จะได้ใส่แต่ข้อความเพียงอย่างเดียว แต่ถึงกระนั้น ก็ต้องลบเครื่องหมายตัวเอนออกจากประโยคหรือวลีที่ใช้แม่แบบนี้ทั้งหมด ในการนี้ไม่น่าจะทำยากถ้าให้บอตช่วย ไม่ทราบว่าคิดเห็นอย่างไร ควรปรับแม่แบบไหม --Octahedron80 (พูดคุย) 10:41, 4 กันยายน 2556 (ICT)
- ครับผม เนื่องจากผมเป็นผู้สร้างแม่แบบนี้ขึ้นมาเอง ผมจึงขอชี้แจงจุดประสงค์ตามความเห็นของผมนะครับ สาเหตุที่ผมไม่ได้ใส่เครื่องหมายตัวเอนไว้ตั้งแต่ในแม่แบบคือ
- ผมเห็นว่าอักษรในบางภาษาหากเป็นตัวเอียงแล้วจะดูไม่เหมาะสักเท่าไร เช่น ภาษาจีน (ตย. 可以) ภาษาญี่ปุ่น เกาหลี เขมร ลาว ฯลฯ ทำนองนี้ครับ
- สำหรับภาษาที่ใช้อักษรละติน เช่น อังกฤษ ผมยังไม่มั่นใจเต็มที่ว่าจะให้เอน (เช่น stick) หรือไม่เอนดี (เช่น pour) แต่ผมเห็นว่าไม่น่าจะให้เอน เพราะว่าหากเทียบกับ enwikt ฟอนต์ที่ใช้จะแตกต่างกันหากสังเกตให้ดี ซึ่งใน thwikt หากทำเป็นตัวเอนแล้ว จะเห็นได้ว่าตัวหนังสือจะเอนมากกว่าใน enwikt ทำให้ผมรู้สึกแปลก ๆ (ขออภัยหากเป็นความเห็นส่วนตัวเกินไป) และยิ่งไม่เหมาะกับภาษาตามข้อ 1.
- สำหรับภาษาไทยผมยกให้เป็นกรณีพิเศษที่ต้องทำเป็นตัวเอน เนื่องจากหากไม่เอนแล้วจะดูกลมกลืนไปกับส่วนอื่นของบทความหมด
- ครับผม เนื่องจากผมเป็นผู้สร้างแม่แบบนี้ขึ้นมาเอง ผมจึงขอชี้แจงจุดประสงค์ตามความเห็นของผมนะครับ สาเหตุที่ผมไม่ได้ใส่เครื่องหมายตัวเอนไว้ตั้งแต่ในแม่แบบคือ
สรุปคือผมอยากให้ใช้แม่แบบเดิมต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นของผมครับ --Ponpan (พูดคุย) 02:48, 6 กันยายน 2556 (ICT)
ผมมีไอเดียใหม่ครับ คือถ้าพารามิเตอร์ 1 มีอักษรไทย ก็ทำให้เป็นตัวเอนทั้งประโยคโดยอัตโนมัติ (เช็กตัวเดียวก็เห็นผล) ถ้าไม่มีก็คงไว้ตามเดิม ในทางเทคนิคขณะนี้สามารถทำได้ครับ แต่ตัวหนาที่คำหลักยังคงต้องใส่เองเหมือนเดิมครับ เพราะถ้าใส่อัตโนมัติเดี๋ยวจะเน้นผิดที่ --Octahedron80 (พูดคุย) 16:28, 15 พฤษภาคม 2557 (ICT)
ตอนนี้ผมได้เพิ่ม หมวดหมู่:ตัวอย่างที่ไม่ได้เน้นคำหลัก เพื่อติดตามว่าหน้าไหนใช้แม่แบบแต่ยังไม่ได้เน้นตัวหนาบ้าง เพื่อให้เก็บกวาดสะดวกขึ้นอีกชั้นหนึ่ง --Octahedron80 (พูดคุย) 16:32, 15 พฤษภาคม 2557 (ICT)
ภาษาอังกฤษเก่า
[แก้ไข]มีเดียวิกิ:Monobook.js และ มีเดียวิกิ:Edittools รบกวนเปลี่ยนชื่อ อังกฤษโบราณ เป็น อังกฤษเก่า ด้วยครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 00:58, 29 มีนาคม 2558 (ICT)
เพิ่มเนมสเปช Index และ Appendix
[แก้ไข]เนื่องจากวิกิพจนานุกรมภาษาไทยยังไม่มีเนมสเปช Index และ Appendix เช่นเดียวกับวิกิพจนานุกรมในภาษาอังกฤษ จึงอยากเสนอให้เพิ่มเนมสเปชทั้ง 2 เป็น ดัชนี และ ภาคผนวก ด้วย จึงเลยต้องลงความเห็นว่าให้เพิ่มหรือไม่ --[nä˥.kʰä˥.reːt̚˥˩] (พูดคุย) 21:56, 9 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- เห็นด้วย จะได้เอาไปทำงานกับมอดูลด้วย ผมจะลองไปขอดูนะครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 10:46, 2 ตุลาคม 2558 (ICT)
- phab:T114458 เขาบอกว่าคนยังอภิปรายน้อยอยู่ (มีอยู่แค่เราสองคน) ให้ลองชวนคนมาลงความเห็นที่นี่มาก ๆ --Octahedron80 (พูดคุย) 10:43, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เห็นด้วย เห็นด้วยเช่นกันครับ การที่เปลี่ยน Index และ Appendix เป็นภาษาไทยจะทำให้วิกิพจนานุกรมไทยแห่งนี้สมบูรณ์มากขึ้นครับ --A.S. (พูดคุย) 16:45, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เห็นด้วย ทำให้ช่วยหาคำได้เร็วขึ้น --Potapt (พูดคุย) 21:05, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เห็นด้วย จะได้เอาไปทำงานกับมอดูลด้วย ผมจะลองไปขอดูนะครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 10:46, 2 ตุลาคม 2558 (ICT)
เราจะสามารถจัดการดัชนีในวิกิพจนานุกรมภาษาไทยได้อย่างไรบ้างครับ เช่น ใครจะเป็นคนเพิ่มคำศัพท์ในดัชนีของแต่ละภาษา ใช่บอตหรือไม่ (ในวิกิภาษาอังกฤษใช้บอต เช่น ในหน้า Index:English/a1 เป็นต้น) เพราะว่าปริมาณคำศัพท์ไม่ใช่น้อย ๆ หรือว่าเพิ่มเนมสเปซไว้ก่อน แล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามาช่วยในภายหลัง และเท่าที่ผมดูในวิกิภาษาอังกฤษก็มีเพียงไม่กี่ภาษาเท่านั้นที่มีดัชนีสมบูรณ์ ทำให้ผมเกรงว่าเราอาจเพิ่มเนมสเปซนี้เข้ามาได้ แต่ไม่ได้ใช้งานเลย --Ponpan (พูดคุย) 22:31, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)
- ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องนี้ผมสั่งบอตให้ทำงานได้ อาจจะอัปเดตเดือนละครั้ง --Octahedron80 (พูดคุย) 08:27, 10 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เห็นด้วย ถ้าเช่นนั้นผมสนันสนุนให้มีครับ ส่วนเนมสเปซ ภาคผนวก ผมเห็นด้วยตั้งแต่แรกครับ สามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางมาก ตัวอย่างที่ผมเห็นคือ Category:English appendices หรือ Appendix:Animals ––Ponpan (พูดคุย) 08:52, 10 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เห็นด้วย ลองดูก็ได้ครับ --B20180 (พูดคุย) 19:43, 11 ตุลาคม 2558 (ICT)
ตอนนี้ส่วนกลางเพิ่มให้แล้วครับ ภาคผนวก คุยเรื่องภาคผนวก ดัชนี คุยเรื่องดัชนี ส่วนเรื่องที่ว่าจะเขียนอะไร ก็คงทำตามอังกฤษ --Octahedron80 (พูดคุย) 04:13, 3 พฤศจิกายน 2558 (ICT)
คำใหม่สุด/เก่าสุด
[แก้ไข]ในวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษเริ่มมีการใช้ Dynamic Page List ส่วนขยายของมีเดียวิกิสำหรับเรียงคำศัพท์ล่าสุด-เก่าสุดในหมวดหมู่ ซึ่งจะอยู่ใน {{poscatboiler}}
คิดว่าน่าจะมีหรือไม่ในภาษาไทย เพราะอะไร --[nä˥.kʰä˥.reːt̚˥˩] (พูดคุย) 10:27, 16 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- เป็นกลาง ผมลองคิดถึงข้อดีข้อเสีย ข้อดีก็เป็นการเพิ่มลูกเล่นความเคลื่อนไหวในหมวดหมู่แทนที่จะมีแต่รายการนิ่ง ๆ เพราะว่าบางหมวดหมู่อาจมีรายการคำเป็นพันเป็นหมื่น ไม่รู้ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ข้อเสียก็น่าจะเป็นว่าเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักเพิ่มขึ้น และน้อยคนที่จะเปิดหมวดหมู่ไล่ดู มักจะค้นคำโดยตรงมากกว่า แต่ถึงมีไว้ก็ไม่เสียหายอะไร ใช้ประยุกต์ทำอย่างอื่นได้ --Octahedron80 (พูดคุย) 12:40, 16 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- สำหรับคนที่ไม่ทราบว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ลองดูตัวอย่างได้ที่ en:Category:English nouns (หรือหมวดหมู่อื่น ๆ) รายชื่อคำใหม่สุด/เก่าสุดจะแสดงในกล่องทางขวา --Octahedron80 (พูดคุย) 11:00, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เห็นด้วย น่าจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง --Potapt (พูดคุย) 21:05, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เห็นด้วย ถ้ามีจะเพิ่มความสะดวกให้ในระดับหนึ่งครับ อาจไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน แต่อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ที่ร่วมพัฒนา คำใหม่สุด ทำให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของคำศัพท์สร้างใหม่ในแต่ละหมวดหมู่ แต่ละภาษาได้ง่ายขึ้น คำที่ไม่ได้แก้ไขนานสุด ทำให้เราทราบได้ง่ายว่าคำนี้อาจต้องการเพิ่มข้อมูล (หากยังไม่สมบูรณ์) หลังจากที่ไม่ได้แก้ไขมานาน และผลทางอ้อมคือทำให้ผู้แก้ไขมีความกระตือรือร้นที่จะแก้ไขคำศัพท์ เหมือนมีแหล่งชี้ หากผู้แก้ไขไม่รู้ว่าจะเริ่มพัฒนาคำศัพท์ใดก่อน (ตามมุมมองของผมนะครับ) --Ponpan (พูดคุย) 22:42, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เป็นกลาง เหตุผลตามคุณ Octahedron80 ครับ --B20180 (พูดคุย) 19:43, 11 ตุลาคม 2558 (ICT)
- เป็นกลาง ผมลองคิดถึงข้อดีข้อเสีย ข้อดีก็เป็นการเพิ่มลูกเล่นความเคลื่อนไหวในหมวดหมู่แทนที่จะมีแต่รายการนิ่ง ๆ เพราะว่าบางหมวดหมู่อาจมีรายการคำเป็นพันเป็นหมื่น ไม่รู้ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ข้อเสียก็น่าจะเป็นว่าเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักเพิ่มขึ้น และน้อยคนที่จะเปิดหมวดหมู่ไล่ดู มักจะค้นคำโดยตรงมากกว่า แต่ถึงมีไว้ก็ไม่เสียหายอะไร ใช้ประยุกต์ทำอย่างอื่นได้ --Octahedron80 (พูดคุย) 12:40, 16 กรกฎาคม 2558 (ICT)
รหัสภาษา sh
[แก้ไข]สงสัยรหัส sh เป็นภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย หรือ เซอร์เบีย-โครเอเชีย ตอนนี้ยังสับสนการเพิ่มคำอยู่เลย เพราะมีหมวดหมู่อยู่ 2 แบบ จะได้ดำเนินการต่อได้ถูกต้อง --[nä˥.kʰä˥.reːt̚˥˩] (พูดคุย) 23:39, 19 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย เป็นคำประสม เป็นมหภาษาที่รวม ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาบอสเนีย ภาษามอนเตเนโกร ดังนั้นการเรียกเซอร์เบีย-โครเอเชียจึงไม่ถูกต้อง ผมเคยถามว่าทำไมไม่เขียนแยกเป็น 4 ภาษา enwikt ตอบว่า มันแตกต่างกันแค่ตัวอักษรที่ใช้เขียน คืออักษรละตินบ้างอักษรซีริลลิกบ้าง แต่ก็สะกดและมีความหมายเดียวกัน (เหมือนภาษาบาลีที่เขียนด้วยอักษรใดก็ได้) จึงได้เขียนรวมกันหมดใน sh --Octahedron80 (พูดคุย) 09:22, 20 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- ปล. ถ้าจำไม่ผิดผมเคยรันบอตแทนที่คำ เซอร์เบีย- เป็นเซอร์โบ- ไปทั้งหมดแล้ว แต่ก็เปลี่ยนได้แค่เนื้อหา ไม่ได้เปลี่ยนหมวดหมู่ --Octahedron80 (พูดคุย) 09:27, 20 กรกฎาคม 2558 (ICT)
adverb
[แก้ไข]adverb ขอให้ใช้คำว่า "คำกริยาวิเศษณ์" เพื่อแยกออกจาก adjective ที่ใช้ว่าคำคุณศัพท์ ส่วน "คำวิเศษณ์" ที่ใช้ในภาษาไทยมันผสมกันระหว่าง คำกริยาวิเศษณ์+คำคุณศัพท์ (บางทีก็ปนคำอุทานและคำอนุภาคด้วย) ไม่มีชนิดของคำประเภทนี้ในภาษาอื่น จึงจับคู่ข้ามภาษาไม่ได้ ก็พยายามแยกอยู่ (ผมได้แจ้งลบหมวดหมู่คำวิเศษณ์ภาษาอังกฤษไปก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว) หมวดหมู่รูปผันและมอดูลต่าง ๆ ได้เตรียมพร้อมไว้สำหรับคำกริยาวิเศษณ์แล้ว ดังนั้นจึงขอให้ใช้คำกริยาวิเศษณ์เป็นต้นไปครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:49, 16 สิงหาคม 2558 (ICT)
หน้าที่ถูกแจ้งลบ
[แก้ไข]หมวดหมู่ คำที่ถูกแจ้งลบ เปลี่ยนเป็น หน้าที่ถูกแจ้งลบ แทนดีกว่าไหมครับ เพราะสิ่งที่จะลบไม่ได้มีแต่คำ --Octahedron80 (พูดคุย) 09:58, 25 สิงหาคม 2558 (ICT)
หมวดหมู่:ศัพท์ที่มีการออกเสียง IPA
[แก้ไข]ขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อ "หมวดหมู่:ศัพท์ที่มีการออกเสียง IPA แบ่งตามภาษา" เป็น "หมวดหมู่:ศัพท์ที่มีการออกเสียงตามสัทอักษรสากลแบ่งตามภาษา" และเปลี่ยนชื่อ "หมวดหมู่:ศัพท์ภาษา...ที่มีการออกเสียง IPA" เป็น "หมวดหมู่:ศัพท์ภาษา...ที่มีการออกเสียงตามสัทอักษรสากล" เพราะเห็นว่า "การออกเสียง IPA" สื่อความหมายได้ไม่ชัดเจนเท่า และ "สัทอักษร" เป็นศัพท์บัญญัติภาษาไทยที่ใช้กันค่อนข้างแพร่หลายแล้ว --Potapt (คุย) 07:12, 6 มีนาคม 2561 (ICT)
ภาษามาเลย์/ภาษามลายู
[แก้ไข]ขอเสนอให้เปลี่ยนการเรียก "ภาษามาเลย์" ในวิกิพจนานุกรม เป็น "ภาษามลายู" เพราะคำว่า "มลายู" มีอยู่แล้วในพจนานุกรมภาษาไทย และคำว่า "มาเลย์" ตามที่คนไทยใช้จะหมายถึง "มลายู" หรือ "มาเลเซีย" ก็ได้ จึงมีที่ใช้ไม่เหมือนกับ "Malay" ในภาษาอังกฤษ และอาจทำให้สับสนได้ --Potapt (คุย) 07:12, 6 มีนาคม 2561 (ICT)
คำว่า "ภาษามาเลย์" นี่ก็หมายถึง "ภาษามลายูแบบมาเลเซีย" อยู่แล้วครับ (แน่นอนว่ามีภาษามลายูแบบอื่นเช่น แบบบรูไน แบบปัตตานี ฯลฯ ซึ่งมีศัพท์และอักขรวิธีที่ไม่เหมือนกับ ms) แต่การจะเปลี่ยนชื่อเป็น "ภาษามลายู" เฉยๆมันก็ง่ายนิดเดียว อยากจะขอความเห็นเพิ่มอีกซักสองคนครับ --Octahedron80 (คุย) 09:12, 6 มีนาคม 2561 (ICT)
คือผมพูดรวม ๆ ถึงการใช้นอกวิกิพจนานุกรมด้วยน่ะครับ สำหรับคนที่อาจจะผ่านมาเห็น อย่างในวิกิพีเดีย Bahasa Melayu / Malay language มันรวมภาษาอินโดนีเซียด้วย ส่วนภาษามลายูในมาเลเซียเรียก Bahasa Malaysia / Malaysian language ทีนี้คนไทยหลายคนชอบเรียก "มาเลเซีย" ย่อ ๆ ว่า "มาเลย์" แล้วอาจจะเอาไปเทียบกับ Malay ทั้งที่ตั้งใจจะหมายถึง Malaysian --Potapt (คุย) 09:59, 6 มีนาคม 2561 (ICT)
ภาษามลายูไม่รวมภาษาอินโดนีเซียครับ แต่เป็นภาษาอินโดนีเซียที่รวมภาษามลายู (id มีศัพท์มากกว่า ms) ภาษาอินโดนีเซียสืบทอดรวมภาษาของหมู่เกาะต่าง ๆ เช่นภาษาชวา และภาษาจากประเทศอาณานิคม เช่นภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และที่เห็นว่าภาษาอินโดนีเซียกับภาษามลายูส่วนใหญ่เขียนเหมือนกันเพราะ ภาษาอินโดนีเซียยืมภาษามลายูมา สามารถดูตัวอย่างได้จาก enwikt --Octahedron80 (คุย) 10:59, 6 มีนาคม 2561 (ICT)
ภาษาอินโดนีเซียรับคำมาจากภาษาอื่นด้วยก็จริง แต่โดยพื้นฐานมันก็เป็นมลายูไม่ใช่เหรอครับ ที่ส่วนใหญ่เขียนเหมือนกันเพราะสืบทอดมาโดยตรง อย่างสามหน้านี้ก็บอกว่าภาษาอินโดนีเซียเป็นสาขาหนึ่งของภาษามลายู wikt:en:Category:Indonesian language, w:id:Bahasa Indonesia, w:id:Bahasa Melayu --Potapt (คุย) 03:36, 7 มีนาคม 2561 (ICT)
ผมอาจจะสื่อสารผิดเอง ข้างบนนั้นผมควรจะเขียนว่า ภาษามาเลย์ --Octahedron80 (คุย) 15:18, 20 มีนาคม 2561 (ICT)
เสนอให้เพิ่มเนมสเปซ อรรถาภิธาน
[แก้ไข]เนมสเปซ "อรรถาภิธาน:" เลียนแบบมาจาก "Thesaurus:" วิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษ และหน้าคุยก็เป็น "คุยเรื่องอรรถาภิธาน:" หน้าที่หลักของเนมสเปซนี้คือรวบรวมคำพ้องความ ภาษาไทยของเดิมเราเรียกว่า ไวพจน์ แต่สมัยนี้เมื่อค้นหาไวพจน์ เราก็จะเจอแต่ไวพจน์ เพ็ดตะพัด จึงควรใช้คำว่าอรรถาภิธานซึ่งบัญญัติโดย รบส. และบางหน้าก็จะมีลิงก์ไปยังคำตรงข้ามด้วย (มีหน้าอรรถาภิธานของตัวเอง) ซึ่งคำที่มีความหมายตรงข้ามไม่ชัดเจนก็สามารถมีหลายลิงก์ได้ การแยกเนมสเปซจะช่วยให้สคริปต์อัตโนมัติที่อาจมีขึ้นในอนาคตทำงานง่ายขึ้น ไม่เกี่ยวพันกับเนมสเปซหลัก การตั้งชื่อหน้าก็ให้เลือกเป็นคำสามัญที่สุด จึงขอให้สมาชิกของวิกิพจนานุกรมภาษาไทยช่วยสนับสนุนเพิ่มเนมสเปซอรรถาภิธานด้วยครับ --Octahedron80 (คุย) 15:15, 20 มีนาคม 2561 (ICT)
ปัจจุบันมีหน้าทดลองอรรถาภิธานอยู่จำนวนหนึ่ง สามารถดูได้ใน หมวดหมู่:อรรถาภิธาน --Octahedron80 (คุย) 15:16, 20 มีนาคม 2561 (ICT)
- เห็นด้วย มันน่าจะช่วยผู้ใช้ได้มากอยู่ครับ --ZilentFyld (คุย) 20:59, 26 มีนาคม 2561 (ICT)
- แต่นี่คือ thesaurus ไม่ใช่ synonym ครับ --ZilentFyld (คุย) 15:04, 14 เมษายน 2561 (ICT)
- เห็นด้วย เห็นด้วยทั้งหมด ทั้งการใช้ชื่ออรรถาภิธาน และประโยชน์ในอนาคต อย่างหนึ่งคือเป็นคลังคำศัพท์อย่างดีให้กับคนแต่งหนังสือเลย จะค้นหาคำได้ง่ายในฟังก์ชั่นค้นหาที่จะเพิ่มมาภายหลัง Wiktionary:Thesaurus/Format อาจใช้หน้านี้เป็นตัวอย่างจัดเรียงภายในหน้าอรรถาภิธานได้ (แต่ผมต้องศึกษาก่อนไม่รู้จักหลายคำ) --Ponpan (คุย) 08:21, 2 เมษายน 2561 (ICT)
Hi, this is done. As I seen, everything is ok. Zoranzoki21 (คุย) 19:07, 17 กรกฎาคม 2561 (ICT)
คำนามมีชีวิต/ไม่มีชีวิต
[แก้ไข]คำนามมีชีวิต/ไม่มีชีวิต (animate & inanimate noun) มีใช้เฉพาะบางภาษา คำนามมีชีวิต ก็คือพวกสัตว์และมนุษย์ที่เคลื่อนไหวได้ คำนามไม่มีชีวิต ก็คือพวกสิ่งของ อาการนาม และพืช ในแม่แบบ head ผมใช้คำย่อว่า ชีว./อชีว. จึงคิดว่าจะตั้งชื่อคำนามประเภทนี้ว่า คำชีวนาม กับ คำอชีวนาม เพื่อใช้ในระบบหมวดหมู่อัตโนมัติ เห็นด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ไม่เคยมีการใช้มาก่อน --Octahedron80 (คุย) 11:51, 26 มีนาคม 2561 (ICT)
- เป็นกลาง ผมคิดว่ามันคงมีประโยชน์ในการแยกภาษากลุ่มสลาวิกอยู่นะครับ แค่ปัญหาคือ ผมคิดว่าบางคนที่เข้ามาดูอาจจะไม่รู้ความหมายของ ชีวนาม อชีวนาม ก็ได้ครับ ผมชอบชื่อที่ตรงไปตรงมาของคำนามไม่มีชีวิต กับมีชีวิต ส่วนเรื่องของจุลนามต้องใช้คำอย่างนี้ เพราะถ้าไม่มีคำนี้ให้เขียนเป็น คำนามที่แสดงความเล็ก อะไรอย่างนั้นก็เปลืองที่ไปครับ --ZilentFyld (คุย) 11:54, 12 เมษายน 2561 (ICT)
ผมเจออีกคำนึงใช้ในพุทธศาสนา "ชีวิตนาม" (ชี-วิด-ตะ-นาม) ถ้าดูตามศัพท์ก็แปลตรงตัว ความหมายแคบกว่า ชีว- ส่วนคำตรงข้ามก็เติม อ- เข้าไป // animacy ความมีชีวิต ก็น่าจะเรียกว่า ชีวิตภาพ --Octahedron80 (คุย) 08:37, 21 พฤศจิกายน 2565 (+07)
ในทางเทคนิคพบว่าใช้ คำนามมีชีวิต/ไม่มีชีวิต มัน attach ง่ายกว่า งั้นก็ใช้แบบเดิมไปละกัน --Octahedron80 (คุย) 12:36, 21 พฤศจิกายน 2565 (+07)
เสนอชื่อเพื่อขอสิทธิ์ Interface administrator
[แก้ไข]เมื่อก่อนนี้ Administrator ธรรมดาสามารถแก้ไขหน้าได้ทุกหน้ารวมทั้ง JS/CSS/JSON ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของสคริปต์และการแสดงผลต่าง ๆ (เช่น common.js ฯลฯ) แต่ตอนนี้ทางเมทาวิกิมีนโยบายให้ตั้งผู้ใช้กลุ่มใหม่ชื่อว่า Interface administrator สำหรับแก้ไข JS/CSS/JSON โดยเฉพาะ ทำให้ขณะนี้ Administrator ธรรมดาไม่สามารถแก้ไขพวกหน้า JS/CSS/JSON ได้เลย ดังนั้น Administrator ที่มีอยู่จึงต้องขอสิทธิ์ Interface administrator ที่สามารถทำงานด้านเทคนิคเพิ่มเติมอย่างน้อย 1 คน ซึ่งผมก็จะเสนอชื่อ Octahedron80 ตัวผมเอง ในสภากาแฟนี้ เพื่อขอเสียงสนับสนุนจะได้ขอสิทธิ์ Interface administrator แก่ Steward ที่เมทาวิกิต่อไปครับ --Octahedron80 (คุย) 10:26, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- เห็นด้วย --Ponpan (คุย) 16:53, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- เห็นด้วย เพราะผมไม่รู้จะตอบอะไรอย่างอื่นเหมือนกัน --ZilentFyld (คุย) 18:00, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- เห็นด้วย --Potapt (คุย) 01:56, 27 กันยายน 2561 (ICT)
meta:Steward_requests/Permissions#Octahedron80@th.wiktionary --Octahedron80 (คุย) 10:21, 2 ตุลาคม 2561 (ICT)
preload ข้างบนตามภาษาเยอรมัน
[แก้ไข]หลังจากที่ผมไปเยือนวิกิพจนานุกรมภาษาเยอรมันดู ตอนที่สร้างหน้าใหม่จะมีส่วนหัวให้เลือกภาษาและหน้าที่คำ หลังจากทำการกดหน้าก็จะมีแบบเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับระหว่างตอนค้นหาก็จะมีเช่นกัน หลังจากการกดก็จะหน้าที่มี preload ตามภาษาเยอรมัน เช่นเดียวกับตอนเปิดหน้าที่ไม่มีอยู่ครับ ซึ่งหลังจากที่ผมศึกษาผมก็รู้ว่ามันทำงานยังไงซึ่งมันแทบไม่มีความซับซ้อนอะไรเลยครับ แต่ที่แน่นอน ถ้าจะทำตามเขา จะต้องทำการแก้ไข มีเดียวิกิ:Common.js, มีเดียวิกิ:Newarticletext, มีเดียวิกิ:Searchmenu-new, และอีกอันนึงที่หาไม่เจอ - - ว่าหน้าไร ซึ่งผมไม่สามารถทำการแก้ไขได้ ผมจึงขอถามที่สภากาแฟว่าควรทำหรือไม่ ซึ่งจะได้พูดคุยกับผู้ดูแลระบบถูก อนึ่งผมได้ทำการทดลองทำใน http://thdict.referata.com/ ซึ่งเป็นที่ที่ไม่ควรทดลองทำ ซึ่งถ้าจบการพูดคุยไปก็จะขอลบทิ้งทันที --ZilentFyld (คุย) 15:06, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- ผมแนะนำว่าทำเป็นสคริปต์ส่วนตัว (user script) ดีกว่าครับ มิฉะนั้นจะมีคนที่ไม่ชำนาญรูปแบบการเขียนมากดเล่น เป็นภาระแอดมินตามลบไปอีก อนึ่งการแก้ไขสคริปต์ที่ใช้ส่วนรวมจำเป็นต้องมี Interface administrator ปัจจุบัน Administrator ทั่วไปทำไม่ได้ ซึ่งผมตั้งหัวข้อรอสนับสนุนอยู่ด้านบน --Octahedron80 (คุย) 15:18, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- ปัญหาคือนี่มันดันไม่ใช่ js เขียนครับ มันก็แค่แม่แบบธรรมดา ที่ถ้ากดแล้วจะลิงค์เข้าหน้าที่มี url ตามหน้าที่มีพร้อม &preload=แม่แบบ (https://th.wiktionary.org/w/index.php?title=เพจเนม&action=edit&preload=แม่แบบ:ที่ตั้งไว้&editintro=ถ้าไม่ทำไม่เป็นไร ถ้าอยากทำก็ใส่วิธีการเขียนไป) ซึ่งผมก็ไม่เห็นวิธีทางที่จะเขียนเป็น userscript จริง ๆ (เพราะผมเขียนไม่เป็น) --ZilentFyld (คุย) 17:58, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- ผมเห็นมี dropdown ให้เลือกภาษา ตรงนั้นแม่แบบธรรมดามันทำงานไม่ได้หรอกครับ ยังไงก็ต้องมี js --Octahedron80 (คุย) 18:39, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- ก็คือต้องให้ได้แอดมินก่อน แล้วทำการลง dropdown ใน common.js แต่หลังจากนั้นคือทำไงครับ ผมแค่อยากรู้ :) --ZilentFyld (คุย) 19:34, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- ผมสามารถเอาแท็ก div ไปไว้ในข้อความระบบ มีเดียวิกิ:Newarticletext, มีเดียวิกิ:Searchmenu-new ใส่ไปแล้วสองอัน ซึ่งคุณก็จะเอาสคริปต์ของคุณมาเกาะแท็กนี้ก็ได้ครับ แต่ว่าข้อความที่มีอยู่เดิมก็ต้องไม่หาย ส่วนหน้าสคริปต์ก็เขียนเก็บไว้ในหน้าย่อยของคุณ แล้วเรียกใช้ผ่าน mw.loader.load (เหมือนสคริปต์แมว ๆ ที่ผมทำ) นั่นหมายความว่า สคริปต์จะไม่ทำงานกับทุกคนโดยบังคับ แต่จะเป็นความสมัครใจของผู้ใช้บางคน คุณก็เขียนหน้าโครงการขึ้นมาอธิบายคุณสมบัติ วิธีติดตั้ง วิธีใช้ เพื่อคนจะได้เข้ามาใช้ --Octahedron80 (คุย) 19:46, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- สำหรับเรื่อง common.js/common.css นั้น ถ้าคุณทำเป็นสคริปต์ส่วนตัวแล้วก็จะไม่ต้องใช้ครับเพราะไม่เกี่ยวกัน (สคริปต์แมว ๆ ก็ไม่ได้แก้ไขอะไรเลย) แต่ถ้าไม่มี IA เลยก็จะเข้าไปแก้ไม่ได้ รวมทั้งสคริปต์ของคุณด้วยถ้ามีปัญหา ผมก็ไม่สามารถช่วยได้ หรือไปลบหน้า js/css ที่คนเขียนเล่นหรือคนต้องการลบก็ไม่ได้ครับ --Octahedron80 (คุย) 20:06, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- ปล. สคริปต์ถ้าเขียนด้วย jQuery จะง่ายกว่า DOM และสามารถอ่านเข้าใจง่ายด้วย --Octahedron80 (คุย) 08:53, 25 กันยายน 2561 (ICT)
- ก็คือต้องให้ได้แอดมินก่อน แล้วทำการลง dropdown ใน common.js แต่หลังจากนั้นคือทำไงครับ ผมแค่อยากรู้ :) --ZilentFyld (คุย) 19:34, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- ผมเห็นมี dropdown ให้เลือกภาษา ตรงนั้นแม่แบบธรรมดามันทำงานไม่ได้หรอกครับ ยังไงก็ต้องมี js --Octahedron80 (คุย) 18:39, 24 กันยายน 2561 (ICT)
- ปัญหาคือนี่มันดันไม่ใช่ js เขียนครับ มันก็แค่แม่แบบธรรมดา ที่ถ้ากดแล้วจะลิงค์เข้าหน้าที่มี url ตามหน้าที่มีพร้อม &preload=แม่แบบ (https://th.wiktionary.org/w/index.php?title=เพจเนม&action=edit&preload=แม่แบบ:ที่ตั้งไว้&editintro=ถ้าไม่ทำไม่เป็นไร ถ้าอยากทำก็ใส่วิธีการเขียนไป) ซึ่งผมก็ไม่เห็นวิธีทางที่จะเขียนเป็น userscript จริง ๆ (เพราะผมเขียนไม่เป็น) --ZilentFyld (คุย) 17:58, 24 กันยายน 2561 (ICT)
ถือว่าปืดการสนทนาครั้งนี้นะครับ วิธีที่ใช้คือการทำ userscript ที่ใครอยากลงก็สามารถลงได้ โดยตัวโค้ดสำหรับนำไปใช้จะอยู่ที่ ผู้ใช้:ZilentFyld/testde.js ถ้าต้องการติดตั้งให้ใส่ importScript('User:ZilentFyld/testde.js');
ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง อาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง ไว้ในพิเศษ:หน้าของฉัน/common.jsครับ --ZilentFyld (คุย) 13:38, 25 กันยายน 2561 (ICT)
เพิ่มเนมสเปซ
[แก้ไข]สวัสดีครับ ขณะนี้มีการพิจารณาเพื่อเพิ่มเนมสเปซใหม่บนวิกิพีเดีย วิกิตำรา และวิกิซอร์ซ ไม่ทราบว่าทางวิกิพจนานุกรมมีเนมสเปซที่จำเป็นหรือต้องการให้เพิ่มใหม่หรือไม่ จะได้ยื่นเรื่องเพิ่มเนมสเปซไปด้วยกันครับ --Geonuch (คุย) 12:44, 8 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
ปัจจุบันยังไม่ต้องการเนมสเปซใดเพิ่ม เรามีเนมสเปซใหม่ ภาคผนวก ดัชนี อรรถาภิธาน ที่ขอไปก่อนหน้านี้แล้วครับ (ถึงจะมีแต่ก็ยังไม่จำเป็น+คิดชื่อไทยไม่ออกครับ)--Octahedron80 (คุย) 13:17, 8 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
Community Wishlist 2020
[แก้ไข]ในตอนนี้, "การสำรวจสิ่งปรารถนาของชุมชน ค.ศ. 2020"ได้พร้อมแล้ว อะไรที่ชุมชนเทคนิคควรทำในปีหน้า? เราพร้อมรับคำตอบและจะปิดรับในวันที่ 11 พฤศจิกายน หรือร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้ออื่น ๆ และทำให้มีเดียวิกิดีขึ้นสำหรับทุกคน
ในปีนี้ เราค่อนข้างเน้นไปที่โครงการเล็ก ๆ อย่างวิกิคำคม วิกิตำรา วิกิซอร์ซ วิกิพจนานุกรม เป็นต้น พวกเราต้องการที่จะเข้าใจปัญหาและต้องการปรับปรุงโครงการเหล่านี้ต่อไป ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการเหล่านี้ เราขอความกรุณาสละเวลาสักครู่เพื่อตอบแบบสอบถามนี้ ในการตอบเรื่องอื่น ๆ กรุณาอ่านแนวปฏิบัติในการตอบแบบสอบถาม คุณสามารถตอบในภาษาใดก็ได้และทางเราจะแปลภาษาให้กับคุณ ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
IFried (WMF) 02:30, 5 พฤศจิกายน 2562 (+07)
ภาษาจ้วง
[แก้ไข]ช่วงนี้มีไอพีเพิ่มศัพท์ภาษาจ้วงในคำไทยหลายหน้า ก็ไม่ได้ถือว่าก่อกวน และผมจะไล่ตรวจอีกที เพราะหลาย ๆ คำอาจจะไม่มีอยู่จริง หรือมีแต่ก็ไม่ตรงความหมายก็ต้องลบออก อนึ่ง "ภาษาจ้วง" นี้ยึดตามภาษาจ้วงมาตรฐาน สำเนียงอู่หมิง หรือหย่งเป่ย์ (zyb) ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาจ้วงเหนือ ผมมีแหล่งอ้างอิงหลายแหล่งที่สามารถตรวจได้ ในขณะที่ กลุ่มภาษาจ้วงใต้ (ไม่ใช่ภาษา แต่เป็นกลุ่มภาษา) ไม่สามารถเพิ่มลงไปได้ เพราะไม่มีสำเนียงมาตรฐาน (ต้องระบุว่าสำเนียง/รหัสใด) สะกดไม่เหมือนจ้วงเหนือ และยังไม่มีแหล่งใดให้สืบค้น (octahedron80) --1.179.204.131 09:38, 13 ธันวาคม 2562 (+07)
- รับทราบครับ (พึ่งเห็น) --Geonuch (คุย) 09:29, 29 มกราคม 2563 (+07)
เพิ่มเติม ตอนนี้เรามีแหล่งสำหรับสืบค้น ภาษาจ้วงแบบหนง (Nong Zhuang: zhn) ซึ่ง(เคย)จัดว่าเป็นกลุ่มภาษาจ้วงใต้ ที่เว็บไซต์นี้ --Octahedron80 (คุย) 12:10, 29 มกราคม 2563 (+07)
Wiki Loves Folklore
[แก้ไข]Hello Folks,
Wiki Loves Love is back again in 2020 iteration as Wiki Loves Folklore from 1 February, 2020 - 29 February, 2020. Join us to celebrate the local cultural heritage of your region with the theme of folklore in the international photography contest at Wikimedia Commons. Images, videos and audios representing different forms of folk cultures and new forms of heritage that haven’t otherwise been documented so far are welcome submissions in Wiki Loves Folklore. Learn more about the contest at Meta-Wiki and Commons.
Kind regards,
Wiki Loves Folklore International Team
— Tulsi Bhagat (contribs | talk)
sent using MediaWiki message delivery (คุย) 13:15, 18 มกราคม 2563 (+07)
ปรับปรุงเนมสเปซเพิ่มเติมสำหรับ Robot Policy
[แก้ไข]ขณะนี้มีการพิจารณาปรับปรุงเนมสเปซเพิ่มเติมสำหรับ Robot Policy ที่วิกิพีเดียภาษาไทย และการปรับปรุงการเก็บค่าดัชนีของเนมสเปซในวิกิพจนานุกรมภาษาไทยก็ไม่ได้มีการปรับปรุงมานานแล้ว จึงเสนอให้ชุมชนช่วยกันพิจารณาการตั้งค่าดัชนีของเนมสเปซเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันครับ
สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่าค่าดัชนีในเนมสเปซมีความสำคัญอย่างไร ขอรบกวนให้อ่านที่ w:วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ใช้ Robot Policy ปราบกิจกรรม SEO ในวิกิพีเดียไทย เพราะเห็นว่าอธิบายไว้ค่อนข้างชัดเจนแล้ว
ค่าเนมสเปซในปัจจุบัน
[แก้ไข]ค่าเนมสเปซต่าง ๆ ของวิกิพจนานุกรมภาษาไทยในปัจจุบันซึ่งแสดงในตารางด้านล่างประกอบด้วยเนมสเปซที่มีค่าดัชนี (แสดงชื่อสีดำ) เนมสเปซที่ไม่ได้เก็บค่าดัชนี (แสดงชื่อสีแดง) โดยเนมสเปซที่ไม่ได้เก็บค่าดัชนีนั้นถูกตั้งค่าในการเสนอให้ปรับแต่ง MediaWiki เมื่อ 8 ปีก่อน
เนมสเปซหัวเรื่อง | เนมสเปซคุย | หมายเหตุ |
---|---|---|
0 (หลัก/บทความ) | 1 พูดคุย | T35847 |
2 ผู้ใช้ | 3 คุยกับผู้ใช้ | T35847 |
4 วิกิพจนานุกรม | 5 คุยเรื่องวิกิพจนานุกรม | T35847 |
6 ไฟล์ | 7 คุยเรื่องไฟล์ | T35847 |
8 มีเดียวิกิ | 9 คุยเรื่องมีเดียวิกิ | T35847 |
10 แม่แบบ | 11 คุยเรื่องแม่แบบ | T35847 |
12 วิธีใช้ | 13 คุยเรื่องวิธีใช้ | T35847 |
14 หมวดหมู่ | 15 คุยเรื่องหมวดหมู่ | T35847 |
100 ภาคผนวก | 101 คุยเรื่องภาคผนวก | T114458, เนมสเปซใหม่หลังปี 2554 |
102 ดัชนี | 103 คุยเรื่องดัชนี | T114458, เนมสเปซใหม่หลังปี 2554 |
104 อรรถาภิธาน | 105 คุยเรื่องอรรถาภิธาน | T198585, เนมสเปซใหม่หลังปี 2554 |
828 มอดูล | 829 คุยเรื่องมอดูล | เปิดใช้งาน Lua, เนมสเปซใหม่หลังปี 2554 |
ข้อเสนอ
[แก้ไข]โดยส่วนตัวขอเสนอให้ยกเลิกการเก็บค่าดัชนีในเนมสเปซคุยที่สร้างใหม่หลังปี 54 (คุยเรื่องภาคผนวก, คุยเรื่องดัชนี, คุยเรื่องอรรถาภิธาน, คุยเรื่องมอดูล) ทั้งหมด --Geonuch (คุย) 20:19, 11 พฤษภาคม 2563 (+07)
ความเห็น
[แก้ไข]- เห็นด้วยว่า talk page ควรจะตั้ง noindex ไม่ว่าจะเป็น ns ไหนก็แล้วแต่ เพราะหน้านั้นมีไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่ใช่เนื้อหา --Octahedron80 (คุย) 14:44, 12 พฤษภาคม 2563 (+07)
- เห็นด้วย --B20180 (คุย) 20:49, 12 พฤษภาคม 2563 (+07)
- เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 09:08, 13 พฤษภาคม 2563 (+07)
ผลลัพท์
[แก้ไข]แจ้งเรื่องที่ฟาบริเคเตอร์ (phab:T253578) แล้วครับ รอดำเนินการ --Geonuch (คุย) 08:24, 26 พฤษภาคม 2563 (+07)
Wiki of functions naming contest
[แก้ไข]สวัสดี. กรุณาช่วยเราเลือกสรรชื่อของโครงการวิกิมีเดียใหม่ โครงการนี้จะเป็นวิกิที่ชุมชนสามารถทำงานร่วมกันผ่านไลบรารีของฟังก์ชัน ที่ที่คุณสามารถสร้าง แก้ไข พูดคุย และแบ่งปันได้ บางฟังก์ชันจะช่วยสร้างบทความวิกิพีเดียที่ไม่ขึ้นกับภาษาซึ่งสามารถจะแสดงบทความในภาษาใดก็ได้ในโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิกิพีเดียนามธรรม แต่ฟังก์ชันก็ยังสามารถใช้ในสถานการณ์อื่นได้อีก
การลงคะแนนจะมีทั้งสิ้น 2 รอบ เริ่มแต่ละรอบในวันที่ 29 กันยายน และ 27 ตุลาคม ซึ่งแต่ละรอบจะมีการตรวจสอบทางกฎหมายทุกครั้ง เราตั้งเป้าที่จะได้ชื่อใหม่ในวันที่ 8 ธันวาคม หากคุณสนใจมีส่วนร่วม เรียนรู้เพิ่มเติมและลงคะแนนเลยตอนนี้บนเมทาวิกิ ขอขอบคุณ! --Quiddity (WMF)04:16, 30 กันยายน 2563 (+07)
Call for feedback about Wikimedia Foundation Bylaws changes and Board candidate rubric
[แก้ไข]สวัสดี. Apologies if you are not reading this message in your native language. โปรดช่วยแปลเป็นภาษาไทย.
Today the Wikimedia Foundation Board of Trustees starts two calls for feedback. One is about changes to the Bylaws mainly to increase the Board size from 10 to 16 members. The other one is about a trustee candidate rubric to introduce new, more effective ways to evaluate new Board candidates. The Board welcomes your comments through 26 October. For more details, check the full announcement.
ขอขอบคุณ! Qgil-WMF (talk) 00:11, 8 ตุลาคม 2563 (+07)
ขอความเห็นเกี่ยวกับ Discord สำหรับชุมชนวิกิมีเดียภาษาไทย
[แก้ไข]ดูรายละเอียดที่ w:วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ขอความเห็นเกี่ยวกับ Discord สำหรับชุมชนวิกิมีเดียภาษาไทย --Geonuch (คุย) 19:40, 19 ตุลาคม 2563 (+07)
Important: maintenance operation on October 27
[แก้ไข]อ่านในภาษาอื่น • โปรดช่วยแปลเป็นภาษาไทย
เนื่องด้วยทางมูลนิธิวิกิมีเดียได้ทดสอบศูนย์ข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูลหลักและศูนย์ข้อมูลรอง ซึ่งการทดสอบนี้จะทำให้วิกิพีเดียและวิกิอื่น ๆ ของวิกิมีเดียยังสามารถออนไลน์อยู่ได้หากเกิดภัยพิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าทุก ๆ สิ่งใช้งานได้ แผนกเทคโนโลยีวิกิมีเดียจำเป็นต้องจัดแผนการทดสอบ การทดสอบนี้จะช่วยให้เห็นว่าพวกเขาสามารถสับเปลี่ยนจากศูนย์ข้อมูลหนึ่งไปยังศูนย์อื่นได้อย่างไว้วางใจ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทีมหลายทีมจัดเตรียมการทดสอบและเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่คาดไม่ถึงต่าง ๆ
โดยเราจะสับการจราจรกลับมายังศูนย์ข้อมูลหลักในวันอังคาร ที่ 27 ตุลาคม 2020
โชคไม่ดีนัก ด้วยข้อจำกัดบางอย่างในมีเดียวิกิ การแก้ไขทั้งหมดต้องถูกหยุดชั่วคราวระหว่างการสับเปลี่ยนศูนย์ข้อมูล เราขออภัยในความไม่สะดวก และเราจะทำงานเพื่อลดการรบกวนให้เหลือน้อยที่สุดในอนาคต
คุณจะยังสามารถอ่านวิกิทั้งหมด แต่จะไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
- คุณอาจไม่สามารถแก้ไขได้นับชั่วโมงในวันอังคารที่ 27 ตุลาคมนี้ การทดสอบจะเริ่มต้นเวลา 21:00 ICT ตามเวลาประเทศไทย (14:00 UTC, 10:00 EDT, 07:00 EST และในนิวซีแลนด์ 03:00 NZST ในวันพุธที่ 28 ตุลาคม)
- ถ้าคุณลองแก้ไขหรือบันทึกระหว่างช่วงเวลาเหล่านี้ คุณจะเห็นข้อความแสดงข้อผิดพลาด เราหวังว่าการแก้ไขจะไม่สูญหายไปในระหว่างนั้น แต่เราก็ไม่สามารถรับประกันได้ ถ้าคุณเห็นข้อความแสดงความผิดพลาด กรุณารอจนกว่าทุกสิ่งจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากนั้นคุณจึงควรจะสามารถบันทึกการแก้ไขของคุณได้ แต่เราแนะนำว่า คุณควรจะคัดลอกการเปลี่ยนแปลงของคุณไว้ก่อนเป็นอันดับแรก ในกรณีเช่นว่านั้น
ผลกระทบอื่น ๆ:
- งานที่ทำในเบื้องหลังจะช้าลง และงานบางอย่างก็อาจจะตกไป ลิงก์แดงอาจไม่ได้ปรับปรุงอย่างรวดเร็วเหมือนภาวะปกติ ถ้าคุณสร้างบทความที่ถูกเชื่อมโยงในที่อื่นเรียบร้อยแล้ว ลิงก์แดงในหน้าที่โยงมานั้นจะยังคงเป็นสีแดงนานกว่าปกติ สคริปต์บางสคริปต์ที่ทำงานมาเป็นระยะเวลานานจะต้องหยุดการทำงาน
- โค้ดจะหยุดทำงานทั้งสัปดาห์ของวันที่ 26 ตุลาคม 2020 โค้ดที่ไม่จำเป็นจะไม่เปิดให้ใช้งาน
-- Trizek (WMF) (talk) 00:12, 22 ตุลาคม 2563 (+07)
Important: maintenance operation on October 27
[แก้ไข]อ่านในภาษาอื่น • โปรดช่วยแปลเป็นภาษาไทย
เนื่องด้วยทางมูลนิธิวิกิมีเดียได้ทดสอบศูนย์ข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูลหลักและศูนย์ข้อมูลรอง ซึ่งการทดสอบนี้จะทำให้วิกิพีเดียและวิกิอื่น ๆ ของวิกิมีเดียยังสามารถออนไลน์อยู่ได้หากเกิดภัยพิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าทุก ๆ สิ่งใช้งานได้ แผนกเทคโนโลยีวิกิมีเดียจำเป็นต้องจัดแผนการทดสอบ การทดสอบนี้จะช่วยให้เห็นว่าพวกเขาสามารถสับเปลี่ยนจากศูนย์ข้อมูลหนึ่งไปยังศูนย์อื่นได้อย่างไว้วางใจ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทีมหลายทีมจัดเตรียมการทดสอบและเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่คาดไม่ถึงต่าง ๆ
โดยเราจะสับการจราจรกลับมายังศูนย์ข้อมูลหลักในวันอังคาร ที่ 27 ตุลาคม 2020
โชคไม่ดีนัก ด้วยข้อจำกัดบางอย่างในมีเดียวิกิ การแก้ไขทั้งหมดต้องถูกหยุดชั่วคราวระหว่างการสับเปลี่ยนศูนย์ข้อมูล เราขออภัยในความไม่สะดวก และเราจะทำงานเพื่อลดการรบกวนให้เหลือน้อยที่สุดในอนาคต
คุณจะยังสามารถอ่านวิกิทั้งหมด แต่จะไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
- คุณอาจไม่สามารถแก้ไขได้นับชั่วโมงในวันอังคารที่ 27 ตุลาคมนี้ การทดสอบจะเริ่มต้นเวลา 21:00 ICT ตามเวลาประเทศไทย (14:00 UTC, 10:00 EDT, 07:00 EST และในนิวซีแลนด์ 03:00 NZST ในวันพุธที่ 28 ตุลาคม)
- ถ้าคุณลองแก้ไขหรือบันทึกระหว่างช่วงเวลาเหล่านี้ คุณจะเห็นข้อความแสดงข้อผิดพลาด เราหวังว่าการแก้ไขจะไม่สูญหายไปในระหว่างนั้น แต่เราก็ไม่สามารถรับประกันได้ ถ้าคุณเห็นข้อความแสดงความผิดพลาด กรุณารอจนกว่าทุกสิ่งจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากนั้นคุณจึงควรจะสามารถบันทึกการแก้ไขของคุณได้ แต่เราแนะนำว่า คุณควรจะคัดลอกการเปลี่ยนแปลงของคุณไว้ก่อนเป็นอันดับแรก ในกรณีเช่นว่านั้น
ผลกระทบอื่น ๆ:
- งานที่ทำในเบื้องหลังจะช้าลง และงานบางอย่างก็อาจจะตกไป ลิงก์แดงอาจไม่ได้ปรับปรุงอย่างรวดเร็วเหมือนภาวะปกติ ถ้าคุณสร้างบทความที่ถูกเชื่อมโยงในที่อื่นเรียบร้อยแล้ว ลิงก์แดงในหน้าที่โยงมานั้นจะยังคงเป็นสีแดงนานกว่าปกติ สคริปต์บางสคริปต์ที่ทำงานมาเป็นระยะเวลานานจะต้องหยุดการทำงาน
- โค้ดจะหยุดทำงานทั้งสัปดาห์ของวันที่ 26 ตุลาคม 2020 โค้ดที่ไม่จำเป็นจะไม่เปิดให้ใช้งาน
-- Trizek (WMF) (talk) 18:51, 22 ตุลาคม 2563 (+07)
Wiki of functions naming contest - Round 2
[แก้ไข]สวัสดี. นี่คือการเตือนความจำ กรุณาช่วยเลือกชื่อของโครงการวิกิมีเดียใหม่ ซึ่งเป็นบ้านของฟังก์ชัน การลงคะแนนรอบสุดท้ายเริ่มต้นในวันนี้ รายการเข้ารอบสุดท้ายดูได้ที่ Wikicode, Wikicodex, Wikifunctions, Wikifusion, Wikilambda, Wikimedia Functions หากคุณสนใจมีส่วนร่วม เรียนรู้เพิ่มเติมและลงคะแนนเลยตอนนี้บนเมทาวิกิ ขอขอบคุณ! --Quiddity (WMF)
05:11, 6 พฤศจิกายน 2563 (+07)
Update to ICU Unicode library
[แก้ไข]เริ่มต้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เราจะย้ายเซิร์ฟเวอร์ที่รันเซิร์ฟเวอร์แอปพลิเคชันมีเดียวิกิ ไปยังไลบรารี ICU Unicode รุ่นใหม่ (International Components for Unicode) (จากรุ่น 57 เป็น 63) สิ่งนี้จะยกเลิกการปิดกั้นการทำงานในอนาคตในการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ และยังอนุญาตให้ใช้สากลวิวัฒน์ที่ได้รับการปรับปรุงในอนาคต (ในกรณีที่วิกิต้องการใช้คุณลักษณะใหม่จาก ICU เช่นการทำคอลแลคชันคำจำกัดความใหม่ และให้เราสามารถใช้งานยูนิโค้ดรุ่นใหม่ขึ้นในมีเดียวิกิได้)
การย้ายนี้จะส่งผลกระทบที่ผูู้ใช้สามารถมองเห็นได้ คือการเรียงลำดับชื่อหน้าในหมวดหมู่ ซึ่งอาจมีการเรียงลำดับที่แปลกประหลาด หน้าทั้งหมดที่ได้รับการอัปเดตด้วยซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ที่จะใช้การเรียงลำดับใหม่ในขณะที่หน้าที่ยังไม่มีการแตะต้อง (เข้าชม) ยังคงใช้การเรียงลำดับแบบเก่า ดังนั้น เราจึงต้องรันสคริปต์บำรุงรักษาเพื่ออัปเดตการเรียงลำดับของหน้าเหล่านั้น
การเรียงลำดับผิดพลาดนี้อาจใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมง (ในวิกิขนาดกลาง) ถึงหนึ่งวัน (ในวิกิขนาดใหญ่) หรืออาจใช้เวลาสองสามวันบนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เวลาเริ่มต้นจะขึ้นอยู่กับว่าสคริปต์ย้ายทำงานถึงวิกินั้น ๆ ในช่วงเวลาใด
วิกิที่ได้รับผลกระทบทั้ง 149 วิกิ (รวมแปดจากสิบวิกิพีเดียที่ใหญ่ที่สุด และทุกวิกิของวิกิมีเดียที่เป็นภาษาไทย) รายการรายละเอียดและทาสก์ด้านเทคนิคจะอยู่ที่ T264991
ขอบคุณ
Trizek (WMF) 21:53, 16 พฤศจิกายน 2563 (+07)
ขณะนี้ "การสำรวจสิ่งปรารถนาของชุมชน 2021" เปิดรับคำแนะนำแล้ว! อะไรที่เทคนิคชุมชนควรดำเนินการในปีหน้า? เราพร้อมรับข้อแนะนำและจะปิดรับในวันที่ 30 พฤศจิกายน หรือร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้ออื่น ๆ และทำให้วิกิมีเดียดีขึ้นสำหรับทุกคน หลังจากนั้นชุมชนจะลงคะแนนในข้อเสนอระหว่าง 08 ธันวาคม และ 21 ธันวาคม
ในปีนี้ เทคนิคชุมชนมุ่งเน้นไปที่เครื่องมือสำหรับเหล่าชาววิกิมีเดียที่มีประสบการณ์ คุณสามารถเสนอในภาษาใดก็ได้ และเราจะแปลภาษาให้ ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้และเราจะคอยดูข้อเสนอจากคุณ!
01:11, 21 พฤศจิกายน 2563 (+07)
Global bot policy proposal: invitation to a Meta discussion
[แก้ไข]สวัสดี!
I apologize for sending a message in English. โปรดช่วยแปลเป็นภาษาไทย. According to the list, your wiki project currently is opted in to the global bot policy. Under this policy, bots that fix double redirects or maintain interwiki links are allowed to operate under a global bot flag that is assigned directly by the stewards.
As the Wikimedia projects developed, the need for the current global bot policy decreased, and in the past years, no bots were appointed via that policy. That is mainly given Wikidata were estabilished in 2013, and it is no longer necessary to have dozens of bots that maintain interwiki links.
A proposal was made at Meta-Wiki, which proposes that the stewards will be authorized to determine whether an uncontroversial task may be assigned a global bot flag. The stewards already assign permissions that are more impactful on many wikis, namely, global sysops and global renamers, and I do not think that trust should be an issue. The stewards will assign the permission only to time-proven bots that are already approved at a number of projects, like ListeriaBot.
By this message, I would like to invite you to comment in the global RFC, to voice your opinion about this matter.
Thank you for your time.
Best regards,
Martin Urbanec (คุย) 18:49, 24 พฤศจิกายน 2563 (+07)
Wikidata descriptions changes to be included more often in Recent Changes and Watchlist
[แก้ไข]Sorry for sending this message in English. Translations are available on this page. Feel free to translate it in more languages!
As you may know, you can include changes coming from Wikidata in your Watchlist and Recent Changes (in your preferences). Until now, this feature didn’t always include changes made on Wikidata descriptions due to the way Wikidata tracks the data used in a given article.
Starting on December 3rd, the Watchlist and Recent Changes will include changes on the descriptions of Wikidata Items that are used in the pages that you watch. This will only include descriptions in the language of your wiki to make sure that you’re only seeing changes that are relevant to your wiki.
This improvement was requested by many users from different projects. We hope that it can help you monitor the changes on Wikidata descriptions that affect your wiki and participate in the effort of improving the data quality on Wikidata for all Wikimedia wikis and beyond.
Note: if you didn’t use the Wikidata watchlist integration feature for a long time, feel free to give it another chance! The feature has been improved since the beginning and the content it displays is more precise and useful than at the beginning of the feature in 2015.
If you encounter any issue or want to provide feedback, feel free to use this Phabricator ticket. Thanks!
2020 Coolest Tool Award Ceremony on December 11th
[แก้ไข]Hello all,
The ceremony of the 2020 Wikimedia Coolest Tool Award will take place virtually on Friday, December 11th, at 17:00 GMT. This award is highlighting tools that have been nominated by contributors to the Wikimedia projects, and the ceremony will be a nice moment to show appreciation to the tools developers and maybe discover new tools!
You will find more information here about the livestream and the discussions channels. Thanks for your attention, Lea Lacroix (WMDE) 17:55, 7 ธันวาคม 2563 (+07)
เราขอเชิญชวนผู้ใช้ที่มีบัญชีทุกท่านร่วมลงคะแนนในการสำรวจความปรารถนาชุมชน 2021 สามารถลงคะแนนในความปรารถนาเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ในแบบการสำรวจ มีการรวบรวมความปรารถนาในรูปแบบของข้อเสนอสำหรับเครื่องมือใหม่ ๆ และการปรับปรุงสำหรับผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ เมื่อการลงคะแนนเสร็จสิ้น เราจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อสนองความปรารถนาของทุกท่าน และจะเริ่มจากข้อเสนอที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
เราในฐานะทีมเทคนิคชุมชน ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของมูลนิธิวิกิมีเดีย จะสร้างและปรับปรุงเครื่องมือการแก้ไขและเครื่องมือควบคุมดูแล สิ่งที่เราต้องดำเนินการได้รับการพิจารณาจากผลลัพธ์ของการสำรวจความปรารถนาชุมชน ในทุก ๆ ปีจะสามารถส่งข้อเสนอได้ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ และจะเริ่มมีการลงคะแนนหลังจากนั้น ทุกท่านจะสามารถเลือกสิ่งที่ท่านคิดว่ามีประโยชน์ได้ในระยะนี้ และสุดท้าย เราจะเลือกข้อเสนอเพื่อนำไปดำเนินการต่อ บางความปรารถนาอาจได้รับการสนองโดยอาสาสมัครอื่น ผู้พัฒนา หรือทีมอื่น ๆ แทนก็ได้เช่นกัน
เราจะคอยการลงคะแนนจากทุกท่าน ขอบคุณ!
22:58, 11 ธันวาคม 2563 (+07)
คอนเซ็ปต์ หน้าหลัก
[แก้ไข]เน้นที่ผู้ใช้งานเป็นหลักโดยตำแหน่งต่างๆ ตามการอ่าน ซ้ายบน --> ขวาบน --> ซ้ายล่าง --> ขวาล่าง
- ซ้ายบนเป็นของผู้ใช้ไว้สำหรับหาคำศัพท์ ให้ง่ายและสะดวกที่สุด
- ขวาบนสุด อธิบายถึงโครงการนิดหน่อย ตอนนี้ลิงก์เป็น สีฟ้า พื้นดำ ดูยาก (แต่เปลี่ยนไม่เป็น
- ขวาบน เป็น "รู้ไหมว่า" เกล็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับคำศัพท์ ประโยชน์ต่อผู้ใช้ทางอ้อม
- ซ้ายล่าง เป็นการค้นหาเพิ่มเติม สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพิ่มเฉพาะทาง
- ขวาล่าง สำหรับผู้เขียน เป็นส่วนย่อของ ศาลาประชาคม
- ส่วนล่าง อธิบายถึงโครงการอื่น
--Manop 07:31, 5 ตุลาคม 2005 (UTC)
Lombard Wiktionary
[แก้ไข](Please translate this message.) Now is the Lombard edition of Wiktionary up and running with over +1,000 entries. Soon will it be over +10,000 entries. --Apisite (คุย) 20:20, 5 ธันวาคม 2564 (+07)
ดัชนีตัวอักษร
[แก้ไข]ดัชนีตัวอักษร รู้สึกว่าจะไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ เพราะคำศัพท์เรามีเยอะมาก อนึ่ง การค้นหาสามารถใส่คำได้โดยตรง ไม่ต้องไปไล่หา ผมจึงมีแนวคิดว่า เปลี่ยนเป็นรายการคำสุ่ม ที่มีอยู่แล้วในโครงการ สัก 100 คำ แล้วใช้บอตอัปเดต จะช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าถึง คำที่ไม่ค่อยมีคนนึกถึง หรือคำไม่ค่อยมีคนเข้าได้ด้วย --Octahedron80 (คุย) 13:07, 12 มกราคม 2565 (+07)
- 100 ก็ยังน้อยไป ผมลอง 500 เลยครับ --Octahedron80 (คุย) 15:56, 12 มกราคม 2565 (+07)
- เท่าที่ผมจำได้นะครับ ที่มีดัชนีตัวอักษรน่าจะเป็นเพราะวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษเคยมี แล้วเราทำตามเขา แต่ตอนนี้ที่นั่นไม่มีแล้ว เขาคงมีเหตุผลดีในการลบออกครับ --A.S. (คุย) 13:16, 12 มกราคม 2565 (+07)
- เห็นด้วยครับ อนึ่งผมได้แก้ไขบล็อกค้นหาคำในวิกิพจนานุกรมด้านล่าง ให้ผู้ใช้สามารถค้นหาศัพท์ผ่านหมวดหมู่ภาษา อักษร ตระกูลภาษา รากศัพท์ รายการหัวข้อ และอื่นๆ ได้ แล้วก็เพิ่มหมวดหมู่บางหมวดหมู่ที่น่าสนใจ คิดเห็นอย่างไรบอกได้นะครับ --Ponpan (คุย) 21:59, 12 มกราคม 2565 (+07)