ครก
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ภาษาไทย[แก้ไข]
รากศัพท์[แก้ไข]
จากภาษาไทดั้งเดิม *ɡrokᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน คก, ภาษาลาว ຄົກ (ค็ก), ภาษาคำเมือง ᨣᩕᩫ᩠ᨠ (คร็ก), ภาษาเขิน ᨤᩫ᩠ᨠ (ฅ็ก), ภาษาไทลื้อ ᦷᦆᧅ (โฅก), ภาษาไทใหญ่ ၶူၵ်ႉ (ขู๎ก), ภาษาไทใต้คง ᥑᥨᥐᥳ (โฃ๎ก), ภาษาไทดำ ꪶꪋꪀ (โจ̱ก), ภาษาอาหม 𑜁𑜤𑜀𑜫 (ขุก์) ,ภาษาจ้วง gyok
การออกเสียง[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ | คฺรก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | krók |
ราชบัณฑิตยสภา | khrok | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰrok̚˦˥/(สัมผัส) |
คำนาม[แก้ไข]
ครก
- เครื่องใช้ที่มีลักษณะอย่างหลุมสำหรับตำหรือโขลกด้วยสาก
- เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ทั้งท่อนขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ขุดเนื้อในออกให้เป็นหลุมลึก สำหรับตำหรือซ้อมข้าวเป็นต้นด้วยสากหรือตะลุมพุก เรียกว่า ครกซ้อมมือ, ถ้าใช้ตำด้วยกระเดื่อง เรียกว่า ครกกระเดื่อง
- เรียกขนมที่ทำด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะที่ทำเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ ว่า ขนมครก
- ชื่อปืนใหญ่ขนาดสั้นใช้สำหรับยิงโดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก
- เครื่องยิงลูกระเบิด มีลำกล้องขนาดใหญ่และสั้น ผิวลำกล้องเป็นเกลียวหรือเรียบก็ได้ บรรจุลูกระเบิดทางปากกระบอก ใช้สำหรับยิงลูกระเบิดโดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก
ภาษาชอง[แก้ไข]
รากศัพท์[แก้ไข]
การออกเสียง[แก้ไข]
- (ตราด) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /kʰrok/
คำนาม[แก้ไข]
ครก