มี

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: , ม., มิ, มุ, มู่, และ มู๋

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์มี
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmii
ราชบัณฑิตยสภาmi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/miː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *miːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน มี, ภาษาลาว ມີ (มี), ภาษาคำเมือง ᨾᩦ (มี), ภาษาเขิน ᨾᩦ (มี), ภาษาไทลื้อ ᦙᦲ (มี), ภาษาไทดำ ꪣꪲ (มิ), ภาษาไทใหญ่ မီး (มี๊), ภาษาไทใต้คง ᥛᥤᥰ (มี๊), ภาษาจ้วง miz

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

มี (คำอาการนาม ความมี)

  1. รวย
    เขาเป็นคนมี ไม่ใช่คนจน
  2. ไม่เปล่า, ไม่ว่าง
    ในหม้อมีข้าว
    ในห้องน้ำมีคน

คำกริยา[แก้ไข]

มี (คำอาการนาม การมี)

  1. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง
    มีเงิน
    มีลูก
  2. ประกอบด้วย
    อริยสัจ 4 มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  3. ปรากฏ
    มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า
  4. เกิด
    มีโรคระบาด
  5. คงอยู่
    มีคนอยู่ไหม

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาอังกฤษ mi (มี, โน้ตดนตรี มี)

คำนาม[แก้ไข]

โน้ตดนตรี มี

มี

  1. (ดนตรี) โน้ตตัวที่สามในสเกลซีเมเจอร์ มีสัญลักษณ์ว่า E

ดูเพิ่ม[แก้ไข]

อ้างอิง[แก้ไข]

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

มี (คำอาการนาม ก๋ารมี or ก๋านมี)

  1. (อกรรม, สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨾᩦ (มี)