เนียน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เนียน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงniian
ราชบัณฑิตยสภาnian
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/nia̯n˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงเนียร

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

เนียน

  1. กาบหมากที่เจียนให้มนขนาดเล็กกว่าฝ่ามือสำหรับตักน้ำพริกจากครก, เปลือกจั่นมะพร้าวสำหรับแซะน้ำตาลเมื่อเวลาเคี่ยว
  2. โดยปริยายใช้เรียกที่สำหรับแซะหรือตัดขนม

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เนียน (คำอาการนาม ความเนียน)

  1. มีเนื้อละเอียดนุ่มนวล
    เนื้อเนียน
  2. สละสลวย[1]
    เรื่องสั้นเรื่องนี้ใช้ภาษาเนียนมาก

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เนียน (คำอาการนาม ความเนียน)

  1. เรียบสนิท
    เข้าไม้ได้เนียนดี

คำกริยา[แก้ไข]

เนียน (คำอาการนาม ความเนียน)

  1. (ภาษาปาก, สแลง) แสร้งทำได้อย่างแนบเนียน[1]
    ไม่ได้เป็นนักข่าว แต่ไปสัมภาษณ์เขาเฉยเลย เนียนจริง ๆ

คำเกี่ยวข้อง[แก้ไข]

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

เนียน

  1. เครื่องมือสำหรับกวดลวดเลี่ยมภาชนะ เช่นปากป้านหรือปากถ้วยให้เรียบ

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 95.