ทำเนียน
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]ทำ + เนียน (“แสร้งทำอย่างแนบเนียน”)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ทำ-เนียน | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | tam-niian |
ราชบัณฑิตยสภา | tham-nian | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /tʰam˧.nia̯n˧/(สัมผัส) |
คำกริยา
[แก้ไข]ทำเนียน (คำอาการนาม การทำเนียน)
- (ภาษาปาก, สแลง) ทำตัวเสมือนเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นได้อย่างกลมกลืนและแนบเนียน
- เขาชอบทำเนียนแต่งตัวดี ๆ เข้าไปร่วมกินเลี้ยงในงานแต่งงานของคนอื่น
- (ภาษาปาก, สแลง) แสร้งเข้าไปตีสนิทราวกับว่าคุ้นเคยกันอย่างดี
- ถึงไม่รู้จักแต่ฉันก็ทำเนียนเข้าไปจับมือและขอถ่ายรูปกับนางเอกคนนั้นมาแล้ว
อ้างอิง
[แก้ไข]- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 86.