เล่า

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เล̂า, เลา, และ เล้า

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เล่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlâo
ราชบัณฑิตยสภาlao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/law˥˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงเหล้า

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເລົ່າ (เล็่า), ภาษาคำเมือง ᩃᩮᩢ᩵ᩣ (เลั่า), ภาษาไทลื้อ ᦟᧁᧈ (เล่า)

คำกริยา[แก้ไข]

เล่า (คำอาการนาม การเล่า)

  1. (สกรรม) พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง
    เล่าเรื่อง

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง laeuh (เล่า-ใช้ไปหลายรอบแล้ว เก่าแล้ว ซ้ำแล้ว)

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เล่า

  1. ทำแล้วทำอีกอยู่นั่นเอง
    พูดแล้วพูดเล่า
    กินแล้วกินเล่า
    ทำแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่รู้จักเสร็จ

คำอนุภาค[แก้ไข]

เล่า

  1. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น, ล่ะ ก็ว่า
    มิน่าเล่า
    กินไหมเล่า
    ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

เล่า

  1. รูปที่เลิกใช้ของ เหล้า

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

เล่า (คำอาการนาม ก๋ารเล่า หรือ ก๋านเล่า)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩮᩢ᩵ᩣ (เลั่า)

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เล่า

  1. ทำแล้วทำอีก